กรุงเทพฯ--20 ก.ย.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้รับเชิญจากกลุ่มปฏิรูปการค้าสินค้าน้ำตาล (Global Alliance for Sugar Trade Reform and Liberalization) ในการรับประทานอาหารเช้ากับผู้แทนของกลุ่มเพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าน้ำตาล ซึ่งมีการอุดหนุนการผลิตและอุดหนุนส่งออกเป็นจำนวนมาก ในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มเคร์นส์ ณ เมือง Banff ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2543 โดยเสนอแนวทางที่จะผลักดันการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ให้เป็นผลสำเร็จ กลุ่มปฏิรูปการค้าสินค้าน้ำตาลนี้ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังในการยกเลิกอุดหนุนส่งออก ยกเลิกอุดหนุนการผลิตภายในที่บิดเบือนการค้า และให้มีการเปิดตลาดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกลุ่มฯ เห็นว่าตัวการสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำคือ การอุดหนุนส่งออกและอุดหนุนการผลิตของประเทศใหญ่ๆ เช่น สหภาพยุโรป เป็นต้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถกำจัดมาตรการเหล่านี้ไปได้ ราคาน้ำตาลโลกก็จะไม่มีโอกาสสูงขึ้น ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวสนับสนุนท่าทีและข้อเรียกร้องของกลุ่มดังกล่าว ซึ่งตรงกับท่าทีของกลุ่มเคร์นส์ ซึ่งไทยเป็นสมาชิกอยู่ นอกจากนี้ ได้ขอให้กลุ่มน้ำตาลช่วยหาแนวร่วมจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนท่าทีของกลุ่มเคร์นส์ในการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรให้มีความเป็นธรรมและมีฐานะที่เท่าเทียมกับสินค้าอื่นๆ รวมทั้งจะต้องจัดทำเอกสารวิชาการ (technical paper) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลมาสนับสนุนท่าทีของกลุ่มและคัดค้านแก้ต่างในท่าทีของกลุ่มประเทศที่มีนโยบายปกป้องภาคเกษตร เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และเกาหลี เป็นต้น ที่ได้จัดทำเอกสารและจัดประชุมสัมมนาเพื่อโน้มน้าวให้เห็นถึงความจำเป็นในการปกป้องภาคเกษตรและค้านนโยบายการค้าสินค้าเกษตรเสรี โดยชี้ให้เห็นว่าการเกษตรเกี่ยวข้องกับเรื่องประเด็นที่มิใช่การค้า (non-trade concems) ที่รวมถึงเรื่องการมีบทบาทที่หลากหลายของเกษตร (Multifunctionality) ที่มิใช่ผลิตเพื่อบริโภคอย่างเดียว แต่รวมถึงเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงด้านอาหาร และด้านสังคม เป็นต้น กลุ่มเคร์นส์ควรดำเนินเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางลบของมาตรการดังกล่าวต่อผู้บริโภคในประเทศที่ต้องเป็นผู้แบกรับภาระเงินอุดหนุนดังกล่าว และต่อการค้าสินค้าเกษตรของโลก ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มปฏิรูป การค้าสินค้าน้ำตาลเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ดร.ศุภชัยฯ ได้แสดงความเห็นว่า ควรรีบผลการเจรจาสินค้าเกษตรโดยเร็ว โดยไม่ต้องรอการเจรจารอบใหม่ แต่หากในระหว่างการเจรจา เห็นว่าควรมีเรื่องใดเพิ่มเติมก็ทำได้สำหรับในเรื่องน้ำตาลนั้น ไม่เฉพาะประเทศพัฒนาแล้วที่ต้องลดการอุดหนุน แต่ประเทศเล็กๆ ก็ต้องทำการปฏิรูปด้วย ที่ผ่านมาราคาน้ำตาลขึ้นกับตลาดมาก โดยเฉพาะในสภาวะปัจจุบัน ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้กำไรมีน้อยมากหรือติดลบ ทั้งนี้ กลุ่มน้ำตาลได้แสดงความเห็นด้วยต่อข้อคิดเห็นดังกล่าว กลุ่มเคร์นส์อยู่ระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี เพื่อกำหนดท่าทีและวางกลยุทธ์ในการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ให้เป็นผลสำเร็จเพื่อให้สินค้าเกษตรอยู่บนฐานะที่เท่าเทียมกับสินค้าอื่นๆ การประชุมนี้จะเสร็จสิ้นลงในวันที่ 12 ตุลาคม ศกนี้ พร้อมกับจะมีแถลงการณ์ร่วมของกลุ่มเพื่อแสดงจุดยืนและท่าทีในการเจรจาต่อไปด้วย กลุ่มปฏิรูปการค้าสินค้าน้ำตาลเป็นกลุ่มภาคเอกชนผู้ผลิตน้ำตาลของประเทศต่างๆ ที่รวมตัวกันเพื่อผลักดันให้มีการเปิดเสรีการค้าสินค้าน้ำตาลของโลก ขณะนี้ มีสมาชิกรวม 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย เอลชาลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอลดูรัส อินเดีย นิคารากัว ปานามา แอฟริกาใต้ และไทย ทั้งนี้ ดร.พิสิษฐ ภัคเกษม ประธานสมาคมผู้ผลิตน้ำตาล 3 สมาคม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของกลุ่มน้ำตาลของไทยในการประชุมดังกล่าว
