เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2544 สหภาพยุโรป (European Union: EU) ได้ออกสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ (White Paper on Chemicals) ซึ่งเป็นเอกสารที่นำเสนอข้อมูล (Proposal) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายควบคุมสินค้าเคมีภัณฑ์ที่จำหน่ายใน EU ครอบคลุมทั้งเคมีภัณฑ์ชนิดใหม่ (New Substances) ที่ออกสู่ตลาดตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2524 เป็นต้นมา และเคมีภัณฑ์ชนิดเดิม (Existing Substances) ซึ่งมีจำหน่ายหรือมีใช้ในตลาดตั้งแต่ก่อนเดือนกันยายน 2524 ทั้งนี้เพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภคใน EU ให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบ
สาระสำคัญของสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์สรุปได้ดังนี้
- ระเบียบเคมีภัณฑ์ กำหนดให้เคมีภัณฑ์ทั้งประเภท New Substances และประเภท Existing Substances อยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน รวมทั้งได้มีการกำหนดระเบียบสินค้าที่มีส่วนประกอบหรือผลิตจากสารเคมีเหล่านั้น
- ผู้ผลิตและผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงของเคมีภัณฑ์ ตลอดจนรายงานข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ของตนอย่างโปร่งใสต่อหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมี European Chemicals Bureau (ECB) เป็นหน่วยงานหลัก รวมถึงต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream Users) ที่ใช้สารเคมีในการผลิตสินค้า ตลอดจนผู้ใช้เคมีภัณฑ์ขั้นสุดท้าย
- ขั้นตอนการควบคุมสินค้าเคมีภัณฑ์ใน EU
- การจดทะเบียนเคมีภัณฑ์ (Registration) กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์ทั้งประเภท New Substances และ Existing Substances ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ดังนี้
บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์ปริมาณเกิน 1 ตันแต่ไม่เกิน 100 ตันต่อปีต้องจดทะเบียนภายในปี 2555
บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์ปริมาณเกิน 100 ตันแต่ไม่เกิน 1,000 ตันต่อปีต้องจดทะเบียนภายในปี 2551
บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์ปริมาณเกิน 1,000 ตันต่อปีต้องจดทะเบียนภายในปี 2548
- การตรวจสอบเคมีภัณฑ์ (Evaluation) บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์ทุกชนิดที่มีปริมาณเกิน 100 ตันต่อปีต้องได้รับการตรวจสอบโดยหน่วยงานภาครัฐของ EU ซึ่งจะทำการตรวจสอบด้วยโปรแกรมตรวจสอบสำเร็จรูป (Tailor |made Testing Programmes) โดยบริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์รายใหญ่จะถูกตรวจสอบละเอียดกว่าบริษัทรายเล็ก
- การพิจารณาออกใบอนุญาต (Authorization) ให้ผลิตหรือจำหน่ายเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาอนุญาตให้ผลิตหรือจำหน่ายเคมีภัณฑ์แต่ละประเภทจะคำนึงถึงผลกระทบของเคมีภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ อาทิ เคมีภัณฑ์ประเภทที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Carcinogenic, Mutagenic or toxic to Reproduction: CMRs) หรือเคมีภัณฑ์ที่คงอยู่ในสภาพแวดล้อมนาน (Persistant Organic Pollutants: POPs) เป็นต้น
ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐของ EU จะพิจารณาอนุญาตให้ผลิตหรือจำหน่ายเฉพาะเคมีภัณฑ์ที่มีข้อมูลยืนยันว่าไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากผู้ขออนุญาตรายใดให้ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของเคมีภัณฑ์ที่ต้องการขอใบอนุญาตผลิตหรือจำหน่ายล่าช้า หน่วยงานภาครัฐของ EU สามารถพิจารณาที่จะไม่อนุญาตให้มีการผลิตหรือจำหน่ายเคมีภัณฑ์ประเภทนั้นได้
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย
เป็นที่คาดว่าผู้ผลิตและผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์และสินค้าที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบของไทยจะได้รับผลกระทบจากสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ของ EU โดยเฉพาะสิ่งทอและของเด็กเล่น ซึ่งไทยส่งออกไป EU เป็นมูลค่าไม่น้อยในแต่ละปี ทั้งนี้ ตามร่างข้อเสนอในสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์หรือสินค้าที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบมีภาระต้องรับผิดชอบมากขึ้น อาทิ ต้องจดทะเบียนสินค้าและให้ข้อมูลต่างๆ เพื่อแสดงถึงความปลอดภัยของเคมีภัณฑ์ที่ส่งออกหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสินค้า การติดฉลากสินค้าเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ข้อกำหนดต่างๆ ดังกล่าวนี้ทำให้คาดว่าในระยะข้างหน้าผู้ประกอบการผลิตและส่งออกเคมีภัณฑ์และสินค้าที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบของไทยไป EU จะถูกตรวจสอบและควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวดมากขึ้นและมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
สาระสำคัญของสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์สรุปได้ดังนี้
- ระเบียบเคมีภัณฑ์ กำหนดให้เคมีภัณฑ์ทั้งประเภท New Substances และประเภท Existing Substances อยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน รวมทั้งได้มีการกำหนดระเบียบสินค้าที่มีส่วนประกอบหรือผลิตจากสารเคมีเหล่านั้น
- ผู้ผลิตและผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงของเคมีภัณฑ์ ตลอดจนรายงานข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ของตนอย่างโปร่งใสต่อหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมี European Chemicals Bureau (ECB) เป็นหน่วยงานหลัก รวมถึงต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream Users) ที่ใช้สารเคมีในการผลิตสินค้า ตลอดจนผู้ใช้เคมีภัณฑ์ขั้นสุดท้าย
- ขั้นตอนการควบคุมสินค้าเคมีภัณฑ์ใน EU
- การจดทะเบียนเคมีภัณฑ์ (Registration) กำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเคมีภัณฑ์ทั้งประเภท New Substances และ Existing Substances ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ดังนี้
บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์ปริมาณเกิน 1 ตันแต่ไม่เกิน 100 ตันต่อปีต้องจดทะเบียนภายในปี 2555
บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์ปริมาณเกิน 100 ตันแต่ไม่เกิน 1,000 ตันต่อปีต้องจดทะเบียนภายในปี 2551
บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์ปริมาณเกิน 1,000 ตันต่อปีต้องจดทะเบียนภายในปี 2548
- การตรวจสอบเคมีภัณฑ์ (Evaluation) บริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์ทุกชนิดที่มีปริมาณเกิน 100 ตันต่อปีต้องได้รับการตรวจสอบโดยหน่วยงานภาครัฐของ EU ซึ่งจะทำการตรวจสอบด้วยโปรแกรมตรวจสอบสำเร็จรูป (Tailor |made Testing Programmes) โดยบริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเคมีภัณฑ์รายใหญ่จะถูกตรวจสอบละเอียดกว่าบริษัทรายเล็ก
- การพิจารณาออกใบอนุญาต (Authorization) ให้ผลิตหรือจำหน่ายเคมีภัณฑ์ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาอนุญาตให้ผลิตหรือจำหน่ายเคมีภัณฑ์แต่ละประเภทจะคำนึงถึงผลกระทบของเคมีภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ อาทิ เคมีภัณฑ์ประเภทที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (Carcinogenic, Mutagenic or toxic to Reproduction: CMRs) หรือเคมีภัณฑ์ที่คงอยู่ในสภาพแวดล้อมนาน (Persistant Organic Pollutants: POPs) เป็นต้น
ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐของ EU จะพิจารณาอนุญาตให้ผลิตหรือจำหน่ายเฉพาะเคมีภัณฑ์ที่มีข้อมูลยืนยันว่าไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากผู้ขออนุญาตรายใดให้ข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของเคมีภัณฑ์ที่ต้องการขอใบอนุญาตผลิตหรือจำหน่ายล่าช้า หน่วยงานภาครัฐของ EU สามารถพิจารณาที่จะไม่อนุญาตให้มีการผลิตหรือจำหน่ายเคมีภัณฑ์ประเภทนั้นได้
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย
เป็นที่คาดว่าผู้ผลิตและผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์และสินค้าที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบของไทยจะได้รับผลกระทบจากสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ของ EU โดยเฉพาะสิ่งทอและของเด็กเล่น ซึ่งไทยส่งออกไป EU เป็นมูลค่าไม่น้อยในแต่ละปี ทั้งนี้ ตามร่างข้อเสนอในสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเคมีภัณฑ์หรือสินค้าที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบมีภาระต้องรับผิดชอบมากขึ้น อาทิ ต้องจดทะเบียนสินค้าและให้ข้อมูลต่างๆ เพื่อแสดงถึงความปลอดภัยของเคมีภัณฑ์ที่ส่งออกหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสินค้า การติดฉลากสินค้าเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ข้อกำหนดต่างๆ ดังกล่าวนี้ทำให้คาดว่าในระยะข้างหน้าผู้ประกอบการผลิตและส่งออกเคมีภัณฑ์และสินค้าที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนประกอบของไทยไป EU จะถูกตรวจสอบและควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวดมากขึ้นและมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-