ภาวะเศรษฐกิจการเงินเดือนกันยายน 2544 ลดลงจากเดือนก่อน โดยปัจจัยที่ยังเป็นบวก คือ ภาครัฐยังคงใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ และเงินโอนจากแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย สำหรับปัจจัยที่เป็นลบ ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญ (ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพด) โครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ปริมาณการซื้อ-ขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม การเกินดุลการค้าชายแดนไทย-ลาว และการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ลดลงจากเดือนก่อน รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย
นอกจากนี้ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคฯเดือนนี้ลดลงจากเดือนก่อน และน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงเดือน พ.ย. 44 - ม.ค. 45 เนื่องจากผลผลิตเกษตรเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น รวมทั้งผลจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ด้านการผลิต ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอ้อยโรงงาน อยู่ในช่วงการเพาะปลูก ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับลดลง โดยเป็นการลดลงของราคาข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง
ข้าว
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้พยากรณ์พื้นที่และผลผลิตข้าวนาปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เดือนกันยายน 2544 ดังนี้
ในปีการเพาะปลูก 2544/45 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 32,055,043 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57 ของพื้นที่ปลูกข้าวนาปีทั้งหมดของประเทศ คาดว่าจะได้ผลผลิต 8,952,995 ตัน ลดลงร้อยละ 1.0 จากปีก่อน
การผลิตข้าวในเดือนนี้การเจริญเติบโตดี พื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบางส่วนสามารถปลูกทดแทนได้ทัน ด้านการตลาดในเดือนนี้ความต้องการข้าวของโรงสีและผู้รับซื้อท้องถิ่นลดลง ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวลดลง
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,825 บาท ลดลงร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อน เกวียนละ 4,900 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,959 บาท ลดลงร้อยละ 4.1 จากเดือนก่อน เกวียนละ 5,173 บาท
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 888 บาท ลดลงร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนกระสอบละ 903 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 985 บาท ลดลงร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนกระสอบละ 994 บาท
มันสำปะหลัง
สถานการณ์มันสำปะหลังในเดือนนี้ยังคงใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา ตลาดยังคงมีความคึกคัก ปริมาณหัวมันสดออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว โรงงานแป้งมันยังคงมีความต้องการมันสด เพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของลานมันและโรงงานอัดเม็ดไม่มีผลผลิตออกมา เนื่องจากยังมีฝนตกทำให้เป็นอุปสรรคต่อการผลิต ในด้านราคามีการปรับตัวลดลง โดยหัวมันสดกิโลกรัมละ 1.10 บาท ลดลงร้อยละ 8.3 เนื่องจากความต้องการของโรงงานแป้งมันมีแนวโน้มลดลง จากการที่โรงงานได้เร่งการผลิตในเดือนสิงหาคมเพื่อส่งให้ผู้สั่งซื้อและมีผลผลิตคงเหลืออยู่ส่วนหนึ่ง ในเดือนกันยายนความต้องการรับซื้อหัวมันของโรงงานแป้งมันจึงมีแนวโน้มลดลง มันเส้นกิโลกรัมละ 2.04 บาท ลดลงร้อยละ 28.5 เนื่องจากความต้องการของตลาดปลายทางมีน้อยและราคาไม่จูงใจ
คาดว่าปีนี้มีพื้นที่ปลูก 3.5 ล้านไร่ ผลผลิต 9.4 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 8.0 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ เนื่องจากราคาในฤดูการผลิตปีก่อนค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงไปปลูกอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การผลิตข้าวโพดได้เสร็จสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่นที่ 1 และอยู่ในช่วงการเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 2 ราคาข้าวโพดยังคงปรับตัวลดลง โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.70 บาท ลดลงร้อยละ 5.1 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 3.90 บาท
คาดว่าปีนี้ปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 1 จำนวน 1.6 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ได้ผลผลิต 8.2 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และผลผลิตข้าวโพดรุ่นที่ 2 2.6 แสนตัน ลดลงร้อยละ 2.2
อ้อยโรงงาน
ภาวะการผลิตอ้อยในเดือนนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี การเจริญเติบโตดีและคาดว่าผลผลิตอ้อยของภาคในปีนี้ประมาณ 20.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 19.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เนื่องจากสภาพฝนเอื้ออำนวย ราคาในฤดูการผลิตปีก่อนจูงใจ ประกอบกับไม่มีปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนกออ้อยเช่นปีก่อน
ขณะนี้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดต่ำลงจากปีก่อนแต่จากผลของค่าเงินบาทที่ลดลง คาดว่าจะส่งผลต่อราคารับซื้ออ้อยจากเกษตรกรในช่วงฤดูการเปิดหีบอ้อยในเดือนพฤศจิกายนนี้ไม่ให้ต่ำลงมากตามราคาตลาดโลก
การส่งเสริมการลงทุน
ในเดือนนี้โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมีเพียง 1 โครงการ ซึ่งอยู่ในหมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลของการเกษตร ได้แก่ บริษัทคอร์น โปรดักส์ อามาดาส (ประเทศไทย) จำกัด ผลิต glucose syrup เงินลงทุน 334 ล้านบาท การจ้างแรงงานไทย 66 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา (กิจการร่วมทุนไทย-สหรัฐอเมริกา)
การจดทะเบียนธุรกิจ
เดือนกันยายน 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 602 ราย เงินทุน 382.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และร้อยละ 3.0 จากเดือนก่อน 592 ราย และเงินทุน 370.9 ล้านบาท เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนการเพิ่มทุนจดทะเบียน 14 ราย เงินทุน 25.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 50.0 และร้อยละ 86.8 จากเดือนก่อน 28 ราย เงินทุน 192.2 ล้านบาท สำหรับการเลิกกิจการ 153 ราย เงินทุน 73.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 และร้อยละ 57.4 จากเดือนก่อน 105 ราย เงินทุน 46.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเลิกกิจการก่อสร้างและขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคาร และโรงแรม
