ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดพังงาประกอบด้วย 8 อำเภอได้แก่ อำเภอเมืองพังงา ทับปุด ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง คุระบุรี ท้ายเหมือง กะปง และเกาะยาว
พื้นที่รวม 4,170.9 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 2,606,800 ไร่
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีประชากรจำนวน233,179 คน หรือร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ ( Gross Provincial Product at Constant Price ) มีมูลค่าเท่ากับ 10,426.7 ล้านบาท โดยมีสาขาเกษตรกรรมเป็นสาขาหลัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.5 รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและส่งร้อยละ10.0 และสาขาบริการร้อยละ5.6 สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร เท่ากับ67,217 บาทต่อปี สูงเป็นอันดับสามรองมาจาก ภูเก็ต และระนอง
ศักยภาพและโอกาสการลงทุน
1.การเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติ
-การขยายตัวด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย จะมีผลทำให้การค้าในแถบภูมิภาคนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งจังหวัดพังงาสามารถใช้ข้อได้เปรียบของแหล่งที่ตั้ง ที่ใกล้สนามบินนานาชาติ และท่าเรือน้ำลึกเกาะภูเก็ตมาใช้เป็นประโยชน์ในการขยายการลงทุนในจังหวัดได้โดยตรง
-ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ จะมีผลทำให้นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่าพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น สภาพดังกล่าวนี้จะมีผลทำให้พังงาพัฒนาตัวเองขึ้นเป็นจุดเชื่อมโยงเข้าสู่ชายฝั่งทะเลพม่าได้โดยตรง ทั้งทางด้านการค้าและการลงทุนด้านการท่องเที่ยวร่วมกัน และที่สำคัญที่สุด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยเปิดโอกาสให้พังงามีโอกาสในการนำวัตถุดิบ ทรัพยากรและแรงงานจากพม่ามาใช้ในการพัฒนาในการลงทุนของจังหวัดได้ด้วย
-การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในลักษณะไตรภาคี (ไทย - มาเลเซีย-อินโดนีเซีย)จะมีผลโดยตรง ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมขนส่งในเขตภาคใต้ของไทยกับมาเลเซียด้วยกันจะช่วยเปิดโอกาสให้พังงาและอนุภาคอันดามันสามารถเชื่อมโยงการพัฒนาลงสู่ใต้ เพื่อดึงดูดนักเที่ยวจากใต้ขึ้นสู่เหนือได้ด้วย
2.การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ
การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ จะทำให้พังงาสามารถใช้ตลาดภายในประเทศเป็นฐานในการขยายการลงทุนในระยะแรกก่อนที่จะก้าวสู่ระดับนานาชาติในระยะต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัด
3.การเปลี่ยนแปลงภายในภูมิภาค
-การพัฒนาอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากปิโตรเคมีในเขตภาคใต้ตอนบน จะขยายโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัดให้เกิดมากขึ้น วัตถุดิบอุตสาหกรรมชนิดใหม่ โดยเฉพาะวัตถุดิบพลาสติก สามารถสร้างโอกาสในการลงทุนสำหรับพังงาได้ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ
-การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านการส่งออก อันได้แก่ ท่าเรือจะช่วยเปิดโอกาสทางการตลาดแก่จังหวัดพังงาให้เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยไม่จำกัดตัวเองอยู่เฉพะภายในจังหวัดหรือตลาดในภูมิภาคเช่นในอดีต
