ภาคอุตสาหกรรม
สำหรับสาขาอุตสาหกรรมนั้นมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของภาคใต้ไม่มากนัก จะเห็นได้จากในช่วงปี 2524-2536 ผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์รวมของภาค ทั้งนี้เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ใช้เงินทุนน้อย หากจำแนกรายประเภทอุตสาหกรรมตามระบบ TSIC (Thailand Standard Industrial Classification) ประเภทอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มมีจำนวนมากที่สุด คือประมาณร้อยละ 60 ในจำนวนดังกล่าวเป็นโรงสีข้าวถึงร้อยละ 83 หรือร้อยละ 50 ของโรงงานทั้งหมด สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนสูง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตทางการเกษตรในภาคใต้ เช่น อุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน อุตสาหกรรมน้ำยางข้น และอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่งมีลักษณะการผลิตเป็นการแปรรูปอย่างง่าย ทำให้มูลค่าเพิ่มมีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาทางด้านอัตราการขยายตัว ปรากฏว่าภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น จากร้อยละ 7.5 ในปี 2528 เป็นร้อยละ 12.9 ในปี 2532 ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปแบบง่ายมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 22.8 สำหรับในช่วงปี 2533-2538 สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8.7 ต่อปี
เป็นที่น่าสังเกตว่า โรงงานอุตสาหกรรมของภาคใต้กระจายออกไปตามลักษณะพื้นที่และแหล่งวัตถุดิบ ประมาณร้อยละ 85 ของโรงงานในภาคใต้ทั้งหมด ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าว ยางพารา มะพร้าวและทำประมงที่สำคัญของภาค โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญจึง ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมน้ำมันพืช ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีโรงงานตั้งอยู่เพียงร้อยละ 15 ของโรงงานในภาคใต้ทั้งหมด อุตสาหกรรมบริเวณนี้จะเป็นอุตสาหกรรมยาง โรงเผาถ่าน โรงเลื่อย และอุตสาหกรรมปลาป่น
1. อุตสาหกรรมยางพารา
ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อการผลิตยางแผ่นรมควัน โดยจะเห็นได้จากปริมาณผลิตภัณฑ์ยางส่งออกเมื่อแยกตามประเภท ปรากฏว่าเกินกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณยางส่งออกทั้งหมด เป็นการส่งออกยางแผ่นรมควัน รองลงมาคือ ยางแท่ง น้ำยางข้น ยางเครฟ และเป็นยางประเภทอื่น เช่น น้ำยางสด ยางแผ่นผึ่งแห้งและเศษยาง ทั้งนี้โรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา นครศรี-ธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา ตรัง และนราธิวาส
2. อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง
ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนและมีการจ้างงานสูงกว่าอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งทำการประมงที่สำคัญได้แก่ จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ชุมพร สตูลและตรัง ผลผลิตเกือบทั้งหมดส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งตลาดที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกระป๋องได้แก่ ตลาดในกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐ-อเมริกา ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และตลาดในกลุ่ม ประชาคมยุโรป
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังอุตสาหกรรมอาหารทะเลประสบปัญหาวัตถุดิบ แรงงาน นอกจากนี้ยังจะประสบปัญหาอื่น ๆ เช่น การแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตอื่น ตลาดต่างประเทศมีการ กีดกันทางการค้ามากขึ้น
3. อุตสาหกรรมน้ำมันพืช
จากการที่ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตปาล์มน้ำมันและมะพร้าวที่สำคัญของประเทศ โดยผลผลิตประมาณร้อยละ 90 ของน้ำมันปาล์ม และร้อยละ 50 ของน้ำมันมะพร้าวเป็นของภาคใต้ แต่ในระยะที่ผ่านมาการผลิตน้ำมันมะพร้าวอยู่ในภาวะที่ไม่ดีนัก เนื่องจากน้ำมันปาล์มเข้ามาแทนที่มากขึ้น ประกอบกับชาวสวนนิยมขายเป็นมะพร้าวผล และพื้นที่บางแห่งได้แปรสภาพไปเป็นรีสอร์ท และสถานที่ประกอบอาชีพอื่น ทำให้ต้นทุนในการผลิตมีแนวโน้มสูงกว่ารายได้ ส่งผลให้โรงงานน้ำมันมะพร้าวหลายแห่งปิดกิจการ หรือเปลี่ยนไปสกัดน้ำมันปาล์มแทน
สำหรับการผลิตน้ำมันปาล์มดิบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบขนาดใหญ่ มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย จึงมีประสิทธิภาพการผลิตใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซีย ส่วนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบขนาดเล็กยังขาดการพัฒนาทางด้านเครื่องจักร-อุปกรณ์การผลิต จึงมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยจะสูงกว่าโรงงานขนาดใหญ่ และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มกับมาเลเซีย จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคใต้ ต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบของไทยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.08-12.28 บาท ขณะที่มาเลเซียมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.5 บาท
