โค-กระบือ : โรคคอบวมระบาดในภาคใต้
ในช่วงสองสัปดาห์นี้ ปรากฏรายงานการระบาดของโรคเฮโมรายิกเซฟติเมีย ( Haemorrhagie Septicaemia)
หรือที่เรียกว่าโรคคอบวม ซึ่งเป็นโรคที่มักระบาดในสัตว์ประเภท โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ม้า อูฐ ไก่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ
pasteurella ลักษณะอาการของโรคจะมีเลือดออกและเลือดคั่งตามอวัยวะต่าง ๆ และสภาพโลหิตเป็นพิษ สัตว์จะมีอาการซึม ไข้ขึ้นสูง
หายใจขัด ท้องอืด อาการที่แสดงออกไม่ชัดเจน มีอาการบวมที่คอ หัว และหน้าอก แต่เมื่อติดเชื้อแล้วจะเสียชีวิตเร็วมาก ภายใน 12-24
ชั่วโมง ขณะนี้ พบว่า โรคระบาดดังกล่าวเกิดขึ้นในท้องที่ตำบลปูโย๊ะ มุโน๊ะ ปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก ตำบลนานาค อำเภอตากใบ
จังหวัดนราธิวาส และตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และบริเวณใกล้เคียงที่มีแหล่งน้ำ จากรายงานของกรมปศุสัตว์แจ้งว่า
ในช่วงวันที่ 17-24 กรกฎาคม 2544 โค-กระบือ ในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดตายไปแล้วประมาณ 500 ตัว
สาเหตุการระบาดของโรคดังกล่าวในครั้งนี้ คาดว่าเกิดจากเชื้อโรคที่มากับแม่น้ำโก-ลก เมื่อโค-กระบือ ที่อยู่ในบริเวณ
นั้นกินน้ำในแม่น้ำจึงเกิดการติดเชื้อและเมื่อสัตว์ดังกล่าวเป็นโรคล้มตาย การแพร่กระจายของโรคก็จะกระจายได้มากขึ้น เนื่องจากเมื่อ
สัตว์ตาย เชื้อโรคจะแพร่กระจายอยู่ตามบริเวณพื้นดิน หญ้า และไหลลงสู่แหล่งน้ำ เมื่อสัตว์ตัวอื่นกินหญ้าและน้ำในบริเวณนั้นเชื้อโรคก็จะ
เข้าสู่ร่างกาย หรือถ้ามีบาดแผลเชื้อโรคก็จะเข้าทางบาดแผล รวมทั้งแมลงต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกับโค-กระบือ ก็ยังเป็นพาหะนำโรคให้แพร่
ระบาดได้มากยิ่งขึ้น จึงทำให้มีโค-กระบือติดโรคและล้มตายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้เมื่อโค-กระบือ ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่น้ำหนักมากตาย
ลงการที่จะกำจัดซากสัตว์เหล่านี้ค่อนข้างลำบาก เกษตรกรจึงมักปล่อยซากทิ้งไว้ หรือชาวบ้านบางรายนำสัตว์ที่ตายมาชำแหละเพื่อบริโภค
เชื้อโรคที่อยู่ในเลือดและเนื้อจะออกมาปนเปื้อนในดิน หญ้า และแหล่งน้ำ ยิ่งทำให้การแพร่กระจายของโรคระบาดไปได้กว้างไกล
และรุนแรงยิ่งขึ้น
การดำเนินการช่วยเหลือของรัฐบาล ขณะนี้กรมปศุสัตว์ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 3 ล้านบาท และเงินทดรองราชการ
ของจังหวัดอีก 1 ล้านบาท พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการของบประมาณเพิ่มอีก 3.5 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาโรคระบาด
ครั้งนี้ 7.5 ล้านบาท สำหรับใช้เป็นค่าชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งใช้ในการควบคุมป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจาย
มากยิ่งขึ้น โดยได้ระดมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคและพื้นที่ใกล้เคียงที่มีความเสี่ยงต่อ
การระบาดของโรค นอกจากนี้ยังได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น โดยห้ามไม่
ให้ประชาชนชำแหละโค-กระบือ ที่เป็นโรค เมื่อสัตว์ล้มตายให้นำไปทำลายโดยการฝังกลบหรือเผา และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออก
บริเวณดังกล่าวโดยเด็ดขาด ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้แล้ว
สับปะรด :ผลการดำเนินการตามโครงการแทรกแซงตลาดสับปะรดปี 2544
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติเงินจ่ายขาดจำนวน 50 ล้านบาท