-ศูนย์การศึกษาและการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่บนเกาะภูเก็ต จะเป็นฐานสนับสนุนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ / การลงทุนของพังงาโดยตรง
-ตลาดในเขตจังหวัดภูเก็ตเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก มูลค่าการค้าในแต่ละปีจะสูงถึงกว่า 17,000ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 7 เท่าของตลาดในเขตพังงา การไม่สามารถขยายตัวด้านการลงทุนภายในจังหวัดภูเก็ตเองในขณะนี้ จะกลายเป็นโอกาสสำคัญยิ่งของจังหวัดที่จะพัฒนาการลงทุนขึ้นทดแทน
-ศูนย์วิจัยวัฒนธรรมและประเพณีแห่งทะเลอันดามัน ซึ่งจะพัฒนาขึ้นในเขตจังหวัดตามแผนเงินกู้ เพื่อพัฒนาและวางแผนการท่องเที่ยวระยะที่สอง จะมีผลให้จังหวัดพังงามีฐานะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและการลงทุนในด้านการท่องเที่ยวมีโอกาสพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
-นโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาลปัจจจุบัน จะทำให้นักลงทุนท้องถิ่นของจังหวัดได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐมากกว่าในอดีตซึ่งจะลดความเสี่ยงและช่วยกระตุ้นให้การลงทุนในเขตจังหวัดได้ง่ายขึ้นด้วย
4.แผนและนโยบายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัด
-การกำหนดนโยบายทั้งในระดับชาติและในระดับภาค ในการเร่งรัดขยายการบริการพื้นฐานในเขตจังหวัดให้เชื่อมโยงกับโครงการเครือข่ายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดได้สะดวกขึ้นและในอีกทางหนึ่ง โครงสร้างพื้นฐานที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานในส่วนกลางก็จะมีผลต่อการพัฒนาจังหวัดได้โดยตรงอีกด้วย
-การพัฒนาศูนย์ราชการใหม่ที่บริเวณถ้ำน้ำผุด จะก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่องในเขตจังหวัด ระบบการให้บริการของภาครัฐจะมีลักษณะเป็นศูนย์รวม ณ จุดเดียวบริเวณจุดที่ตั้งของพื้นที่มีลักษณะเป็นจุดเปิดที่เชื่อมโยงเครือข่ายในภูมิภาคอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้จังหวัดพังงาสามารถพัฒนาชุมชนศูนย์กลางทางด้านธุรกิจอย่างแท้จริงอีกด้วย
-มีความโน้มเอียงสูงยิ่งที่นักลงทุนจากภายนอก ตลอดจนนักลงทุนบนเกาะภูเก็ตเองจะกระจายการลงทุน หรือย้ายฐานการผลิตของตัวเองมายังจังหวัดพังงา เพื่อลดแรงกดดันจากกระแสอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ทั้งจากภาคราชการและองค์กรเอกชนต่าง ๆ ในจังหวัด
-การย้ายฐานทางธุรกิจจากจังหวัดภูเก็ตที่มีโอกาสสูงมาก จะเริ่มต้นจากการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง ซึ่วเริ่มเผชิญข้อจำกัดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวจะยังไม่ย้ายฐานธุรกิจของตนเอง
-การลงทุนใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากข้อจำกัดการลงทุนของภูเก็ตจะประกอบด้วยธุรกิจทุกประเภท ที่ต้องอาศัยภูเก็ตเป็นเป้าหมาย หรือต้องการใช้สนามบินภูเก็ต / ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตเป็นช่องทางการขนส่งที่สำคัญ ในด้านการท่องเที่ยว การลงทุนที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดจะมาจากนักลงทุนภายนอกเป็นหลักมากที่สุด
ข้อเสนอการลงทุน
1.โครงการลงทุนในสาขาเกษตรกรรม
ประเภทที่ 1 เป็นโครงการลงทุนของภาคเอกชนที่ต้องมีการจัดองค์กรบริหารมีระบบที่ทันสมัย ทั้งทางด้านการเงิน / การตลาด/ การผลิต ประกอบด้วย