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 247.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดนครราชสีมาลดลงเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นการลดลงในส่วนของการจัดเก็บภาษีจากกิจการผลิตจักรยานยนต์
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 683.8 ล้านหน่วย ลดลงร้อยละ 3.4 จากเดือนก่อนที่มีการใช้ไฟฟ้า 707.9 ล้านหน่วย โดยการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นกันยายน 2544 มีทั้งสิ้น 35,376.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.0 สำหรับแนวโน้มในช่วงต่อไปคาดว่าเพิ่มขึ้นจากมาตรการของรัฐที่จะสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวในประเทศ โดยมีแผนสนับสนุนในด้านสินเชื่อเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศให้กับข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจผ่านธนาคารของรัฐ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 936 คัน รถบรรทุกส่วนบุคคล 1,167 คัน และรถจักรยานยนต์ 12,475 คัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 13.2 ร้อยละ 12.1 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงเป็นประจำทุกปี
อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายนวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เป็นผลจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.3 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.0 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 4.3 จากปริมาณผลผลิตบางชนิดที่เริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9 โดยเฉพาะข้าว ประสบภาวะตลาดซบเซาทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ สินค้าประเภทเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดเคหสถาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 (ระดับราคาค่ากระแสไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำประปา เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.2 เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมัน ดีเซลหมุนเร็วปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และค่ากระแสไฟฟ้าเฉพาะในส่วนภูมิภาค ซึ่งปรับสู่อัตราปกติหลังจากที่มีการนำส่วนลดค่าก๊าซมาลดค่ากระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ในเดือนก่อน) หมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ระดับราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเทียบกับเดือนก่อน
ในเดือนนี้มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศจำนวน 7,879 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 29.1 และลดลงร้อยละ 6.1 จากเดือนกันยายนปีก่อน เป็นที่น่าสังเกตว่าแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปัญหาด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าตอบแทนมีแนวโน้มลดลงจากการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทในต่างประเทศ
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,322.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.6 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการค้า 1,385.3 ล้านบาท เนื่องจากมูลค่าการส่งออก 1,063.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.2 และการนำเข้า 258.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 805.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 รายละเอียดมีดังนี้ :-
การส่งออก : มูลค่า 1,063.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.2 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 1,098.6 ล้านบาท แยกเป็นสินค้าหมวดต่าง ๆ ดังนี้
สินค้าอุปโภคบริโภค : ส่งออก 502.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.3 สินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ 122.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 14.7 สินค้าอุปโภคบริโภค 119.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.7 เครื่องดื่ม สุราและน้ำส้มสายชู 10.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 56.4 และอุปกรณ์ทำความสะอาด 4.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 66.7 ขณะที่สินค้าย่อยที่เพิ่มขึ้น คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า 212.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ยารักษาโรค 17.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.3
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : ส่งออก 99.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 9.7 สินค้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ผ้าผืน 36.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.0 เหล็กและเหล็กกล้า 12.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.9 ขณะที่อุปกรณ์ตัดเย็บ 14.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 กระดาษและกระดาษแข็ง 8.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.2
สินค้าทุน : ส่งออก 83.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.1 สินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 57.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.6 ปุ๋ย 1.7 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 88.3 ขณะที่แก้วและเครื่องแก้ว 15.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เครื่องมือวิทยาศาสตร์ 4.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว และเครื่องจักรและอุปกรณ์ 2.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.1
น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ : ส่งออก 135.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 10.3
การนำเข้า : มูลค่า 258.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.9 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการนำเข้า 286.7 ล้านบาท สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 207.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.8 สินแร่ 14.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 24.6 พืชไร่ 5.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 61.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 1.9 ล้านบาทลดลงร้อยละ 15.7 ส่วนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ หนังโค-กระบือ 7.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.5
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาทั้งสิ้น 487 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 45 สำนักงาน) ลดลงจากเดือนก่อน 1 สำนักงาน จากการปิดสาขา ธนาคารสแตนดาร์ดฯ นครธน สาขาอุดรธานี
