สมาชิก WTO มีข้อยุติให้แต่งตั้งรองผู้อำนวยการใหญ่ได้สี่คน -------------------------------------------------------------------------------- แม้รัฐสมาชิก WTO ยังคงมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องจำนวนรองผู้อำนวยการใหญ่ WTO แจ้งว่า ควรจะมีกี่คน แต่ในที่สุด รัฐสมาชิกได้ยอมรับสถานะปัจจุบัน (status quo) ที่จะมีรองผู้อำนวยการใหญ่ จำนวน 4 คน ภายใต้ความเข้าใจว่า จะมีการ ทบทวนเรื่องนี้พร้อมกับการทบทวนเรื่องโครงสร้างของ ฝ่ายเลขาธิการและผู้บริหารอาวุโสของ WTO (WTO Secretariat and Senior Management Structure) ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป เนื่องจากเกรงว่าหากใช้เวลาถกเถียงในเรื่องนี้ต่อไปอาจมีผลเสียหายต่อ องค์การฯ และกระบวนการเตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรีที่นครซีแอตเติลการหารือเรื่องจำนวน รองผู้อำนวยการใหญ่ (Deputy Director-General หรือ DDG) ของ WTO ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่กลางปี 2540 และหยุดพักไปในช่วงเวลาที่มีการคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่ ได้เริ่มขึ้นอีก โดย นาย Ali Said Mcumo ประธานคณะมนตรีใหญ่ได้บรรจุเรื่องนี้ไว้ในวาระการประชุมคณะมนตรีใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ศกนี้ ประธานฯ ได้มีถ้อยแถลงแจ้งต่อที่ประชุมว่า จากการหารือกับรัฐสมาชิกอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ก.ย. ศกนี้ รัฐสมาชิกส่วนมากได้แสดงความพร้อมที่จะยอมรับสถานะปัจจุบันคือ ผู้อำนวยการใหญ่ จำนวนหนึ่งคนและรองผู้อำนวยการใหญ่จำนวนสี่คนด้วยความเข้าใจว่าจะมีการทบทวน WTO Secretariat and the Senior Management Structure ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป แต่มีบางประเทศที่ขอเวลาหารือกับ เมืองหลวงก่อน ดังนั้นประธานฯ ได้แจ้งข้อเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา ดังนี้ 1) ให้ที่ประชุมรับทราบว่า โครงสร้าง Senior Management ในปัจจุบันซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการใหญ่จำนวนหนึ่งคนและ รองผู้อำนวยการใหญ่จำนวนสี่คนยังคงเป็นอยู่เช่นเดิม (is maintained) จนกว่าว่าจะมีการทบทวน WTO Secretariat and the Senior Management Structure ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป 2) ให้ทำการทบทวน WTO Secretariat and the Senior Management Structure รวมกับการทบทวนกฏและระเบียบการแต่งตั้ง ผู้อำนวยการใหญ่ภายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2000 ด้วยความเข้าใจว่าการทบทวนโครงสร้างฝ่ายเลขาธิการ จะดำเนินไปบนพื้นฐานของข้อมติของคณะมนตรีใหญ่เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ค.