กรุงเทพฯ--19 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (16 มิถุนายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวร่วมกับนาย Calvin Eu Mun Hoo เอกอัครราชฑูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยเกี่ยวกับการประชุมโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ หรือ Civil service Exchange Programme (CSEP) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 20-21 มิ.ย. 2543 ที่สิงคโปร์ สรุปได้ดังนี้
1. ในวันที่ 20-21 มิถุนายน 2543 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปสิงคโปร์เพื่อเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการประชุมประสานงานครั้งที่ 3 ของโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ หรือ CSEP ซึ่งนายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันให้จัดตั้งโครงการนี้ขึ้นในระหว่างการเยือนไทยของ นรม. โกห์ ช้อก ด็อง เมื่อ 16-18 มิถุนายน 2540 และต่อมาสิงคโปร์และไทยก็ได้ผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว โดยสิงคโปร์จัดการประชุม CSEP ครั้งที่ 1 ณ สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 6-7 มกราคม 2541 และไทยจัดการประชุม CSEP ครั้งที่ 2 ณ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2542
2. ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันตลอดมาและมีความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาความสัมพันธ์โดยผ่านกลไก CSEP ตั้งแต่ปี 2541 ได้ส่งผลให้การดำเนินความร่วมมือไทย-สิงคโปร์เป็นไปอย่างเป็นระบบและมีลักษณะเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น โดยสิงคโปร์และไทยมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันได้มากเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศและของภูมิภาคโดยส่วนรวม
3. ในปี 2543 ความสัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์มีความแน่นแฟ้นมากขึ้น จากการเสด็จเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เมื่อ 12-16 เมษายน 2543 ซึ่งสิงคโปร์ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ (เมื่อ 31 ม.ค.-4 ก.พ. 42) และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการและส่วนพระองค์ (เมื่อ 2-4 ก.ค. และ 24-26 ธ.ค. 42 ตามลำดับ) นอกจากนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีก็ได้เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ (เมื่อ 18-19 คชต.ค. 42) ด้วย
4. ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันะทางการทหารมาโดยตลอด อาทิ การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ในการฝึกรบและการฝึกฝนบุคลากรทางทหาร รวมทั้งการอนุญาตให้สิงคโปร์เข้าร่วมในการเข้าฝึกซ้อมรบโครงการ Cobra Gold ซึ่งผลประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนากองทัพและการฝึกซ้อมรบของทหารสิงคโปร์
5. สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 ของไทย รองจากญี่ปุ่น สหรัฐฯ และจีน เป็นประเทศที่ไทยได้ดุลการค้ามาโดยตลอด และเป็นประเทศผู้ลงทุนสำคัญจากทวีปเอเชียที่ลงทุนมากเป็นอันดับ 3 ในไทย ทั้งนี้ฝ่ายไทยและสิงคโปร์ได้มีความร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนภายใต้กรอบ CSEP อย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมาคณะนักธุรกิจและผู้แทนการค้าการลงทุนจากสิงคโปร์จำนวน 4 คณะได้เดินทางมาเยือนไทย
6. ความสัมพันธ์ในระดับประชาชนไทย-สิงโปร์ ดำเนินไปด้วยดีและราบรื่น มีการไปมาหาสู่ ติดต่อและท่องเที่ยวระหว่างกันที่เพิ่มสูงขึ้น ประชาชนไทยและสิงคโปร์ต่างมีความคิดและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ชาวสิงคโปร์มีความชื่นชมต่อสังคมชาวพุทธที่มีความสมานสามัคคีของไทย วัฒนธรรมและอาหารไทยและแรงงานไทยประมาณ 60,000 คน ยังคงเป็นกำลังสำคัญในโครงการก่อสร้างของสิงคโปร์ ขณะที่คนไทยก็ชื่นชมความสามารถของชาวสิงคโปร์ และระบบการทำงานที่เป็นเยี่ยงอย่างสำหรับการศึกษาดูงานของฝ่ายไทย
7. CSEP เป็นกลไกหลักในการส่งเสริมความสัมพันธ์และการขยายความร่วมมือไทย-สิงคโปร์ สำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เน้นส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (strategic partnership) ระหว่างกัน และเน้นส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันในด้านต่าง ๆ อาทิ การศึกษาและวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม การค้าการลงทุน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการขนส่งทางบก