อย่างไรก็ตาม จากพันธผูกพันตามข้อตกลงภายใต้กรอบ WTO และเขตการค้าเสรี อาเซียน หรือ AFTA ย่อมมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มโดยเฉพาะข้อตกลง AFTA เพราะน้ำมันปาล์มเป็นรายการสินค้าตัวหนึ่งที่ไทยเคยสงวนสิทธิ์ไว้เป็นการชั่วคราว ซึ่งตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นไป ไทยจะต้องปรับลดอัตราภาษีน้ำเข้าน้ำมันปาล์มลงเป็นลำดับ จนเหลือร้อยละ 0.5 ในปี 2546 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มโดยตรง
4. อุตสาหกรรมปลาป่น
โดยทั่วไปภาวะการผลิตปลาป่นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะการประมง กล่าวคือในปีใดภาวะการประมงดีขึ้น ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีมากขึ้น ภาวะการผลิตปลาป่นก็จะขยายตัว ในทางตรงกันข้ามปีใดที่ภาวะการประมงซบเซา ปริมาณสัตว์น้ำจับได้น้อยลง ภาวะการผลิตก็จะซบเซาตามไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้จะเป็นปลาเป็ด ที่เป็นวัตถุดิบของโรงงาน ปลาป่นกว่าร้อยละ 40 ผลผลิตปลาป่นที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย และผู้รับซื้อเหล่านี้มีอำนาจในการกำหนดราคารับซื้อค่อนข้างมาก นอกจากนี้ราคารับซื้อยังขึ้นกับเปอร์เซ็นต์โปรตีน ความชื้นและกลิ่น ปริมาณการนำเข้ากากถั่วเหลืองจากต่างประเทศและภาวะการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม จากการที่การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2530 เป็นผลให้โรงงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีการขยายตัวและมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบทำให้การผลิตและความต้องการบริโภคปลาป่นภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ภาคการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญอีกภาคหนึ่งที่นำรายได้สู่ภาค เนื่องจากภาคใต้มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม ประกอบกับชายแดนของภาคใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย จึงเป็นปัจจัยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาเที่ยวในภาคใต้
การท่องเที่ยวในภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตามเกาะแก่งและชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่บริเวณทางฝั่งทะเลอันดามัน ศูนย์การท่องเที่ยวอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีจังหวัดกระบี่ พังงา และ ระนองเป็นเมืองบริวาร และบริเวณทางตอนบนของภาคในจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ เกาะสมุย ฤดูการท่องเที่ยวจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงฤดูหนาวของประเทศเหล่านี้
2. การท่องเที่ยวแหล่งบันเทิง เพื่อซื้อสินค้าและรับประทานอาหาร แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจะอยู่บริเวณชายแดนติดกับประเทศมาเลเซียทางตอนใต้ของภาค ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา การท่องเที่ยวบริเวณนี้จะมีตลอดทั้งปี โดยจะคึกคักมากในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง คริสต์มาส ปีใหม่และตรุษจีน และจะชะลอตัวลงในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนและไม่มีเทศกาลท่องเที่ยวที่สำคัญ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่สำคัญของภาคใต้ตอนล่างได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์
ในอดีตนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซีย โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์และชาติอื่นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 เท่ากัน แต่หลังจากปี 2532 เป็นต้นมา นักท่องเที่ยวชาติอื่น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮ่องกงและไต้หวันได้เดินทางเข้ามามากขึ้น ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียค่อนข้างทรงตัวหรือลดลงในบางปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทางการมาเลเซียมีนโยบายกีดกันไม่ให้ชาวมาเลเซียเดินทางไปเที่ยวในต่างประเทศ จึงทำให้สัดส่วนนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป โดยในช่วงปี 2533-2541 นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมีสัดส่วนลดลงเหลือประมาณ ร้อยละ 52 ขณะที่นักท่องเที่ยวชาติอื่นมีสัดส่วนสูงขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 41 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 7 เป็นนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์
ภาคการลงทุน
การลงทุนโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลมีนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ทั้งในด้านการผลิตและการจ้างงาน รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 ประกอบกับการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐในสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ถนน 4 ช่องจราจร อาคารส่วนราชการ เป็นต้น
สำหรับการลงทุนที่ใช้เงินลงทุนสูงจะเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยางพาราและสัตว์น้ำ นอกจากนี้ก็จะเป็นอุตสาหกรรมบริการ เช่น โรงแรม และโรงพยาบาล
