สรุปนโยบายและมาตรการเศรษฐกิจที่สำคัญ
3.1 มาตรการการคลัง
ก. มาตรการภาษี
1. การกำหนดให้กองทุนเพื่อการร่วมลงทุน (Equity Fund) ไม่ต้องมีฐานะเป็น นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
- คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2544 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เรื่องการกำหนดให้กองทุนเพื่อการร่วมลงทุน (Equity Fund) ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรการสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับภาค เอกชน ไม่ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นๆ ทำให้ผู้ลงทุนไม่มีภาระภาษีจากผลประโยชน์ที่ได้รับจากการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
2. การขยายเวลาการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ
- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 อนุมัติการขยายระยะเวลาการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 จากวันที่ 1 มกราคม 2544 ออกไปอีก 1 ปี
3. การปรับปรุงภาษีสรรพสามิต
- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544 อนุมัติมาตรการปรับปรุงภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าประเภทสุราและยาสูบ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 7,479 ล้านบาท ดังนี้
1) เพิ่มภาษีเบียร์จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 53 เป็นร้อยละ 55
2) เพิ่มภาษีไวน์องุ่นและสปาร์กกลิ้งไวน์จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 60
3) เพิ่มภาษีวิสกี้จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาท
4) เพิ่มภาษีบรั่นดีจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 25 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 30 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 190 บาท
5) เพิ่มภาษีสุราพิเศษประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากวิสกี้และบรั่นดีจากอัตราตาม มูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาท
6) เพิ่มภาษีสุราผสมและสุรา ปรุงพิเศษจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาท
7) เพิ่มแสตมป์ยาสูบชนิดบุหรี่ ซิกาแรตจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 71.5 เป็นร้อยละ 75
ข. มาตรการรายจ่าย
1. การพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกร
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 เห็นชอบโครงการพักชำระหนี้และ ลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท สามารถพักชำระหนี้และลดภาระหนี้เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลอดภาระหนี้ พร้อมกันนี้ กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ฯ จะจัดทำแผนการปรับโครงสร้างและฟื้นฟูการประกอบอาชีพของเกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว เกษตรกรจะสามารถชำระหนี้สินและขยายการผลิตได้ต่อไป
รัฐบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อรับภาระโครงการหนี้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินงบประมาณไม่เกินปีละ 6,000 ล้านบาท
2. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2545 ในวงเงิน 973,000 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดโครงสร้างงบประมาณ สำหรับทิศทางการจัดสรรงบประมาณได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เป็น การดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ มีการทบทวนวิธีการจัดสรรงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณรายจ่ายลงทุนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความสามารถในการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานต่าง ๆ และเบิกจ่ายเงินได้ทันภายในปีงบประมาณ ซึ่งจะช่วยให้นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ดังตาราง
โครงสร้างงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
หน่วย : พันล้านบาท
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ตามเอกสารงบประมาณ)
รายการ วงเงิน เพิ่ม/-ลด วงเงิน +เพิ่ม/-ลด
จำนวน % จำนวน %
1. วงเงินงบประมาณ 910 50 5.8 973 63 6.9
(สัดส่วนต่อ GDP) 17.5 17.3
ก. รายจ่ายลงทุน 220.2 3.1 1.4 231.8 11.6 5.3
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 24.2 23.8
ข. รายจ่ายประจำ 677.7 42.1 6.6 716.2 38.5 5.7
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 74.5 73.6
ค. ชำระคืนต้นเงินกู้ 12.1 4.8 65.8 25 12.9 105.8
(สัดส่วนต่อ GDP) 1.3 2.6
2. รายได้ 805 55 7.3 823 18 2.2
(สัดส่วนต่อ GDP) 15.5 14.7
3. ดุลงบประมาณ -105 5 4.5 -150 45 42.9
(สัดส่วนต่อ GDP) 2 2.7
4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) 5,208.60 317.9 3.5 5,614.90 406.3 7.8
ค. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
1. การออกพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2
- คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 เรื่องการออกพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในปี งบประมาณ 2544 แก่สถาบันการเงินต่างๆ ครั้งที่ 4 - 9 รวม 6 ครั้ง โดยกระทรวงการคลังเข้าซื้อหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ของสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านั้นนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ออกประกาศจำหน่ายพันธบัตรเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2543 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปี อายุพันธบัตร 10 ปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ครั้งที่ 4 ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 60 ล้านบาท
ครั้งที่ 5 ให้ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) จำนวน 167 ล้านบาท
ครั้งที่ 6 ให้บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรมจำกัด(มหาชน) จำนวน 5 ล้านบาท
ครั้งที่ 7 ให้ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด(มหาชน)จำนวน 2,053 ล้านบาท
ครั้งที่ 8 ให้ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) จำนวน 93 ล้านบาท
ครั้งที่ 9 ให้ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 545 ล้านบาท
เมื่อออกพันธบัตรในครั้งนี้แล้ว จะยังคงมีวงเงินเหลือตามโครงการช่วยเพิ่มเงิน กองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 อีกจำนวน 226,266 ล้านบาท ซึ่งจะไม่มีการออกพันธบัตรอีกต่อไป เนื่องจากโครงการมีอายุสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2543
2. การกู้เงินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 อนุมัติให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) กู้เงินและ/หรือออกพันธบัตรโดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อนำไปชำระคืนเงินกู้จากการออกพันธบัตรในประเทศ (Refinance) ที่จะครบกำหนดชำระในปี 2544 จำนวน 5,300 ล้านบาท และเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนถาวรสำหรับภาระ Take - or Pay ตามสัญญาซื้อขายก๊าซจากแหล่งยาดานาและเยตากุน ภายในวงเงิน 17,000 ล้านบาท โดยมีอายุเงินกู้ไม่เกิน 10 ปี นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ ปตท. มี วงเงินกู้ระยะสั้นกับธนาคารพาณิชย์และสถาบัน การเงินจำนวน 17 แห่ง วงเงิน 9,110 ล้านบาท อายุ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
3.1 มาตรการการคลัง
ก. มาตรการภาษี
1. การกำหนดให้กองทุนเพื่อการร่วมลงทุน (Equity Fund) ไม่ต้องมีฐานะเป็น นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
- คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2544 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 เรื่องการกำหนดให้กองทุนเพื่อการร่วมลงทุน (Equity Fund) ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามมาตรการสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับภาค เอกชน ไม่ต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรเช่นเดียวกับกองทุนรวมอื่นๆ ทำให้ผู้ลงทุนไม่มีภาระภาษีจากผลประโยชน์ที่ได้รับจากการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
2. การขยายเวลาการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ
- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 อนุมัติการขยายระยะเวลาการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 จากวันที่ 1 มกราคม 2544 ออกไปอีก 1 ปี
3. การปรับปรุงภาษีสรรพสามิต
- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544 อนุมัติมาตรการปรับปรุงภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าประเภทสุราและยาสูบ ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 7,479 ล้านบาท ดังนี้
1) เพิ่มภาษีเบียร์จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 53 เป็นร้อยละ 55
2) เพิ่มภาษีไวน์องุ่นและสปาร์กกลิ้งไวน์จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 60
3) เพิ่มภาษีวิสกี้จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาท
4) เพิ่มภาษีบรั่นดีจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 25 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 30 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 190 บาท
5) เพิ่มภาษีสุราพิเศษประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากวิสกี้และบรั่นดีจากอัตราตาม มูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาท
6) เพิ่มภาษีสุราผสมและสุรา ปรุงพิเศษจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาท
7) เพิ่มแสตมป์ยาสูบชนิดบุหรี่ ซิกาแรตจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 71.5 เป็นร้อยละ 75
ข. มาตรการรายจ่าย
1. การพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกร
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 เห็นชอบโครงการพักชำระหนี้และ ลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท สามารถพักชำระหนี้และลดภาระหนี้เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการปลอดภาระหนี้ พร้อมกันนี้ กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ฯ จะจัดทำแผนการปรับโครงสร้างและฟื้นฟูการประกอบอาชีพของเกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว เกษตรกรจะสามารถชำระหนี้สินและขยายการผลิตได้ต่อไป
รัฐบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อรับภาระโครงการหนี้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินงบประมาณไม่เกินปีละ 6,000 ล้านบาท
2. วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2545 ในวงเงิน 973,000 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดโครงสร้างงบประมาณ สำหรับทิศทางการจัดสรรงบประมาณได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เป็น การดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศโดยยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ มีการทบทวนวิธีการจัดสรรงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณรายจ่ายลงทุนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความสามารถในการใช้จ่ายเงินของหน่วยงานต่าง ๆ และเบิกจ่ายเงินได้ทันภายในปีงบประมาณ ซึ่งจะช่วยให้นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ดังตาราง
โครงสร้างงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
หน่วย : พันล้านบาท
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ตามเอกสารงบประมาณ)
รายการ วงเงิน เพิ่ม/-ลด วงเงิน +เพิ่ม/-ลด
จำนวน % จำนวน %
1. วงเงินงบประมาณ 910 50 5.8 973 63 6.9
(สัดส่วนต่อ GDP) 17.5 17.3
ก. รายจ่ายลงทุน 220.2 3.1 1.4 231.8 11.6 5.3
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 24.2 23.8
ข. รายจ่ายประจำ 677.7 42.1 6.6 716.2 38.5 5.7
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 74.5 73.6
ค. ชำระคืนต้นเงินกู้ 12.1 4.8 65.8 25 12.9 105.8
(สัดส่วนต่อ GDP) 1.3 2.6
2. รายได้ 805 55 7.3 823 18 2.2
(สัดส่วนต่อ GDP) 15.5 14.7
3. ดุลงบประมาณ -105 5 4.5 -150 45 42.9
(สัดส่วนต่อ GDP) 2 2.7
4. ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศ (GDP) 5,208.60 317.9 3.5 5,614.90 406.3 7.8
ค. มาตรการก่อหนี้และบริหารหนี้
1. การออกพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2
- คณะรัฐมนตรีรับทราบเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 เรื่องการออกพันธบัตรรัฐบาลตามโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในปี งบประมาณ 2544 แก่สถาบันการเงินต่างๆ ครั้งที่ 4 - 9 รวม 6 ครั้ง โดยกระทรวงการคลังเข้าซื้อหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ของสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านั้นนำเงินดังกล่าวไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้ออกประกาศจำหน่ายพันธบัตรเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2543 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปี อายุพันธบัตร 10 ปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ครั้งที่ 4 ให้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 60 ล้านบาท
ครั้งที่ 5 ให้ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) จำนวน 167 ล้านบาท
ครั้งที่ 6 ให้บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรมจำกัด(มหาชน) จำนวน 5 ล้านบาท
ครั้งที่ 7 ให้ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด(มหาชน)จำนวน 2,053 ล้านบาท
ครั้งที่ 8 ให้ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) จำนวน 93 ล้านบาท
ครั้งที่ 9 ให้ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 545 ล้านบาท
เมื่อออกพันธบัตรในครั้งนี้แล้ว จะยังคงมีวงเงินเหลือตามโครงการช่วยเพิ่มเงิน กองทุนชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 อีกจำนวน 226,266 ล้านบาท ซึ่งจะไม่มีการออกพันธบัตรอีกต่อไป เนื่องจากโครงการมีอายุสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2543
2. การกู้เงินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2544 อนุมัติให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) กู้เงินและ/หรือออกพันธบัตรโดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อนำไปชำระคืนเงินกู้จากการออกพันธบัตรในประเทศ (Refinance) ที่จะครบกำหนดชำระในปี 2544 จำนวน 5,300 ล้านบาท และเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนถาวรสำหรับภาระ Take - or Pay ตามสัญญาซื้อขายก๊าซจากแหล่งยาดานาและเยตากุน ภายในวงเงิน 17,000 ล้านบาท โดยมีอายุเงินกู้ไม่เกิน 10 ปี นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ ปตท. มี วงเงินกู้ระยะสั้นกับธนาคารพาณิชย์และสถาบัน การเงินจำนวน 17 แห่ง วงเงิน 9,110 ล้านบาท อายุ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-