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมียอดเงินฝากคงค้าง 249,564.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งยังคงไม่มั่นใจในการนำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีผลตอบแทนไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงสูงกว่า ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 185,133.4 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 และร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งที่ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นผลมาจากการโอนหนี้ที่มีปัญหาไปบริหารที่ส่วนกลาง เพื่อทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และตัดหนี้สูญ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 74.2
สินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกรรมในภาคฯ ในเดือนนี้สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์เป็นสินเชื่อที่มีสัดส่วนสูงสุด คือร้อยละ 39.4 ของยอดสินเชื่อรวม มียอดคงค้าง 72,900.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อน รองลงมาได้แก่ สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (สัดส่วนร้อยละ 19.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 35,376.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.9 สินเชื่ออุตสาหกรรม (สัดส่วนร้อยละ 14.7) ยอดสินเชื่อคงค้าง 27,172.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง (สัดส่วนร้อยละ 9.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 16,900.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.5 สินเชื่อเพื่อการบริการ (สัดส่วนร้อยละ 7.3) ยอดสินเชื่อคงค้าง 13,464.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.2 และสินเชื่อเพื่อการเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 4.5) ยอดสินเชื่อคงค้าง 8,381.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 122.8 รองลงมาได้แก่ มุกดาหาร ร้อยละ 113.2 และอุบลราชธานี ร้อยละ 88.5 ในขณะที่จังหวัดชัยภูมิและอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคคิดเป็นร้อยละ 60.5
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,847.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 ทั้งนี้จำนวนผู้ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้เริ่มลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากมาตรการการจำกัดแรงงานต่างชาติของไต้หวันที่ต้องการแก้ไขปัญหาการว่างงานในประเทศ
เดือนกันยายน 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 13,690.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 จากเดือนก่อน ซึ่งขาดดุล 11,574.9 ล้านบาท เนื่องจากรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,126.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.2 จากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสุราลดลง ส่วนรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 14,816.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 16.3 เป็นรายจ่ายประจำ 10,402.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 15.2 และรายจ่ายลงทุน 4,413.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.1 จากการเบิกจ่ายของหมวดครุภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนกันยายน2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.5 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 99.4 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 76.7 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกันยายน 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 97 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง พ.ย. 44 - ม.ค. 45 จะอยู่ในระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.7 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.3 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุนการประกอบการและด้านการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.6 ในเดือนหน้า และร้อยละ 51.5 ในช่วง พ.ย. 44 - ม.ค. 45
2) การแข่งขันทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยการแข่งขันยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือน ก.ย. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ยังมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1) กรมสรรพากรมีการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ส่งออกเร็วขึ้น ทำให้ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. 44 ผู้ส่งออกมีสภาพคล่องดีขึ้น
2) ต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า หากเกิดภาวะสงครามต่อไป คาดว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้น
3) ประชาชนโดยทั่วไปมีการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น และธุรกิจอยู่ในระยะประคองตัว เนื่องจากไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
4) ภาครัฐควรให้ความสำคัญแก่ภาคเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมาก ทำให้ราคาผลผลิตเกษตรมักตกต่ำ ทั้งนี้เพื่อสร้างอำนาจซื้อให้เกษตรกรมากขึ้น
5) ภาครัฐควรกระจายงบลงทุนสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น ขณะเดียวกันควรมีการควบคุมการใช้จ่ายให้รัดกุม
6) การส่งออกสินค้าในปัจจุบันจะเป็นลักษณะซื้อมาขายไป โดยหลีกเลี่ยงการสต๊อกสินค้า และคาดว่าหลังจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไป การส่งออกสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างไปประเทศ สปป.ลาว จะดีขึ้น เนื่องจากยังมีโครงการก่อสร้างอีกจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน
1) ยอดการให้สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สิ้นกันยายน 2544
2544 %เปลี่ยนแปลง
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ก.ย./ส.ค.
จำนวนสมาชิก (ราย) 103,787 118,597 127,076 7.1
จำนวนรายที่อนุมัติเงินกู้ (ราย) 21,958 44,710 60,895 36.2
จำนวนเงินกู้ (ล้านบาท) 303.4 603.2 814.2 35
ที่มา : ธนาคารออมสิน ภาค 8 ภาค 9 และภาค 10
2) โครงการพักชำระหนี้ 3 ปี และลดภาระหนี้ของ ธ.ก.ส.
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2544
(ล้านบาท)
ผู้เข้าโครงการ พักชำระหนี้ จำนวนเงิน ลดภาระหนี้ จำนวนเงิน
(ราย) (ราย) ที่พักชำระหนี้ (ราย) ที่ลดภาระหนี้
กรกฎาคม 1,133,274 589,138 23,104.20 542,447 16,462.00
สิงหาคม 1,146,381 588,754 23,300.30 557,627 17,915.40
กันยายน 1,147,537 592,991 23,430.10 554,546 17,767.90
% เปลี่ยนแปลง
ก.ย./ส.ค. 0.1 0.7 0.6 -0.5 -0.8
ที่มา : ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่
3) โครงการพักชำระหนี้ 3 ปี และลดภาระหนี้ของ ธ.ก.ส.