ขณะเดียวกัน การก่อสร้างของภาคเอกชนก็ขยายตัวเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 2530-2531 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 44-45 ส่วนใหญ่จะเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ และเป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงหลังการก่อสร้างได้ขยายตัวออกไปบริเวณรอบนอกมากขึ้น อย่างไรก็ตามในปี 2540-41 พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลนครและเทศบาลเมืองในภาคใต้ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 50 ต่อปี ตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงและปัญหาสภาพคล่อง
ระดับราคา
ระดับราคาสินค้าในภาคใต้มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับระดับราคาสินค้าของประเทศ ซึ่งในระยะที่ผ่านมาระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปค่อนข้างมีเสถียรภาพ ดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคใต้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 3-4 ต่อปี แต่มีบางปีที่ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงถึงร้อยละ 6-7 สำหรับปี 2541 ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ได้มีการปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มตามไปด้วย
ภาคการค้าระหว่างประเทศ
จากการที่ภาคใต้มีชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซียและพม่า โดยเฉพาะกับมาเลเซียมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกันได้หลายจุด การขนส่งสามารถทำได้ทั้งทางบกและทางทะเล นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมกับประเทศสิงคโปร์ได้อีกด้วย ประกอบกับสินค้าสำคัญที่ผลิตได้ในภาคใต้ได้แก่ยางพารา ดีบุกและอาหารทะเล เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศมากกว่าตลาดภายในประเทศ รวมทั้งมีสินค้าจากภาคอื่นของประเทศส่งออกผ่านทางภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีบทบาททางด้านการค้าระหว่างประเทศมาก โดยเป็นการค้าทั้งในรูปการค้าชายแดนกับประเทศพม่า มาเลเซียและสิงคโปร์ โดยติดต่อค้าขายผ่านแดนกันมากที่ด่านปาดังเบซาร์ ด่านสะเดา ด่านเบตง และด่านสุไหงโก-ลก และในรูปการค้ากับประเทศโพ้นทะเล ส่วนใหญ่จะทำผ่านด่านสงขลา ด่านภูเก็ต ด่านปัตตานี และด่านกันตัง
การส่งออก ในระยะที่ผ่านมามีการขยายตัวเป็นลำดับ ในปี 2541 การส่งออกทางภาคใต้มีมูลค่า 122,022.7 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ยางพารา แร่ สัตว์น้ำและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีมูลค่าร้อยละ 56.3 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด เป็นที่น่าสังเกตว่าแร่ดีบุกซึ่งในอดีตเป็นสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากเป็นอันดับ 2 รองจากยางพารานั้น มูลค่าส่งออกได้ลดลงเป็นลำดับ นับตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา ตามภาวะตลาดโลก จาก 8,828.3 ล้านบาทในปี 2524 เหลือเพียง 2,590.9 ล้านบาทในปี 2541 ในขณะที่สัตว์น้ำกลับมีมูลค่าส่งออกสูงขึ้น คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของมูลค่าส่งออก
การนำเข้า ก็มีการขยายตัวมากเช่นเดียวกัน โดยในปี 2541 มีสินค้านำเข้าคิดเป็นมูลค่า 45,285.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย พม่าและสิงคโปร์ ประมาณร้อยละ 46 ของมูลค่านำเข้า เป็นการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง สัตว์น้ำ และเครื่องจักรอุปกรณ์
ภาคการเงิน
สถาบันการเงินที่เปิดดำเนินการในเขตภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นสำนักงานสาขา ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร มีบริษัทเงินทุนเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่เป็นสำนักงานใหญ่อยู่ในภาคใต้ ปัจจุบันสถาบันการเงินที่สำคัญที่ดำเนินการในภาคใต้มี 12 ประเภท คือ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โรงรับจำนำ สหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และสำนักงานอำนวยสินเชื่อ
ในบรรดาสถาบันการเงินต่าง ๆ ธนาคารพาณิชย์นับว่ามีบทบาทต่อท้องถิ่นมากที่สุด กิจการของธนาคารพาณิชย์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านการขยายสาขา การระดมเงินฝาก และการให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในท้องถิ่น ณ สิ้นปี 2541 มีสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดดำเนินการในเขตภาคใต้ทั้งสิ้น 418 สำนักงาน ในจำนวนนี้เป็นสาขาเต็มรูปแบบ 371 สำนักงาน และสาขาย่อย 47 สำนักงาน โดยเปิดดำเนินการในจังหวัดสงขลามากที่สุด 80 สำนักงาน รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีสาขาธนาคารพาณิชย์ 56 สำนักงาน และ 54 สำนักงาน ตามลำดับ
