สหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐฯในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมที่ผ่านมายังคงชะลอตัว โดยอุปสงค์ในประเทศและจากต่างประเทศที่ชะลอตัวและระดับสินค้าคงคลังที่อยู่ ในระดับสูงทำให้ภาคการผลิตชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 0.1 ต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 0.9 ในเดือนมิถุนายน และยอดการสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมิถุนายนยังคงหดตัวร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าระดับสินค้าคงคลัง โดยเฉพาะในหมวดที่ไม่รวมสินค้า hi-tech ได้ปรับลดลงมามากและอาจใกล้ภาวะสมดุลในระยะต่อไปภาคการบริโภคยังคงทรงตัวดี โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือน ก่อนหน้า ขณะที่ภาคการก่อสร้างอ่อนตัวลงเล็กน้อย โดยดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างเดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 0.7 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (ซึ่งคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ลงอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมคณะกรรมาธิการการเงินวันที่ 21 สิงหาคมนี้) และ tax rebate ของรัฐบาลจะเป็นปัจจัยบวกต่อการบริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมในอนาคต
แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อลดลง ดัชนีราคาสินค้าผู้ผลิต (PPI) เดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 0.9 ซึ่งเป็นอัตราการลดลงที่รุนแรงที่สุดในรอบ 8 ปี เนื่องจากสินค้าหมวดพลังงานมีราคาลดลง นอกจากนี้ ตลาดแรงงานที่คลายการตึงตัวโดยเฉพาะภาคการผลิตสินค้า hi-tech และภาคการบริการช่วยให้ค่าจ้างแรงงานไม่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันด้านราคาในประเทศและต่างประเทศจะทำให้ราคาสินค้าอยู่ในระดับที่ควบคุมได้
ยุโรป
ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรในช่วงที่ผ่านมานั้น ยังคงชะลอตัวลง โดยล่าสุดธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกเป็นร้อยละ 0.5 ต่อไตรมาส และร้อยละ 2.5 ต่อปี จากระดับร้อยละ 0.6 ต่อไตรมาส และร้อยละ 2.6 ต่อปี นอกจากนั้น ธนาคารกลางยุโรปได้กล่าวใน ECB Monthly Bulletin เดือนสิงหาคมว่า การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศกลุ่มยูโรในปี 2544 จะยังคงอ่อนแอเพราะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงมากและการบริโภคภายในกลุ่มที่ชะลอลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา (อันเป็นผลจากราคาน้ำมันและอาหาร) โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ต่ำกว่าที่คาด และมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังด้านอัตราเงินเฟ้อ แม้จะยังอยู่ในระดับสูงแต่มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลง หลังจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของประเทศเยอรมนีในเดือนกรกฎาคมมีเเนวโน้มลดลง โดยล่าสุดธนาคารกลางยุโรปคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของกลุ่ม ยูโรช่วงปลายปี จะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และจะมีผลให้การบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2544 หรือต้นปี 2545
ส่วนปริมาณเงิน M3 ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งของธนาคารกลางยุโรป ขยายตัวร้อยละ 6.1 ในเดือนมิถุนายน สูงขึ้นจากระดับร้อยละ 5.1 ต่อปีในเดือนพฤษภาคม (เทียบกับเป้าหมายที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี) อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางยุโรปกล่าวว่ามีความบิดเบือนบางประการในข้อมูลเนื่องจากมีการนับการถือครอง เงินของคนนอกกลุ่มประเทศยูโรด้วย
สำหรับอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางยุโรปยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับร้อยละ 4.5 ต่อปีหลังจากที่ได้ปรับลดจากระดับร้อยละ 4.75 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 จากระดับร้อยละ 5.25 ต่อปีมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา
เอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่มีสัญญาณว่าจะปรับตัว ดีขึ้น โดยดัชนีเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาชี้ให้เห็นว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งจะประกาศในวันที่ 7 กันยายนนี้ จะยังคงลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสแรก ทั้งนี้ การบริโภคของประชาชนยังคงชะลอตัวลง ขณะที่ภาคการผลิตประสบกับปัญหาการส่งออก ที่ชะลอตัวลงและการเพิ่มขึ้นของปริมาณสินค้าคงคลัง ส่วนระดับราคาในประเทศยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจโดยการกำหนดงบประมาณเสริม (Supplementary Budget) ในการประชุมสภาสมัยวิสามัญช่วงปลายเดือนกันยายน นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอีก แม้ว่าผู้ว่าการธนาคารกลางยืนยันว่าจะไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมจนกว่ารัฐบาล จะดำเนินนโยบายปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจอนึ่ง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาสูงของญี่ปุ่นปรากฏว่าพรรคร่วมรัฐบาลยังคงครองเสียงข้างมาก โดยได้คะแนนเสียงรวม 78 เสียงจากทั้งหมด 121 เสียง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากคะแนนเสียงสนับสนุนนายก รัฐมนตรี Koizumi ที่มีอยู่สูง ทำให้คาดว่านโยบายการปฏิรูปของนาย Koizumi จะยังคงดำเนินต่อไปได้
