แท็ก
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงมหาดไทย
กรมการผังเมือง
กรมการปกครอง
รัฐสภา
ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๐
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมการปกครอง กรมการผังเมือง
กรมพัฒนาชุมชน และกรมที่ดิน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กรมการปกครอง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๕,๘๐๖,๘๙๔,๔๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๘,๘๗๓,๐๐๗,๓๒๒ บาท
ก. แผนงานส่งเสริมการบริหารและวิชาการ ๙,๙๙๑,๗๑๐,๘๐๐ บาท
ข. แผนงานบริการของรัฐ ๘๘๑,๓๔๐,๓๐๐ บาท
ค. แผนงานรักษาความมั่นคงภายใน ๑,๘๔๔,๒๔๓,๐๐๐ บาท
ง. แผนงานรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ๑๓๙,๕๔๘,๘๐๐ บาท
จ. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๕๘๘,๑๐๐ บาท
ฉ. แผนงานพัฒนาเมือง ๓๗,๘๑๑,๐๖๔,๖๐๐ บาท
ช. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๕๑๕,๐๖๙,๖๐๐ บาท
ซ. แผนงานบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๘๕๙,๗๗๐,๒๐๐ บาท
ฌ. แผนงานจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๓,๗๓๒,๘๑๘,๑๐๐ บาท
ญ. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาพลานามัย ๑๕,๔๓๕,๕๐๐ บาท
ฎ. แผนงานปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๑๕,๓๐๕,๔๐๐ บาท
ขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการซักถามเรื่อง การติดตั้งอินเตอร์เนตชุมชน ซึ่งอธิบดีได้ชี้แจงว่า
ขณะนี้ติดตั้งได้ประมาณ ๑,๐๐๐ จุด คาดว่าปี ๒๕๔๕ จะสามารถดำเนินการครอบคลุมได้ทุกองค์การ
บริหารส่วนตำบล
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณส่วนเงินอุดหนุนว่ามีการกระจุกตัว
ไม่กระจายไปในทุก ๆ ส่วนของพื้นที่ ดังนั้นจึงมีมติตั้งอนุกรรมาธิการพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖
กรมการผังเมือง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๑๒,๗๘๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๘๔,๗๗๓,๒๐๐ บาท
ก. แผนงานวางผังเมืองและบริการพื้นฐาน ๓๗๔,๙๒๕,๔๐๐ บาท
ข. แผนงานพัฒนาเมือง ๓๗,๘๕๔,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณ
รายจ่ายปี ๒๕๔๔ เกือบ ๘๕ ล้านบาท อธิบดีชี้แจงต่อที่ประชุมว่าปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
กรมการผังเมือง ได้ทำการเวณคืนที่ดิน ๙ แห่ง ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายมาก ส่วนงบประมาณรายจ่ายปี
๒๕๔๕ ได้ทำการเวณคืนเพียง ๓ แห่ง งบประมาณจึงลดลง
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงานเรื่อง กระจายอำนาจไป
องค์กรท้องถิ่น มีแนวทางอย่างไร อธิบดีชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้ได้มีการทดลองให้ กทม. วางผังเมือง
เองในอนาคตจะให้องค์กรท้องถิ่นอื่นทำการวางผังเมืองโดยกรมผังเมืองจะให้การสนับสนุนด้านความรู้
อบรม และส่งเจ้าหน้าที่ผสานงาน
๓. กรรมาธิการได้ซักถามความก้าวหน้าเรื่องการปักหมุดทั่วประเทศ อธิบดีชี้แจงว่า
การปักหมุดมีด้วยกัน ๓ ประเภท
- การปักหมุดเฉลิมพระเกียรติ ๑ หมุด
- อ้างอิงแนวเขตผังเมืองรวม ๑ หมุด
- อ้างอิงแนวเขต อบต. อบต. ละ ๒ หมุด
ซึ่งตอนนี้ทำไปแล้วประมาณ ๔,๐๐๐ พันกว่าหลักหมุดยังต้องเพิ่มอีกประมาณ ๑๒,๐๐๐
หลักหมุด ซึ่งเป็นจำนวนเงินทั้งหมดประมาณ ๑๔๔ ล้านบาท คณะกรรมาธิการให้เสนอยื่นแปรญัตติ
เพราะการปักหมุดจะช่วยให้การพัฒนาประเทศเป็นระบบยิ่งขึ้น
กรมการพัฒนาชุมชน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๔๑๐,๙๗๗,๑๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๑๖๗,๕๐๔,๓๐๐ บาท
ก. แผนงานพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครอง ๓,๔๑๐,๙๗๗,๑๐๐ บาท
ในส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับงานระบบข้อมูลเพื่อการพัฒนาและโครงการ
ถ่ายโอนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอาชีพของกรมพัฒนาชุมชนจะมีระบบงานซ้ำซ้อน
กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณควรที่จะนำเงินส่วนนี้จัดสรรให้กับ
หน่วยงานอื่นไปใช้ในสิ่งที่จำเป็น ซึ่งได้รับการชี้แจงว่าระบบงานมิได้ซ้ำซ้อนกันแต่เป็นการช่วยเหลือ
กันโดยยึดเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสีย
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กขคจ.)