ณ สิ้นกันยายน 2544
(ล้านบาท)
ผู้เข้าโครงการ พักชำระหนี้ จำนวนเงิน ลดภาระหนี้ จำนวนเงิน
(ราย) (ราย) ที่พักชำระหนี้ (ราย) ที่ลดภาระหนี้
ประเทศ 2,309,966 1,171,817 53,038.50 1,138,149 41,289.90
ภาคฯ 1,147,537 592,991 23,430.10 554,546 17,767.90
สัดส่วน(% )
ภาค/ประเทศ 49.7 50.6 44.2 48.7 43
ที่มา : ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่
4) ผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ณ สิ้นวันที่ 12 ตุลาคม 2544
จำนวนหมู่บ้าน การจัดสรรและ การเบิกจ่ายเงิน คิดเป็น
ภาค ทั้งหมด โอนเงินให้ กองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ
กองทุนหมู่บ้าน
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
ภาคเหนือ 15,467 10,468 4,893 46.7
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31,355 18,833 5,797 30.8
ภาคกลาง 5,693 3,942 1,356 34.4
ภาคตะวันออก 5,068 3,060 1,135 37.1
ภาคตะวันตก 5,445 3,692 1,604 43.5
ภาคใต้ 8,336 5,158 1,174 22.8
รวม 71,364 45,153 15,959 35.3
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
5) 5 จังหวัด ที่ได้รับการอนุมัติเงินกองทุนหมู่บ้านสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ณ สิ้น 12 ตุลาคม 2544
จังหวัด จำนวนหมู่บ้าน การจัดสรรและโอน การเบิกจ่าย คิดเป็น
เงินให้กองทุนหมู่บ้าน เงินกองทุน
ทั้งหมด (ล้านบาท) หมู่บ้าน ร้อยละ
(ล้านบาท)
ขอนแก่น 2,182 1,893 719 38
นครราชสีมา 3,512 1,831 601 32.8
อุบลราชธานี 2,518 1,735 612 35.3
สุรินทร์ 2,030 1,501 395 26.3
ศรีสะเกษ 2,532 1,486 227 15.3
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติในโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาสที่ 2 : เมษายน - มิถุนายน 2544 ปรากฏว่ากำลังแรงงานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10.8 ล้านคน เป็นผู้ไม่มีงานทำ 674,535 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 6.2 เทียบกับอัตราการว่างงานเฉลี่ยของประเทศร้อยละ 3.5 และเป็นอัตราสูงสุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ โดยภาคกลางอัตราการว่างงานร้อยละ 1.8 ภาคเหนือร้อยละ 2.5 ภาคใต้ร้อยละ 0.9 และกรุงเทพฯ ร้อยละ 3.7
สาเหตุเนื่องจากหน่วยธุรกิจต่าง ๆ พยายามที่จะจำกัดการจ้างแรงงาน แม้ว่าการผลิตในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ จะเริ่มขยายตัวขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในธุรกิจเดิม การลงทุนใหม่เพิ่มขึ้นเล็กมากและยังไม่เห็นการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเด่นชัด
จังหวัดที่มีอัตราการว่างงานมาก ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ร้อยละ 18.4 อุดรธานี ร้อยละ 14.2 หนองบัวลำภู ร้อยละ 12.5 อำนาจเจริญ ร้อยละ 10.3 และจังหวัดนครพนม ร้อยละ 7.9
ด้านการเดินทางไปทำงานต่างประเทศมีปัญหาด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าตอบแทนมีแนวโน้มลดลงจากการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทในต่างประเทศ เช่น ค่าอาหาร ค่าประกันสุขภาพ ฯลฯ แนวโน้มการไปทำงานต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในช่วง 9 เดือนปีนี้มีแรงงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางไปทำงานต่างประเทศ 88,870 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.2
ประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ อิสราเอล ตามลำดับ
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
1. ควรส่งเสริมให้มีการลงทุนในจังหวัดที่มีอัตราการว่างงานมาก เช่น จังหวัดหนองบัวลำภู ยโสธร ศรีสะเกษ อุดรธานี และบุรีรัมย์
2. ฝึกอบรมอาชีพเสริมให้กับกลุ่มเกษตรกร เน้นทักษะในการผลิต รวมถึงกระบวนการตลาด ครบวงจร
3. เร่งพัฒนาฝีมือแรงงานในกลุ่มอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด
4. ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพทั้งในด้านการผลิตและการตลาด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
นอกจากนี้ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคฯเดือนนี้ลดลงจากเดือนก่อน และน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงเดือน พ.ย. 44 - ม.ค. 45 เนื่องจากผลผลิตเกษตรเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น รวมทั้งผลจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาพืชผลเกษตรสำคัญยังอยู่ระดับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน และสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ด้านการผลิต ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอ้อยโรงงาน อยู่ในช่วงการเพาะปลูก ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับลดลง โดยเป็นการลดลงของราคาข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง
ข้าว
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้พยากรณ์พื้นที่และผลผลิตข้าวนาปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เดือนกันยายน 2544 ดังนี้
ในปีการเพาะปลูก 2544/45 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 32,055,043 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57 ของพื้นที่ปลูกข้าวนาปีทั้งหมดของประเทศ คาดว่าจะได้ผลผลิต 8,952,995 ตัน ลดลงร้อยละ 1.0 จากปีก่อน
การผลิตข้าวในเดือนนี้การเจริญเติบโตดี พื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบางส่วนสามารถปลูกทดแทนได้ทัน ด้านการตลาดในเดือนนี้ความต้องการข้าวของโรงสีและผู้รับซื้อท้องถิ่นลดลง ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวลดลง
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวเปลือกเจ้า 10% เกวียนละ 4,825 บาท ลดลงร้อยละ 1.5 จากเดือนก่อน เกวียนละ 4,900 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) เกวียนละ 4,959 บาท ลดลงร้อยละ 4.1 จากเดือนก่อน เกวียนละ 5,173 บาท
ราคาขายส่งเฉลี่ยข้าวสารเจ้า 10% กระสอบละ 888 บาท ลดลงร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนกระสอบละ 903 บาท ข้าวสารเหนียว 10% (เมล็ดสั้น) กระสอบละ 985 บาท ลดลงร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนกระสอบละ 994 บาท
