ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๕
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมประมง
และกรมปศุสัตว์ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๐๑,๘๗๓,๒๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๕๐๑,๘๗๓,๒๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. จากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกร เพื่ออำนาจในการต่อรองเรื่องผลผลิต ได้ก่อให้เกิด
ปัญหาการฟ้องร้องเรื่องเงินติดตามมา โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้สืบเนื่องจากขาดการ
ตรวจสอบบัญชี และการทำบัญชีที่เป็นระบบ ดังนั้น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือ
สนับสนุน ชี้แจง และอบรมในเรื่องของการทำบัญชีที่ถูกต้อง
๒. สหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีเงินหมุนเวียนสูง มักจะเกิดปัญหาในเรื่องการทุจริตและคอร์รัปชั่น
อยู่เสมอ ซึ่งเป็นเพราะระบบการจัดทำบัญชีไม่ถูกต้อง กรมตรวจบัญชีสหกรณ์จึงต้องเร่งดำเนินการแก้ไข
อย่างจริงจัง
๓. สหกรณ์ภาคการเกษตร มีอุปสรรคในเรื่องการจัดทำบัญชีเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมา
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ดำเนินการแก้ไขได้ถูกทาง โดยเฉพาะการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
๔. กรณีของกองทุนหมู่บ้าน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบแต่
พร้อมที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยยินดีที่จะจัดอบรมระบบการทำบัญชีที่ถูกต้อง
ให้กับทุกกองทุนหมู่บ้าน พร้อมทั้งได้จัดทำคู่มือบัญชีชาวบ้านไว้เผยแพร่ด้วยเช่นกัน
กรมประมง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๒๙๑,๐๕๘,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตด้าน ๒,๘๒๗,๗๓๘,๘๐๐ บาท
การเกษตร
ข. แผนงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ๓๑๓,๓๑๙,๙๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. การปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องโครงการค่าใช้จ่าย ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์
กรมประมงได้ตั้งงบประมาณไว้ ๒๑ ล้านบาทเศษ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ ก็ตั้งงบประมาณส่วนนี้ไว้กว่า
๑๐๐ ล้านบาท อาจทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการบริหารงานและการรั่วไหลของเงินได้ ดังนั้น กรมประมง
ควรดำเนินการและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
๒. ปัจจุบันมีการลักลอบทำประมงผิดกฎหมายกันอย่างมาก ซึ่งเป็นการสร้างความเดือดร้อน
ให้กับชาวประมงในพื้นที่และทำลายทรัพยากรทางทะเล กรมประมงจึงต้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหา
ดังกล่าว โดยเฉพาะต้องแก้ข้อจำกัดทางกฎหมายและกำหนดบทลงโทษอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งต้องปลูก
จิตสำนึกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรทางทะเล
๓. โครงการจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล โดยเฉพาะการฟื้นฟูป่าชายเลน ควรทำ
แบบครบวงจร เนื่องจากพันธุ์สัตว์น้ำจะเพิ่มผลผลิตได้ก็ต่อเมื่อป่าชายเลนได้รับการฟื้นฟู สำหรับการทำ
ปะการังเทียมเป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริม ซึ่งควรวางแผนจัดตั้งงบประมาณในส่วนนี้ พร้อมดำเนินการประสาน
กับประมงท้องถิ่นและสถานศึกษา
๔. การสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (Aquarium) กรมประมงมีแผนดำเนินการสร้างที่จังหวัด
เชียงใหม่ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดอุบลราชธานี แต่ติดขัดในเรื่องบประมาณ ครั้นพอจะให้เอกชน
เข้ามาลงทุน ก็ไม่มีเอกชนรายใดเข้ามาร่วมลงทุน เนื่องจากต้องใช้งบลงทุนสูงถึง ๑,๕๐๐ ล้านบาท
ด้วยเหตุนี้จึงชลอการสร้างมาโดยตลอด
๕. การเพาะเลี้ยงกุลาดำ ซึ่งถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมาก
