สุกร สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณไม่มาก ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตในสัปดาห์นี้ปรับสูงขึ้นอีก จูงใจให้ความต้องการเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นด้วยและราคาลูกสุกรอยู่ในระดับสูง และจากผลผลิตที่มีไม่มากในขณะนี้ คาดว่าจะทำให้ราคาสุกรมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.70 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.09 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.61 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 39.20 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 ไก่เนื้อ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ยังคงปรับสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตมีปริมาณน้อย ประกอบกับความต้องการในตลาดต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น เพราะผลจากการเกิดโรควัวบ้า ส่งผลให้ตลาดไก่เนื้อในประเทศค่อนข้างคล่องตัว และราคามีแนวโน้มสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.81 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.97 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 29.27 บาทภาคกลางกิโลกรัมละ 30.37 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.10 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.67 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.49 ไข่ไก่ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ยังคงกระเตื้องขึ้นอีก เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนทำให้ไก่กินอาหารน้อยลง ประกอบกับมีการดำเนินการเก็บไข่ไก่เข้าห้องเย็น ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ผลผลิตในช่วงนี้ลดปริมาณลง และราคามีโอกาสปรับสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 155 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 151 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อละ 2.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 154 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 149 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 155 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 158 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 168 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 158 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.33 ไข่เป็ด ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 174 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 172 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 139 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 180 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 189 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 160 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 255 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โค ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.67 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.26 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 7-13 พ.ค. 2544--
-สส-
ผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณไม่มาก ทำให้ราคาสุกรมีชีวิตในสัปดาห์นี้ปรับสูงขึ้นอีก จูงใจให้ความต้องการเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นด้วยและราคาลูกสุกรอยู่ในระดับสูง และจากผลผลิตที่มีไม่มากในขณะนี้ คาดว่าจะทำให้ราคาสุกรมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 39.70 บาทภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.09 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 38.61 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 39.20 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 900 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.47 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 ไก่เนื้อ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ยังคงปรับสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตมีปริมาณน้อย ประกอบกับความต้องการในตลาดต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น เพราะผลจากการเกิดโรควัวบ้า ส่งผลให้ตลาดไก่เนื้อในประเทศค่อนข้างคล่องตัว และราคามีแนวโน้มสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.81 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.97 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือภาคเหนือ กิโลกรัมละ 33.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 29.27 บาทภาคกลางกิโลกรัมละ 30.37 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 29.10 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.67 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.49 ไข่ไก่ สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไข่ไก่ยังคงกระเตื้องขึ้นอีก เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนทำให้ไก่กินอาหารน้อยลง ประกอบกับมีการดำเนินการเก็บไข่ไก่เข้าห้องเย็น ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทำให้ผลผลิตในช่วงนี้ลดปริมาณลง และราคามีโอกาสปรับสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 155 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 151 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อละ 2.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 154 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 149 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 155 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 158 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 15 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 168 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 158 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.33 ไข่เป็ด ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 174 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 172 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 139 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 180 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 189 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 160 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 255 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โค ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.67 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
กระบือ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.26 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 7-13 พ.ค. 2544--
-สส-