ทางด้านเงินฝากและเงินให้สินเชื่อมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่สูงพอสมควรตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเงินฝากขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 19-20 ต่อปี ส่วนสินเชื่อขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 22-23 ต่อปี แม้ว่าจะมีการควบคุมการขยายสินเชื่อ และเข้มงวดการให้สินเชื่อกับลูกค้ามากขึ้น โดยสินเชื่อที่ปล่อยในระยะหลังจะเน้นคุณภาพของลูกค้า และเป็นลูกค้ารายย่อยมากขึ้น เพราะมีความเสี่ยงน้อย อย่างไรก็ตามในปี 2541 แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะหดตัวลง ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญลดต่ำลง แต่เงินฝากยังคงขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.6 ใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากมีการแข่งขันทางด้านเงินฝากกันมาก ส่วนสินเชื่อลดลงร้อยละ 10.7 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้ สินเชื่อและเร่งติดตามหนี้มากขึ้น
เมื่อพิจารณาโครงสร้างของเงินฝาก ปรากฏว่าเงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำหรือสิ้นระยะเวลา โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 73 ของเงินฝากทั้งหมด ที่เหลือเป็นเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากกระแสรายวันร้อยละ 23 และร้อยละ 4 ของเงินฝากทั้งหมด ตามลำดับ ส่วนสินเชื่อในช่วงปี 2523-2529 นั้น สินเชื่อที่ให้ส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อประเภทเบิกเกินบัญชี คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 65 ของสินเชื่อทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เงินให้กู้ร้อยละ 20 และตั๋วเงินฯ ร้อยละ 15 แต่ในช่วงปี 2530-2539 ธนาคารพาณิชย์ได้หันมาให้สินเชื่อประเภทเงินให้กู้มากขึ้น คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 43 ของสินเชื่อทั้งหมด ขณะที่เงินเบิกเกินบัญชีมีสัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 42 ของสินเชื่อ ทั้งหมด ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศลดวงเงินให้กู้ยืม เบิกเกินบัญชีที่ธนาคารพาณิชย์ให้ลูกค้าจากเดิมไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท เป็นรายละไม่เกิน 30 ล้านบาท
ปัญหาพื้นฐานของภาคใต้
1. ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันโครงสร้างเศรษฐกิจของภาคใต้ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากผลผลิตหลักเดิมเพียงไม่กี่ชนิดคือ ยางพารา ประมงและแร่ดีบุก โดยมีการท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปาล์มน้ำมันและกาแฟเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การค้าสินค้าเกษตรที่สำคัญ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับภาวะของตลาดต่างประเทศ จึงทำให้เศรษฐกิจของภาคใต้ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการและระดับราคาของสินค้าในตลาดโลกเป็นสำคัญ
2. ปัญหาประสิทธิภาพในการผลิต ประสิทธิภาพในการผลิตของภาคใต้อยู่ในระดับ ต่ำและเป็นการแปรรูปวัตถุดิบอย่างง่าย ๆ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างสิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นเหตุให้แหล่งผลิตและสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง การลงทุนไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเหมืองแร่และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประมง
3. ปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานค่อนข้างจะล่าช้าเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ ของประเทศ การชลประทานยังไม่เพียงพอ เส้นทางคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดและระหว่างจังหวัดยังไม่สะดวกเท่าที่ควร รวมทั้งไฟฟ้า โทรศัพท์ และน้ำประปา มีใช้ไม่ทั่วถึง
4. ปัญหาแรงงานและการกระจายรายได้ ภาคใต้มีประชากรน้อย และผลจากการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 6 ปีเป็น 9 ปี ทำให้ผู้เข้าสู่กำลังแรงงานมีน้อยลง ประกอบกับมีแรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อพยพไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ภาคใต้ขาดแคลนแรงงาน จำเป็นต้องอาศัยแรงงานจากภาคอื่น นอกจากนี้ แม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่ยังมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชาชนอยู่ไม่น้อย เพราะผู้ที่มีรายได้สูงจะกระจุกตัวอยู่กับพ่อค้าและบรรดานักธุรกิจจำนวนไม่มากรายและเป็นชนกลุ่มน้อยของสังคม ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ยังเป็นเกษตรกรยากจน มีรายได้ต่ำและไม่แน่นอน การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังกระจายไม่ทั่วถึงทั้งภาค ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่เฉพาะในชุมชนบริเวณแหล่งผลิตสำคัญ ๆ และตัวเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าของภาค
5. ปัญหาความสงบและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและเป็นที่กังวลกันมากในภาคใต้ก็คือ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักธุรกิจ อันเกิดจากโจรผู้ร้าย ผู้ก่อการร้าย ขบวนการโจรก่อการร้ายและโจรจีนคอมมิวนิสต์ในรูปแบบต่าง ๆ กัน ที่เกิดขึ้นบ่อยและเป็นการทำลายบรรยากาศในการลงทุนในภาคใต้ ได้แก่ การเรียกค่าคุ้มครอง ทำให้การผลิตทำได้ไม่เต็มที่ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะขยายตัวได้อีกมาก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