จำเป็นต้องดำเนินการศึกษาวิจัยทางด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
๖. กรรมาธิการบางท่านซึ่งสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ขอสงวนความเห็น งบประมาณ
หมวดรายจ่ายอื่น ในส่วนของค่าใช้จ่ายโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้จำนวน
๑๐๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท
กรมปศุสัตว์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๐๙๓,๘๖๘,๓๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๑๖,๕๖๔,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๓,๐๗๗,๓๐๔,๓๐๐ บาท
กรมปศุสัตว์มีรายการปรับลดเนื่องจากไม่สอดคล้องกับรายจ่าย อัตราปรับลดเป็นอัตรา
การเกษียณจำนวน ๕๘ อัตรา และมิได้มีการจัดสรรทดแทน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางที่กรมปศุสัตว์ควรจะส่งเสริมให้มี
การเพาะเลี้ยงสัตว์ในสถานศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับนักเรียน ซึ่งประเด็น
ดังกล่าวนี้ กรมปศุสัตว์ได้กล่าวว่า ได้มีการส่งเสริมให้มีการทำปศุสัตว์ภายในโรงเรียน โดยในปี ๒๕๔๕
กรมได้วางเป้าหมายไว้ ๒,๐๐๐ โรงเรียน โดยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายคือ โรงเรียนในสังกัด สปช. และ
กรมสามัญศึกษา แต่กรมมีข้อจำกัดในการดำเนินงานคือ ติดขัดเรื่องงบประมาณที่ได้รับ
๒. เรื่องโรคติดต่อในสัตว์ คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่า จากปัญหาเรื่อง โรคระบาด
ในสัตว์ เช่น โรควัวบ้า โรคต่างถิ่น ที่เป็นปัญหาในขณะนี้ กรมปศุสัตว์มีแนวทางแก้ไขปัญหาและมาตรการ
ป้องกันอย่างไร กรมปศุสัตว์ได้กล่าวว่าปัญหาเรื่องโรคระบาดในสัตว์นั้น แท้ที่จริงแล้วนั้นเป็นปัญหาที่มา
จากต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งกรมได้ทำการประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้กับประชาชนได้ทราบแล้ว และสำหรับ
ปัญหาเรื่องโรควัวบ้า กรมขอยืนยันว่าสำหรับในประเทศไทยไม่มีโรคดังกล่าว
๓. คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเลี้ยงโค กระบือ ควรที่จะได้รับ
การสนับสนุนและส่งเสริมในลักษณะการรวมตัวเป็นกลุ่มสหกรณ์ เนื่องจากสัตว์เลี้ยงประเภทดังกล่าว
ผู้ขายสามารถจะกำหนดราคาขายได้เอง และมีข้อสังเกตว่าควรจะเน้นหนักในเขตพื้นที่ภาคใต้
เพราะเป็นพื้นที่ที่มีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสม รวมทั้งควรจะมีการส่งเสริมพันธุ์โค กระบือ ให้มีการ
พัฒนาสายพันธุ์
๔. การตรวจสอบอาหารเสริม (นม) คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตและแสดงความ
คิดเห็นเรื่องของอาหารเสริม (นม) ที่แจกจ่ายให้กับนักเรียนควรจะเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีความสด
ความสะอาด และถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับด้านสุขภาพของนักเรียน
๕. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้
ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีแนวทางเกี่ยวกับการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้โดยได้ดำเนินการส่งเสริม
ให้เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ปีก โดยให้ความสำคัญกับการเลี้ยงไก่ และเป็ดเป็นการส่งเสริมเพื่อการค้า
และกรมปศุสัตว์จะทำหน้าที่เป็น กรมปศุสัตว์พาณิชย์ ปัจจุบันมีการส่งออก ๒,๗๐๐ - ๒,๘๐๐ ตัน
ทั้งนี้ กรมจะพยายามส่งเสริมให้มีเครื่องหมายการค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ (Brand Name)
ของประเทศไทย และสำหรับโครงการ ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์ ตามนโยบายของรัฐบาล กรมฯ
มีแนวทางจะกระจายให้ทั่วถึงทุกภูมิภาค โดยเลือกพื้นที่ที่ไม่มีการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๒,๗๓๒,๕๐๒,๙๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๒๐,๒๖๗,๔๙๗,๑๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันศุกร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๔