ที่ผ่านมาว่าสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า
เงินงบประมาณปี ๒๕๔๔ ตั้งไว้ ๖๐๐ หมู่บ้าน เงิน ๑๗๕,๔๘๘ ล้านบาท และได้รับเงินงบประมาณ
เงินกู้ Sal อีก ๑๐,๐๐๐ บ้าน เป็นเงิน ๒๙,๒๔๘ ล้านบาท รวมทั้ง ๒ แหล่ง เป็นเงิน ๓๑๐๐.๒๘๘
ล้านบาท ขณะนี้วงเงินดังกล่าวได้โอนไปยังคลังจังหวัดแล้ว ซึ่งมีการเบิกจ่ายไปประมาณครึ่งหนึ่ง
คาดว่าจะมีเบิกจ่ายดำเนินการได้ครบตามเป้าหมายในเดือนกันยายน ๒๕๔๔ โดยผลการดำเนินงาน
แก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถาบัน
พัฒนบริหารศาสตร์ติดตามผลปรากฏว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมาย ร้อยละ ๙๘ เกษตรกรมี
รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น สำหรับเงินงบประมาณปี ๒๕๔๕ ไม่มีการสนับสนุนจากเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการ
โครงการ กขคจ. ที่เหลือ ๑๐,๔๑๒ หมู่บ้าน เนื่องจากสิ้นสุดระยะดำเนินโครงการ กขคจ. ระยะที่ ๒
ในปี ๒๕๔๔ และกรมการพัฒนาชุมชนไม่ได้เสนอขอตั้งงบประมาณปี ๒๕๔๕
กรมที่ดิน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๖๔๐,๘๒๖,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริการของรัฐ ๒,๕๖๒,๐๓๓,๑๐๐ บาท
ข. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพ ๗๘,๗๙๓,๖๐๐ บาท
การผลิตด้านการเกษตร
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามในงานบริหารการที่ดิน กรณีวัดธรรมิการามวรวิหาร
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ แต่การใช้ที่ดินไม่เป็นไป
ตามเจตนารมณ์ของผู้ให้ที่ดินจึงทำให้เกิดปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ได้รับการชี้แจงว่าขณะนี้กรมที่ดินมี
แนวทางการดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่รอกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิประกาศใช้
แล้วจะดำเนินการตามกฎกระทรวงต่อไป
๒. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตในโครงการพัฒนากรมที่ดิน และเร่งรัด
การออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ระยะ ในระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ และระยะที่ ๓
ได้ดำเนินการไปแล้ว แต่ระยะที่ ๔ ยังชะลอการออกโฉนดอยู่ กรมที่ดินจะของบประมาณเพิ่มอีก
ประมาณ ๒๒๕ ล้านบาท เพื่อให้การออกโฉนดปี ๒๕๔๕ สัมฤทธิ์ผล คณะกรรมาธิการจึงเสนอ
ให้มีการแปรญัตติเพิ่มเพื่อให้การดำเนินการเร่งรัดการออกโฉนดบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
นอกจานี้ คณะกรรมาธิการได้เสนอแนะให้มีการจัดตั้งสำนักงานที่ดินสาขาทั่วประเทศ เพื่อ
อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินและให้มีกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบ
ด้วย เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ และอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินการรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๓. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง
ที่ยังไม่ได้ดำเนินการอีกจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการบุกรุกที่หลวงของราษฎรตามมา
กรมที่ดินควรจะรีบดำเนินการและให้ขอความร่วมมือจากองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นประโยชน์
แก่รัฐต่อไป
๔. คณะกรรมาธิการให้ข้อเสนอแนะเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จาก
ประชาชน ควรจะมีรายละเอียดชี้แจงที่ชัดเจน เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ เป็นต้น เพื่อป้องกัน
มิให้เจ้าพนักงานเรียกเก็บเกินความจริง และมีความโปร่งใส รวมทั้งการดำเนินงานของกรมที่ดิน
จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กรมโยธาธิการ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๘,๘๒๓,๖๑๗,๗๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๗๔๐,๒๖๖,๗๐๐ บาท
คงเหลือ ๑๘,๐๘๓,๓๕๑,๐๐๐ บาท