มันสำปะหลัง
สถานการณ์มันสำปะหลังในเดือนนี้ยังคงใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมา ตลาดยังคงมีความคึกคัก ปริมาณหัวมันสดออกสู่ท้องตลาดมากขึ้น เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว โรงงานแป้งมันยังคงมีความต้องการมันสด เพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนของลานมันและโรงงานอัดเม็ดไม่มีผลผลิตออกมา เนื่องจากยังมีฝนตกทำให้เป็นอุปสรรคต่อการผลิต ในด้านราคามีการปรับตัวลดลง โดยหัวมันสดกิโลกรัมละ 1.10 บาท ลดลงร้อยละ 8.3 เนื่องจากความต้องการของโรงงานแป้งมันมีแนวโน้มลดลง จากการที่โรงงานได้เร่งการผลิตในเดือนสิงหาคมเพื่อส่งให้ผู้สั่งซื้อและมีผลผลิตคงเหลืออยู่ส่วนหนึ่ง ในเดือนกันยายนความต้องการรับซื้อหัวมันของโรงงานแป้งมันจึงมีแนวโน้มลดลง มันเส้นกิโลกรัมละ 2.04 บาท ลดลงร้อยละ 28.5 เนื่องจากความต้องการของตลาดปลายทางมีน้อยและราคาไม่จูงใจ
คาดว่าปีนี้มีพื้นที่ปลูก 3.5 ล้านไร่ ผลผลิต 9.4 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 8.0 และร้อยละ 2.5 ตามลำดับ เนื่องจากราคาในฤดูการผลิตปีก่อนค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงไปปลูกอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แทน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
การผลิตข้าวโพดได้เสร็จสิ้นฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวโพดรุ่นที่ 1 และอยู่ในช่วงการเพาะปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 2 ราคาข้าวโพดยังคงปรับตัวลดลง โดยราคาขายส่งเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.70 บาท ลดลงร้อยละ 5.1 จากเดือนก่อนกิโลกรัมละ 3.90 บาท
คาดว่าปีนี้ปลูกข้าวโพดรุ่นที่ 1 จำนวน 1.6 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ได้ผลผลิต 8.2 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 และผลผลิตข้าวโพดรุ่นที่ 2 2.6 แสนตัน ลดลงร้อยละ 2.2
อ้อยโรงงาน
ภาวะการผลิตอ้อยในเดือนนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี การเจริญเติบโตดีและคาดว่าผลผลิตอ้อยของภาคในปีนี้ประมาณ 20.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 19.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เนื่องจากสภาพฝนเอื้ออำนวย ราคาในฤดูการผลิตปีก่อนจูงใจ ประกอบกับไม่มีปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนกออ้อยเช่นปีก่อน
ขณะนี้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดต่ำลงจากปีก่อนแต่จากผลของค่าเงินบาทที่ลดลง คาดว่าจะส่งผลต่อราคารับซื้ออ้อยจากเกษตรกรในช่วงฤดูการเปิดหีบอ้อยในเดือนพฤศจิกายนนี้ไม่ให้ต่ำลงมากตามราคาตลาดโลก
การส่งเสริมการลงทุน
ในเดือนนี้โครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมีเพียง 1 โครงการ ซึ่งอยู่ในหมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลของการเกษตร ได้แก่ บริษัทคอร์น โปรดักส์ อามาดาส (ประเทศไทย) จำกัด ผลิต glucose syrup เงินลงทุน 334 ล้านบาท การจ้างแรงงานไทย 66 คน ที่จังหวัดนครราชสีมา (กิจการร่วมทุนไทย-สหรัฐอเมริกา)
การจดทะเบียนธุรกิจ
เดือนกันยายน 2544 มีการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่ 602 ราย เงินทุน 382.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และร้อยละ 3.0 จากเดือนก่อน 592 ราย และเงินทุน 370.9 ล้านบาท เนื่องจากการจดทะเบียนธุรกิจก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนการเพิ่มทุนจดทะเบียน 14 ราย เงินทุน 25.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 50.0 และร้อยละ 86.8 จากเดือนก่อน 28 ราย เงินทุน 192.2 ล้านบาท สำหรับการเลิกกิจการ 153 ราย เงินทุน 73.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 และร้อยละ 57.4 จากเดือนก่อน 105 ราย เงินทุน 46.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการเลิกกิจการก่อสร้างและขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคาร และโรงแรม
ในเดือนนี้การใช้จ่ายภาคเอกชนลดลงจากเดือนก่อน โดยมี :-
การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 247.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดนครราชสีมาลดลงเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นการลดลงในส่วนของการจัดเก็บภาษีจากกิจการผลิตจักรยานยนต์
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในเดือนนี้ 683.8 ล้านหน่วย ลดลงร้อยละ 3.4 จากเดือนก่อนที่มีการใช้ไฟฟ้า 707.9 ล้านหน่วย โดยการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย
สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ณ สิ้นกันยายน 2544 มีทั้งสิ้น 35,376.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.0 สำหรับแนวโน้มในช่วงต่อไปคาดว่าเพิ่มขึ้นจากมาตรการของรัฐที่จะสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวในประเทศ โดยมีแผนสนับสนุนในด้านสินเชื่อเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศให้กับข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจผ่านธนาคารของรัฐ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในภาคฯเดือนนี้มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 936 คัน รถบรรทุกส่วนบุคคล 1,167 คัน และรถจักรยานยนต์ 12,475 คัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 13.2 ร้อยละ 12.1 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงเป็นประจำทุกปี
อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายนวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.7 ทั้งนี้เป็นผลจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.3 และดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบจากเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.0 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 4.3 จากปริมาณผลผลิตบางชนิดที่เริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้น หมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9 โดยเฉพาะข้าว ประสบภาวะตลาดซบเซาทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ สินค้าประเภทเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
หมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าสำคัญในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดเคหสถาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 (ระดับราคาค่ากระแสไฟฟ้า เชื้อเพลิง และน้ำประปา เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.2 เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมัน ดีเซลหมุนเร็วปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และค่ากระแสไฟฟ้าเฉพาะในส่วนภูมิภาค ซึ่งปรับสู่อัตราปกติหลังจากที่มีการนำส่วนลดค่าก๊าซมาลดค่ากระแสไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ในเดือนก่อน) หมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ระดับราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเทียบกับเดือนก่อน
ในเดือนนี้มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานต่างประเทศจำนวน 7,879 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 29.1 และลดลงร้อยละ 6.1 จากเดือนกันยายนปีก่อน เป็นที่น่าสังเกตว่าแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปัญหาด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าตอบแทนมีแนวโน้มลดลงจากการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทในต่างประเทศ
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,322.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.6 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการค้า 1,385.3 ล้านบาท เนื่องจากมูลค่าการส่งออก 1,063.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.2 และการนำเข้า 258.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว 805.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 รายละเอียดมีดังนี้ :-
การส่งออก : มูลค่า 1,063.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.2 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการส่งออก 1,098.6 ล้านบาท แยกเป็นสินค้าหมวดต่าง ๆ ดังนี้
สินค้าอุปโภคบริโภค : ส่งออก 502.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 6.3 สินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ 122.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 14.7 สินค้าอุปโภคบริโภค 119.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.7 เครื่องดื่ม สุราและน้ำส้มสายชู 10.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 56.4 และอุปกรณ์ทำความสะอาด 4.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 66.7 ขณะที่สินค้าย่อยที่เพิ่มขึ้น คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า 212.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ยารักษาโรค 17.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.3
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ : ส่งออก 99.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 9.7 สินค้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ผ้าผืน 36.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.0 เหล็กและเหล็กกล้า 12.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 36.9 ขณะที่อุปกรณ์ตัดเย็บ 14.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 กระดาษและกระดาษแข็ง 8.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.2
สินค้าทุน : ส่งออก 83.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 28.1 สินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง 57.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.6 ปุ๋ย 1.7 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 88.3 ขณะที่แก้วและเครื่องแก้ว 15.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เครื่องมือวิทยาศาสตร์ 4.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่าตัว และเครื่องจักรและอุปกรณ์ 2.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 179.1
น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ : ส่งออก 135.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 10.3
การนำเข้า : มูลค่า 258.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.9 จากเดือนก่อนที่มีมูลค่าการนำเข้า 286.7 ล้านบาท สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 207.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.8 สินแร่ 14.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 24.6 พืชไร่ 5.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 61.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 1.9 ล้านบาทลดลงร้อยละ 15.7 ส่วนสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ หนังโค-กระบือ 7.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.5
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาทั้งสิ้น 487 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 45 สำนักงาน) ลดลงจากเดือนก่อน 1 สำนักงาน จากการปิดสาขา ธนาคารสแตนดาร์ดฯ นครธน สาขาอุดรธานี
จากข้อมูลเบื้องต้น ธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมียอดเงินฝากคงค้าง 249,564.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ฝากส่วนหนึ่งยังคงไม่มั่นใจในการนำเงินไปลงทุนในด้านอื่นที่มีผลตอบแทนไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงสูงกว่า ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 185,133.4 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 และร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งที่ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นผลมาจากการโอนหนี้ที่มีปัญหาไปบริหารที่ส่วนกลาง เพื่อทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และตัดหนี้สูญ อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 74.2