ศ. 1977 รัฐสมาชิกส่วนใหญ่ สามารถคล้อยตามข้อเสนอของประธานฯ ได้ โดยรัฐสมาชิกบางประเทศได้แสดงข้อคิดเห็นนอกเหนือไป จากเรื่องจำนวน ดังนี้ กลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของประเทศกำลังพัฒนาว่า กลุ่มฯ มีความปรารถนาที่จะเห็น ว่าในจำนวน 5 ตำแหน่งสูงสุด (ผู้อำนวยการใหญ่ 1 คน + รองผู้อำนวยการใหญ่ 4 คน ) และมี 3 ตำแหน่งที่เป็นของประเทศกำลังพัฒนาจากแต่ละภูมิภาคคือ แอฟริกา ลาตินอเมริกาและเอเชีย ฮ่องกง เห็นว่า เมื่อจะตกลงให้มี 4 คนเป็นเวลา 6 ปี (วาระของนาย Moore 3 ปี และวาระของดร. ศุภชัยฯ อีก 3 ปี) จึงไม่เห็นประโยชน์ที่จะทบทวนเรื่องจำนวนรองผู้อำนวยการใหญ่ในปีหน้า ประเทศพัฒนาแล้วบาง ประเทศต้องการเห็นการแต่งตั้งรองผู้อำนวยการใหญ่ที่สมดุลโดยไม่มีการวางเงื่อนไขมัดมือผู้อำนวย- การใหญ่ และเข้าใจว่า รองผู้อำนวยการใหญ่มีวาระเพียง 3 ปีเท่านั้น นอกจากนั้น บางประเทศเห็นว่า การแต่งตั้งจะต้องดูความสมดุลในเรื่องเพศ (gender) และความสามารถส่วนบุคคลเป็นหลัก นาย Mike Moore ซึ่งได้ร่วมการประชุมด้วยแถลงว่า ตนมีเวลาทำงานเพียงสามปี จึงอยากจะทำงานภายใต้เงื่อนไข (condition) เดียวกับคนที่แล้ว และถ้าได้รองผู้อำนวยการใหญ่สี่คน ก็จะมอบหมายงานเหมือนกับที่ ผู้อำนวยการใหญ่คนที่แล้ววางไว้ หลังจากการประชุมที่ซีแอตเติลแล้ว ตนจะมาดูโครงสร้างทั้งหมดอีกที และอาจจะปรับปรุงใหม่ ตนชอบทำงานเป็นทีม จึงต้องการบุคคลที่มีความสามารถจำนวนหนึ่งมาช่วย เหลือตนเป็นทีม สำหรับเรื่องระยะเวลานั้น ตนต้องการให้ดร.ศุภชัยฯ มีอิสระเต็มที่ที่จะเลือกทีมของ เขาเองและในจำนวนมากที่สุดที่เป็นไปได้ และตนจะทำทุกอย่างให้แน่ใจว่าจะไม่มีสิ่งใดทำให้เกิดความ ลำบากแก่ดร.ศุภชัย (will not make things difficult for Dr. Supachai) รัฐสมาชิกสองประเทศ ได้แก่ เม็กซิโกและโมร็อกโกต้องขอเวลาหารือกับทางเมืองหลวงก่อน ประธานฯ จึงให้เลื่อนการลงมติไปจนถึง ในวันจันทร์ที่ 11 ต.ค. และเมื่อกำหนดวันดังกล่าวผ่านไป โดยทั้งสองประเทศมิได้แจ้งขัดข้องต่อข้อเสนอ ของประธานฯ จึงถือว่ารัฐสมาชิกทั้งหมดยอมรับที่จะให้คงจำนวนรองผู้อำนวยการใหญ่ไว้เป็นสี่คนเช่นเดิม ขณะนี้มีผู้แสดงความจำนงสมัครเข้ารับการแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการใหญ่จำนวน 13 คน ดังนี้ - แอฟริกา 3 คน คือ นาย Peter Gakunu (เคนยา) ดร. Kalu Idika Kalu (ไนจีเรีย) และนาย Doua-Bi Kalou (โกตดิวัวร์) - ลาตินอเมริกา 3 คน คือ นาย Miguel Rodriguze Mendoza (เวเนซุเอลา) นาย Paulo Barthel-Rosa (บราซิล) และนาย Nestor Osorio Londono (โคลัมเบีย) - เอเซีย 1 คน คือ นาย Iftekhar Ahmed Chowdhury (บังกลาเทศ) - ประเทศพัฒนาแล้ว 6 คน คือ นาย Franciscus Aloysius Engering (เนเธอร์แลนด์) นาง Henryka T. Bochniarz (โปแลนด์) นาย Tony Hutton (อังกฤษ) นาย Christer Mahusen (สวีเดน) นาย Paul-Henri Ravier (ฝรั่งเศส) และนาย Andrew L. Stoler (สหรัฐฯ) แม้ว่าคณะมนตรีใหญ่ได้มีข้อตัดสินใจด้วยว่า ให้นาย Moore แต่งตั้งรองผู้อำนวยการใหญ่ด้วยการหารือกับ รัฐสมาชิก และให้คำนึงถึงความเห็นของดร. ศุภชัยฯ ด้วย แต่ข้อตัดสินใจดังกล่าวมิได้ระบุว่า นาย Moore จะต้องทำตามความต้องการหรือเงื่อนไขของรัฐสมาชิกหรือดร. ศุภชัยฯ ดังนั้น สิ่งที่น่าจับตามองต่อไป คือ นาย Moore จะเลือกอย่างไร และเลือกใคร ขณะนี้มีข่าวลือว่า นาย Moore ได้ตัดสินใจเลือกคนอเมริกัน และคนฝรั่งเศสเป็นรองผู้อำนวยการใหญ่แล้วสองคน และคาดว่าผู้มีโอกาสที่เหลือน่าจะมาจากประเทศ ในกลุ่มละตินอเมริกาและแอฟริกาที่เคยสนับสนุนนาย Moore อย่างแข็งขันในช่วงรณรงค์หาเสียง ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-