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจ่ายชดเชยช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโรงงาน ที่จดทะเบียนตามประกาศคณะ
กรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ปี 2543 โดยมีระยะเวลาดำเนินการเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544
ระยะเวลาโครงการเดือนเมษายน-สิงหาคม 2544 และได้ขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปจนถึงสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2544
ระยะเวลาโครงการสิ้นสุดเดือนกันยายน 2544 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดการชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดไร่ละ
300 บาท แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ หรือ 3,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งมีเกษตรกรที่จะได้รับการชดเชยตามหลักฐานที่จดทะเบียน
ไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 14,666 ราย
ผลการดำเนินการ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2544 มีเกษตรกรมาขอรับการชดเชย จำนวน 5,454 ราย จำนวนเงินชดเชย
34,423,775 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จังหวัด จำนวนเกษตรกร (ราย) จำนวนเงินชดเชย (บาท)
1. นครพนม 338 560,250
2. ราชบุรี 1,037 2,934,900
3. ฉะเชิงเทรา 177 498,000
4. ตราด 612 1,662,000
5. ลำปาง 736 1,582,125
6. ชุมพร 717 1,973,550
7. หนองคาย 549 1,210,200
8. อุทัยธานี 714 1,975,500
9. เพชรบุรี 574 1,555,800
10. ประจวบคีรีขันธ์ * 19231450
11. ชลบุรี * 1,240,000
12. ระยอง * *
13 กาญจนบุรี * *
หมายเหตุ : * อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 28 ประจำวันที่ 23-29 ก.ค. 2544--
-สส-
ในช่วงสองสัปดาห์นี้ ปรากฏรายงานการระบาดของโรคเฮโมรายิกเซฟติเมีย ( Haemorrhagie Septicaemia)
หรือที่เรียกว่าโรคคอบวม ซึ่งเป็นโรคที่มักระบาดในสัตว์ประเภท โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ม้า อูฐ ไก่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ
pasteurella ลักษณะอาการของโรคจะมีเลือดออกและเลือดคั่งตามอวัยวะต่าง ๆ และสภาพโลหิตเป็นพิษ สัตว์จะมีอาการซึม ไข้ขึ้นสูง
หายใจขัด ท้องอืด อาการที่แสดงออกไม่ชัดเจน มีอาการบวมที่คอ หัว และหน้าอก แต่เมื่อติดเชื้อแล้วจะเสียชีวิตเร็วมาก ภายใน 12-24
ชั่วโมง ขณะนี้ พบว่า โรคระบาดดังกล่าวเกิดขึ้นในท้องที่ตำบลปูโย๊ะ มุโน๊ะ ปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก ตำบลนานาค อำเภอตากใบ
จังหวัดนราธิวาส และตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และบริเวณใกล้เคียงที่มีแหล่งน้ำ จากรายงานของกรมปศุสัตว์แจ้งว่า
ในช่วงวันที่ 17-24 กรกฎาคม 2544 โค-กระบือ ในพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดตายไปแล้วประมาณ 500 ตัว
สาเหตุการระบาดของโรคดังกล่าวในครั้งนี้ คาดว่าเกิดจากเชื้อโรคที่มากับแม่น้ำโก-ลก เมื่อโค-กระบือ ที่อยู่ในบริเวณ
นั้นกินน้ำในแม่น้ำจึงเกิดการติดเชื้อและเมื่อสัตว์ดังกล่าวเป็นโรคล้มตาย การแพร่กระจายของโรคก็จะกระจายได้มากขึ้น เนื่องจากเมื่อ
สัตว์ตาย เชื้อโรคจะแพร่กระจายอยู่ตามบริเวณพื้นดิน หญ้า และไหลลงสู่แหล่งน้ำ เมื่อสัตว์ตัวอื่นกินหญ้าและน้ำในบริเวณนั้นเชื้อโรคก็จะ
เข้าสู่ร่างกาย หรือถ้ามีบาดแผลเชื้อโรคก็จะเข้าทางบาดแผล รวมทั้งแมลงต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกับโค-กระบือ ก็ยังเป็นพาหะนำโรคให้แพร่
