1. สถานการณ์การผลิต
ไทยเลิกหวังน่านน้ำพม่าหันหาแหล่งทำประมงใหม่
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กล่าวภายหลังเดินทางกลับจากประเทศพม่า กับคณะตัวแทนของประเทศไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าในการเดินทางไปครั้งนี้ ได้หารือกับผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลพม่าหลายเรื่อง เฉพาะในส่วนของกรมประมงได้หารือถึงการเปิดสัมปทานประมงของพม่ารอบใหม่ หลังจากที่รัฐบาลพม่าได้ยกเลิกสัมปทานไปเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2542 หลังเหตุการณ์นักศึกษาพม่ายึดสถานทูตพม่าในประเทศไทย
ผลจากการหารือครั้งนี้ ความหวังที่เรือประมงไทยจะกลับเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่าได้อีกมีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากรัฐบาลพม่าอ้างว่ายังจัดทำแผนการสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำไม่แล้วเสร็จ จากท่าทีของพม่าดังกล่าว คาดว่าประเทศไทยจะต้องเร่งหาแหล่งวัตถุดิบทำการประมงใหม่ เช่น ศรีลังกา อินเดีย และ บังคลาเทศ ซึ่งน่านน้ำใหม่เหล่านี้เชื่อว่าจะทดแทนการทำประมงในน่านน้ำพม่าได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (20-26 มีค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,372.44 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 553.46 ตัน สัตว์น้ำจืด 818.98 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.66 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 76.30 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 577.09 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 656.03 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 591.51 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ตลาดกลางกุ้งกุลาดำนครศรีฯ เปิดดำเนินการแล้ว
ความคืบหน้าในการจัดสร้างตลาดกลางกุ้งกุลาดำแห่งที่ 2 ขณะนี้มี รายงานว่า หอการค้า จ.นครศรีธรรมราช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดสร้างตลาดกลางกุ้งกุลาดำ ขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราชเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เริ่มเปิดการซื้อขายแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2543 ระหว่างเวลา 02.00-12.00 น. ของทุกวัน ทั้งนี้ เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและ ผู้ประกอบการ ซึ่งปัจจุบันกุ้งกุลาดำ เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศที่สามารถทำรายได้จากการส่งออกถึงปีละ45,000-50,000 ล้านบาท และสามารถทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับ 3 ของสินค้าการเกษตร รองจากข้าวและยางพารา โดยภาคใต้เป็นแหล่งผลิตกุ้งกุลาดำถึงร้อยละ 67 ของผลผลิตทั่วประเทศ และไทยเป็นผู้ผลิตกุ้งกุลาดำเป็นอันดับ 1 ของโลก ปัจจุบันตลาดกลางกุ้งกุลาดำมีเพียงแห่งเดียว คือ ตลาดกลางกุ้งมหาชัย จ.สมุทรสาคร
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.86 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.82 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.93 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.46 บาท 2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 353.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 355.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 400.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 400.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 18.49 บาท สูงขึ้นจาก 15.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 291.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 283.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.10 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.81 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 27-31 มีค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 27 มี.ค. - 02 เม.ย. 2543--
-อน-
ไทยเลิกหวังน่านน้ำพม่าหันหาแหล่งทำประมงใหม่
นายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง กล่าวภายหลังเดินทางกลับจากประเทศพม่า กับคณะตัวแทนของประเทศไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าในการเดินทางไปครั้งนี้ ได้หารือกับผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลพม่าหลายเรื่อง เฉพาะในส่วนของกรมประมงได้หารือถึงการเปิดสัมปทานประมงของพม่ารอบใหม่ หลังจากที่รัฐบาลพม่าได้ยกเลิกสัมปทานไปเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2542 หลังเหตุการณ์นักศึกษาพม่ายึดสถานทูตพม่าในประเทศไทย
ผลจากการหารือครั้งนี้ ความหวังที่เรือประมงไทยจะกลับเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำพม่าได้อีกมีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากรัฐบาลพม่าอ้างว่ายังจัดทำแผนการสำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำไม่แล้วเสร็จ จากท่าทีของพม่าดังกล่าว คาดว่าประเทศไทยจะต้องเร่งหาแหล่งวัตถุดิบทำการประมงใหม่ เช่น ศรีลังกา อินเดีย และ บังคลาเทศ ซึ่งน่านน้ำใหม่เหล่านี้เชื่อว่าจะทดแทนการทำประมงในน่านน้ำพม่าได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (20-26 มีค.43) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,372.44 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 553.46 ตัน สัตว์น้ำจืด 818.98 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 62.66 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 76.30 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 577.09 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 656.03 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 591.51 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ตลาดกลางกุ้งกุลาดำนครศรีฯ เปิดดำเนินการแล้ว
ความคืบหน้าในการจัดสร้างตลาดกลางกุ้งกุลาดำแห่งที่ 2 ขณะนี้มี รายงานว่า หอการค้า จ.นครศรีธรรมราช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดสร้างตลาดกลางกุ้งกุลาดำ ขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราชเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เริ่มเปิดการซื้อขายแล้วตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2543 ระหว่างเวลา 02.00-12.00 น. ของทุกวัน ทั้งนี้ เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและ ผู้ประกอบการ ซึ่งปัจจุบันกุ้งกุลาดำ เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศที่สามารถทำรายได้จากการส่งออกถึงปีละ45,000-50,000 ล้านบาท และสามารถทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับ 3 ของสินค้าการเกษตร รองจากข้าวและยางพารา โดยภาคใต้เป็นแหล่งผลิตกุ้งกุลาดำถึงร้อยละ 67 ของผลผลิตทั่วประเทศ และไทยเป็นผู้ผลิตกุ้งกุลาดำเป็นอันดับ 1 ของโลก ปัจจุบันตลาดกลางกุ้งกุลาดำมีเพียงแห่งเดียว คือ ตลาดกลางกุ้งมหาชัย จ.สมุทรสาคร
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.86 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.82 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.93 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.46 บาท 2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 353.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 355.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 400.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 400.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 18.49 บาท สูงขึ้นจาก 15.66 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.83 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 291.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 283.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.10 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.83 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.12 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.81 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 27-31 มีค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.30 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 27 มี.ค. - 02 เม.ย. 2543--
-อน-