1.กิจการสวนเกษตร
2.บริษัทจัดสวนเกษตร
3.ธุรกิจการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง
- การเลี้ยงปลาเก๋าในกระชัง
- การเลี้ยงหอยแครง
- การเลี้ยงหอยแมลงภู่
-การเลี้ยงปลากระพงในกระชัง
-การเลี้ยงหอยนางรม
-การเพาะเลี้ยงหอยมุก
ประเภทที่ 2 เป็นโครงการในลักษณะกิจกรรมทางเลือกของเกษตรรายย่อยที่ต้องอาศัยภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา แต่มีโอกาสในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพืชดั้งเดิมที่ดำเนินการอยู่เดิม ประกอบด้วย
1)การทำสวนผลไม้
-มะพร้าว
-ทุเรียน
-สะตอ
-มังคุด
-เงาะ
-ลองกอง
-สับปะรด
2)การแปรรูบสัตว์น้ำ
-การทำกุ้งแห้ง
-ปลาเค็ม
3)การปศุสัตว์โคเนื้อ
2.โครงการลงทุนในสาขาการท่องเที่ยว
ประเภทที่ 1 โครงการลงทุนของภาคธุรกิจที่มีการจัดองค์กรที่ทันสมัยประกอบด้วย
1)ศูนย์สุขภาพ
2)โรงแรม / ที่พัก / สถานตากอากาศ
3.โครงการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม
เป็นโครงการลงทุนของภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องมีการจัดองค์กรการบริหารและระบบการจัดการในองค์การ ทั้งทางด้านการผลิต/การเงิน/การตลาด ประกอบด้วย
โครงการลงทุนของภาคธุรกิจ
1)อุตสากรรมห้องเย็น
2)อุตสาหกรรมจากยางพารา
-อุตสาหกรรมผลิตยางแท่ง
-อุตสาหกรรมน้ำยางข้น
3)อุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา
4)อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
-ขวดน้ำพลาสติก
-ถุงพลาสติก
5)โครงการสำหรับนักลงทุนรายย่อย
-หัตถกรรมของที่ระลึก:ดอกไม้พังงา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดพังงาประกอบด้วย 8 อำเภอได้แก่ อำเภอเมืองพังงา ทับปุด ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง คุระบุรี ท้ายเหมือง กะปง และเกาะยาว
พื้นที่รวม 4,170.9 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 2,606,800 ไร่
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีประชากรจำนวน233,179 คน หรือร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ ( Gross Provincial Product at Constant Price ) มีมูลค่าเท่ากับ 10,426.7 ล้านบาท โดยมีสาขาเกษตรกรรมเป็นสาขาหลัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.5 รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและส่งร้อยละ10.0 และสาขาบริการร้อยละ5.6 สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร เท่ากับ67,217 บาทต่อปี สูงเป็นอันดับสามรองมาจาก ภูเก็ต และระนอง
ศักยภาพและโอกาสการลงทุน
1.การเปลี่ยนแปลงในระดับนานาชาติ
-การขยายตัวด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย จะมีผลทำให้การค้าในแถบภูมิภาคนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งจังหวัดพังงาสามารถใช้ข้อได้เปรียบของแหล่งที่ตั้ง ที่ใกล้สนามบินนานาชาติ และท่าเรือน้ำลึกเกาะภูเก็ตมาใช้เป็นประโยชน์ในการขยายการลงทุนในจังหวัดได้โดยตรง
-ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ จะมีผลทำให้นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่าพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น สภาพดังกล่าวนี้จะมีผลทำให้พังงาพัฒนาตัวเองขึ้นเป็นจุดเชื่อมโยงเข้าสู่ชายฝั่งทะเลพม่าได้โดยตรง ทั้งทางด้านการค้าและการลงทุนด้านการท่องเที่ยวร่วมกัน และที่สำคัญที่สุด การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยเปิดโอกาสให้พังงามีโอกาสในการนำวัตถุดิบ ทรัพยากรและแรงงานจากพม่ามาใช้ในการพัฒนาในการลงทุนของจังหวัดได้ด้วย
-การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในลักษณะไตรภาคี (ไทย - มาเลเซีย-อินโดนีเซีย)จะมีผลโดยตรง ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมขนส่งในเขตภาคใต้ของไทยกับมาเลเซียด้วยกันจะช่วยเปิดโอกาสให้พังงาและอนุภาคอันดามันสามารถเชื่อมโยงการพัฒนาลงสู่ใต้ เพื่อดึงดูดนักเที่ยวจากใต้ขึ้นสู่เหนือได้ด้วย
2.การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ
การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ จะทำให้พังงาสามารถใช้ตลาดภายในประเทศเป็นฐานในการขยายการลงทุนในระยะแรกก่อนที่จะก้าวสู่ระดับนานาชาติในระยะต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัด
3.การเปลี่ยนแปลงภายในภูมิภาค
-การพัฒนาอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน และอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากปิโตรเคมีในเขตภาคใต้ตอนบน จะขยายโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัดให้เกิดมากขึ้น วัตถุดิบอุตสาหกรรมชนิดใหม่ โดยเฉพาะวัตถุดิบพลาสติก สามารถสร้างโอกาสในการลงทุนสำหรับพังงาได้ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วนสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ
-การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านการส่งออก อันได้แก่ ท่าเรือจะช่วยเปิดโอกาสทางการตลาดแก่จังหวัดพังงาให้เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยไม่จำกัดตัวเองอยู่เฉพะภายในจังหวัดหรือตลาดในภูมิภาคเช่นในอดีต
-ศูนย์การศึกษาและการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่บนเกาะภูเก็ต จะเป็นฐานสนับสนุนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ / การลงทุนของพังงาโดยตรง
-ตลาดในเขตจังหวัดภูเก็ตเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก มูลค่าการค้าในแต่ละปีจะสูงถึงกว่า 17,000ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 7 เท่าของตลาดในเขตพังงา การไม่สามารถขยายตัวด้านการลงทุนภายในจังหวัดภูเก็ตเองในขณะนี้ จะกลายเป็นโอกาสสำคัญยิ่งของจังหวัดที่จะพัฒนาการลงทุนขึ้นทดแทน
-ศูนย์วิจัยวัฒนธรรมและประเพณีแห่งทะเลอันดามัน ซึ่งจะพัฒนาขึ้นในเขตจังหวัดตามแผนเงินกู้ เพื่อพัฒนาและวางแผนการท่องเที่ยวระยะที่สอง จะมีผลให้จังหวัดพังงามีฐานะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและการลงทุนในด้านการท่องเที่ยวมีโอกาสพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
-นโยบายการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคของรัฐบาลปัจจจุบัน จะทำให้นักลงทุนท้องถิ่นของจังหวัดได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐมากกว่าในอดีตซึ่งจะลดความเสี่ยงและช่วยกระตุ้นให้การลงทุนในเขตจังหวัดได้ง่ายขึ้นด้วย
4.แผนและนโยบายด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจังหวัด
-การกำหนดนโยบายทั้งในระดับชาติและในระดับภาค ในการเร่งรัดขยายการบริการพื้นฐานในเขตจังหวัดให้เชื่อมโยงกับโครงการเครือข่ายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดได้สะดวกขึ้นและในอีกทางหนึ่ง โครงสร้างพื้นฐานที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานในส่วนกลางก็จะมีผลต่อการพัฒนาจังหวัดได้โดยตรงอีกด้วย