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 7.8 (yoy) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2544 และร้อยละ 7.9 ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ได้แก่ การค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 10.3 (yoy) การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 (yoy) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 (yoy) ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศเริ่มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อยละ 14.6 (yoy) ในไตรมาสแรก และดุลการค้าเกินดุล 3.8 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้วซึ่งเกินดุล 7.2 พันล้านดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจจีน จะขยายตัวได้ตามเป้าที่ทางการตั้งไว้ที่ร้อยละ 7 และ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต เพราะ มีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ จัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะก่อให้เกิดการลงทุนก่อสร้างและการบริโภคในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปี 2547-2551 (2) การเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี WTO พิจารณาอนุมัติในการประชุมที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 โดยเม็กซิโกกล่าวว่าจะไม่คัดค้านการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน แม้ว่าจีนจะยังไม่สามารถเจรจาจัดทำความตกลงทวิภาคีกับเม็กซิโกได้สำเร็จสำหรับค่าเงินหยวนปัจจุบันคงที่อยู่ที่ 8.28 หยวนต่อดอลลาร์สรอ. โดยผู้ว่าการธนาคารกลางจีนกล่าวว่าค่าเงินหยวนจะยังคงมีเสถียรภาพภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบ managed float ต่อไปหลังจากจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนจะมีช่วงความเคลื่อนไหว (band) ที่กว้างขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการที่ 8.2770-8.2880 หยวนต่อดอลลาร์สรอ. อย่างไรก็ตาม การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศและดุลบัญชี เดินสะพัดที่คาดว่าจะเกินดุลในปีนี้ จะส่งผลให้จีนมี ดุลการชำระเงินที่เข้มแข็งและค่าเงินหยวนอาจแข็งขึ้นได้
เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มชะลอลงจากไตรมาสแรกตามการชะลอลงของการส่งออกเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของฮ่องกง นอกจากนี้ เศรษฐกิจที่ชะลอตัวยังเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากนักลงทุนและผู้บริโภคยังคงไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ภาวะซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ และอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากนี้ ทางการคาดว่าฮ่องกงจะยังคงประสบปัญหาภาวะเงินฝืดเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่ง และจะเริ่มคลี่คลาย ดีขึ้นในช่วงปลายปี 2544 หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัว ดีขึ้น โดยคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะติดลบ ร้อยละ 1.0ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่ยังคงชะลอตัว ต่อเนื่อง โดยมูลค่าคำสั่งซื้อสินค้า (value of orders on hand) ล่าสุดในเดือนมิถุนายนหดตัวร้อยละ 8.0 (yoy) ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยอดการค้าปลีกเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนกลับมีทิศทาง ที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ เป็นผลจากการแข่งขันกันลดราคาสินค้าของผู้ค้าปลีกรายย่อยและจำนวนนักท่องเที่ยว ในฮ่องกงที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานการคำนวณต่ำใน ปีที่แล้ว
อนึ่ง การสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชน ในฮ่องกงต่อภาวะเศรษฐกิจโดย Hong Kong Policy Researach Institute Ltd ล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2544 ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงร้อยละ 9.0 มาอยู่ที่ 50.3 จุด ลดลงจากเดือนมิถุนายนที่ 55.3 จุด ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจน่าจะยังคงมีแนวโน้มที่ชะลอลงต่อไปอีก
เศรษฐกิจไต้หวันเริ่มแสดงสัญญาณการเข้าสู่ภาวะตกต่ำ โดยอัตราการว่างงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 4.5 ในเดือนมิถุนายน 2544 ผลผลิต อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 11.3 (yoy) หรือลดลงร้อยละ 6.2 (yoy) นับตั้งแต่ต้นปี ยอดการสั่งซื้อสินค้าที่เป็น ตัวบ่งชี้การส่งออกใน 3-6 เดือนข้างหน้ามีมูลค่าลดลง ร้อยละ 19.9 (yoy) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการ ส่งออกของไต้หวันจะยังไม่ดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกล่าสุดเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าลดลง ร้อยละ 28.4 (yoy) ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 31.8 (yoy) และดุลการค้าเกินดุล 0.53 พันล้านดอลลาร์สรอ. ตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าว ส่งผลให้กระทรวงการคลังไต้หวันปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของการส่งออกทั้งปีเป็นลดลงร้อยละ 13 และการนำเข้าลดลงร้อยละ 17 เเละคาดว่าดุลการค้าทั้งปี จะเกินดุลประมาณ 13 พันล้านดอลลาร์สรอ. นอกจากนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไต้หวันยังคงซบเซาต่อเนื่อง (ปิดที่ 4,520.76 จุด ณ วันที่ 13 สิงหาคม ลดลงร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ 6,104.24 จุด) แม้ว่าทางการไต้หวันได้พยายาม ออกมาตรการกระตุ้นตลาดหุ้นมาโดยตลอด โดยล่าสุด ได้ประกาศปรับลด margin loan rate ลงร้อยละ 0.5-0.75 และให้กองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการไต้หวันเข้าซื้อหุ้นจำนวน 15 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (428.6 ล้านดอลลาร์สรอ.)
