เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2543 กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ จัดสัมมนาพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ณ โรงแรมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดีรังสิต หลักสี่ กรุงเทพฯ โดยมี ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนาและแสดงปาฐกถาพิเศษ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 500 คน ประกอบด้วย นักลงทุนไทยและต่างประเทศ ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป
นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การสัมมนาในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 (ปว.281) และตราเป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ขึ้นบังคับใช้แทน สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้แตกต่างไปจากกฎหมายเดิมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติของคนต่างชาติที่ขอประกอบธุรกิจในประเทศไทย เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติหลังการได้รับอนุญาตแล้ว หลักเกณฑ์และแนวทางในการขออนุญาต รวมทั้ง การกำกับดูแลคนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แม้จะเปิดเสรีทางการค้าให้คนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีมาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย เพิ่มขึ้นและเข้มงวดกว่า ปว. 281 เช่นคนต่างด้าวต้องนำเงินตราต่างประเทศมาเป็นทุนขั้นต่ำและดำรงทุนขั้นต่ำไว้ในประเทศไทย ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้ มีการวางกรอบการขออนุญาตเพิ่มขึ้นจากเดิม และในการพิจารณาอนุญาตต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองหลายลำดับขั้นและต้องคำนึงผลดีผลเสียต่อประเทศไทยในทุกๆ ด้าน รวมทั้งได้เพิ่มบทกำหนดโทษ ที่สูงขึ้นโดยโทษปรับได้เพิ่มสูงขึ้นถึงหนึ่งล้านบาท และมีโทษจำคุกด้วย การที่มีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทยที่ยังไม่พร้อมที่แข่งขันกับคนต่างชาติ และเพื่อป้องกันมิให้ผู้ลงทุนต่างชาติที่ไม่ดีได้เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฉบับใหม่นี้ได้กำหนดธุรกิจที่สงวนและให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจ แบ่งออกเป็น 3 บัญชี คือ
บัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวกับสื่อมวลชน เช่น กิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
บัญชีสอง เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัย หรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้านหรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งคนต่างด้าวประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ได้แก่ การผลิต จำหน่าย และซ่อมบำรุงอาวุธปืน การขนส่ง
บัญชีสาม เป็นธุรกิจที่คนไทยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว ซึ่งคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมทะเบียนการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน จำนวน 25 คน ได้แก่ ธุรกิจทางด้านบริการ เป็นต้น
ในขณะนี้ กรมทะเบียนการค้าได้ออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 61 ราย โดยแบ่งออกเป็น ออกใบอนุญาตตามบัญชีสาม 29 ราย ออกหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมการลงทุน 9 รายและออกหนังสือรับรองตามสนธิสัญญา 23 ราย
--กรมทะเบียนการค้า กันยายน 2543--
-อน-
นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การสัมมนาในครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 (ปว.281) และตราเป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ขึ้นบังคับใช้แทน สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้แตกต่างไปจากกฎหมายเดิมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติของคนต่างชาติที่ขอประกอบธุรกิจในประเทศไทย เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติหลังการได้รับอนุญาตแล้ว หลักเกณฑ์และแนวทางในการขออนุญาต รวมทั้ง การกำกับดูแลคนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แม้จะเปิดเสรีทางการค้าให้คนต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีมาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย เพิ่มขึ้นและเข้มงวดกว่า ปว. 281 เช่นคนต่างด้าวต้องนำเงินตราต่างประเทศมาเป็นทุนขั้นต่ำและดำรงทุนขั้นต่ำไว้ในประเทศไทย ต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้ มีการวางกรอบการขออนุญาตเพิ่มขึ้นจากเดิม และในการพิจารณาอนุญาตต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองหลายลำดับขั้นและต้องคำนึงผลดีผลเสียต่อประเทศไทยในทุกๆ ด้าน รวมทั้งได้เพิ่มบทกำหนดโทษ ที่สูงขึ้นโดยโทษปรับได้เพิ่มสูงขึ้นถึงหนึ่งล้านบาท และมีโทษจำคุกด้วย การที่มีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการไทยที่ยังไม่พร้อมที่แข่งขันกับคนต่างชาติ และเพื่อป้องกันมิให้ผู้ลงทุนต่างชาติที่ไม่ดีได้เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวฉบับใหม่นี้ได้กำหนดธุรกิจที่สงวนและให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจ แบ่งออกเป็น 3 บัญชี คือ
บัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวกับสื่อมวลชน เช่น กิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
บัญชีสอง เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัย หรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้านหรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งคนต่างด้าวประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ได้แก่ การผลิต จำหน่าย และซ่อมบำรุงอาวุธปืน การขนส่ง
บัญชีสาม เป็นธุรกิจที่คนไทยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว ซึ่งคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมทะเบียนการค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน จำนวน 25 คน ได้แก่ ธุรกิจทางด้านบริการ เป็นต้น
ในขณะนี้ กรมทะเบียนการค้าได้ออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 61 ราย โดยแบ่งออกเป็น ออกใบอนุญาตตามบัญชีสาม 29 ราย ออกหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมการลงทุน 9 รายและออกหนังสือรับรองตามสนธิสัญญา 23 ราย
--กรมทะเบียนการค้า กันยายน 2543--
-อน-