สำหรับสาขาอุตสาหกรรมนั้นมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของภาคใต้ไม่มากนัก จะเห็นได้จากในช่วงปี 2524-2536 ผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์รวมของภาค ทั้งนี้เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ใช้เงินทุนน้อย หากจำแนกรายประเภทอุตสาหกรรมตามระบบ TSIC (Thailand Standard Industrial Classification) ประเภทอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มมีจำนวนมากที่สุด คือประมาณร้อยละ 60 ในจำนวนดังกล่าวเป็นโรงสีข้าวถึงร้อยละ 83 หรือร้อยละ 50 ของโรงงานทั้งหมด สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนสูง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับผลผลิตทางการเกษตรในภาคใต้ เช่น อุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน อุตสาหกรรมน้ำยางข้น และอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่งมีลักษณะการผลิตเป็นการแปรรูปอย่างง่าย ทำให้มูลค่าเพิ่มมีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาทางด้านอัตราการขยายตัว ปรากฏว่าภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น จากร้อยละ 7.5 ในปี 2528 เป็นร้อยละ 12.9 ในปี 2532 ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปแบบง่ายมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 22.8 สำหรับในช่วงปี 2533-2538 สาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8.7 ต่อปี
เป็นที่น่าสังเกตว่า โรงงานอุตสาหกรรมของภาคใต้กระจายออกไปตามลักษณะพื้นที่และแหล่งวัตถุดิบ ประมาณร้อยละ 85 ของโรงงานในภาคใต้ทั้งหมด ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าว ยางพารา มะพร้าวและทำประมงที่สำคัญของภาค โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญจึง ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมยางพารา อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมน้ำมันพืช ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีโรงงานตั้งอยู่เพียงร้อยละ 15 ของโรงงานในภาคใต้ทั้งหมด อุตสาหกรรมบริเวณนี้จะเป็นอุตสาหกรรมยาง โรงเผาถ่าน โรงเลื่อย และอุตสาหกรรมปลาป่น
1. อุตสาหกรรมยางพารา
ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อการผลิตยางแผ่นรมควัน โดยจะเห็นได้จากปริมาณผลิตภัณฑ์ยางส่งออกเมื่อแยกตามประเภท ปรากฏว่าเกินกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณยางส่งออกทั้งหมด เป็นการส่งออกยางแผ่นรมควัน รองลงมาคือ ยางแท่ง น้ำยางข้น ยางเครฟ และเป็นยางประเภทอื่น เช่น น้ำยางสด ยางแผ่นผึ่งแห้งและเศษยาง ทั้งนี้โรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในจังหวัดสงขลา นครศรี-ธรรมราช สุราษฎร์ธานี ยะลา ตรัง และนราธิวาส
2. อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง
ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนและมีการจ้างงานสูงกว่าอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งทำการประมงที่สำคัญได้แก่ จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี ปัตตานี ชุมพร สตูลและตรัง ผลผลิตเกือบทั้งหมดส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งตลาดที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกระป๋องได้แก่ ตลาดในกลุ่มประเทศยุโรปและสหรัฐ-อเมริกา ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และตลาดในกลุ่ม ประชาคมยุโรป
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังอุตสาหกรรมอาหารทะเลประสบปัญหาวัตถุดิบ แรงงาน นอกจากนี้ยังจะประสบปัญหาอื่น ๆ เช่น การแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตอื่น ตลาดต่างประเทศมีการ กีดกันทางการค้ามากขึ้น
3. อุตสาหกรรมน้ำมันพืช
จากการที่ภาคใต้เป็นแหล่งผลิตปาล์มน้ำมันและมะพร้าวที่สำคัญของประเทศ โดยผลผลิตประมาณร้อยละ 90 ของน้ำมันปาล์ม และร้อยละ 50 ของน้ำมันมะพร้าวเป็นของภาคใต้ แต่ในระยะที่ผ่านมาการผลิตน้ำมันมะพร้าวอยู่ในภาวะที่ไม่ดีนัก เนื่องจากน้ำมันปาล์มเข้ามาแทนที่มากขึ้น ประกอบกับชาวสวนนิยมขายเป็นมะพร้าวผล และพื้นที่บางแห่งได้แปรสภาพไปเป็นรีสอร์ท และสถานที่ประกอบอาชีพอื่น ทำให้ต้นทุนในการผลิตมีแนวโน้มสูงกว่ารายได้ ส่งผลให้โรงงานน้ำมันมะพร้าวหลายแห่งปิดกิจการ หรือเปลี่ยนไปสกัดน้ำมันปาล์มแทน
สำหรับการผลิตน้ำมันปาล์มดิบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบขนาดใหญ่ มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย จึงมีประสิทธิภาพการผลิตใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซีย ส่วนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบขนาดเล็กยังขาดการพัฒนาทางด้านเครื่องจักร-อุปกรณ์การผลิต จึงมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยจะสูงกว่าโรงงานขนาดใหญ่ และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มกับมาเลเซีย จากข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคใต้ ต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบของไทยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.08-12.28 บาท ขณะที่มาเลเซียมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.5 บาท