ทั้งนี้ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P's ได้ปรับลด credit rating ระยะยาวของไต้หวันจาก AA+ เป็น AA แต่ยังคง credit rating ระยะสั้นไว้ที่ A1+ และ outlook เป็น negative เนื่องจากเห็นว่าไต้หวันมี ข้อจำกัดด้านความยืดหยุ่นทางการเงิน เพราะมีหนี้ ภาครัฐสูงถึงร้อยละ 40 และมูลค่าการขาดดุลงบประมาณที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 ของ GDP ในปีนี้ และปัญหาหนี้เสียในภาคธนาคารคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับสูงกว่าร้อยละ 10 รวมทั้งความไม่ราบรื่นในการออกมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ เนื่องจาก รัฐบาลมีเสียงข้างน้อยในสภา
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในเดือนกรกฎาคม 2544 ยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง(โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์) สืบเนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลง รวมถึงราคาเหล็ก ผลิตภัณฑ์เคมี และสิ่งทอที่ ลดลง ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2544 ลดลงร้อยละ 20 (yoy) ซึ่งลดลงมากที่สุดในรอบ 20 ปีนับแต่ปี 2510 ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 18.7 (yoy)ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ทางการเกาหลีใต้ได้ประกาศมาตรการและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ (1) การประกาศแก้ไข กฎระเบียบการลงทุนสำหรับกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติให้สามารถลงทุนในหลักทรัพย์สกุลเงิน ต่างประเทศและหลักทรัพย์ในกระดานที่สองในตลาด Kosdaq รวมทั้งลงทุนใน venture firms และ stock options and futures ได้ (2) มาตรการเสริมสร้างความมั่นคงของตลาดทุนและสนับสนุนให้กิจการต่างๆ สามารถลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์มากขึ้น และ (3) แผนเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐจำนวน 10 ล้านล้านวอน (7.8 พันล้านดอลลาร์สรอ.) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 โดยเน้นการใช้จ่ายในไตรมาสที่สามเป็นหลัก
นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินเกาหลีใต้ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ย overnight call rate ลงอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.50 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 จากเดิมร้อยละ 4.75 (ก่อนหน้านี้ ปรับลดในเดือนกรกฎาคม 2544 ร้อยละ 0.25 ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ)
อาเซียน
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรกซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.5 (yoy) อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ได้แก่ (1) แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด (2) แนวโน้มการชะลอตัวของอุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ในตลาดโลก (3) ปัญหาการขาดดุลงบประมาณสูง และ (4) เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนดัชนีเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่ชะลอลง โดยล่าสุดการส่งออกเดือนมิถุนายนหดตัวสูงถึงร้อยละ 24.69 ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ตามการลดลงของอุปสงค์ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และฐานการคำนวณสูงในปีที่แล้ว ส่งผลให้การส่งออกในครึ่งปีแรกหดตัวร้อยละ 9.3 (yoy) ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.8 (yoy) สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.7 (yoy) เป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหาร ในประเทศ
อนึ่ง ช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ได้ใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นโดยได้ปรับเพิ่ม liquidity reserve requirements รวมร้อยละ 4.0 (วันที่ 26 กรกฎาคม และ 9 สิงหาคม) เพื่อเป็นการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบธนาคารและลดแรงกดดันต่อค่าเงินเปโซ ส่งผลให้ total reserve requirements ณ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 20.0 รวมทั้งได้ยกเลิกระบบ tiering system สำหรับ overnight borrowing rate (3 สิงหาคม) โดยจะจ่ายดอกเบี้ย overnight borrowing rate เเก่ธนาคารพาณิชย์ในอัตราเดียวคือร้อยละ 9.0 สำหรับทุกวงเงิน การกู้ยืม (จากเดิมที่จ่ายใน 3 อัตราคือร้อยละ 9.0 สำหรับเงินกู้ยืมจำนวน 5 พันล้านเปโซเเรก ร้อยละ 7.5 สำหรับวงเงิน 5 พันล้านเปโซถัดไป และร้อยละ 6.0สำหรับวงเงินที่เกินกว่า 10 พันล้านเปโซ) เพื่อดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบโดยการจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินมาฝากกับธนาคารกลางเพิ่มขึ้น
เศรษฐกิจโลกเเละความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและเศรษฐกิจของมาเลเซีย โดยการส่งออกเดือนมิถุนายนลดลงถึงร้อยละ 13.4 ส่งผลให้การส่งออก ในช่วงไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 8.7 (yoy) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสเเรก อย่างไรก็ตาม การนำเข้าที่ชะลอตัวลงตามการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้า ยังคงเกินดุล 6.9 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในช่วงครึ่งเเรกของปี เทียบกับ 7.6 พันล้านดอลลาร์สรอ.ในช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ติดลบเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันในเดือนมิถุนายน (-9.9% yoy) ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส ที่ 2 ลดลงร้อยละ 5.2 (yoy) เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในช่วงไตรมาสเเรก ส่วนอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยล่าสุด ในเดือนกรกฎาคมทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.4 (yoy) (เฉลี่ยร้อยละ 1.5 ในช่วง 7 เดือนเเรกของปี) ภาวะการส่งออกและการผลิตที่ชะลอตัว ดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้ GDP ไตรมาสที่ 2 (ซึ่ง มาเลเซียจะประกาศในวันที่ 23 สิงหาคม) ชะลอตัวลง ต่อเนื่องจากไตรมาสเเรก
สำหรับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของ มาเลเซียกลับเพิ่มสูงขึ้นในเดือนมิถุนายนเเละกรกฎาคม หลังจากมีเเนวโน้มลดลงมาตั้งเเต่เดือนพฤษภาคมปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่มาเลเซียออกพันธบัตรมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สรอ.ในต่างประเทศ (ซึ่งสะท้อนให้เห็นในตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนกรกฎาคม ที่สูงขึ้น 1.2 พันล้านดอลลาร์สรอ.จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 27.2 พันล้านดอลลาร์สรอ.) นักวิเคราะห์เห็นว่าระดับทุนสำรองที่ดีขึ้น น่าจะทำให้ธนาคารกลางสามารถคงนโยบายตรึงค่าเงินริงกิตไว้ได้อย่างน้อยจนถึงสิ้นปีนี้ และเปิดโอกาสให้สามารถดำเนินนโยบายการเงินที่ ผ่อนคลายได้มากขึ้น
ด้านการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 Corporate Debt Restructuring Committee (CDRC) ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่เพื่อเร่งปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ 29 พันล้านริงกิต (7.6 พันล้านดอลลาร์สรอ.) โดย (1) กำหนดให้กระบวนการ ลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้เเละ ลูกหนี้มีระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน จากเดิมที่ไม่เคยกำหนดระยะเวลา และ (2) กำหนดให้แผนการปรับ โครงสร้างหนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้เพียงร้อยละ 75 เท่านั้น จากเดิมที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ทุกราย นอกจากนี้ CDRC ยังปรับเพิ่มมูลค่าหนี้ขั้นต่ำในการยื่นขอปรับโครงสร้างหนี้เป็น 100 ล้าน ริงกิต (จากเดิมที่กำหนดให้ลูกหนี้เเต่ละรายต้องมีหนี้ อย่างต่ำ 50 ล้านริงกิต) อีกทั้งจะต้องมีสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อย่างต่ำ 5 รายเเทนที่จะเป็น 2 รายเช่นในอดีต
เศรษฐกิจอินโดนีเซีย เดือนกรกฎาคม 2544 ยังคงชะลอตัวและประสบกับปัญหาอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 13.04 (yoy) และ 2.12 (mom) สูงขึ้นจากเดือนมิถุนายนที่ ร้อยละ 12.11 และ 1.67 ตามลำดับ เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันถึงร้อยละ 30 ในเดือนมิถุนายนและการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ราคาวัตถุดิบนำเข้าสูงและราคาสินค้าในประเทศสูงขึ้นการค้าครึ่งปีแรกเกินดุล 11.55 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงจาก 15.61 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยการนำเข้า 6 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่าทั้งสิ้น 17.75 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มจาก 13.76 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปีมีมูลค่าทั้งสิ้น 29.30 พันล้านดอลลาร์สรอ. ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อนที่ 29.36 พันล้านดอลลาร์สรอ.
