กรุงเทพฯ--16 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 มิถุนายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกรณีที่มีรายงานว่า นักศึกษากัมพูชาได้ทำการประท้วงเผาธงชาติไทย และ กล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาเมื่อ 14 มิถุนายน 2543 ในโอกาสที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย เดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ดังนี้
1. กรณีที่มีการกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชา
1.1 ปัญหาการรุกล้ำเขตแดนเป็นปัญหาของทั้งสองประเทศ เนื่องจากเขตแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งมีความยาว 798 กม. ได้มีการปักหลักเขตแดนส่วนใหญ่ตั้งแต่ปี 2452 (ค.ศ.1909) และซ่อมแซมเมื่อปี 2462 (ค.ศ.1919) และเป็นการปักหลักเป็นเพียงบางส่วน มิได้ทำการตลอดแนวเขตแดน นอกจากนี้ หลักเขตบางหลักชำรุดและสูญหาย และบางหลักก็อยู่ห่างกันมาก ทำให้แนวเส้นเขตแดนในบางส่วนไม่ ชัดเจน จึงอาจทำให้เกิดเข้าใจผิดว่ามีการล่วงล้ำเขตแดนขึ้นได้
1.2 ความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ที่อาจรุกล้ำเขตแดนหรือเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่ตลอดเวลา โดยมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายครั้ง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 5 — 7 มิถุนายน 2543 ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่กรุง พนมเปญ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงจะจัดส่งรายละเอียด ข้อสนเทศของฝ่ายตนให้อีกฝ่ายหนึ่ง และมุ่งมั่นที่จะ ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้เข้าใจเรื่องนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการดำเนินการรุกล้ำเขตแดน หรือเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิประเทศ นอกจากนั้น ยังได้กำหนดให้มีการหารือกันโดยตรงระหว่างประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมทั้งสองฝ่าย รวมทั้งการมอบหมายให้คณะทำงานร่วมทางเทคนิคไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และเสนอผลการตรวจสอบให้ประธานทั้งสองพิจารณาด้วย
1.3 จากความพยายามที่มุ่งมั่นของทั้งสองฝ่ายในการแก้ไขปัญหาเขตแดน ยังผลใน ที่สุดให้ประธานของทั้งสองฝ่าย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย กับที่ปรึกษารัฐมนตรีกัมพูชาผู้รับผิดชอบกิจการชายแดน) ได้ลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ที่กรุงพนมเปญ ในบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจ และจัดทำหลัก เขตแดนทางบก ซึ่งจะเป็นกรอบทางกฎหมายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของทั้งสองประเทศ
2. กรณีที่มีการเหยียบย่ำธงชาติ
2.1 แม้การประท้วงและการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองจะเป็นสิทธิ เสรีภาพของกลุ่มชนของประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แต่วิธีการก็พึงมีขอบเขตที่เหมาะสม ไม่หลงแต่การเลียนแบบที่ ไร้สติเพื่อความสะใจสถานเดียว
2.2 คนในชาติใดที่เป็นเจ้าของธงที่ได้รับการย่ำยีจากชาวต่างประเทศ ย่อมมีความสะเทือนใจในภาพที่ปรากฏและยอมรับการกระทำนั้น ๆ ได้ยาก ฉันใดฉันนั้น กระทรวงฯ ก็ทราบดีว่า ประชาชนชาวไทยเองก็ยากที่จะรับภาพการเหยียบย่ำธงไตรรงค์ของตน เรื่องนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนเพียงไม่กี่คน (2-3 คน ) ในกลุ่มคนจำนวนน้อย (20 กว่าคน) ซึ่งไม่เพียงแต่ไร้ข้อมูลไร้เหตุผล และไร้ความเข้าใจ แต่ยังอาจขาดสติในการกระทำเช่นนั้น กลุ่มคนเหล่านั้นเองยังได้รับการต่อต้าน ขัดขวาง จากนักศึกษาชาวกัมพูชาด้วยกัน ซึ่งยังผลให้การกระทำที่เป็นไปด้วยความคะนองนั้น ยุติลงโดยเร็ว
2.3 นอกจากการเข้าขัดขวางของนักศึกษาส่วนใหญ่ที่มีเหตุมีผลดังกล่าว กระทรวงการ ต่างประเทศได้รับทราบด้วยว่า ทางการกัมพูชาเองก็เอาใจใส่เป็นอย่างดีต่อเรื่องนี้ ด้วยการเข้าควบคุมสถานการณ์ และดูแลใกล้ชิด มิให้เกิดการลุกลามของเหตุการณ์ รวมทั้งมิให้ปรากฏการกระทำลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก
2.4 กระทรวงฯ ได้รับทราบเป็นการภายในด้วยว่า เจ้าหน้าที่ของกัมพูชาเองรู้สึกเสียใจที่ปรากฏเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้น และเชื่อว่าประเทศไทยและคนไทยทั่วไปจะเข้าใจดีว่าเป็นการกระทำที่ขาดสติของคนไม่กี่คน ซึ่งชาวกัมพูชาทั้งหลายมิได้เห็นพ้อง หรือให้การสนับสนุนแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (15 มิถุนายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกรณีที่มีรายงานว่า นักศึกษากัมพูชาได้ทำการประท้วงเผาธงชาติไทย และ กล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชาเมื่อ 14 มิถุนายน 2543 ในโอกาสที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย เดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ดังนี้
1. กรณีที่มีการกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดนกัมพูชา
1.1 ปัญหาการรุกล้ำเขตแดนเป็นปัญหาของทั้งสองประเทศ เนื่องจากเขตแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งมีความยาว 798 กม. ได้มีการปักหลักเขตแดนส่วนใหญ่ตั้งแต่ปี 2452 (ค.ศ.1909) และซ่อมแซมเมื่อปี 2462 (ค.ศ.1919) และเป็นการปักหลักเป็นเพียงบางส่วน มิได้ทำการตลอดแนวเขตแดน นอกจากนี้ หลักเขตบางหลักชำรุดและสูญหาย และบางหลักก็อยู่ห่างกันมาก ทำให้แนวเส้นเขตแดนในบางส่วนไม่ ชัดเจน จึงอาจทำให้เกิดเข้าใจผิดว่ามีการล่วงล้ำเขตแดนขึ้นได้
1.2 ความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ที่อาจรุกล้ำเขตแดนหรือเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศเป็นเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่ตลอดเวลา โดยมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายครั้ง โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 5 — 7 มิถุนายน 2543 ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่กรุง พนมเปญ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงจะจัดส่งรายละเอียด ข้อสนเทศของฝ่ายตนให้อีกฝ่ายหนึ่ง และมุ่งมั่นที่จะ ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้เข้าใจเรื่องนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการดำเนินการรุกล้ำเขตแดน หรือเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิประเทศ นอกจากนั้น ยังได้กำหนดให้มีการหารือกันโดยตรงระหว่างประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมทั้งสองฝ่าย รวมทั้งการมอบหมายให้คณะทำงานร่วมทางเทคนิคไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และเสนอผลการตรวจสอบให้ประธานทั้งสองพิจารณาด้วย
1.3 จากความพยายามที่มุ่งมั่นของทั้งสองฝ่ายในการแก้ไขปัญหาเขตแดน ยังผลใน ที่สุดให้ประธานของทั้งสองฝ่าย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย กับที่ปรึกษารัฐมนตรีกัมพูชาผู้รับผิดชอบกิจการชายแดน) ได้ลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ที่กรุงพนมเปญ ในบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจ และจัดทำหลัก เขตแดนทางบก ซึ่งจะเป็นกรอบทางกฎหมายในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของทั้งสองประเทศ
2. กรณีที่มีการเหยียบย่ำธงชาติ
2.1 แม้การประท้วงและการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองจะเป็นสิทธิ เสรีภาพของกลุ่มชนของประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แต่วิธีการก็พึงมีขอบเขตที่เหมาะสม ไม่หลงแต่การเลียนแบบที่ ไร้สติเพื่อความสะใจสถานเดียว
2.2 คนในชาติใดที่เป็นเจ้าของธงที่ได้รับการย่ำยีจากชาวต่างประเทศ ย่อมมีความสะเทือนใจในภาพที่ปรากฏและยอมรับการกระทำนั้น ๆ ได้ยาก ฉันใดฉันนั้น กระทรวงฯ ก็ทราบดีว่า ประชาชนชาวไทยเองก็ยากที่จะรับภาพการเหยียบย่ำธงไตรรงค์ของตน เรื่องนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนเพียงไม่กี่คน (2-3 คน ) ในกลุ่มคนจำนวนน้อย (20 กว่าคน) ซึ่งไม่เพียงแต่ไร้ข้อมูลไร้เหตุผล และไร้ความเข้าใจ แต่ยังอาจขาดสติในการกระทำเช่นนั้น กลุ่มคนเหล่านั้นเองยังได้รับการต่อต้าน ขัดขวาง จากนักศึกษาชาวกัมพูชาด้วยกัน ซึ่งยังผลให้การกระทำที่เป็นไปด้วยความคะนองนั้น ยุติลงโดยเร็ว
2.3 นอกจากการเข้าขัดขวางของนักศึกษาส่วนใหญ่ที่มีเหตุมีผลดังกล่าว กระทรวงการ ต่างประเทศได้รับทราบด้วยว่า ทางการกัมพูชาเองก็เอาใจใส่เป็นอย่างดีต่อเรื่องนี้ ด้วยการเข้าควบคุมสถานการณ์ และดูแลใกล้ชิด มิให้เกิดการลุกลามของเหตุการณ์ รวมทั้งมิให้ปรากฏการกระทำลักษณะดังกล่าวขึ้นอีก
2.4 กระทรวงฯ ได้รับทราบเป็นการภายในด้วยว่า เจ้าหน้าที่ของกัมพูชาเองรู้สึกเสียใจที่ปรากฏเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้น และเชื่อว่าประเทศไทยและคนไทยทั่วไปจะเข้าใจดีว่าเป็นการกระทำที่ขาดสติของคนไม่กี่คน ซึ่งชาวกัมพูชาทั้งหลายมิได้เห็นพ้อง หรือให้การสนับสนุนแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-