อย่างไรก็ตาม จากพันธผูกพันตามข้อตกลงภายใต้กรอบ WTO และเขตการค้าเสรี อาเซียน หรือ AFTA ย่อมมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มโดยเฉพาะข้อตกลง AFTA เพราะน้ำมันปาล์มเป็นรายการสินค้าตัวหนึ่งที่ไทยเคยสงวนสิทธิ์ไว้เป็นการชั่วคราว ซึ่งตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นไป ไทยจะต้องปรับลดอัตราภาษีน้ำเข้าน้ำมันปาล์มลงเป็นลำดับ จนเหลือร้อยละ 0.5 ในปี 2546 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มและโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มโดยตรง
4. อุตสาหกรรมปลาป่น
โดยทั่วไปภาวะการผลิตปลาป่นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะการประมง กล่าวคือในปีใดภาวะการประมงดีขึ้น ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีมากขึ้น ภาวะการผลิตปลาป่นก็จะขยายตัว ในทางตรงกันข้ามปีใดที่ภาวะการประมงซบเซา ปริมาณสัตว์น้ำจับได้น้อยลง ภาวะการผลิตก็จะซบเซาตามไปด้วย ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้จะเป็นปลาเป็ด ที่เป็นวัตถุดิบของโรงงาน ปลาป่นกว่าร้อยละ 40 ผลผลิตปลาป่นที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย และผู้รับซื้อเหล่านี้มีอำนาจในการกำหนดราคารับซื้อค่อนข้างมาก นอกจากนี้ราคารับซื้อยังขึ้นกับเปอร์เซ็นต์โปรตีน ความชื้นและกลิ่น ปริมาณการนำเข้ากากถั่วเหลืองจากต่างประเทศและภาวะการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม จากการที่การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2530 เป็นผลให้โรงงานอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีการขยายตัวและมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบทำให้การผลิตและความต้องการบริโภคปลาป่นภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ภาคการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญอีกภาคหนึ่งที่นำรายได้สู่ภาค เนื่องจากภาคใต้มีทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม ประกอบกับชายแดนของภาคใต้ติดกับประเทศมาเลเซีย จึงเป็นปัจจัยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาเที่ยวในภาคใต้
การท่องเที่ยวในภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตามเกาะแก่งและชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่บริเวณทางฝั่งทะเลอันดามัน ศูนย์การท่องเที่ยวอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีจังหวัดกระบี่ พังงา และ ระนองเป็นเมืองบริวาร และบริเวณทางตอนบนของภาคในจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ เกาะสมุย ฤดูการท่องเที่ยวจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงฤดูหนาวของประเทศเหล่านี้
2. การท่องเที่ยวแหล่งบันเทิง เพื่อซื้อสินค้าและรับประทานอาหาร แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญจะอยู่บริเวณชายแดนติดกับประเทศมาเลเซียทางตอนใต้ของภาค ได้แก่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และอำเภอเบตง จังหวัดยะลา การท่องเที่ยวบริเวณนี้จะมีตลอดทั้งปี โดยจะคึกคักมากในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง คริสต์มาส ปีใหม่และตรุษจีน และจะชะลอตัวลงในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนและไม่มีเทศกาลท่องเที่ยวที่สำคัญ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่สำคัญของภาคใต้ตอนล่างได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์
ในอดีตนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซีย โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 70 ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์และชาติอื่นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 เท่ากัน แต่หลังจากปี 2532 เป็นต้นมา นักท่องเที่ยวชาติอื่น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฮ่องกงและไต้หวันได้เดินทางเข้ามามากขึ้น ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียค่อนข้างทรงตัวหรือลดลงในบางปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทางการมาเลเซียมีนโยบายกีดกันไม่ให้ชาวมาเลเซียเดินทางไปเที่ยวในต่างประเทศ จึงทำให้สัดส่วนนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงไป โดยในช่วงปี 2533-2541 นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมีสัดส่วนลดลงเหลือประมาณ ร้อยละ 52 ขณะที่นักท่องเที่ยวชาติอื่นมีสัดส่วนสูงขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 41 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 7 เป็นนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์
ภาคการลงทุน
การลงทุนโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ดี และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลมีนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ทั้งในด้านการผลิตและการจ้างงาน รวมทั้งนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3 ประกอบกับการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐในสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ถนน 4 ช่องจราจร อาคารส่วนราชการ เป็นต้น
สำหรับการลงทุนที่ใช้เงินลงทุนสูงจะเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยางพาราและสัตว์น้ำ นอกจากนี้ก็จะเป็นอุตสาหกรรมบริการ เช่น โรงแรม และโรงพยาบาล