สำหรับการค้าเดือนมิถุนายนเกินดุล 2.01 พันล้านดอลลาร์สรอ. เท่ากับเดือนพฤษภาคม โดยมีการส่งออกคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4.80 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 4.85 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากการส่งออกทั้งสินค้าน้ำมันและไม่ใช่ น้ำมันที่ลดลง (สินค้าน้ำมันลดลงตามราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกที่ลดลง) สำหรับการนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 2.78 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงจาก 2.84 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในเดือนก่อนหน้า
เศรษฐกิจสิงคโปร์ไตรมาสที่ 2 ปี 2544 หดตัวร้อยละ 0.9 (yoy) หรือร้อยละ 10.7 (qoq, annualised) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 (yoy) หรือหดตัวร้อยละ 10.8 (qoq, annualised) ส่งผลให้เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 1.8 (yoy) นอกจากนี้ ยังได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงจากร้อยละ 3.5-5.5 เป็นร้อยละ 0.5-1.5 โดยพิจารณาจากปัจจัย ที่สำคัญ ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ภาวะซบเซาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก และ การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาค โดยคาดว่าเศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 จะยังคงชะลอตัวอยู่และ จะสามารถฟื้นตัวได้เล็กน้อยในไตรมาสที่ 4 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 ทางการสิงคโปร์ได้ออกมาตรการนอกงบประมาณ(off-budget) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มูลค่ารวม 2.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (1.2 พันล้านดอลลาร์สรอ.) หรือคิดเป็นร้อยละ
1.4 ของ GDP และประกาศว่าจะยังคงสัดส่วนการ สมทบรายได้ของนายจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง ที่ร้อยละ 16 จากที่มีแผนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ช่วงสิ้นปี (อัตราเดิมก่อนที่จะมีการปรับลดในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ) แต่จะมีการทบทวนสัดส่วนนี้อีกครั้งใน ช่วงกลางปีหน้า นอกจากนี้ ทางการมีแผนที่จะใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณอีกจำนวน 512 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (281 ล้านดอลลาร์สรอ.) ในช่วงปีงบประมาณ 2545 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ในตลาดเห็นว่ามาตรการ นอกงบประมาณที่ออกมาดังกล่าว มีมูลค่าน้อยกว่า ที่ตลาดคาดไว้ และไม่มั่นใจว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) แถลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงกลางปี (Mid-Year Policy Statement) โดยเปลี่ยนจาก "การปล่อยให้เงินดอลลาร์สิงคโปร์ค่อยๆ แข็งค่าขึ้นทีละน้อย (gradual and modest appreciation of the currency on a trade-weighted basis)" ซึ่งได้แถลงไว้ในเดือนกรกฎาคม ปีก่อน เป็น "ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบเป็นกลาง (neutral exchange rate policy) หรือ zero percent appreciation of the Singapore dollar NEER (nominal effective exchange rate)" และกล่าวว่า MAS อาจต้องเข้าไปแทรกแซงตลาดเป็นระยะๆ เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน สำหรับภาวะเงินเฟ้อ MAS คาดว่าช่วงครึ่งหลังของปีแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะลดลงโดยลำดับ เนื่องจากการชะลอตัวของตลาดแรงงานภายในประเทศ และ แนวโน้มการลดลงของระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยคาดว่าทั้งปีอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0-1.5 ทั้งนี้ MAS จะทบทวนนโยบายดังกล่าวอีกครั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
เศรษฐกิจสหรัฐฯในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมที่ผ่านมายังคงชะลอตัว โดยอุปสงค์ในประเทศและจากต่างประเทศที่ชะลอตัวและระดับสินค้าคงคลังที่อยู่ ในระดับสูงทำให้ภาคการผลิตชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 0.1 ต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 0.9 ในเดือนมิถุนายน และยอดการสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมิถุนายนยังคงหดตัวร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าระดับสินค้าคงคลัง โดยเฉพาะในหมวดที่ไม่รวมสินค้า hi-tech ได้ปรับลดลงมามากและอาจใกล้ภาวะสมดุลในระยะต่อไปภาคการบริโภคยังคงทรงตัวดี โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือน ก่อนหน้า ขณะที่ภาคการก่อสร้างอ่อนตัวลงเล็กน้อย โดยดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างเดือนมิถุนายน หดตัวร้อยละ 0.7 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (ซึ่งคาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ลงอีกร้อยละ 0.25 ในการประชุมคณะกรรมาธิการการเงินวันที่ 21 สิงหาคมนี้) และ tax rebate ของรัฐบาลจะเป็นปัจจัยบวกต่อการบริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมในอนาคต
แรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อลดลง ดัชนีราคาสินค้าผู้ผลิต (PPI) เดือนกรกฎาคมหดตัวร้อยละ 0.9 ซึ่งเป็นอัตราการลดลงที่รุนแรงที่สุดในรอบ 8 ปี เนื่องจากสินค้าหมวดพลังงานมีราคาลดลง นอกจากนี้ ตลาดแรงงานที่คลายการตึงตัวโดยเฉพาะภาคการผลิตสินค้า hi-tech และภาคการบริการช่วยให้ค่าจ้างแรงงานไม่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันด้านราคาในประเทศและต่างประเทศจะทำให้ราคาสินค้าอยู่ในระดับที่ควบคุมได้
ยุโรป
ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรในช่วงที่ผ่านมานั้น ยังคงชะลอตัวลง โดยล่าสุดธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกเป็นร้อยละ 0.5 ต่อไตรมาส และร้อยละ 2.5 ต่อปี จากระดับร้อยละ 0.6 ต่อไตรมาส และร้อยละ 2.6 ต่อปี นอกจากนั้น ธนาคารกลางยุโรปได้กล่าวใน ECB Monthly Bulletin เดือนสิงหาคมว่า การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศกลุ่มยูโรในปี 2544 จะยังคงอ่อนแอเพราะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงมากและการบริโภคภายในกลุ่มที่ชะลอลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา (อันเป็นผลจากราคาน้ำมันและอาหาร) โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มยูโรในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ต่ำกว่าที่คาด และมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังด้านอัตราเงินเฟ้อ แม้จะยังอยู่ในระดับสูงแต่มีแนวโน้มที่จะปรับตัวลง หลังจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของประเทศเยอรมนีในเดือนกรกฎาคมมีเเนวโน้มลดลง โดยล่าสุดธนาคารกลางยุโรปคาดว่าอัตราเงินเฟ้อของกลุ่ม ยูโรช่วงปลายปี จะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และจะมีผลให้การบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2544 หรือต้นปี 2545
ส่วนปริมาณเงิน M3 ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งของธนาคารกลางยุโรป ขยายตัวร้อยละ 6.1 ในเดือนมิถุนายน สูงขึ้นจากระดับร้อยละ 5.1 ต่อปีในเดือนพฤษภาคม (เทียบกับเป้าหมายที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี) อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางยุโรปกล่าวว่ามีความบิดเบือนบางประการในข้อมูลเนื่องจากมีการนับการถือครอง เงินของคนนอกกลุ่มประเทศยูโรด้วย
สำหรับอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางยุโรปยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับร้อยละ 4.5 ต่อปีหลังจากที่ได้ปรับลดจากระดับร้อยละ 4.75 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 จากระดับร้อยละ 5.25 ต่อปีมาอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา
เอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่มีสัญญาณว่าจะปรับตัว ดีขึ้น โดยดัชนีเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาชี้ให้เห็นว่าอัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งจะประกาศในวันที่ 7 กันยายนนี้ จะยังคงลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสแรก ทั้งนี้ การบริโภคของประชาชนยังคงชะลอตัวลง ขณะที่ภาคการผลิตประสบกับปัญหาการส่งออก ที่ชะลอตัวลงและการเพิ่มขึ้นของปริมาณสินค้าคงคลัง ส่วนระดับราคาในประเทศยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจโดยการกำหนดงบประมาณเสริม (Supplementary Budget) ในการประชุมสภาสมัยวิสามัญช่วงปลายเดือนกันยายน นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมอีก แม้ว่าผู้ว่าการธนาคารกลางยืนยันว่าจะไม่ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมจนกว่ารัฐบาล จะดำเนินนโยบายปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจอนึ่ง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาสูงของญี่ปุ่นปรากฏว่าพรรคร่วมรัฐบาลยังคงครองเสียงข้างมาก โดยได้คะแนนเสียงรวม 78 เสียงจากทั้งหมด 121 เสียง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากคะแนนเสียงสนับสนุนนายก รัฐมนตรี Koizumi ที่มีอยู่สูง ทำให้คาดว่านโยบายการปฏิรูปของนาย Koizumi จะยังคงดำเนินต่อไปได้
เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 7.8 (yoy) ในไตรมาสที่ 2 ปี 2544 และร้อยละ 7.9 ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ได้แก่ การค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 10.3 (yoy) การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.2 (yoy) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 (yoy) ขณะที่อุปสงค์ภายนอกประเทศเริ่มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อยละ 14.6 (yoy) ในไตรมาสแรก และดุลการค้าเกินดุล 3.8 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 2 ปีที่แล้วซึ่งเกินดุล 7.2 พันล้านดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าปีนี้เศรษฐกิจจีน