8. ในช่วย 2 ปีที่ผ่านมา CSEP ได้ประสบผลสำเร็จที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ สิงคโปร์ได้ให้ทุนการศึกษา 27 ทุนแก่นักเรียนระดับมัธยมของไทย การแลกเปลี่ยนการเยือนและการเรียนการสอนระหว่างโรงเรียน การเชื่อมโครงข่ายอินเตอร์เน็ตโดยตรงระหว่างกัน ในขณะนี้มีจำนวน 5 โรงเรียนคือ สามเสนวิทยาลัย สตรีศรีสุริโยทัย วินิตศึกษา สวนกุหลาบวิทยาลัย ระยองวิทยาคม การมีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ โครงการนิคมอุตสาหกรรมไทย-สิงคโปร์สำหรับศตวรรษที่ 21 (TS 21) ใน จ.ระยอง ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์จะก่อให้เกิดการ่จ้างงานให้แก่แรงงานไทยประมาณ 22,500 คน
9. การประชุมประสานงานครั้งที่ 3 ของ CSEP นี้ จะเป็นโอกาสดีที่คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสของฝ่ายไทยและสิงคโปร์ซึ่งเป็นข้าราชการประจำระดับปลัดกระทรวงและรองปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าจะมีโอกาสพบปะ ทำความรู้จักและหารือกันเพื่อส่งเสริมผลักดันความร่วมมือที่มีอยู่แล้วให้เกิดผลคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น รวมทั้งแสวงหาแนวทางความร่วมมือใหม่ ๆ ต่อไปในอนาคต ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ก็เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานต่าง ๆ จะสามารถมีความร่วมมือใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น อาทิ
- ความร่วมมือด้านกฎหมายและการศาล ระหว่างกระทรวงยุติธรรมของไทยกับกระทรวงกฎหมายของสิงคโปร์ โดยจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมาย การศาลและอนุญาโตตุลาการ (MOU on Legal, Judicial and Arbitration Cooperation)
- ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน โดยจะมีโครงการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้สื่อข่าวไทย-สิงคโปร์ (the Exchange of Visits of Singaporean and Thai Media)
- ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยกับกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ในด้านการบริหารการจัดการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การกาสุล พิธีการฑูตและความร่วมมือทางวิชาการ
- ความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่จะมีโครงการส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรด้านการแพทย์และทันตกรรม--จบ--
-อน-
วันนี้ (16 มิถุนายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวร่วมกับนาย Calvin Eu Mun Hoo เอกอัครราชฑูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทยเกี่ยวกับการประชุมโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ หรือ Civil service Exchange Programme (CSEP) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 20-21 มิ.ย. 2543 ที่สิงคโปร์ สรุปได้ดังนี้
1. ในวันที่ 20-21 มิถุนายน 2543 ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปสิงคโปร์เพื่อเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการประชุมประสานงานครั้งที่ 3 ของโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ หรือ CSEP ซึ่งนายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันให้จัดตั้งโครงการนี้ขึ้นในระหว่างการเยือนไทยของ นรม. โกห์ ช้อก ด็อง เมื่อ 16-18 มิถุนายน 2540 และต่อมาสิงคโปร์และไทยก็ได้ผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว โดยสิงคโปร์จัดการประชุม CSEP ครั้งที่ 1 ณ สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 6-7 มกราคม 2541 และไทยจัดการประชุม CSEP ครั้งที่ 2 ณ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2542
2. ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันตลอดมาและมีความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาความสัมพันธ์โดยผ่านกลไก CSEP ตั้งแต่ปี 2541 ได้ส่งผลให้การดำเนินความร่วมมือไทย-สิงคโปร์เป็นไปอย่างเป็นระบบและมีลักษณะเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น โดยสิงคโปร์และไทยมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือระหว่างกันได้มากเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศและของภูมิภาคโดยส่วนรวม
3. ในปี 2543 ความสัมพันธ์ไทย-สิงคโปร์มีความแน่นแฟ้นมากขึ้น จากการเสด็จเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เมื่อ 12-16 เมษายน 2543 ซึ่งสิงคโปร์ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ (เมื่อ 31 ม.ค.-4 ก.พ. 42) และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ เยือนอย่างเป็นทางการและส่วนพระองค์ (เมื่อ 2-4 ก.ค. และ 24-26 ธ.ค. 42 ตามลำดับ) นอกจากนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีก็ได้เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ (เมื่อ 18-19 คชต.ค. 42) ด้วย
4. ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันะทางการทหารมาโดยตลอด อาทิ การอนุญาตให้ใช้พื้นที่ในการฝึกรบและการฝึกฝนบุคลากรทางทหาร รวมทั้งการอนุญาตให้สิงคโปร์เข้าร่วมในการเข้าฝึกซ้อมรบโครงการ Cobra Gold ซึ่งผลประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนากองทัพและการฝึกซ้อมรบของทหารสิงคโปร์
5. สิงคโปร์เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 ของไทย รองจากญี่ปุ่น สหรัฐฯ และจีน เป็นประเทศที่ไทยได้ดุลการค้ามาโดยตลอด และเป็นประเทศผู้ลงทุนสำคัญจากทวีปเอเชียที่ลงทุนมากเป็นอันดับ 3 ในไทย ทั้งนี้ฝ่ายไทยและสิงคโปร์ได้มีความร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนภายใต้กรอบ CSEP อย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมาคณะนักธุรกิจและผู้แทนการค้าการลงทุนจากสิงคโปร์จำนวน 4 คณะได้เดินทางมาเยือนไทย
6. ความสัมพันธ์ในระดับประชาชนไทย-สิงโปร์ ดำเนินไปด้วยดีและราบรื่น มีการไปมาหาสู่ ติดต่อและท่องเที่ยวระหว่างกันที่เพิ่มสูงขึ้น ประชาชนไทยและสิงคโปร์ต่างมีความคิดและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ชาวสิงคโปร์มีความชื่นชมต่อสังคมชาวพุทธที่มีความสมานสามัคคีของไทย วัฒนธรรมและอาหารไทยและแรงงานไทยประมาณ 60,000 คน ยังคงเป็นกำลังสำคัญในโครงการก่อสร้างของสิงคโปร์ ขณะที่คนไทยก็ชื่นชมความสามารถของชาวสิงคโปร์ และระบบการทำงานที่เป็นเยี่ยงอย่างสำหรับการศึกษาดูงานของฝ่ายไทย
7. CSEP เป็นกลไกหลักในการส่งเสริมความสัมพันธ์และการขยายความร่วมมือไทย-สิงคโปร์ สำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เน้นส่งเสริมความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (strategic partnership) ระหว่างกัน และเน้นส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันในด้านต่าง ๆ อาทิ การศึกษาและวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม การค้าการลงทุน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการขนส่งทางบก
8. ในช่วย 2 ปีที่ผ่านมา CSEP ได้ประสบผลสำเร็จที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ สิงคโปร์ได้ให้ทุนการศึกษา 27 ทุนแก่นักเรียนระดับมัธยมของไทย การแลกเปลี่ยนการเยือนและการเรียนการสอนระหว่างโรงเรียน การเชื่อมโครงข่ายอินเตอร์เน็ตโดยตรงระหว่างกัน ในขณะนี้มีจำนวน 5 โรงเรียนคือ สามเสนวิทยาลัย สตรีศรีสุริโยทัย วินิตศึกษา สวนกุหลาบวิทยาลัย ระยองวิทยาคม การมีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ โครงการนิคมอุตสาหกรรมไทย-สิงคโปร์สำหรับศตวรรษที่ 21 (TS 21) ใน จ.ระยอง ซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์จะก่อให้เกิดการ่จ้างงานให้แก่แรงงานไทยประมาณ 22,500 คน
9. การประชุมประสานงานครั้งที่ 3 ของ CSEP นี้ จะเป็นโอกาสดีที่คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสของฝ่ายไทยและสิงคโปร์ซึ่งเป็นข้าราชการประจำระดับปลัดกระทรวงและรองปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าจะมีโอกาสพบปะ ทำความรู้จักและหารือกันเพื่อส่งเสริมผลักดันความร่วมมือที่มีอยู่แล้วให้เกิดผลคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น รวมทั้งแสวงหาแนวทางความร่วมมือใหม่ ๆ ต่อไปในอนาคต ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ก็เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานต่าง ๆ จะสามารถมีความร่วมมือใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น อาทิ
- ความร่วมมือด้านกฎหมายและการศาล ระหว่างกระทรวงยุติธรรมของไทยกับกระทรวงกฎหมายของสิงคโปร์ โดยจะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมาย การศาลและอนุญาโตตุลาการ (MOU on Legal, Judicial and Arbitration Cooperation)
- ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนสื่อมวลชน โดยจะมีโครงการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้สื่อข่าวไทย-สิงคโปร์ (the Exchange of Visits of Singaporean and Thai Media)
- ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยกับกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ในด้านการบริหารการจัดการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การกาสุล พิธีการฑูตและความร่วมมือทางวิชาการ
- ความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่จะมีโครงการส่งเสริมการฝึกอบรมบุคลากรด้านการแพทย์และทันตกรรม--จบ--
-อน-