สินเชื่อจำแนกตามประเภทธุรกรรมในภาคฯ ในเดือนนี้สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์เป็นสินเชื่อที่มีสัดส่วนสูงสุด คือร้อยละ 39.4 ของยอดสินเชื่อรวม มียอดคงค้าง 72,900.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.4 จากเดือนก่อน รองลงมาได้แก่ สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (สัดส่วนร้อยละ 19.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 35,376.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.9 สินเชื่ออุตสาหกรรม (สัดส่วนร้อยละ 14.7) ยอดสินเชื่อคงค้าง 27,172.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 สินเชื่อเพื่อการรับเหมาก่อสร้าง (สัดส่วนร้อยละ 9.1) ยอดสินเชื่อคงค้าง 16,900.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.5 สินเชื่อเพื่อการบริการ (สัดส่วนร้อยละ 7.3) ยอดสินเชื่อคงค้าง 13,464.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.2 และสินเชื่อเพื่อการเกษตร (สัดส่วนร้อยละ 4.5) ยอดสินเชื่อคงค้าง 8,381.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนหน้า
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 122.8 รองลงมาได้แก่ มุกดาหาร ร้อยละ 113.2 และอุบลราชธานี ร้อยละ 88.5 ในขณะที่จังหวัดชัยภูมิและอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคคิดเป็นร้อยละ 60.5
เงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯ เดือนนี้มีปริมาณเงินโอนกลับมาทั้งสิ้น 2,847.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 ทั้งนี้จำนวนผู้ที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้เริ่มลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากมาตรการการจำกัดแรงงานต่างชาติของไต้หวันที่ต้องการแก้ไขปัญหาการว่างงานในประเทศ
เดือนกันยายน 2544 ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 13,690.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 จากเดือนก่อน ซึ่งขาดดุล 11,574.9 ล้านบาท เนื่องจากรายได้รัฐบาลในภาคฯ 1,126.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.2 จากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสุราลดลง ส่วนรายจ่ายรัฐบาลในภาคฯ 14,816.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 16.3 เป็นรายจ่ายประจำ 10,402.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 15.2 และรายจ่ายลงทุน 4,413.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 19.1 จากการเบิกจ่ายของหมวดครุภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
สำหรับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2544 ณ สิ้นเดือนกันยายน2544 นั้น มีผลการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 91.5 ของวงเงินงบประจำงวดที่ได้รับอนุมัติ เป็นการเบิกจ่ายงบประจำถึงร้อยละ 99.4 ของวงเงินประจำงวดฯ ขณะที่งบลงทุนเบิกจ่ายร้อยละ 76.7 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีสาเหตุหลักจากการดำเนินการของส่วนราชการล่าช้า ประกอบกับในปีนี้มีโครงการถ่ายโอนงานและกิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรและอุปกรณ์เครื่องใช้
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนกันยายน 2544 จากผู้ประกอบการในภาคฯ จำนวน 97 ราย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 44 ลดลงจากเดือนก่อน และมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในระยะ 4 เดือนข้างหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง พ.ย. 44 - ม.ค. 45 จะอยู่ในระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 44.7 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.3 โดยอยู่ต่ำกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ ทั้งนี้เป็นผลจากปัจจัยความเชื่อมั่นด้านสถานะเศรษฐกิจ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน ด้านการลงทุนโดยรวม และด้านแนวโน้มการส่งออกลดลงจากเดือนก่อน ขณะที่ปัจจัยด้านต้นทุนการประกอบการและด้านการจ้างงานดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจในช่วง 4 เดือนข้างหน้าคาดว่าจะดีขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 47.6 ในเดือนหน้า และร้อยละ 51.5 ในช่วง พ.ย. 44 - ม.ค. 45
2) การแข่งขันทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยการแข่งขันยังคงรุนแรง
3) ภาวะการเงินเดือน ก.ย. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องทางธุรกิจและสามารถให้เครดิตแก่ลูกค้าได้ลดลงจากเดือนก่อน นอกจากนี้ยังมีภาระดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ
1) กรมสรรพากรมีการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ส่งออกเร็วขึ้น ทำให้ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. 44 ผู้ส่งออกมีสภาพคล่องดีขึ้น
2) ต้นทุนการผลิตขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า หากเกิดภาวะสงครามต่อไป คาดว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้น
3) ประชาชนโดยทั่วไปมีการระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น และธุรกิจอยู่ในระยะประคองตัว เนื่องจากไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
4) ภาครัฐควรให้ความสำคัญแก่ภาคเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงนี้ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดมาก ทำให้ราคาผลผลิตเกษตรมักตกต่ำ ทั้งนี้เพื่อสร้างอำนาจซื้อให้เกษตรกรมากขึ้น
5) ภาครัฐควรกระจายงบลงทุนสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น ขณะเดียวกันควรมีการควบคุมการใช้จ่ายให้รัดกุม
6) การส่งออกสินค้าในปัจจุบันจะเป็นลักษณะซื้อมาขายไป โดยหลีกเลี่ยงการสต๊อกสินค้า และคาดว่าหลังจากเดือนตุลาคมเป็นต้นไป การส่งออกสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างไปประเทศ สปป.ลาว จะดีขึ้น เนื่องจากยังมีโครงการก่อสร้างอีกจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน
1) ยอดการให้สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สิ้นกันยายน 2544
2544 %เปลี่ยนแปลง
ก.ค. ส.ค. ก.ย. ก.ย./ส.ค.
จำนวนสมาชิก (ราย) 103,787 118,597 127,076 7.1
จำนวนรายที่อนุมัติเงินกู้ (ราย) 21,958 44,710 60,895 36.2
จำนวนเงินกู้ (ล้านบาท) 303.4 603.2 814.2 35
ที่มา : ธนาคารออมสิน ภาค 8 ภาค 9 และภาค 10
2) โครงการพักชำระหนี้ 3 ปี และลดภาระหนี้ของ ธ.ก.ส.