(รวมยอดถึงกรมปศุสัตว์)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๕
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมประมง
และกรมปศุสัตว์ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕๐๑,๘๗๓,๒๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๕๐๑,๘๗๓,๒๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. จากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกร เพื่ออำนาจในการต่อรองเรื่องผลผลิต ได้ก่อให้เกิด
ปัญหาการฟ้องร้องเรื่องเงินติดตามมา โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้สืบเนื่องจากขาดการ
ตรวจสอบบัญชี และการทำบัญชีที่เป็นระบบ ดังนั้น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์จำเป็นต้องเข้าไปช่วยเหลือ
สนับสนุน ชี้แจง และอบรมในเรื่องของการทำบัญชีที่ถูกต้อง
๒. สหกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีเงินหมุนเวียนสูง มักจะเกิดปัญหาในเรื่องการทุจริตและคอร์รัปชั่น
อยู่เสมอ ซึ่งเป็นเพราะระบบการจัดทำบัญชีไม่ถูกต้อง กรมตรวจบัญชีสหกรณ์จึงต้องเร่งดำเนินการแก้ไข
อย่างจริงจัง
๓. สหกรณ์ภาคการเกษตร มีอุปสรรคในเรื่องการจัดทำบัญชีเป็นอย่างมาก ซึ่งที่ผ่านมา
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ดำเนินการแก้ไขได้ถูกทาง โดยเฉพาะการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
๔. กรณีของกองทุนหมู่บ้าน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบแต่
พร้อมที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล โดยยินดีที่จะจัดอบรมระบบการทำบัญชีที่ถูกต้อง
ให้กับทุกกองทุนหมู่บ้าน พร้อมทั้งได้จัดทำคู่มือบัญชีชาวบ้านไว้เผยแพร่ด้วยเช่นกัน
กรมประมง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๒๙๑,๐๕๘,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตด้าน ๒,๘๒๗,๗๓๘,๘๐๐ บาท
การเกษตร
ข. แผนงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ๓๑๓,๓๑๙,๙๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. การปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องโครงการค่าใช้จ่าย ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์
กรมประมงได้ตั้งงบประมาณไว้ ๒๑ ล้านบาทเศษ ซึ่งทางกระทรวงเกษตรฯ ก็ตั้งงบประมาณส่วนนี้ไว้กว่า
๑๐๐ ล้านบาท อาจทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการบริหารงานและการรั่วไหลของเงินได้ ดังนั้น กรมประมง
ควรดำเนินการและตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
๒. ปัจจุบันมีการลักลอบทำประมงผิดกฎหมายกันอย่างมาก ซึ่งเป็นการสร้างความเดือดร้อน
ให้กับชาวประมงในพื้นที่และทำลายทรัพยากรทางทะเล กรมประมงจึงต้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหา
ดังกล่าว โดยเฉพาะต้องแก้ข้อจำกัดทางกฎหมายและกำหนดบทลงโทษอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งต้องปลูก
จิตสำนึกให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรทางทะเล
๓. โครงการจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรประมงทะเล โดยเฉพาะการฟื้นฟูป่าชายเลน ควรทำ
แบบครบวงจร เนื่องจากพันธุ์สัตว์น้ำจะเพิ่มผลผลิตได้ก็ต่อเมื่อป่าชายเลนได้รับการฟื้นฟู สำหรับการทำ
ปะการังเทียมเป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริม ซึ่งควรวางแผนจัดตั้งงบประมาณในส่วนนี้ พร้อมดำเนินการประสาน
กับประมงท้องถิ่นและสถานศึกษา
๔. การสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (Aquarium) กรมประมงมีแผนดำเนินการสร้างที่จังหวัด
เชียงใหม่ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดอุบลราชธานี แต่ติดขัดในเรื่องบประมาณ ครั้นพอจะให้เอกชน
เข้ามาลงทุน ก็ไม่มีเอกชนรายใดเข้ามาร่วมลงทุน เนื่องจากต้องใช้งบลงทุนสูงถึง ๑,๕๐๐ ล้านบาท
ด้วยเหตุนี้จึงชลอการสร้างมาโดยตลอด
๕. การเพาะเลี้ยงกุลาดำ ซึ่งถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมาก