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้รับเชิญจากกลุ่มปฏิรูปการค้าสินค้าน้ำตาล (Global Alliance for Sugar Trade Reform and Liberalization) ในการรับประทานอาหารเช้ากับผู้แทนของกลุ่มเพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าน้ำตาล ซึ่งมีการอุดหนุนการผลิตและอุดหนุนส่งออกเป็นจำนวนมาก ในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มเคร์นส์ ณ เมือง Banff ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2543 โดยเสนอแนวทางที่จะผลักดันการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ให้เป็นผลสำเร็จ กลุ่มปฏิรูปการค้าสินค้าน้ำตาลนี้ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจังในการยกเลิกอุดหนุนส่งออก ยกเลิกอุดหนุนการผลิตภายในที่บิดเบือนการค้า และให้มีการเปิดตลาดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากกลุ่มฯ เห็นว่าตัวการสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำคือ การอุดหนุนส่งออกและอุดหนุนการผลิตของประเทศใหญ่ๆ เช่น สหภาพยุโรป เป็นต้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถกำจัดมาตรการเหล่านี้ไปได้ ราคาน้ำตาลโลกก็จะไม่มีโอกาสสูงขึ้น ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวสนับสนุนท่าทีและข้อเรียกร้องของกลุ่มดังกล่าว ซึ่งตรงกับท่าทีของกลุ่มเคร์นส์ ซึ่งไทยเป็นสมาชิกอยู่ นอกจากนี้ ได้ขอให้กลุ่มน้ำตาลช่วยหาแนวร่วมจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนท่าทีของกลุ่มเคร์นส์ในการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรให้มีความเป็นธรรมและมีฐานะที่เท่าเทียมกับสินค้าอื่นๆ รวมทั้งจะต้องจัดทำเอกสารวิชาการ (technical paper) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลมาสนับสนุนท่าทีของกลุ่มและคัดค้านแก้ต่างในท่าทีของกลุ่มประเทศที่มีนโยบายปกป้องภาคเกษตร เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และเกาหลี เป็นต้น ที่ได้จัดทำเอกสารและจัดประชุมสัมมนาเพื่อโน้มน้าวให้เห็นถึงความจำเป็นในการปกป้องภาคเกษตรและค้านนโยบายการค้าสินค้าเกษตรเสรี โดยชี้ให้เห็นว่าการเกษตรเกี่ยวข้องกับเรื่องประเด็นที่มิใช่การค้า (non-trade concems) ที่รวมถึงเรื่องการมีบทบาทที่หลากหลายของเกษตร (Multifunctionality) ที่มิใช่ผลิตเพื่อบริโภคอย่างเดียว แต่รวมถึงเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงด้านอาหาร และด้านสังคม เป็นต้น กลุ่มเคร์นส์ควรดำเนินเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางลบของมาตรการดังกล่าวต่อผู้บริโภคในประเทศที่ต้องเป็นผู้แบกรับภาระเงินอุดหนุนดังกล่าว และต่อการค้าสินค้าเกษตรของโลก ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มปฏิรูป การค้าสินค้าน้ำตาลเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ดร.ศุภชัยฯ ได้แสดงความเห็นว่า ควรรีบผลการเจรจาสินค้าเกษตรโดยเร็ว โดยไม่ต้องรอการเจรจารอบใหม่ แต่หากในระหว่างการเจรจา เห็นว่าควรมีเรื่องใดเพิ่มเติมก็ทำได้สำหรับในเรื่องน้ำตาลนั้น ไม่เฉพาะประเทศพัฒนาแล้วที่ต้องลดการอุดหนุน แต่ประเทศเล็กๆ ก็ต้องทำการปฏิรูปด้วย ที่ผ่านมาราคาน้ำตาลขึ้นกับตลาดมาก โดยเฉพาะในสภาวะปัจจุบัน ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้กำไรมีน้อยมากหรือติดลบ ทั้งนี้ กลุ่มน้ำตาลได้แสดงความเห็นด้วยต่อข้อคิดเห็นดังกล่าว กลุ่มเคร์นส์อยู่ระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี เพื่อกำหนดท่าทีและวางกลยุทธ์ในการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ให้เป็นผลสำเร็จเพื่อให้สินค้าเกษตรอยู่บนฐานะที่เท่าเทียมกับสินค้าอื่นๆ การประชุมนี้จะเสร็จสิ้นลงในวันที่ 12 ตุลาคม ศกนี้ พร้อมกับจะมีแถลงการณ์ร่วมของกลุ่มเพื่อแสดงจุดยืนและท่าทีในการเจรจาต่อไปด้วย กลุ่มปฏิรูปการค้าสินค้าน้ำตาลเป็นกลุ่มภาคเอกชนผู้ผลิตน้ำตาลของประเทศต่างๆ ที่รวมตัวกันเพื่อผลักดันให้มีการเปิดเสรีการค้าสินค้าน้ำตาลของโลก ขณะนี้ มีสมาชิกรวม 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย เอลชาลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอลดูรัส อินเดีย นิคารากัว ปานามา แอฟริกาใต้ และไทย ทั้งนี้ ดร.พิสิษฐ ภัคเกษม ประธานสมาคมผู้ผลิตน้ำตาล 3 สมาคม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของกลุ่มน้ำตาลของไทยในการประชุมดังกล่าว
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-