แอฟริกาใต้เป็นประเทศหนึ่งที่น่าสนใจทำธุรกิจร้านอาหารไทย เนื่องจากเป็นตลาดที่มีแนวโน้มสดใสเพราะประชากรมีกำลังซื้อค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา ด้วยรายได้ต่อหัวเฉลี่ยราว4,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีในปี 2547 ประกอบกับมีประชากรมากถึง 44 ล้านคน จากหลากหลายเชื้อชาติ ทำให้เป็นสังคมที่เปิดกว้าง พร้อมรับสิ่งแปลกใหม่ และมีพฤติกรรมการบริโภคที่หลากหลาย สังเกตได้จากมีร้านอาหารนานาชาติตั้งอยู่จำนวนมากในแอฟริกาใต้ อาทิ ร้านอาหารอิตาเลียน เยอรมัน กรีก จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และไทยนอกจากนี้ การที่แอฟริกาใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก ทำให้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาใช้บริการร้านอาหารต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ จึงนับเป็นโอกาสของการทำธุรกิจร้านอาหารไทย
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ที่ผู้สนใจเข้าไปลงทุนควรทราบ มีดังนี้
* จำนวนร้านอาหารและทำเลที่ตั้ง ปัจจุบันมีร้านอาหารไทยตั้งอยู่ในแอฟริกาใต้ประมาณ 30 ร้านส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในย่านการค้าที่นครโจฮัน เนสเบอร์ก นครเคปทาวน์ และนครเดอร์เบอร์น ทั้งนี้ ร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นคนไทย มีประมาณ 1 ใน 3 ที่เจ้าของเป็นชาวแอฟริกัน แต่มีพ่อครัว/แม่ครัวเป็นคนไทย ทำให้รสชาติอาหารไม่ค่อยผิดเพี้ยนจากอาหารไทยต้นตำรับ
* รูปแบบร้านอาหาร ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารไทยขนาดกลาง (ไม่เกิน 100 ที่นั่ง) และขนาดใหญ่(มากกว่า 100 ที่นั่ง) โดยร้านอาหารไทยขนาดกลางส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นคนไทย ขณะที่ร้านอาหารไทยขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นชาวแอฟริกัน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่และตกแต่งร้านค่อนข้างสูง ขณะที่ร้านอาหารไทยขนาดเล็กมักเป็นประเภทสั่งกลับบ้านและมีอยู่จำนวนน้อย ส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นคนไทย ทั้งนี้ร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้มักให้ความสำคัญกับการตกแต่งร้าน ทำให้สามารถจับตลาดลูกค้าระดับบนได้
* กลุ่มลูกค้า ส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว รวมถึงคนผิวดำที่มีรายได้ดี เป็นที่สังเกตว่า ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวไม่นิยมอาหารรสเผ็ดจัด นอกจากนี้ ลูกค้ากลุ่มคนผิวดำไม่นิยมอาหารทะเล และเนื้อหมู แต่นิยมรับประทานเนื้อไก่และเนื้อวัว
* วัตถุดิบ ร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ไม่ค่อยประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่ อาทิ ใบมะกรูด ขิง ตะไคร้ พริก โหระพา ผักชี และต้นหอม สามารถปลูกได้ในแอฟริกาใต้อย่างไรก็ตาม อาจมีการขาดแคลนวัตถุดิบบ้างในช่วงฤดูหนาว ทำให้สินค้ามีราคาแพง
* กฎระเบียบการจัดตั้งร้านอาหาร การจัดตั้งร้านอาหารในแอฟริกาใต้ต้องขออนุญาต 3 ขั้นตอน ดังนี้
- การขออนุญาตทำธุรกิจ ผู้สนใจลงทุนร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ต้องยื่นขอ Business Permit จาก Department of Home Affairs โดยสามารถยื่นเรื่องผ่านสถานทูตแอฟริกาใต้ในประเทศไทย
- การขออนุญาตจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ที่ Companies and Intellectual Property Registration Office (CIPRO) ในประเทศแอฟริกาใต้
- การขออนุญาตเปิดร้านอาหาร ต้องยื่นขอ Trade License กับเทศบาลของเมืองที่ต้องการเปิดร้านอาหาร ซึ่งก่อนที่เทศบาลจะอนุญาตให้จัดตั้งร้านอาหารได้ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลจะเข้าตรวจสอบความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ของร้านอาหาร ทั้งทำเลที่ตั้ง รูปแบบอาคาร ที่จอดรถ และมาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยต่าง ๆอาทิ ระบบระบายอากาศ และระบบป้องกันอัคคีภัย
* ระเบียบการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัว พ่อครัว/แม่ครัวสามารถยื่นขอ Work Permit ผ่านสถานทูต แอฟริกาใต้ในประเทศไทย โดยพ่อครัว/แม่ครัวต้องมีอายุระหว่าง 18-51 ปี และต้องมีทักษะในการประกอบอาหารทั้งนี้ นายจ้างที่ต้องการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวจากต่างประเทศต้องยืนยันได้ว่าไม่สามารถหาพ่อครัว/แม่ครัวท้องถิ่นได้โดยต้องประกาศรับสมัครพ่อครัว/แม่ครัวในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก่อนเป็นเวลา 1 เดือน
นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ควรให้ความสำคัญกับการว่าจ้างคนท้องถิ่นทำหน้าที่แนะนำอาหารในร้าน เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์อาหารไทยในร้านแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมบริโภคของกลุ่มผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้มากขึ้นด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2548--
-พห-
ข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ที่ผู้สนใจเข้าไปลงทุนควรทราบ มีดังนี้
* จำนวนร้านอาหารและทำเลที่ตั้ง ปัจจุบันมีร้านอาหารไทยตั้งอยู่ในแอฟริกาใต้ประมาณ 30 ร้านส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในย่านการค้าที่นครโจฮัน เนสเบอร์ก นครเคปทาวน์ และนครเดอร์เบอร์น ทั้งนี้ ร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นคนไทย มีประมาณ 1 ใน 3 ที่เจ้าของเป็นชาวแอฟริกัน แต่มีพ่อครัว/แม่ครัวเป็นคนไทย ทำให้รสชาติอาหารไม่ค่อยผิดเพี้ยนจากอาหารไทยต้นตำรับ
* รูปแบบร้านอาหาร ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารไทยขนาดกลาง (ไม่เกิน 100 ที่นั่ง) และขนาดใหญ่(มากกว่า 100 ที่นั่ง) โดยร้านอาหารไทยขนาดกลางส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นคนไทย ขณะที่ร้านอาหารไทยขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นชาวแอฟริกัน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่และตกแต่งร้านค่อนข้างสูง ขณะที่ร้านอาหารไทยขนาดเล็กมักเป็นประเภทสั่งกลับบ้านและมีอยู่จำนวนน้อย ส่วนใหญ่มีเจ้าของเป็นคนไทย ทั้งนี้ร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้มักให้ความสำคัญกับการตกแต่งร้าน ทำให้สามารถจับตลาดลูกค้าระดับบนได้
* กลุ่มลูกค้า ส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว รวมถึงคนผิวดำที่มีรายได้ดี เป็นที่สังเกตว่า ลูกค้ากลุ่มดังกล่าวไม่นิยมอาหารรสเผ็ดจัด นอกจากนี้ ลูกค้ากลุ่มคนผิวดำไม่นิยมอาหารทะเล และเนื้อหมู แต่นิยมรับประทานเนื้อไก่และเนื้อวัว
* วัตถุดิบ ร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ไม่ค่อยประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่ อาทิ ใบมะกรูด ขิง ตะไคร้ พริก โหระพา ผักชี และต้นหอม สามารถปลูกได้ในแอฟริกาใต้อย่างไรก็ตาม อาจมีการขาดแคลนวัตถุดิบบ้างในช่วงฤดูหนาว ทำให้สินค้ามีราคาแพง
* กฎระเบียบการจัดตั้งร้านอาหาร การจัดตั้งร้านอาหารในแอฟริกาใต้ต้องขออนุญาต 3 ขั้นตอน ดังนี้
- การขออนุญาตทำธุรกิจ ผู้สนใจลงทุนร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ต้องยื่นขอ Business Permit จาก Department of Home Affairs โดยสามารถยื่นเรื่องผ่านสถานทูตแอฟริกาใต้ในประเทศไทย
- การขออนุญาตจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ที่ Companies and Intellectual Property Registration Office (CIPRO) ในประเทศแอฟริกาใต้
- การขออนุญาตเปิดร้านอาหาร ต้องยื่นขอ Trade License กับเทศบาลของเมืองที่ต้องการเปิดร้านอาหาร ซึ่งก่อนที่เทศบาลจะอนุญาตให้จัดตั้งร้านอาหารได้ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลจะเข้าตรวจสอบความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ของร้านอาหาร ทั้งทำเลที่ตั้ง รูปแบบอาคาร ที่จอดรถ และมาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยต่าง ๆอาทิ ระบบระบายอากาศ และระบบป้องกันอัคคีภัย
* ระเบียบการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัว พ่อครัว/แม่ครัวสามารถยื่นขอ Work Permit ผ่านสถานทูต แอฟริกาใต้ในประเทศไทย โดยพ่อครัว/แม่ครัวต้องมีอายุระหว่าง 18-51 ปี และต้องมีทักษะในการประกอบอาหารทั้งนี้ นายจ้างที่ต้องการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวจากต่างประเทศต้องยืนยันได้ว่าไม่สามารถหาพ่อครัว/แม่ครัวท้องถิ่นได้โดยต้องประกาศรับสมัครพ่อครัว/แม่ครัวในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นก่อนเป็นเวลา 1 เดือน
นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยในแอฟริกาใต้ควรให้ความสำคัญกับการว่าจ้างคนท้องถิ่นทำหน้าที่แนะนำอาหารในร้าน เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์อาหารไทยในร้านแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมบริโภคของกลุ่มผู้บริโภคชาวแอฟริกาใต้มากขึ้นด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2548--
-พห-