12/11/44 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวแถลงในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งเป็นวันที่สองของการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก (WTO) ครั้งที่ 4 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เพื่อขอบคุณรัฐบาลกาตาร์ที่รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งนี้ และขอบคุณนายสจ็วต ฮาร์บินสัน ประธานคณะมนตรีทั่วไปของ WTO รวมทั้งนายไมค์ มัวร์ ผู้อำนวยการใหญ่ WTO ที่ได้ร่วมกันยกร่างเอกสาร (ปฏิญญารัฐมนตรี) ที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการหารือเพื่อจัดทำแถลงการณ์ของรัฐมนตรีในการประชุมครั้งนี้
นายอดิศัยยังได้แสดงความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในขณะนี้ว่า เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำอยู่นี้จะฟื้นตัวได้ หากความเชื่อมั่นในระบบการค้าพหุภาคีได้รับการฟื้นฟูให้กลับคืนมา ด้วยการผลักดันการเจรจาการค้าให้คืบหน้า
สำหรับประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเจรจาสินค้าเกษตรเป็นอย่างมาก เนื่องจากจนถึงขณะนี้ยังคงมีการเลือกปฏิบัติต่อสินค้าเกษตรในกรอบ WTO โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ประเทศพัฒนาแล้วมีการให้การอุดหนุนการส่งออก และการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้า ซึ่งได้สร้างความไม่เป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา เพราะมีความได้เปรียบกว่าในการค้าสินค้าดังกล่าว และทำให้สินค้าเกษตรส่งออกของไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศเหล่านี้ได้
ดังนั้นเหตุผลสำคัญที่ไทยเข้าร่วมการเจรจาการค้ารอบใหม่ คือ เพื่อให้สมาชิกผูกพันที่จะยุติการเลือกปฏิบัติต่อการค้าสินค้าเกษตร และให้การค้าสินค้าเกษตรอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของ WTO โดยสมบูรณ์ ซึ่งไทยพร้อมที่จะหารือกับประเทศสมาชิกเพื่อกำหนดเวลาดำเนินการในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เนื่องจากหากสมาชิกไม่ผูกพันที่จะยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก และอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรแล้ว การเจรจารอบใหม่ก็จะไม่มีประโยชน์ต่อประเทศไทย
เพราะฉะนั้นไทยจึงได้เรียกร้องให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยได้ร่วมกับกลุ่มเครนส์ หรือประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรขนาดกลางอีก 17 ประเทศ ที่ต้องการความเป็นธรรมในการค้าสินค้าเกาตรผลักดันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการเจรจา
นอกจากนี้ไทยยังร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ผลักดันให้มีประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และสุขภาพของประชาชน (Public Health) ในปฏิญญารัฐมนตรี โดยเห็นว่า หากไม่มีประเด็นนี้รวมอยู่ด้วย ประชาชนจะยิ่งมองว่า WTO เป็นองค์กรที่ล้มเหลว ไม่สามารถสนองความต้องการของประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนได้ อย่างไรก็ดี ไทยไม่ได้ต้องการปรับให้ความตกลงทรัพย์สินทางปัญญามีสาระที่อ่อนลง แต่ต้องการให้เกิดความชัดเจน และให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าความตกลงนั้นจะไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายของประเทศสมาชิกในเรื่องสุขภาพประชาชน ส่วนประเด็นสำคัญอีกเรื่องคือ การขยายความตกลงทรัพย์สินทางปัญญา ข้อ 23 ให้เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สำหรับเรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขัน ไทยเห็นว่าประเทศส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนายังขาดความพร้อม ที่จะเข้าร่วมการเจราจาจัดทำความตกลงพหุภาคีในสองเรื่องนี้ โดยประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นที่จะต้องมั่นใจในผลประโยชน์ที่จะได้รับจากความตกลง ตลอดจนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อนโยบายด้านการพัฒนา และด้านอุตสาหกรรมก่อน ดังนั้นไทยจึงได้เสนอให้คณะทำงานที่จัดตั้งอยู่แล้วใน WTO ทำการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป และเสนอแนะให้รัฐมนตรีตัดสินใจว่าจะเริ่มเจรจาหรือไม่ ในการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 5