ขณะเดียวกัน การก่อสร้างของภาคเอกชนก็ขยายตัวเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 2530-2531 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 44-45 ส่วนใหญ่จะเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ และเป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงหลังการก่อสร้างได้ขยายตัวออกไปบริเวณรอบนอกมากขึ้น อย่างไรก็ตามในปี 2540-41 พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลนครและเทศบาลเมืองในภาคใต้ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 50 ต่อปี ตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงและปัญหาสภาพคล่อง
ระดับราคา
ระดับราคาสินค้าในภาคใต้มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับระดับราคาสินค้าของประเทศ ซึ่งในระยะที่ผ่านมาระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปค่อนข้างมีเสถียรภาพ ดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคใต้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 3-4 ต่อปี แต่มีบางปีที่ดัชนีราคาผู้บริโภคสูงถึงร้อยละ 6-7 สำหรับปี 2541 ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ได้มีการปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มตามไปด้วย
ภาคการค้าระหว่างประเทศ
จากการที่ภาคใต้มีชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซียและพม่า โดยเฉพาะกับมาเลเซียมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกันได้หลายจุด การขนส่งสามารถทำได้ทั้งทางบกและทางทะเล นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมกับประเทศสิงคโปร์ได้อีกด้วย ประกอบกับสินค้าสำคัญที่ผลิตได้ในภาคใต้ได้แก่ยางพารา ดีบุกและอาหารทะเล เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศมากกว่าตลาดภายในประเทศ รวมทั้งมีสินค้าจากภาคอื่นของประเทศส่งออกผ่านทางภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีบทบาททางด้านการค้าระหว่างประเทศมาก โดยเป็นการค้าทั้งในรูปการค้าชายแดนกับประเทศพม่า มาเลเซียและสิงคโปร์ โดยติดต่อค้าขายผ่านแดนกันมากที่ด่านปาดังเบซาร์ ด่านสะเดา ด่านเบตง และด่านสุไหงโก-ลก และในรูปการค้ากับประเทศโพ้นทะเล ส่วนใหญ่จะทำผ่านด่านสงขลา ด่านภูเก็ต ด่านปัตตานี และด่านกันตัง
การส่งออก ในระยะที่ผ่านมามีการขยายตัวเป็นลำดับ ในปี 2541 การส่งออกทางภาคใต้มีมูลค่า 122,022.7 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ยางพารา แร่ สัตว์น้ำและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีมูลค่าร้อยละ 56.3 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด เป็นที่น่าสังเกตว่าแร่ดีบุกซึ่งในอดีตเป็นสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกมากเป็นอันดับ 2 รองจากยางพารานั้น มูลค่าส่งออกได้ลดลงเป็นลำดับ นับตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา ตามภาวะตลาดโลก จาก 8,828.3 ล้านบาทในปี 2524 เหลือเพียง 2,590.9 ล้านบาทในปี 2541 ในขณะที่สัตว์น้ำกลับมีมูลค่าส่งออกสูงขึ้น คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 16 ของมูลค่าส่งออก
การนำเข้า ก็มีการขยายตัวมากเช่นเดียวกัน โดยในปี 2541 มีสินค้านำเข้าคิดเป็นมูลค่า 45,285.2 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย พม่าและสิงคโปร์ ประมาณร้อยละ 46 ของมูลค่านำเข้า เป็นการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง สัตว์น้ำ และเครื่องจักรอุปกรณ์
ภาคการเงิน
สถาบันการเงินที่เปิดดำเนินการในเขตภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นสำนักงานสาขา ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร มีบริษัทเงินทุนเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่เป็นสำนักงานใหญ่อยู่ในภาคใต้ ปัจจุบันสถาบันการเงินที่สำคัญที่ดำเนินการในภาคใต้มี 12 ประเภท คือ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โรงรับจำนำ สหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และสำนักงานอำนวยสินเชื่อ
ในบรรดาสถาบันการเงินต่าง ๆ ธนาคารพาณิชย์นับว่ามีบทบาทต่อท้องถิ่นมากที่สุด กิจการของธนาคารพาณิชย์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านการขยายสาขา การระดมเงินฝาก และการให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นไปตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในท้องถิ่น ณ สิ้นปี 2541 มีสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดดำเนินการในเขตภาคใต้ทั้งสิ้น 418 สำนักงาน ในจำนวนนี้เป็นสาขาเต็มรูปแบบ 371 สำนักงาน และสาขาย่อย 47 สำนักงาน โดยเปิดดำเนินการในจังหวัดสงขลามากที่สุด 80 สำนักงาน รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีสาขาธนาคารพาณิชย์ 56 สำนักงาน และ 54 สำนักงาน ตามลำดับ
