จีนเป็นแหล่งผลิตเส้นไหมที่สำคัญของโลกโดยมีผลผลิตประมาณปีละ 84,000 ตัน หรือประมาณร้อยละ 60 ของผลผลิตเส้นไหมของโลก รองลงมาได้แก่อินเดีย และในขณะนี้เวียดนามกำลังเร่งขยายการผลิตเส้นไหมเพิ่มขึ้น สำหรับการผลิตเส้นไหมของไทยมีทั้งที่เป็นไหมขาวที่ใช้เป็นเส้นยืน และไหมเหลืองหรือไหมพันธุ์พื้นเมืองที่ใช้เป็นเส้นพุ่ง แต่เนื่องจากไหมขาวที่ไทยผลิตได้มีไม่เพียงพอ และคุณภาพไม่ดี จึงต้องนำเข้าไหมขาวจากจีนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีมาตรการกำหนดสัดส่วนการบังคับซื้อเส้นไหมในอัตราส่วนเส้นไหมนำเข้า 1.5 ส่วนต่อการซื้อเส้นไหมในประเทศ 1 ส่วน อัตราภาษีร้อยละ 10
อย่างไรก็ดี โดยที่ขณะนี้จีนกำลังจะเข้าเป็นสมาชิก WTO และไทยได้ผูกพันอัตราภาษีนำเข้าเส้นไหมดิบภายใต้ WTO ไว้ในอัตราร้อยละ 30 สำหรับปริมาณนำเข้าในโควตา ดังนั้นเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วการนำเข้าเส้นไหมจากจีนจะต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้นกว่าเดิมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตผ้าไหมในประเทศที่จะต้องมีภาระต้นทุนการนำเข้าเส้นไหมสูงขึ้น
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ได้พิจารณาเรื่องมาตรการนำเข้าเส้นไหม และมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการกำหนดแนวทางนำเข้าเส้นไหมที่เปิดเสรีมากขึ้นภายใต้คณะกรรมการไหมแห่งชาติ และให้ยกเลิกมาตรการกำหนดสัดส่วนการบังคับซื้อเส้นไหมเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO
ต่อมาคณะกรรมการไหมแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ให้ลดภาษีการนำเข้าเส้นไหม<ดิบใน WTO ที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 20 และให้ปรับระบบสัดส่วนการบังคับซื้อเส้นไหมจากเดิมคือ เส้นไหมนำเข้า 1.5 ส่วนต่อการซื้อเส้นไหมในประเทศ 1 ส่วน เป็นการนำเข้าเส้นไหม 2 ส่วนต่อการซื้อเส้นไหมในประเทศ 1 ส่วน และที่ประชุม กนศ. ได้มีมติเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ให้ดำเนินการดังนี้
1. เพื่อที่จะให้มีการปรับตัวรองรับการเปิดเสรีเส้นไหมในอนาคต ให้กรมการค้าต่างประเทศออกประกาศเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการนำเข้าเส้นไหมจากที่กำหนดไว้เดิม 1:1.5 เป็น 1: 2 ตามมติคณะกรรมการไหมแห่งชาติ
2. ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการในเรื่องภาษี โดยปรับอัตราภาษีในโควตาจากเดิมร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ก่อนที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังดำเนินการเพื่อเร่งให้มีการออกประกาศลดอัตราภาษีโดยเร็ว
ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนมาตรการนำเข้าเส้นไหมดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนการผลิตผ้าไหมของไทยลดลงซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ผลิตและส่งออกผ้าไหมที่จะสามารถปรับตัวแข่งขันกับผ้าไหมของต่างประเทศได้ดีขึ้นทั้งในด้านราคาและคุณภาพซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วโลกอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมผ้าไหมของไทยกลับฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และในระยะยาวจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมและโรงสาวไหมในประเทศ ทั้งในส่วนของเกษตรกรผู้ผลิตไหมขาวและไหมพันธุ์พื้นเมืองที่จะต้องใช้ควบคู่กันในการผลิต เพราะปริมาณการผลิตและการส่งออกผ้าไหมที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความต้องการใช้เส้นไหมในประเทศขยายตัวตามไปด้วย
