นายธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์ รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำหน้าที่เป็นประธานร่วมกับสหรัฐอเมริกาในการประชุมคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายใต้กรอบเอเปค ครั้งที่ 3เมื่อวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2544 ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย
สาระสำคัญของการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 3 สรุปได้ดังนี้
1. ที่ประชุมเห็นว่า คณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 ควรมีบทบาทต่อไปในการดำเนินการตามแผนแม่บทด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้ว่าเอเปคจะมีการ จัดตั้งคณะทำงานด้าน e-APEC ขึ้นมาในปีนี้ เพื่อศึกษาระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ซึ่งรวมเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวม
2. สหรัฐฯ เสนอให้ที่ประชุมรับรองหลักการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามหลัก UNCITRAL Model Law โดยให้ประเทศสมาชิกกำหนดระยะเวลาเป้าหมายในการดำเนินการออกกฎหมาย ซึ่งในประเด็นนี้ มีหลายประเทศไม่เห็นด้วย เช่น ญี่ปุ่น และไต้หวัน สำหรับไทยการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้อิงหลักการของ UNCITRAL Model Law อย่างไรก็ตาม การกำหนดระยะเวลาในการออกกฎหมาย ไทยเห็นว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งภาครัฐบาลไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ จึงไม่ควรผูกมัดเงื่อนเวลาการออกกฎหมายไว้
3. ที่ประชุมเห็นว่า ภาคธุรกิจมีความสำคัญต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงได้จัดตั้งเวทีสำหรับภาคธุรกิจในการหารือแนวทางการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า "APEC E-Commerce Business Alliance" ตามข้อเสนอของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ จีนจะได้แจ้งกำหนดการประชุมครั้งแรกให้ทราบต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมได้คัดเลือกสาธารณรัฐประชาชนจีนและแคนาดาเป็นประธานร่วมของคณะทำงานฯ โดยมีวาระการทำงาน 2 ปี
การประชุมคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ครั้งที่ 4 จะจัดขึ้นในระหว่าง การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3/2544 ในเดือนสิงหาคม ณ เมืองต้าเหลียง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายใต้กรอบเอเปค คือ ทำให้ได้ทราบความเคลื่อนไหวของประเทศต่าง ๆ ในเอเปค ทั้ง 21 ประเทศ ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เนื่องจากคณะทำงานฯ ได้มีการจัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานะของประเทศสมาชิกเอเปคในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่เสมอ รวมทั้งของไทย และมีส่วนในการช่วยให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์และมีส่วนเป็นการช่วยในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยให้ทันกับกระแสโลกอีกด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มีนาคม 2544--
-ปส-
สาระสำคัญของการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 3 สรุปได้ดังนี้
1. ที่ประชุมเห็นว่า คณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 ควรมีบทบาทต่อไปในการดำเนินการตามแผนแม่บทด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ถึงแม้ว่าเอเปคจะมีการ จัดตั้งคณะทำงานด้าน e-APEC ขึ้นมาในปีนี้ เพื่อศึกษาระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ซึ่งรวมเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวม
2. สหรัฐฯ เสนอให้ที่ประชุมรับรองหลักการกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามหลัก UNCITRAL Model Law โดยให้ประเทศสมาชิกกำหนดระยะเวลาเป้าหมายในการดำเนินการออกกฎหมาย ซึ่งในประเด็นนี้ มีหลายประเทศไม่เห็นด้วย เช่น ญี่ปุ่น และไต้หวัน สำหรับไทยการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้อิงหลักการของ UNCITRAL Model Law อย่างไรก็ตาม การกำหนดระยะเวลาในการออกกฎหมาย ไทยเห็นว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งภาครัฐบาลไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายได้ จึงไม่ควรผูกมัดเงื่อนเวลาการออกกฎหมายไว้
3. ที่ประชุมเห็นว่า ภาคธุรกิจมีความสำคัญต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงได้จัดตั้งเวทีสำหรับภาคธุรกิจในการหารือแนวทางการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า "APEC E-Commerce Business Alliance" ตามข้อเสนอของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ จีนจะได้แจ้งกำหนดการประชุมครั้งแรกให้ทราบต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมได้คัดเลือกสาธารณรัฐประชาชนจีนและแคนาดาเป็นประธานร่วมของคณะทำงานฯ โดยมีวาระการทำงาน 2 ปี
การประชุมคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ครั้งที่ 4 จะจัดขึ้นในระหว่าง การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3/2544 ในเดือนสิงหาคม ณ เมืองต้าเหลียง สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายใต้กรอบเอเปค คือ ทำให้ได้ทราบความเคลื่อนไหวของประเทศต่าง ๆ ในเอเปค ทั้ง 21 ประเทศ ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เนื่องจากคณะทำงานฯ ได้มีการจัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานะของประเทศสมาชิกเอเปคในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่เสมอ รวมทั้งของไทย และมีส่วนในการช่วยให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์และมีส่วนเป็นการช่วยในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยให้ทันกับกระแสโลกอีกด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มีนาคม 2544--
-ปส-