จะขยายตัวได้ตามเป้าที่ทางการตั้งไว้ที่ร้อยละ 7 และ มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต เพราะ มีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ จัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะก่อให้เกิดการลงทุนก่อสร้างและการบริโภคในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปี 2547-2551 (2) การเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี WTO พิจารณาอนุมัติในการประชุมที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 โดยเม็กซิโกกล่าวว่าจะไม่คัดค้านการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน แม้ว่าจีนจะยังไม่สามารถเจรจาจัดทำความตกลงทวิภาคีกับเม็กซิโกได้สำเร็จสำหรับค่าเงินหยวนปัจจุบันคงที่อยู่ที่ 8.28 หยวนต่อดอลลาร์สรอ. โดยผู้ว่าการธนาคารกลางจีนกล่าวว่าค่าเงินหยวนจะยังคงมีเสถียรภาพภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบ managed float ต่อไปหลังจากจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนจะมีช่วงความเคลื่อนไหว (band) ที่กว้างขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการที่ 8.2770-8.2880 หยวนต่อดอลลาร์สรอ. อย่างไรก็ตาม การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศและดุลบัญชี เดินสะพัดที่คาดว่าจะเกินดุลในปีนี้ จะส่งผลให้จีนมี ดุลการชำระเงินที่เข้มแข็งและค่าเงินหยวนอาจแข็งขึ้นได้
เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มชะลอลงจากไตรมาสแรกตามการชะลอลงของการส่งออกเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของฮ่องกง นอกจากนี้ เศรษฐกิจที่ชะลอตัวยังเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากนักลงทุนและผู้บริโภคยังคงไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ภาวะซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ และอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากนี้ ทางการคาดว่าฮ่องกงจะยังคงประสบปัญหาภาวะเงินฝืดเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่ง และจะเริ่มคลี่คลาย ดีขึ้นในช่วงปลายปี 2544 หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัว ดีขึ้น โดยคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะติดลบ ร้อยละ 1.0ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่ยังคงชะลอตัว ต่อเนื่อง โดยมูลค่าคำสั่งซื้อสินค้า (value of orders on hand) ล่าสุดในเดือนมิถุนายนหดตัวร้อยละ 8.0 (yoy) ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ยอดการค้าปลีกเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนกลับมีทิศทาง ที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ เป็นผลจากการแข่งขันกันลดราคาสินค้าของผู้ค้าปลีกรายย่อยและจำนวนนักท่องเที่ยว ในฮ่องกงที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานการคำนวณต่ำใน ปีที่แล้ว
อนึ่ง การสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชน ในฮ่องกงต่อภาวะเศรษฐกิจโดย Hong Kong Policy Researach Institute Ltd ล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2544 ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงร้อยละ 9.0 มาอยู่ที่ 50.3 จุด ลดลงจากเดือนมิถุนายนที่ 55.3 จุด ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจน่าจะยังคงมีแนวโน้มที่ชะลอลงต่อไปอีก
เศรษฐกิจไต้หวันเริ่มแสดงสัญญาณการเข้าสู่ภาวะตกต่ำ โดยอัตราการว่างงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นร้อยละ 4.5 ในเดือนมิถุนายน 2544 ผลผลิต อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 11.3 (yoy) หรือลดลงร้อยละ 6.2 (yoy) นับตั้งแต่ต้นปี ยอดการสั่งซื้อสินค้าที่เป็น ตัวบ่งชี้การส่งออกใน 3-6 เดือนข้างหน้ามีมูลค่าลดลง ร้อยละ 19.9 (yoy) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการ ส่งออกของไต้หวันจะยังไม่ดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกล่าสุดเดือนกรกฎาคมมีมูลค่าลดลง ร้อยละ 28.4 (yoy) ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 31.8 (yoy) และดุลการค้าเกินดุล 0.53 พันล้านดอลลาร์สรอ. ตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าว ส่งผลให้กระทรวงการคลังไต้หวันปรับลดการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของการส่งออกทั้งปีเป็นลดลงร้อยละ 13 และการนำเข้าลดลงร้อยละ 17 เเละคาดว่าดุลการค้าทั้งปี จะเกินดุลประมาณ 13 พันล้านดอลลาร์สรอ. นอกจากนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไต้หวันยังคงซบเซาต่อเนื่อง (ปิดที่ 4,520.76 จุด ณ วันที่ 13 สิงหาคม ลดลงร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ 6,104.24 จุด) แม้ว่าทางการไต้หวันได้พยายาม ออกมาตรการกระตุ้นตลาดหุ้นมาโดยตลอด โดยล่าสุด ได้ประกาศปรับลด margin loan rate ลงร้อยละ 0.5-0.75 และให้กองทุนบำเหน็จบำนาญของข้าราชการไต้หวันเข้าซื้อหุ้นจำนวน 15 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน (428.6 ล้านดอลลาร์สรอ.)