ก. แผนงานวางผังเมืองและบริการพื้นฐาน ๔,๕๗๗,๔๙๔,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานพัฒนาเมือง ๑,๖๑๗,๖๙๔,๔๐๐ บาท
ค. แผนงานพัฒนาชนบท ๙,๒๒๙,๘๑๘,๔๐๐ บาท
ง. แผนงานขนส่งทางบก ๒,๑๐๑,๔๔๒,๕๐๐ บาท
จ. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๔๒๔,๙๘๐,๐๐๐ บาท
ฉ. แผนงานส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ๘๗๒,๑๘๗,๕๐๐ บาท
การปรับลดสืบเนื่องจากผลการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้
และผลการดำเนินงานล่าช้า
จากสาเหตุของการปรับลดงบประมาณของกรมโยธาธิการ คณะกรรมาธิการได้ตั้ง
ข้อสังเกตว่างบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ในปี ๒๕๔๕ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ ๒๕๔๔ มีจำนวน
ที่ลดลงประกอบกับมีรายการปรับลดเป็นจำนวนมาก คณะกรรมาธิการจึงมีมติให้จัดตั้งคณะทำงาน
เพื่อพิจารณาศึกษาการปรับลดงบประมาณของกรมโยธาธิการ พร้อมกันนี้คณะกรรมาธิการ
ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ ที่ใช้งบประมาณเป็นจำนวนถึง ๒๐๐
กว่าล้านบาท ซึ่งคณะกรรมาธิการมีความเห็นว่าเป็นการใช้งบประมาณโดยไม่จำเป็น เนื่องจาก
กรมโยธาธิการมีบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญอยู่แล้ว และได้เสนอให้ทำการปรับปรุงการ
เขียนแผนงานให้มีความครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้น
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๑,๒๔๖,๗๘๔,๗๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๒๑,๗๕๓,๒๑๕,๓๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔
(พิจารณาถึงกรมโยธาธิการ)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๐
วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงมหาดไทย ในส่วนของกรมการปกครอง กรมการผังเมือง
กรมพัฒนาชุมชน และกรมที่ดิน ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กรมการปกครอง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๕,๘๐๖,๘๙๔,๔๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๘,๘๗๓,๐๐๗,๓๒๒ บาท
ก. แผนงานส่งเสริมการบริหารและวิชาการ ๙,๙๙๑,๗๑๐,๘๐๐ บาท
ข. แผนงานบริการของรัฐ ๘๘๑,๓๔๐,๓๐๐ บาท
ค. แผนงานรักษาความมั่นคงภายใน ๑,๘๔๔,๒๔๓,๐๐๐ บาท
ง. แผนงานรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ๑๓๙,๕๔๘,๘๐๐ บาท
จ. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๕๘๘,๑๐๐ บาท
ฉ. แผนงานพัฒนาเมือง ๓๗,๘๑๑,๐๖๔,๖๐๐ บาท
ช. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๕๑๕,๐๖๙,๖๐๐ บาท
ซ. แผนงานบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๘๕๙,๗๗๐,๒๐๐ บาท
ฌ. แผนงานจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๓,๗๓๒,๘๑๘,๑๐๐ บาท
ญ. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาพลานามัย ๑๕,๔๓๕,๕๐๐ บาท
ฎ. แผนงานปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๑๕,๓๐๕,๔๐๐ บาท
ขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการซักถามเรื่อง การติดตั้งอินเตอร์เนตชุมชน ซึ่งอธิบดีได้ชี้แจงว่า
ขณะนี้ติดตั้งได้ประมาณ ๑,๐๐๐ จุด คาดว่าปี ๒๕๔๕ จะสามารถดำเนินการครอบคลุมได้ทุกองค์การ
บริหารส่วนตำบล
๒. คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณส่วนเงินอุดหนุนว่ามีการกระจุกตัว
ไม่กระจายไปในทุก ๆ ส่วนของพื้นที่ ดังนั้นจึงมีมติตั้งอนุกรรมาธิการพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖
กรมการผังเมือง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๑๒,๗๘๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๘๔,๗๗๓,๒๐๐ บาท
ก. แผนงานวางผังเมืองและบริการพื้นฐาน ๓๗๔,๙๒๕,๔๐๐ บาท
ข. แผนงานพัฒนาเมือง ๓๗,๘๕๔,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณ
รายจ่ายปี ๒๕๔๔ เกือบ ๘๕ ล้านบาท อธิบดีชี้แจงต่อที่ประชุมว่าปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