-การพัฒนาศูนย์ราชการใหม่ที่บริเวณถ้ำน้ำผุด จะก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านการลงทุนอย่างต่อเนื่องในเขตจังหวัด ระบบการให้บริการของภาครัฐจะมีลักษณะเป็นศูนย์รวม ณ จุดเดียวบริเวณจุดที่ตั้งของพื้นที่มีลักษณะเป็นจุดเปิดที่เชื่อมโยงเครือข่ายในภูมิภาคอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้จังหวัดพังงาสามารถพัฒนาชุมชนศูนย์กลางทางด้านธุรกิจอย่างแท้จริงอีกด้วย
-มีความโน้มเอียงสูงยิ่งที่นักลงทุนจากภายนอก ตลอดจนนักลงทุนบนเกาะภูเก็ตเองจะกระจายการลงทุน หรือย้ายฐานการผลิตของตัวเองมายังจังหวัดพังงา เพื่อลดแรงกดดันจากกระแสอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ทั้งจากภาคราชการและองค์กรเอกชนต่าง ๆ ในจังหวัด
-การย้ายฐานทางธุรกิจจากจังหวัดภูเก็ตที่มีโอกาสสูงมาก จะเริ่มต้นจากการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง ซึ่วเริ่มเผชิญข้อจำกัดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวจะยังไม่ย้ายฐานธุรกิจของตนเอง
-การลงทุนใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากข้อจำกัดการลงทุนของภูเก็ตจะประกอบด้วยธุรกิจทุกประเภท ที่ต้องอาศัยภูเก็ตเป็นเป้าหมาย หรือต้องการใช้สนามบินภูเก็ต / ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตเป็นช่องทางการขนส่งที่สำคัญ ในด้านการท่องเที่ยว การลงทุนที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดจะมาจากนักลงทุนภายนอกเป็นหลักมากที่สุด
ข้อเสนอการลงทุน
1.โครงการลงทุนในสาขาเกษตรกรรม
ประเภทที่ 1 เป็นโครงการลงทุนของภาคเอกชนที่ต้องมีการจัดองค์กรบริหารมีระบบที่ทันสมัย ทั้งทางด้านการเงิน / การตลาด/ การผลิต ประกอบด้วย
1.กิจการสวนเกษตร
2.บริษัทจัดสวนเกษตร
3.ธุรกิจการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง
- การเลี้ยงปลาเก๋าในกระชัง
- การเลี้ยงหอยแครง
- การเลี้ยงหอยแมลงภู่
-การเลี้ยงปลากระพงในกระชัง
-การเลี้ยงหอยนางรม
-การเพาะเลี้ยงหอยมุก
ประเภทที่ 2 เป็นโครงการในลักษณะกิจกรรมทางเลือกของเกษตรรายย่อยที่ต้องอาศัยภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา แต่มีโอกาสในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าพืชดั้งเดิมที่ดำเนินการอยู่เดิม ประกอบด้วย
1)การทำสวนผลไม้
-มะพร้าว
-ทุเรียน
-สะตอ
-มังคุด
-เงาะ
-ลองกอง
-สับปะรด
2)การแปรรูบสัตว์น้ำ
-การทำกุ้งแห้ง
-ปลาเค็ม
3)การปศุสัตว์โคเนื้อ
2.โครงการลงทุนในสาขาการท่องเที่ยว
ประเภทที่ 1 โครงการลงทุนของภาคธุรกิจที่มีการจัดองค์กรที่ทันสมัยประกอบด้วย
1)ศูนย์สุขภาพ
2)โรงแรม / ที่พัก / สถานตากอากาศ
3.โครงการลงทุนในสาขาอุตสาหกรรม
เป็นโครงการลงทุนของภาคธุรกิจเอกชนที่ต้องมีการจัดองค์กรการบริหารและระบบการจัดการในองค์การ ทั้งทางด้านการผลิต/การเงิน/การตลาด ประกอบด้วย
โครงการลงทุนของภาคธุรกิจ
1)อุตสากรรมห้องเย็น
2)อุตสาหกรรมจากยางพารา
-อุตสาหกรรมผลิตยางแท่ง
-อุตสาหกรรมน้ำยางข้น
3)อุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา
4)อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
-ขวดน้ำพลาสติก
-ถุงพลาสติก
5)โครงการสำหรับนักลงทุนรายย่อย
-หัตถกรรมของที่ระลึก:ดอกไม้พังงา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-