ทั้งนี้ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P's ได้ปรับลด credit rating ระยะยาวของไต้หวันจาก AA+ เป็น AA แต่ยังคง credit rating ระยะสั้นไว้ที่ A1+ และ outlook เป็น negative เนื่องจากเห็นว่าไต้หวันมี ข้อจำกัดด้านความยืดหยุ่นทางการเงิน เพราะมีหนี้ ภาครัฐสูงถึงร้อยละ 40 และมูลค่าการขาดดุลงบประมาณที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 ของ GDP ในปีนี้ และปัญหาหนี้เสียในภาคธนาคารคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับสูงกว่าร้อยละ 10 รวมทั้งความไม่ราบรื่นในการออกมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ เนื่องจาก รัฐบาลมีเสียงข้างน้อยในสภา
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในเดือนกรกฎาคม 2544 ยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว การส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง(โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์) สืบเนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลง รวมถึงราคาเหล็ก ผลิตภัณฑ์เคมี และสิ่งทอที่ ลดลง ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2544 ลดลงร้อยละ 20 (yoy) ซึ่งลดลงมากที่สุดในรอบ 20 ปีนับแต่ปี 2510 ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 18.7 (yoy)ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ทางการเกาหลีใต้ได้ประกาศมาตรการและกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่ (1) การประกาศแก้ไข กฎระเบียบการลงทุนสำหรับกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติให้สามารถลงทุนในหลักทรัพย์สกุลเงิน ต่างประเทศและหลักทรัพย์ในกระดานที่สองในตลาด Kosdaq รวมทั้งลงทุนใน venture firms และ stock options and futures ได้ (2) มาตรการเสริมสร้างความมั่นคงของตลาดทุนและสนับสนุนให้กิจการต่างๆ สามารถลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์มากขึ้น และ (3) แผนเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐจำนวน 10 ล้านล้านวอน (7.8 พันล้านดอลลาร์สรอ.) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2544 โดยเน้นการใช้จ่ายในไตรมาสที่สามเป็นหลัก
นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินเกาหลีใต้ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ย overnight call rate ลงอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.50 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 จากเดิมร้อยละ 4.75 (ก่อนหน้านี้ ปรับลดในเดือนกรกฎาคม 2544 ร้อยละ 0.25 ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ)
อาเซียน
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ช่วงไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรกซึ่งขยายตัวร้อยละ 2.5 (yoy) อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ได้แก่ (1) แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด (2) แนวโน้มการชะลอตัวของอุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ในตลาดโลก (3) ปัญหาการขาดดุลงบประมาณสูง และ (4) เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนดัชนีเศรษฐกิจสำคัญส่วนใหญ่ชะลอลง โดยล่าสุดการส่งออกเดือนมิถุนายนหดตัวสูงถึงร้อยละ 24.69 ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ตามการลดลงของอุปสงค์ในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และฐานการคำนวณสูงในปีที่แล้ว ส่งผลให้การส่งออกในครึ่งปีแรกหดตัวร้อยละ 9.3 (yoy) ส่วนอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.8 (yoy) สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.7 (yoy) เป็นผลจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหาร ในประเทศ
อนึ่ง ช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ได้ใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้นโดยได้ปรับเพิ่ม liquidity reserve requirements รวมร้อยละ 4.0 (วันที่ 26 กรกฎาคม และ 9 สิงหาคม) เพื่อเป็นการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกจากระบบธนาคารและลดแรงกดดันต่อค่าเงินเปโซ ส่งผลให้ total reserve requirements ณ ปัจจุบันอยู่ที่ระดับร้อยละ 20.0 รวมทั้งได้ยกเลิกระบบ tiering system สำหรับ overnight borrowing rate (3 สิงหาคม) โดยจะจ่ายดอกเบี้ย overnight borrowing rate เเก่ธนาคารพาณิชย์ในอัตราเดียวคือร้อยละ 9.0 สำหรับทุกวงเงิน การกู้ยืม (จากเดิมที่จ่ายใน 3 อัตราคือร้อยละ 9.0 สำหรับเงินกู้ยืมจำนวน 5 พันล้านเปโซเเรก ร้อยละ 7.5 สำหรับวงเงิน 5 พันล้านเปโซถัดไป และร้อยละ 6.0สำหรับวงเงินที่เกินกว่า 10 พันล้านเปโซ) เพื่อดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบโดยการจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์นำเงินมาฝากกับธนาคารกลางเพิ่มขึ้น
เศรษฐกิจโลกเเละความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและเศรษฐกิจของมาเลเซีย โดยการส่งออกเดือนมิถุนายนลดลงถึงร้อยละ 13.4 ส่งผลให้การส่งออก ในช่วงไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 8.7 (yoy) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสเเรก อย่างไรก็ตาม การนำเข้าที่ชะลอตัวลงตามการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้า ยังคงเกินดุล 6.9 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในช่วงครึ่งเเรกของปี เทียบกับ 7.6 พันล้านดอลลาร์สรอ.ในช่วงเดียวกันปีก่อน ด้านดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ติดลบเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันในเดือนมิถุนายน (-9.9% yoy) ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส ที่ 2 ลดลงร้อยละ 5.2 (yoy) เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในช่วงไตรมาสเเรก ส่วนอัตราเงินเฟ้อของมาเลเซียยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยล่าสุด ในเดือนกรกฎาคมทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.4 (yoy) (เฉลี่ยร้อยละ 1.5 ในช่วง 7 เดือนเเรกของปี) ภาวะการส่งออกและการผลิตที่ชะลอตัว ดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลให้ GDP ไตรมาสที่ 2 (ซึ่ง มาเลเซียจะประกาศในวันที่ 23 สิงหาคม) ชะลอตัวลง ต่อเนื่องจากไตรมาสเเรก
สำหรับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของ มาเลเซียกลับเพิ่มสูงขึ้นในเดือนมิถุนายนเเละกรกฎาคม หลังจากมีเเนวโน้มลดลงมาตั้งเเต่เดือนพฤษภาคมปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่มาเลเซียออกพันธบัตรมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สรอ.ในต่างประเทศ (ซึ่งสะท้อนให้เห็นในตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนกรกฎาคม ที่สูงขึ้น 1.2 พันล้านดอลลาร์สรอ.จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 27.2 พันล้านดอลลาร์สรอ.) นักวิเคราะห์เห็นว่าระดับทุนสำรองที่ดีขึ้น น่าจะทำให้ธนาคารกลางสามารถคงนโยบายตรึงค่าเงินริงกิตไว้ได้อย่างน้อยจนถึงสิ้นปีนี้ และเปิดโอกาสให้สามารถดำเนินนโยบายการเงินที่ ผ่อนคลายได้มากขึ้น
ด้านการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 Corporate Debt Restructuring Committee (CDRC) ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่เพื่อเร่งปรับโครงสร้างหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ 29 พันล้านริงกิต (7.6 พันล้านดอลลาร์สรอ.) โดย (1) กำหนดให้กระบวนการ ลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้เเละ ลูกหนี้มีระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน จากเดิมที่ไม่เคยกำหนดระยะเวลา และ (2) กำหนดให้แผนการปรับ โครงสร้างหนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้เพียงร้อยละ 75 เท่านั้น จากเดิมที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ทุกราย นอกจากนี้ CDRC ยังปรับเพิ่มมูลค่าหนี้ขั้นต่ำในการยื่นขอปรับโครงสร้างหนี้เป็น 100 ล้าน ริงกิต (จากเดิมที่กำหนดให้ลูกหนี้เเต่ละรายต้องมีหนี้ อย่างต่ำ 50 ล้านริงกิต) อีกทั้งจะต้องมีสถาบันการเงิน เจ้าหนี้อย่างต่ำ 5 รายเเทนที่จะเป็น 2 รายเช่นในอดีต
เศรษฐกิจอินโดนีเซีย เดือนกรกฎาคม 2544 ยังคงชะลอตัวและประสบกับปัญหาอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 13.04 (yoy) และ 2.12 (mom) สูงขึ้นจากเดือนมิถุนายนที่ ร้อยละ 12.11 และ 1.67 ตามลำดับ เป็นผลจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันถึงร้อยละ 30 ในเดือนมิถุนายนและการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ราคาวัตถุดิบนำเข้าสูงและราคาสินค้าในประเทศสูงขึ้นการค้าครึ่งปีแรกเกินดุล 11.55 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงจาก 15.61 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยการนำเข้า 6 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่าทั้งสิ้น 17.75 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มจาก 13.76 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปีมีมูลค่าทั้งสิ้น 29.30 พันล้านดอลลาร์สรอ. ใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อนที่ 29.36 พันล้านดอลลาร์สรอ.
สำหรับการค้าเดือนมิถุนายนเกินดุล 2.01 พันล้านดอลลาร์สรอ. เท่ากับเดือนพฤษภาคม โดยมีการส่งออกคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 4.80 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 4.85 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากการส่งออกทั้งสินค้าน้ำมันและไม่ใช่ น้ำมันที่ลดลง (สินค้าน้ำมันลดลงตามราคาน้ำมันดิบ ในตลาดโลกที่ลดลง) สำหรับการนำเข้ามีมูลค่าทั้งสิ้น 2.78 พันล้านดอลลาร์สรอ. ลดลงจาก 2.84 พันล้านดอลลาร์สรอ. ในเดือนก่อนหน้า
เศรษฐกิจสิงคโปร์ไตรมาสที่ 2 ปี 2544 หดตัวร้อยละ 0.9 (yoy) หรือร้อยละ 10.7 (qoq, annualised) เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 (yoy) หรือหดตัวร้อยละ 10.8 (qoq, annualised) ส่งผลให้เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 1.8 (yoy) นอกจากนี้ ยังได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้ลงจากร้อยละ 3.5-5.5 เป็นร้อยละ 0.5-1.5 โดยพิจารณาจากปัจจัย ที่สำคัญ ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ภาวะซบเซาของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลก และ การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาค โดยคาดว่าเศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 จะยังคงชะลอตัวอยู่และ จะสามารถฟื้นตัวได้เล็กน้อยในไตรมาสที่ 4 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 ทางการสิงคโปร์ได้ออกมาตรการนอกงบประมาณ(off-budget) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มูลค่ารวม 2.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (1.2 พันล้านดอลลาร์สรอ.) หรือคิดเป็นร้อยละ
1.4 ของ GDP และประกาศว่าจะยังคงสัดส่วนการ สมทบรายได้ของนายจ้างเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง ที่ร้อยละ 16 จากที่มีแผนจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ช่วงสิ้นปี (อัตราเดิมก่อนที่จะมีการปรับลดในช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจ) แต่จะมีการทบทวนสัดส่วนนี้อีกครั้งใน ช่วงกลางปีหน้า นอกจากนี้ ทางการมีแผนที่จะใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณอีกจำนวน 512 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (281 ล้านดอลลาร์สรอ.) ในช่วงปีงบประมาณ 2545 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ในตลาดเห็นว่ามาตรการ นอกงบประมาณที่ออกมาดังกล่าว มีมูลค่าน้อยกว่า ที่ตลาดคาดไว้ และไม่มั่นใจว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้
เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) แถลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงกลางปี (Mid-Year Policy Statement) โดยเปลี่ยนจาก "การปล่อยให้เงินดอลลาร์สิงคโปร์ค่อยๆ แข็งค่าขึ้นทีละน้อย (gradual and modest appreciation of the currency on a trade-weighted basis)" ซึ่งได้แถลงไว้ในเดือนกรกฎาคม ปีก่อน เป็น "ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบเป็นกลาง (neutral exchange rate policy) หรือ zero percent appreciation of the Singapore dollar NEER (nominal effective exchange rate)" และกล่าวว่า MAS อาจต้องเข้าไปแทรกแซงตลาดเป็นระยะๆ เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน สำหรับภาวะเงินเฟ้อ MAS คาดว่าช่วงครึ่งหลังของปีแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ภายในประเทศมีแนวโน้มที่จะลดลงโดยลำดับ เนื่องจากการชะลอตัวของตลาดแรงงานภายในประเทศ และ แนวโน้มการลดลงของระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก โดยคาดว่าทั้งปีอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.0-1.5 ทั้งนี้ MAS จะทบทวนนโยบายดังกล่าวอีกครั้งในอีก 6 เดือนข้างหน้า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-