กรมการผังเมือง ได้ทำการเวณคืนที่ดิน ๙ แห่ง ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายมาก ส่วนงบประมาณรายจ่ายปี
๒๕๔๕ ได้ทำการเวณคืนเพียง ๓ แห่ง งบประมาณจึงลดลง
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงานเรื่อง กระจายอำนาจไป
องค์กรท้องถิ่น มีแนวทางอย่างไร อธิบดีชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้ได้มีการทดลองให้ กทม. วางผังเมือง
เองในอนาคตจะให้องค์กรท้องถิ่นอื่นทำการวางผังเมืองโดยกรมผังเมืองจะให้การสนับสนุนด้านความรู้
อบรม และส่งเจ้าหน้าที่ผสานงาน
๓. กรรมาธิการได้ซักถามความก้าวหน้าเรื่องการปักหมุดทั่วประเทศ อธิบดีชี้แจงว่า
การปักหมุดมีด้วยกัน ๓ ประเภท
- การปักหมุดเฉลิมพระเกียรติ ๑ หมุด
- อ้างอิงแนวเขตผังเมืองรวม ๑ หมุด
- อ้างอิงแนวเขต อบต. อบต. ละ ๒ หมุด
ซึ่งตอนนี้ทำไปแล้วประมาณ ๔,๐๐๐ พันกว่าหลักหมุดยังต้องเพิ่มอีกประมาณ ๑๒,๐๐๐
หลักหมุด ซึ่งเป็นจำนวนเงินทั้งหมดประมาณ ๑๔๔ ล้านบาท คณะกรรมาธิการให้เสนอยื่นแปรญัตติ
เพราะการปักหมุดจะช่วยให้การพัฒนาประเทศเป็นระบบยิ่งขึ้น
กรมการพัฒนาชุมชน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๔๑๐,๙๗๗,๑๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔ เป็นเงิน
๑๖๗,๕๐๔,๓๐๐ บาท
ก. แผนงานพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครอง ๓,๔๑๐,๙๗๗,๑๐๐ บาท
ในส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับงานระบบข้อมูลเพื่อการพัฒนาและโครงการ
ถ่ายโอนกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอาชีพของกรมพัฒนาชุมชนจะมีระบบงานซ้ำซ้อน
กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณควรที่จะนำเงินส่วนนี้จัดสรรให้กับ
หน่วยงานอื่นไปใช้ในสิ่งที่จำเป็น ซึ่งได้รับการชี้แจงว่าระบบงานมิได้ซ้ำซ้อนกันแต่เป็นการช่วยเหลือ
กันโดยยึดเป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสีย
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กขคจ.)
ที่ผ่านมาว่าสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้หรือไม่ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า
เงินงบประมาณปี ๒๕๔๔ ตั้งไว้ ๖๐๐ หมู่บ้าน เงิน ๑๗๕,๔๘๘ ล้านบาท และได้รับเงินงบประมาณ
เงินกู้ Sal อีก ๑๐,๐๐๐ บ้าน เป็นเงิน ๒๙,๒๔๘ ล้านบาท รวมทั้ง ๒ แหล่ง เป็นเงิน ๓๑๐๐.๒๘๘
ล้านบาท ขณะนี้วงเงินดังกล่าวได้โอนไปยังคลังจังหวัดแล้ว ซึ่งมีการเบิกจ่ายไปประมาณครึ่งหนึ่ง
คาดว่าจะมีเบิกจ่ายดำเนินการได้ครบตามเป้าหมายในเดือนกันยายน ๒๕๔๔ โดยผลการดำเนินงาน
แก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถาบัน
พัฒนบริหารศาสตร์ติดตามผลปรากฏว่าโครงการดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมาย ร้อยละ ๙๘ เกษตรกรมี
รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น สำหรับเงินงบประมาณปี ๒๕๔๕ ไม่มีการสนับสนุนจากเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการ
โครงการ กขคจ. ที่เหลือ ๑๐,๔๑๒ หมู่บ้าน เนื่องจากสิ้นสุดระยะดำเนินโครงการ กขคจ. ระยะที่ ๒
ในปี ๒๕๔๔ และกรมการพัฒนาชุมชนไม่ได้เสนอขอตั้งงบประมาณปี ๒๕๔๕
กรมที่ดิน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๖๔๐,๘๒๖,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริการของรัฐ ๒,๕๖๒,๐๓๓,๑๐๐ บาท
ข. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพ ๗๘,๗๙๓,๖๐๐ บาท
การผลิตด้านการเกษตร
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามในงานบริหารการที่ดิน กรณีวัดธรรมิการามวรวิหาร
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วินิจฉัยว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ แต่การใช้ที่ดินไม่เป็นไป
ตามเจตนารมณ์ของผู้ให้ที่ดินจึงทำให้เกิดปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ได้รับการชี้แจงว่าขณะนี้กรมที่ดินมี
แนวทางการดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่รอกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการเพิกถอนสิทธิประกาศใช้
แล้วจะดำเนินการตามกฎกระทรวงต่อไป
๒. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตในโครงการพัฒนากรมที่ดิน และเร่งรัด
การออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ระยะ ในระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ และระยะที่ ๓
ได้ดำเนินการไปแล้ว แต่ระยะที่ ๔ ยังชะลอการออกโฉนดอยู่ กรมที่ดินจะของบประมาณเพิ่มอีก
ประมาณ ๒๒๕ ล้านบาท เพื่อให้การออกโฉนดปี ๒๕๔๕ สัมฤทธิ์ผล คณะกรรมาธิการจึงเสนอ
ให้มีการแปรญัตติเพิ่มเพื่อให้การดำเนินการเร่งรัดการออกโฉนดบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้
นอกจานี้ คณะกรรมาธิการได้เสนอแนะให้มีการจัดตั้งสำนักงานที่ดินสาขาทั่วประเทศ เพื่อ
อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินและให้มีกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบ
ด้วย เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ และอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินการรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๓. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง
ที่ยังไม่ได้ดำเนินการอีกจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการบุกรุกที่หลวงของราษฎรตามมา
กรมที่ดินควรจะรีบดำเนินการและให้ขอความร่วมมือจากองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นประโยชน์
แก่รัฐต่อไป
๔. คณะกรรมาธิการให้ข้อเสนอแนะเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จาก
ประชาชน ควรจะมีรายละเอียดชี้แจงที่ชัดเจน เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ เป็นต้น เพื่อป้องกัน
มิให้เจ้าพนักงานเรียกเก็บเกินความจริง และมีความโปร่งใส รวมทั้งการดำเนินงานของกรมที่ดิน
จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กรมโยธาธิการ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๘,๘๒๓,๖๑๗,๗๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๗๔๐,๒๖๖,๗๐๐ บาท
คงเหลือ ๑๘,๐๘๓,๓๕๑,๐๐๐ บาท
ก. แผนงานวางผังเมืองและบริการพื้นฐาน ๔,๕๗๗,๔๙๔,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานพัฒนาเมือง ๑,๖๑๗,๖๙๔,๔๐๐ บาท
ค. แผนงานพัฒนาชนบท ๙,๒๒๙,๘๑๘,๔๐๐ บาท
ง. แผนงานขนส่งทางบก ๒,๑๐๑,๔๔๒,๕๐๐ บาท
จ. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๔๒๔,๙๘๐,๐๐๐ บาท
ฉ. แผนงานส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ๘๗๒,๑๘๗,๕๐๐ บาท
การปรับลดสืบเนื่องจากผลการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้
และผลการดำเนินงานล่าช้า
จากสาเหตุของการปรับลดงบประมาณของกรมโยธาธิการ คณะกรรมาธิการได้ตั้ง
ข้อสังเกตว่างบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ในปี ๒๕๔๕ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ ๒๕๔๔ มีจำนวน
ที่ลดลงประกอบกับมีรายการปรับลดเป็นจำนวนมาก คณะกรรมาธิการจึงมีมติให้จัดตั้งคณะทำงาน
เพื่อพิจารณาศึกษาการปรับลดงบประมาณของกรมโยธาธิการ พร้อมกันนี้คณะกรรมาธิการ
ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการจ้างที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ ที่ใช้งบประมาณเป็นจำนวนถึง ๒๐๐
กว่าล้านบาท ซึ่งคณะกรรมาธิการมีความเห็นว่าเป็นการใช้งบประมาณโดยไม่จำเป็น เนื่องจาก
กรมโยธาธิการมีบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญอยู่แล้ว และได้เสนอให้ทำการปรับปรุงการ
เขียนแผนงานให้มีความครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้น
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๑,๒๔๖,๗๘๔,๗๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๒๑,๗๕๓,๒๑๕,๓๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันศุกร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔
(พิจารณาถึงกรมโยธาธิการ)