ขณะที่เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะภาครัฐของไทยเท่านั้นที่ให้ความสนใจ แต่ประชาชนก็ยังให้ความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ไทยเห็นว่าบทบัญญัติของ WTO ปัจจุบันเพียงพอแล้ว ที่จะรับมือกับข้อกังวลในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการค้า ดังนั้น คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อมควรดำเนินการตามแผนงานต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทำให้สมาชิกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ทั้งนี้ไทยไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนบทบาทคณะกรรมการฯ เป็นเวทีเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่สามารถยอมรับข้อเสนอที่จะปรับบทบัญญัติของ WTO โดยอ้างเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่จะนำหลักการเตือนภัยล่วงหน้า ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้มาใช้เกินไปกว่าบทบัญญัติปัจจุบัน
ในโอกาสนี้ไทยยังได้กล่าวต้อนรับจีน และไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ WTO ด้วย และได้กล่าวสรุปว่า ความสำเร็จของการประชุม WTO ที่โดฮาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประเทศสมาชิกแสดงความตั้งใจจริงทางการเมืองที่จะลด และประนีประนอมท่าทีที่แตกต่าง สำหรับไทยพร้อมที่จะสนับสนุนการเจรจารอบใหม่ เนื่องจากเชื่อว่าระบบการค้าพหุภาคีมีความสำคัญ และจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกได้ รวมทั้งเห็นว่า ความสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรี WTO ที่โดฮา จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบการค้าพหุภาคีให้กลับคืนมา และจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคน
อนึ่ง สำหรับในเรื่องของสินค้าเกษตรนั้น สหรัฐฯมีท่าทีที่สอดคล้องกับกลุ่มเครนส์ โดยพยายามผลักดันเพื่อปกป้องผลประโยชน์จนถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม ทางญี่ปุ่นเองไม่ต้องการมีข้อผูกมัดให้ยกเลิกการอุดหนุน หรือเปิดตลาดสำหรับสินค้าเกษตรให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะได้รับแรงกดดันทางการเมืองภายในประเทศให้ปกป้องการนำเข้าสินค้าเกษตร
ส่วนทางด้านประชาคมยุโรปได้แสดงท่าทีรับ ที่จะลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรลง แต่ไม่ยอมรับข้อผูกพันที่จะยกเลิกให้หมดไป และต้องการแลกกับให้มีการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การเจรจาเรื่องเกษตรจะใช้เวลาจนถึงนาทีสุดท้าย เพราะเป็นเรื่องที่อ่อนไหวทางการเมืองในประเทศสมาชิก และพยายามผลักดันเพื่อปกป้องผลประโยชน์จนถึงที่สุด
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-
นายอดิศัยยังได้แสดงความคิดเห็นต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในขณะนี้ว่า เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำอยู่นี้จะฟื้นตัวได้ หากความเชื่อมั่นในระบบการค้าพหุภาคีได้รับการฟื้นฟูให้กลับคืนมา ด้วยการผลักดันการเจรจาการค้าให้คืบหน้า
สำหรับประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการเจรจาสินค้าเกษตรเป็นอย่างมาก เนื่องจากจนถึงขณะนี้ยังคงมีการเลือกปฏิบัติต่อสินค้าเกษตรในกรอบ WTO โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ประเทศพัฒนาแล้วมีการให้การอุดหนุนการส่งออก และการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนการค้า ซึ่งได้สร้างความไม่เป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา เพราะมีความได้เปรียบกว่าในการค้าสินค้าดังกล่าว และทำให้สินค้าเกษตรส่งออกของไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศเหล่านี้ได้
ดังนั้นเหตุผลสำคัญที่ไทยเข้าร่วมการเจรจาการค้ารอบใหม่ คือ เพื่อให้สมาชิกผูกพันที่จะยุติการเลือกปฏิบัติต่อการค้าสินค้าเกษตร และให้การค้าสินค้าเกษตรอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของ WTO โดยสมบูรณ์ ซึ่งไทยพร้อมที่จะหารือกับประเทศสมาชิกเพื่อกำหนดเวลาดำเนินการในเรื่องนี้ให้ชัดเจน เนื่องจากหากสมาชิกไม่ผูกพันที่จะยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก และอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรแล้ว การเจรจารอบใหม่ก็จะไม่มีประโยชน์ต่อประเทศไทย
เพราะฉะนั้นไทยจึงได้เรียกร้องให้มีการเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยได้ร่วมกับกลุ่มเครนส์ หรือประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรขนาดกลางอีก 17 ประเทศ ที่ต้องการความเป็นธรรมในการค้าสินค้าเกาตรผลักดันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในการเจรจา
นอกจากนี้ไทยยังร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ผลักดันให้มีประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และสุขภาพของประชาชน (Public Health) ในปฏิญญารัฐมนตรี โดยเห็นว่า หากไม่มีประเด็นนี้รวมอยู่ด้วย ประชาชนจะยิ่งมองว่า WTO เป็นองค์กรที่ล้มเหลว ไม่สามารถสนองความต้องการของประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนได้ อย่างไรก็ดี ไทยไม่ได้ต้องการปรับให้ความตกลงทรัพย์สินทางปัญญามีสาระที่อ่อนลง แต่ต้องการให้เกิดความชัดเจน และให้ประชาชนมั่นใจได้ว่าความตกลงนั้นจะไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อนโยบายของประเทศสมาชิกในเรื่องสุขภาพประชาชน ส่วนประเด็นสำคัญอีกเรื่องคือ การขยายความตกลงทรัพย์สินทางปัญญา ข้อ 23 ให้เรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สำหรับเรื่องการลงทุนและนโยบายการแข่งขัน ไทยเห็นว่าประเทศส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนายังขาดความพร้อม ที่จะเข้าร่วมการเจราจาจัดทำความตกลงพหุภาคีในสองเรื่องนี้ โดยประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นที่จะต้องมั่นใจในผลประโยชน์ที่จะได้รับจากความตกลง ตลอดจนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อนโยบายด้านการพัฒนา และด้านอุตสาหกรรมก่อน ดังนั้นไทยจึงได้เสนอให้คณะทำงานที่จัดตั้งอยู่แล้วใน WTO ทำการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป และเสนอแนะให้รัฐมนตรีตัดสินใจว่าจะเริ่มเจรจาหรือไม่ ในการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 5
ขณะที่เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะภาครัฐของไทยเท่านั้นที่ให้ความสนใจ แต่ประชาชนก็ยังให้ความสนใจในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ไทยเห็นว่าบทบัญญัติของ WTO ปัจจุบันเพียงพอแล้ว ที่จะรับมือกับข้อกังวลในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการค้า ดังนั้น คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อมควรดำเนินการตามแผนงานต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทำให้สมาชิกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ทั้งนี้ไทยไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนบทบาทคณะกรรมการฯ เป็นเวทีเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมทั้งไม่สามารถยอมรับข้อเสนอที่จะปรับบทบัญญัติของ WTO โดยอ้างเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่จะนำหลักการเตือนภัยล่วงหน้า ที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้มาใช้เกินไปกว่าบทบัญญัติปัจจุบัน
ในโอกาสนี้ไทยยังได้กล่าวต้อนรับจีน และไต้หวันเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ WTO ด้วย และได้กล่าวสรุปว่า ความสำเร็จของการประชุม WTO ที่โดฮาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อประเทศสมาชิกแสดงความตั้งใจจริงทางการเมืองที่จะลด และประนีประนอมท่าทีที่แตกต่าง สำหรับไทยพร้อมที่จะสนับสนุนการเจรจารอบใหม่ เนื่องจากเชื่อว่าระบบการค้าพหุภาคีมีความสำคัญ และจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกได้ รวมทั้งเห็นว่า ความสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรี WTO ที่โดฮา จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบการค้าพหุภาคีให้กลับคืนมา และจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคน
อนึ่ง สำหรับในเรื่องของสินค้าเกษตรนั้น สหรัฐฯมีท่าทีที่สอดคล้องกับกลุ่มเครนส์ โดยพยายามผลักดันเพื่อปกป้องผลประโยชน์จนถึงที่สุด อย่างไรก็ตาม ทางญี่ปุ่นเองไม่ต้องการมีข้อผูกมัดให้ยกเลิกการอุดหนุน หรือเปิดตลาดสำหรับสินค้าเกษตรให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะได้รับแรงกดดันทางการเมืองภายในประเทศให้ปกป้องการนำเข้าสินค้าเกษตร
ส่วนทางด้านประชาคมยุโรปได้แสดงท่าทีรับ ที่จะลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรลง แต่ไม่ยอมรับข้อผูกพันที่จะยกเลิกให้หมดไป และต้องการแลกกับให้มีการเจรจาเรื่องสิ่งแวดล้อม ในขณะที่การเจรจาเรื่องเกษตรจะใช้เวลาจนถึงนาทีสุดท้าย เพราะเป็นเรื่องที่อ่อนไหวทางการเมืองในประเทศสมาชิก และพยายามผลักดันเพื่อปกป้องผลประโยชน์จนถึงที่สุด
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-