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2544
(ล้านบาท)
ผู้เข้าโครงการ พักชำระหนี้ จำนวนเงิน ลดภาระหนี้ จำนวนเงิน
(ราย) (ราย) ที่พักชำระหนี้ (ราย) ที่ลดภาระหนี้
กรกฎาคม 1,133,274 589,138 23,104.20 542,447 16,462.00
สิงหาคม 1,146,381 588,754 23,300.30 557,627 17,915.40
กันยายน 1,147,537 592,991 23,430.10 554,546 17,767.90
% เปลี่ยนแปลง
ก.ย./ส.ค. 0.1 0.7 0.6 -0.5 -0.8
ที่มา : ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่
3) โครงการพักชำระหนี้ 3 ปี และลดภาระหนี้ของ ธ.ก.ส.
ณ สิ้นกันยายน 2544
(ล้านบาท)
ผู้เข้าโครงการ พักชำระหนี้ จำนวนเงิน ลดภาระหนี้ จำนวนเงิน
(ราย) (ราย) ที่พักชำระหนี้ (ราย) ที่ลดภาระหนี้
ประเทศ 2,309,966 1,171,817 53,038.50 1,138,149 41,289.90
ภาคฯ 1,147,537 592,991 23,430.10 554,546 17,767.90
สัดส่วน(% )
ภาค/ประเทศ 49.7 50.6 44.2 48.7 43
ที่มา : ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่
4) ผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ณ สิ้นวันที่ 12 ตุลาคม 2544
จำนวนหมู่บ้าน การจัดสรรและ การเบิกจ่ายเงิน คิดเป็น
ภาค ทั้งหมด โอนเงินให้ กองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ
กองทุนหมู่บ้าน
(ล้านบาท) (ล้านบาท)
ภาคเหนือ 15,467 10,468 4,893 46.7
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 31,355 18,833 5,797 30.8
ภาคกลาง 5,693 3,942 1,356 34.4
ภาคตะวันออก 5,068 3,060 1,135 37.1
ภาคตะวันตก 5,445 3,692 1,604 43.5
ภาคใต้ 8,336 5,158 1,174 22.8
รวม 71,364 45,153 15,959 35.3
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
5) 5 จังหวัด ที่ได้รับการอนุมัติเงินกองทุนหมู่บ้านสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ณ สิ้น 12 ตุลาคม 2544
จังหวัด จำนวนหมู่บ้าน การจัดสรรและโอน การเบิกจ่าย คิดเป็น
เงินให้กองทุนหมู่บ้าน เงินกองทุน
ทั้งหมด (ล้านบาท) หมู่บ้าน ร้อยละ
(ล้านบาท)
ขอนแก่น 2,182 1,893 719 38
นครราชสีมา 3,512 1,831 601 32.8
อุบลราชธานี 2,518 1,735 612 35.3
สุรินทร์ 2,030 1,501 395 26.3
ศรีสะเกษ 2,532 1,486 227 15.3
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติในโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ไตรมาสที่ 2 : เมษายน - มิถุนายน 2544 ปรากฏว่ากำลังแรงงานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10.8 ล้านคน เป็นผู้ไม่มีงานทำ 674,535 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 6.2 เทียบกับอัตราการว่างงานเฉลี่ยของประเทศร้อยละ 3.5 และเป็นอัตราสูงสุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ โดยภาคกลางอัตราการว่างงานร้อยละ 1.8 ภาคเหนือร้อยละ 2.5 ภาคใต้ร้อยละ 0.9 และกรุงเทพฯ ร้อยละ 3.7
สาเหตุเนื่องจากหน่วยธุรกิจต่าง ๆ พยายามที่จะจำกัดการจ้างแรงงาน แม้ว่าการผลิตในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ จะเริ่มขยายตัวขึ้นบ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวในธุรกิจเดิม การลงทุนใหม่เพิ่มขึ้นเล็กมากและยังไม่เห็นการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเด่นชัด
จังหวัดที่มีอัตราการว่างงานมาก ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ร้อยละ 18.4 อุดรธานี ร้อยละ 14.2 หนองบัวลำภู ร้อยละ 12.5 อำนาจเจริญ ร้อยละ 10.3 และจังหวัดนครพนม ร้อยละ 7.9
ด้านการเดินทางไปทำงานต่างประเทศมีปัญหาด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ค่าตอบแทนมีแนวโน้มลดลงจากการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของบริษัทในต่างประเทศ เช่น ค่าอาหาร ค่าประกันสุขภาพ ฯลฯ แนวโน้มการไปทำงานต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในช่วง 9 เดือนปีนี้มีแรงงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางไปทำงานต่างประเทศ 88,870 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.2
ประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปทำงานมากที่สุด ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ อิสราเอล ตามลำดับ
ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
1. ควรส่งเสริมให้มีการลงทุนในจังหวัดที่มีอัตราการว่างงานมาก เช่น จังหวัดหนองบัวลำภู ยโสธร ศรีสะเกษ อุดรธานี และบุรีรัมย์
2. ฝึกอบรมอาชีพเสริมให้กับกลุ่มเกษตรกร เน้นทักษะในการผลิต รวมถึงกระบวนการตลาด ครบวงจร
3. เร่งพัฒนาฝีมือแรงงานในกลุ่มอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาด
4. ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพทั้งในด้านการผลิตและการตลาด
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-