จำเป็นต้องดำเนินการศึกษาวิจัยทางด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
๖. กรรมาธิการบางท่านซึ่งสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ขอสงวนความเห็น งบประมาณ
หมวดรายจ่ายอื่น ในส่วนของค่าใช้จ่ายโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้จำนวน
๑๐๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท
กรมปศุสัตว์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๐๙๓,๘๖๘,๓๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๑๖,๕๖๔,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๓,๐๗๗,๓๐๔,๓๐๐ บาท
กรมปศุสัตว์มีรายการปรับลดเนื่องจากไม่สอดคล้องกับรายจ่าย อัตราปรับลดเป็นอัตรา
การเกษียณจำนวน ๕๘ อัตรา และมิได้มีการจัดสรรทดแทน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางที่กรมปศุสัตว์ควรจะส่งเสริมให้มี
การเพาะเลี้ยงสัตว์ในสถานศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับนักเรียน ซึ่งประเด็น
ดังกล่าวนี้ กรมปศุสัตว์ได้กล่าวว่า ได้มีการส่งเสริมให้มีการทำปศุสัตว์ภายในโรงเรียน โดยในปี ๒๕๔๕
กรมได้วางเป้าหมายไว้ ๒,๐๐๐ โรงเรียน โดยโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายคือ โรงเรียนในสังกัด สปช. และ
กรมสามัญศึกษา แต่กรมมีข้อจำกัดในการดำเนินงานคือ ติดขัดเรื่องงบประมาณที่ได้รับ
๒. เรื่องโรคติดต่อในสัตว์ คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่า จากปัญหาเรื่อง โรคระบาด
ในสัตว์ เช่น โรควัวบ้า โรคต่างถิ่น ที่เป็นปัญหาในขณะนี้ กรมปศุสัตว์มีแนวทางแก้ไขปัญหาและมาตรการ
ป้องกันอย่างไร กรมปศุสัตว์ได้กล่าวว่าปัญหาเรื่องโรคระบาดในสัตว์นั้น แท้ที่จริงแล้วนั้นเป็นปัญหาที่มา
จากต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งกรมได้ทำการประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้กับประชาชนได้ทราบแล้ว และสำหรับ
ปัญหาเรื่องโรควัวบ้า กรมขอยืนยันว่าสำหรับในประเทศไทยไม่มีโรคดังกล่าว
๓. คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเลี้ยงโค กระบือ ควรที่จะได้รับ
การสนับสนุนและส่งเสริมในลักษณะการรวมตัวเป็นกลุ่มสหกรณ์ เนื่องจากสัตว์เลี้ยงประเภทดังกล่าว
ผู้ขายสามารถจะกำหนดราคาขายได้เอง และมีข้อสังเกตว่าควรจะเน้นหนักในเขตพื้นที่ภาคใต้
เพราะเป็นพื้นที่ที่มีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสม รวมทั้งควรจะมีการส่งเสริมพันธุ์โค กระบือ ให้มีการ
พัฒนาสายพันธุ์
๔. การตรวจสอบอาหารเสริม (นม) คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตและแสดงความ
คิดเห็นเรื่องของอาหารเสริม (นม) ที่แจกจ่ายให้กับนักเรียนควรจะเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีความสด
ความสะอาด และถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับด้านสุขภาพของนักเรียน
๕. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้
ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีแนวทางเกี่ยวกับการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้โดยได้ดำเนินการส่งเสริม
ให้เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ปีก โดยให้ความสำคัญกับการเลี้ยงไก่ และเป็ดเป็นการส่งเสริมเพื่อการค้า
และกรมปศุสัตว์จะทำหน้าที่เป็น กรมปศุสัตว์พาณิชย์ ปัจจุบันมีการส่งออก ๒,๗๐๐ - ๒,๘๐๐ ตัน
ทั้งนี้ กรมจะพยายามส่งเสริมให้มีเครื่องหมายการค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ (Brand Name)
ของประเทศไทย และสำหรับโครงการ ๑ ตำบล ๑ ผลิตภัณฑ์ ตามนโยบายของรัฐบาล กรมฯ
มีแนวทางจะกระจายให้ทั่วถึงทุกภูมิภาค โดยเลือกพื้นที่ที่ไม่มีการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๒,๗๓๒,๕๐๒,๙๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๒๐,๒๖๗,๔๙๗,๑๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันศุกร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๔
(รวมยอดถึงกรมปศุสัตว์)