ผลจากความตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรและการค้าสินค้า (GATT) และการเปิดเสรีการค้าทำให้การอุดหนุนราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลง ขณะที่การจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงแก่เกษตรกรเริ่มเข้ามาแทนที่ และมีความสำคัญมากขึ้น
สหภาพยุโรป เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ปฏิรูปนโยบายการเกษตรด้วยการ ลด/ยกเลิกการอุดหนุนราคา และได้นำมาตรการชดเชยรายได้ของเกษตรกรโดยการจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงมาใช้แทน ซึ่งช่วยลดการบิดเบือนกลไกตลาด เพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรการใช้ทรัพยากรการผลิต แต่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลง
การจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงช่วยยกมาตรฐานการครองชีพของเกษตรกร และทำให้การกระจายรายได้ของเกษตรกรเสมอภาคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวเหมาะสมกับประเทศพัฒนาที่มีขนาดของการถือครองที่ดินใกล้เคียงกัน มากกว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดของการถือครองที่ดินแตกต่างกันมาก
อุปสรรคและปัญหาจากการใช้นโยบายการจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรง คือ ภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เกษตรกรต้องเผชิญกับความผันผวนของราคามากขึ้น และแนวโน้มของราคาที่ลดลง ทำให้การขยายตัวของภาคเกษตรลดลง ซึ่งเร่งให้แรงงานย้ายออกจากภาคเกษตร และส่งผลถึงรายได้ที่ลดลงของแรงงานในภาคเกษตรด้วย
ในกรณีของประเทศไทย ทางการได้เริ่มปรับเปลี่ยนการช่วยเหลือทางด้านราคามาสู่การจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรง ในช่วงปี 2544 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้เริ่มใช้มาตรการจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงแก่ชาวไร่สับปะรด ในอัตราไร่ละ 300 บาท แต่ไม่เกิน 10 ไร่ต่อราย แทนการแทรกแซงทางด้านราคาเพราะกระทรวงเกษตร ฯ ได้มีการจดทะเบียนชาวไร่สับปะรดอย่างเป็นทางการ ทำให้ไม่มีปัญหาในการปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม หาก คชก. จะดำเนินมาตรการอุดหนุนโดยตรงเป็นการทั่วไป มีข้อควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1) ทะเบียนเกษตรกรควรถูกจัดทำก่อนการประกาศใช้นโยบายจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรง
2) การจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงควรผกผันกับราคาตลาดโลก และควรมีลักษณะเป็นแบบอัตราถอยหลัง
3) ควรกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการช่วยเหลือเกษตรกรให้ชัดเจน
4) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องไม่จำกัดประเภทการใช้ประโยชน์ของที่ดิน
5) การพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตร เช่น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ช่วยลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
สหภาพยุโรป เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ปฏิรูปนโยบายการเกษตรด้วยการ ลด/ยกเลิกการอุดหนุนราคา และได้นำมาตรการชดเชยรายได้ของเกษตรกรโดยการจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงมาใช้แทน ซึ่งช่วยลดการบิดเบือนกลไกตลาด เพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรการใช้ทรัพยากรการผลิต แต่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลง
การจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงช่วยยกมาตรฐานการครองชีพของเกษตรกร และทำให้การกระจายรายได้ของเกษตรกรเสมอภาคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวเหมาะสมกับประเทศพัฒนาที่มีขนาดของการถือครองที่ดินใกล้เคียงกัน มากกว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีขนาดของการถือครองที่ดินแตกต่างกันมาก
อุปสรรคและปัญหาจากการใช้นโยบายการจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรง คือ ภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เกษตรกรต้องเผชิญกับความผันผวนของราคามากขึ้น และแนวโน้มของราคาที่ลดลง ทำให้การขยายตัวของภาคเกษตรลดลง ซึ่งเร่งให้แรงงานย้ายออกจากภาคเกษตร และส่งผลถึงรายได้ที่ลดลงของแรงงานในภาคเกษตรด้วย
ในกรณีของประเทศไทย ทางการได้เริ่มปรับเปลี่ยนการช่วยเหลือทางด้านราคามาสู่การจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรง ในช่วงปี 2544 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้เริ่มใช้มาตรการจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงแก่ชาวไร่สับปะรด ในอัตราไร่ละ 300 บาท แต่ไม่เกิน 10 ไร่ต่อราย แทนการแทรกแซงทางด้านราคาเพราะกระทรวงเกษตร ฯ ได้มีการจดทะเบียนชาวไร่สับปะรดอย่างเป็นทางการ ทำให้ไม่มีปัญหาในการปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม หาก คชก. จะดำเนินมาตรการอุดหนุนโดยตรงเป็นการทั่วไป มีข้อควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1) ทะเบียนเกษตรกรควรถูกจัดทำก่อนการประกาศใช้นโยบายจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรง
2) การจ่ายเงินอุดหนุนโดยตรงควรผกผันกับราคาตลาดโลก และควรมีลักษณะเป็นแบบอัตราถอยหลัง
3) ควรกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการช่วยเหลือเกษตรกรให้ชัดเจน
4) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต้องไม่จำกัดประเภทการใช้ประโยชน์ของที่ดิน
5) การพัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตร เช่น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ช่วยลดความเสี่ยงจากการผันผวนของราคา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-