ระบาดได้มากยิ่งขึ้น จึงทำให้มีโค-กระบือติดโรคและล้มตายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้เมื่อโค-กระบือ ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่น้ำหนักมากตาย
ลงการที่จะกำจัดซากสัตว์เหล่านี้ค่อนข้างลำบาก เกษตรกรจึงมักปล่อยซากทิ้งไว้ หรือชาวบ้านบางรายนำสัตว์ที่ตายมาชำแหละเพื่อบริโภค
เชื้อโรคที่อยู่ในเลือดและเนื้อจะออกมาปนเปื้อนในดิน หญ้า และแหล่งน้ำ ยิ่งทำให้การแพร่กระจายของโรคระบาดไปได้กว้างไกล
และรุนแรงยิ่งขึ้น
การดำเนินการช่วยเหลือของรัฐบาล ขณะนี้กรมปศุสัตว์ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 3 ล้านบาท และเงินทดรองราชการ
ของจังหวัดอีก 1 ล้านบาท พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการของบประมาณเพิ่มอีก 3.5 ล้านบาท รวมเป็นเงินที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาโรคระบาด
ครั้งนี้ 7.5 ล้านบาท สำหรับใช้เป็นค่าชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งใช้ในการควบคุมป้องกันโรคไม่ให้แพร่กระจาย
มากยิ่งขึ้น โดยได้ระดมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคและพื้นที่ใกล้เคียงที่มีความเสี่ยงต่อ
การระบาดของโรค นอกจากนี้ยังได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายมากยิ่งขึ้น โดยห้ามไม่
ให้ประชาชนชำแหละโค-กระบือ ที่เป็นโรค เมื่อสัตว์ล้มตายให้นำไปทำลายโดยการฝังกลบหรือเผา และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออก
บริเวณดังกล่าวโดยเด็ดขาด ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้แล้ว
สับปะรด :ผลการดำเนินการตามโครงการแทรกแซงตลาดสับปะรดปี 2544
ตามที่คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติเงินจ่ายขาดจำนวน 50 ล้านบาท
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการจ่ายชดเชยช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดโรงงาน ที่จดทะเบียนตามประกาศคณะ
กรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ปี 2543 โดยมีระยะเวลาดำเนินการเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544
ระยะเวลาโครงการเดือนเมษายน-สิงหาคม 2544 และได้ขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปจนถึงสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2544
ระยะเวลาโครงการสิ้นสุดเดือนกันยายน 2544 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดการชดเชยให้เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดไร่ละ
300 บาท แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ หรือ 3,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งมีเกษตรกรที่จะได้รับการชดเชยตามหลักฐานที่จดทะเบียน
ไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 14,666 ราย
ผลการดำเนินการ ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2544 มีเกษตรกรมาขอรับการชดเชย จำนวน 5,454 ราย จำนวนเงินชดเชย
34,423,775 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
จังหวัด จำนวนเกษตรกร (ราย) จำนวนเงินชดเชย (บาท)
1. นครพนม 338 560,250
2. ราชบุรี 1,037 2,934,900
3. ฉะเชิงเทรา 177 498,000
4. ตราด 612 1,662,000
5. ลำปาง 736 1,582,125
6. ชุมพร 717 1,973,550
7. หนองคาย 549 1,210,200
8. อุทัยธานี 714 1,975,500
9. เพชรบุรี 574 1,555,800
10. ประจวบคีรีขันธ์ * 19231450
11. ชลบุรี * 1,240,000
12. ระยอง * *
13 กาญจนบุรี * *
หมายเหตุ : * อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 28 ประจำวันที่ 23-29 ก.ค. 2544--
-สส-