นอกจากนี้ไหมไทยน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ได้เป็นอย่างดีเพราะเป็นสินค้าที่ไม่ต้องสร้าง image และเรามีการออกแบบที่ดีอยู่แล้ว ทั้งนี้ โดยจะต้องส่งเสริมให้มีการผลิตภายใต้ brand name ของไทย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
อย่างไรก็ดี โดยที่ขณะนี้จีนกำลังจะเข้าเป็นสมาชิก WTO และไทยได้ผูกพันอัตราภาษีนำเข้าเส้นไหมดิบภายใต้ WTO ไว้ในอัตราร้อยละ 30 สำหรับปริมาณนำเข้าในโควตา ดังนั้นเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วการนำเข้าเส้นไหมจากจีนจะต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้นกว่าเดิมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตผ้าไหมในประเทศที่จะต้องมีภาระต้นทุนการนำเข้าเส้นไหมสูงขึ้น
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 ได้พิจารณาเรื่องมาตรการนำเข้าเส้นไหม และมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการกำหนดแนวทางนำเข้าเส้นไหมที่เปิดเสรีมากขึ้นภายใต้คณะกรรมการไหมแห่งชาติ และให้ยกเลิกมาตรการกำหนดสัดส่วนการบังคับซื้อเส้นไหมเมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO
ต่อมาคณะกรรมการไหมแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ให้ลดภาษีการนำเข้าเส้นไหม<ดิบใน WTO ที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 20 และให้ปรับระบบสัดส่วนการบังคับซื้อเส้นไหมจากเดิมคือ เส้นไหมนำเข้า 1.5 ส่วนต่อการซื้อเส้นไหมในประเทศ 1 ส่วน เป็นการนำเข้าเส้นไหม 2 ส่วนต่อการซื้อเส้นไหมในประเทศ 1 ส่วน และที่ประชุม กนศ. ได้มีมติเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ให้ดำเนินการดังนี้
1. เพื่อที่จะให้มีการปรับตัวรองรับการเปิดเสรีเส้นไหมในอนาคต ให้กรมการค้าต่างประเทศออกประกาศเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการนำเข้าเส้นไหมจากที่กำหนดไว้เดิม 1:1.5 เป็น 1: 2 ตามมติคณะกรรมการไหมแห่งชาติ
2. ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการในเรื่องภาษี โดยปรับอัตราภาษีในโควตาจากเดิมร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ก่อนที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังดำเนินการเพื่อเร่งให้มีการออกประกาศลดอัตราภาษีโดยเร็ว
ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนมาตรการนำเข้าเส้นไหมดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนการผลิตผ้าไหมของไทยลดลงซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ผลิตและส่งออกผ้าไหมที่จะสามารถปรับตัวแข่งขันกับผ้าไหมของต่างประเทศได้ดีขึ้นทั้งในด้านราคาและคุณภาพซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วโลกอยู่แล้ว ซึ่งจะช่วยให้อุตสาหกรรมผ้าไหมของไทยกลับฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และในระยะยาวจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมและโรงสาวไหมในประเทศ ทั้งในส่วนของเกษตรกรผู้ผลิตไหมขาวและไหมพันธุ์พื้นเมืองที่จะต้องใช้ควบคู่กันในการผลิต เพราะปริมาณการผลิตและการส่งออกผ้าไหมที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความต้องการใช้เส้นไหมในประเทศขยายตัวตามไปด้วย
นอกจากนี้ไหมไทยน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ได้เป็นอย่างดีเพราะเป็นสินค้าที่ไม่ต้องสร้าง image และเรามีการออกแบบที่ดีอยู่แล้ว ทั้งนี้ โดยจะต้องส่งเสริมให้มีการผลิตภายใต้ brand name ของไทย
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-