กรุงเทพฯ--27 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (26 กันยายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการเอเปคแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ที่ประชุมได้พิจารณาหัวข้อการประชุมที่ฝ่ายจีนซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมได้เสนอคือ การทบทวนนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (macro economics) ในภูมิภาคนี้ ความร่วมมือในการเพิ่มพูนสมรรถภาพ (capacity building) ของประเทศต่างๆ และเป้าหมายร่วมกันในอนาคตของเอเปคว่าจะพัฒนาอย่างไร
2. สำหรับหัวข้อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคนั้น ที่ประชุมเห็นว่าไทยน่าจะหยิบยกประสบการณ์ของไทยในการเน้นการสร้างความต้องการภายในประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และนโยบายที่ทำให้เศรษฐกิจรากหญ้าสามารถฟื้นตัว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง (social safety nets) ด้วย ฉะนั้นหากไทยมีความเข้มแข็งจากภายในแล้ว และภายนอกมีการเปิดเสรีอย่างเป็นขั้นตอนก็จะทำให้ไทยน่าจะเป็นตัวอย่างแก่ประเทศสมาชิกเอเปคได้ คือสามารถยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ
3. ความร่วมมือทางการเงินเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าจะหยิบยกขึ้นในที่ประชุมเอเปค เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาก และท่าทีของสหรัฐฯ ก็เปลี่ยนไปคือไม่คัดค้านการที่จะมีกรอบสถาปัตยกรรมทางการเงินใหม่ (new financial architecture) ของประเทศในเอเชีย หรือการแลกเปลี่ยนเงินทวิภาคี (bilateral swap arrangement) ที่แต่ละประเทศ อาทิ ไทย-จีน ไทย-ญี่ปุ่น ได้ตกลงกัน และอาจนำไปสู่การจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศเอเชีย (Asia Monetary Fund — AMF) ซึ่งอาจเป็นแนวทางความร่วมมือในศตวรรษหน้า
4. ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติจะเป็นประเด็นสำคัญในช่วง 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากเป็นสิ่งที่มากับการเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน ปัญหายาเสพติด ปัญหาการ ลักลอบค้าอาวุธสงคราม ผู้หญิงและเด็ก รวมไปถึงการก่อการร้ายข้ามชาติด้วย ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ประเทศในแต่ละภูมิภาคและอนุภูมิภาคต้องร่วมมือกัน จึงน่าจะเป็นประเด็นที่จะหยิบหยกขึ้นในการประชุมเอเปคซึ่งมีผู้นำกว่า 20 ประเทศเข้าร่วม เช่น จีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ปัญหาในประเทศใดประเทศหนึ่งได้แต่จำเป็นต้องร่วมมือกัน
5. ท่าทีไทยในองค์การค้าโลก (WTO) คือ เห็นด้วยที่จะมีการเจรจารอบใหม่ของ WTO ซึ่งระบุว่าจะต้องมีเรื่องการเสริมสร้างสมรรถภาพทรัพยากรมนุษย์ (human capacity building) เพราะไม่ใช่เรื่องการเปิดเสรีอย่างเดียว จะต้องมีเรื่องการสร้างความมั่นใจให้กับประเทศกำลังพัฒนา เช่น การทำให้กฎเกณฑ์ต่างๆ ใน WTO เป็นประชาธิปไตยและมีความชัดเจนมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอยู่ในหัวข้อการเจรจารอบใหม่มิเช่นนั้นแล้วประเทศกำลังพัฒนาก็จะไม่มีความสนใจเท่าที่ควร
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (26 กันยายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการเอเปคแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2544 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ที่ประชุมได้พิจารณาหัวข้อการประชุมที่ฝ่ายจีนซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุมได้เสนอคือ การทบทวนนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (macro economics) ในภูมิภาคนี้ ความร่วมมือในการเพิ่มพูนสมรรถภาพ (capacity building) ของประเทศต่างๆ และเป้าหมายร่วมกันในอนาคตของเอเปคว่าจะพัฒนาอย่างไร
2. สำหรับหัวข้อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคนั้น ที่ประชุมเห็นว่าไทยน่าจะหยิบยกประสบการณ์ของไทยในการเน้นการสร้างความต้องการภายในประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และนโยบายที่ทำให้เศรษฐกิจรากหญ้าสามารถฟื้นตัว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็ง (social safety nets) ด้วย ฉะนั้นหากไทยมีความเข้มแข็งจากภายในแล้ว และภายนอกมีการเปิดเสรีอย่างเป็นขั้นตอนก็จะทำให้ไทยน่าจะเป็นตัวอย่างแก่ประเทศสมาชิกเอเปคได้ คือสามารถยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ
3. ความร่วมมือทางการเงินเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าจะหยิบยกขึ้นในที่ประชุมเอเปค เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาก และท่าทีของสหรัฐฯ ก็เปลี่ยนไปคือไม่คัดค้านการที่จะมีกรอบสถาปัตยกรรมทางการเงินใหม่ (new financial architecture) ของประเทศในเอเชีย หรือการแลกเปลี่ยนเงินทวิภาคี (bilateral swap arrangement) ที่แต่ละประเทศ อาทิ ไทย-จีน ไทย-ญี่ปุ่น ได้ตกลงกัน และอาจนำไปสู่การจัดตั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศเอเชีย (Asia Monetary Fund — AMF) ซึ่งอาจเป็นแนวทางความร่วมมือในศตวรรษหน้า
4. ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติจะเป็นประเด็นสำคัญในช่วง 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากเป็นสิ่งที่มากับการเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่เท่าเทียมกัน ปัญหายาเสพติด ปัญหาการ ลักลอบค้าอาวุธสงคราม ผู้หญิงและเด็ก รวมไปถึงการก่อการร้ายข้ามชาติด้วย ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ประเทศในแต่ละภูมิภาคและอนุภูมิภาคต้องร่วมมือกัน จึงน่าจะเป็นประเด็นที่จะหยิบหยกขึ้นในการประชุมเอเปคซึ่งมีผู้นำกว่า 20 ประเทศเข้าร่วม เช่น จีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ปัญหาในประเทศใดประเทศหนึ่งได้แต่จำเป็นต้องร่วมมือกัน
5. ท่าทีไทยในองค์การค้าโลก (WTO) คือ เห็นด้วยที่จะมีการเจรจารอบใหม่ของ WTO ซึ่งระบุว่าจะต้องมีเรื่องการเสริมสร้างสมรรถภาพทรัพยากรมนุษย์ (human capacity building) เพราะไม่ใช่เรื่องการเปิดเสรีอย่างเดียว จะต้องมีเรื่องการสร้างความมั่นใจให้กับประเทศกำลังพัฒนา เช่น การทำให้กฎเกณฑ์ต่างๆ ใน WTO เป็นประชาธิปไตยและมีความชัดเจนมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอยู่ในหัวข้อการเจรจารอบใหม่มิเช่นนั้นแล้วประเทศกำลังพัฒนาก็จะไม่มีความสนใจเท่าที่ควร
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-