ทางด้านเงินฝากและเงินให้สินเชื่อมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่สูงพอสมควรตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเงินฝากขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 19-20 ต่อปี ส่วนสินเชื่อขยายตัวในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 22-23 ต่อปี แม้ว่าจะมีการควบคุมการขยายสินเชื่อ และเข้มงวดการให้สินเชื่อกับลูกค้ามากขึ้น โดยสินเชื่อที่ปล่อยในระยะหลังจะเน้นคุณภาพของลูกค้า และเป็นลูกค้ารายย่อยมากขึ้น เพราะมีความเสี่ยงน้อย อย่างไรก็ตามในปี 2541 แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะหดตัวลง ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญลดต่ำลง แต่เงินฝากยังคงขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.6 ใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากมีการแข่งขันทางด้านเงินฝากกันมาก ส่วนสินเชื่อลดลงร้อยละ 10.7 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้ สินเชื่อและเร่งติดตามหนี้มากขึ้น
เมื่อพิจารณาโครงสร้างของเงินฝาก ปรากฏว่าเงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำหรือสิ้นระยะเวลา โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 73 ของเงินฝากทั้งหมด ที่เหลือเป็นเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากกระแสรายวันร้อยละ 23 และร้อยละ 4 ของเงินฝากทั้งหมด ตามลำดับ ส่วนสินเชื่อในช่วงปี 2523-2529 นั้น สินเชื่อที่ให้ส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อประเภทเบิกเกินบัญชี คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 65 ของสินเชื่อทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เงินให้กู้ร้อยละ 20 และตั๋วเงินฯ ร้อยละ 15 แต่ในช่วงปี 2530-2539 ธนาคารพาณิชย์ได้หันมาให้สินเชื่อประเภทเงินให้กู้มากขึ้น คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 43 ของสินเชื่อทั้งหมด ขณะที่เงินเบิกเกินบัญชีมีสัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 42 ของสินเชื่อ ทั้งหมด ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศลดวงเงินให้กู้ยืม เบิกเกินบัญชีที่ธนาคารพาณิชย์ให้ลูกค้าจากเดิมไม่เกินรายละ 50 ล้านบาท เป็นรายละไม่เกิน 30 ล้านบาท
ปัญหาพื้นฐานของภาคใต้
1. ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันโครงสร้างเศรษฐกิจของภาคใต้ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากผลผลิตหลักเดิมเพียงไม่กี่ชนิดคือ ยางพารา ประมงและแร่ดีบุก โดยมีการท่องเที่ยว การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปาล์มน้ำมันและกาแฟเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การค้าสินค้าเกษตรที่สำคัญ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับภาวะของตลาดต่างประเทศ จึงทำให้เศรษฐกิจของภาคใต้ขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการและระดับราคาของสินค้าในตลาดโลกเป็นสำคัญ
2. ปัญหาประสิทธิภาพในการผลิต ประสิทธิภาพในการผลิตของภาคใต้อยู่ในระดับ ต่ำและเป็นการแปรรูปวัตถุดิบอย่างง่าย ๆ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างสิ้นเปลืองและทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นเหตุให้แหล่งผลิตและสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลง การลงทุนไม่ได้ผลเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเหมืองแร่และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประมง
3. ปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานค่อนข้างจะล่าช้าเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ ของประเทศ การชลประทานยังไม่เพียงพอ เส้นทางคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดและระหว่างจังหวัดยังไม่สะดวกเท่าที่ควร รวมทั้งไฟฟ้า โทรศัพท์ และน้ำประปา มีใช้ไม่ทั่วถึง
4. ปัญหาแรงงานและการกระจายรายได้ ภาคใต้มีประชากรน้อย และผลจากการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 6 ปีเป็น 9 ปี ทำให้ผู้เข้าสู่กำลังแรงงานมีน้อยลง ประกอบกับมีแรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อพยพไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ภาคใต้ขาดแคลนแรงงาน จำเป็นต้องอาศัยแรงงานจากภาคอื่น นอกจากนี้ แม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่ยังมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชาชนอยู่ไม่น้อย เพราะผู้ที่มีรายได้สูงจะกระจุกตัวอยู่กับพ่อค้าและบรรดานักธุรกิจจำนวนไม่มากรายและเป็นชนกลุ่มน้อยของสังคม ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ยังเป็นเกษตรกรยากจน มีรายได้ต่ำและไม่แน่นอน การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังกระจายไม่ทั่วถึงทั้งภาค ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่เฉพาะในชุมชนบริเวณแหล่งผลิตสำคัญ ๆ และตัวเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าของภาค
5. ปัญหาความสงบและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและเป็นที่กังวลกันมากในภาคใต้ก็คือ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักธุรกิจ อันเกิดจากโจรผู้ร้าย ผู้ก่อการร้าย ขบวนการโจรก่อการร้ายและโจรจีนคอมมิวนิสต์ในรูปแบบต่าง ๆ กัน ที่เกิดขึ้นบ่อยและเป็นการทำลายบรรยากาศในการลงทุนในภาคใต้ ได้แก่ การเรียกค่าคุ้มครอง ทำให้การผลิตทำได้ไม่เต็มที่ ทั้ง ๆ ที่สามารถจะขยายตัวได้อีกมาก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-