ปัจจุบันการส่งออกมีการแข่งขันสูงมาก ดังนั้น ผู้ส่งออกไม่เพียงแต่จะต้องควบคุมคุณภาพสินค้าให้ได้มาตราฐานและราคาถูก แต่ยังต้องคำนึงการหาตลาดส่งออกอีกด้วย ตลาดส่งออกหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศสและฮ่องกงเป็นตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ส่งออกรายไม่สามารถเจาะตลาดในประเทศดังกล่าวได้ ผู้ส่งออกหลานรายจึงได้มองหาตลาดใหม่ๆ ซึ่งอินเดียและเนปาลเป็นประเทศที่ผู้ส่งออกให้ความสนใจที่จะขยายตลาดให้มากขึ้นเพราะประเทศทั้งสองมีจุดเด่นและลู่ทางรวมทั้งความเสี่ยงในการส่งออกดังนี้
ประเทศอินเดีย
อินเดียจัดเป็นประเทศใหญ่อันดับเจ็ดของโลก มีประชากรมากกว่า 960 ล้านคน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางการเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ปี 1991 รัฐบาลอินเดียได้ออกนโยบายใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศโดยผ่อนคลายกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นและเศรษฐกิจมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเห็นได้จาก GDP ในปี 1998-1999 เท่ากับ 5.8% ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อน ๆ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาอินเดียประกาศลดข้อกีดกันการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 1,400 รายการซึ่งประกอบด้วยสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสินค้าบริโภคต่าง ๆ ผลจากการประกาศลดการกีดกันดังกล่าวทำให้ตลาดอินเดียมีความเป็นตลาดเสรีมากขึ้น เนื่องจากตลาดการค้าในอินเดียมีขนาดและแนวโน้มที่จะเติบโตมากกว่าเดิม จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติมาลงทุนเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันไทยส่งสินค้าออกไปยังอินเดียหลายประเภท อาทิ เม็ดพลาสติก น้ำตาลทราย สายไฟฟ้าเคเบิ้ล สิ่งทอ และเคมีภัฒฑ์ เป็นต้น สำหรับสินค้าที่ได้รับความสนใจจากชาวอินเย คือ เครื่องใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งผู้ส่งออกไทยสามารถส่งสินค้าหล้านี้เข้าไปเจาะตลาดได้
อินเดียไม่ใช่แหล่งตลาดสำหรับสินค้าเกษตร เนื่องจากอินเดีย สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้เพียงพอหรืออาจกล่าวได้ว่าเกินพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ถึงแม้จะประสบปัญหาขาดแคลนสินค้าเกษตรเนื่องจากประสบภัยธรรมชาติในบางครั้ง แต่ก็เป็นเพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น สำหรับสินค้าอีกประเภทที่ไม่เหมาะจะนำเข้าไปแข่งขันในอินเดีย คือ สินค้า อุตสาหกรรมด้าน IT (Information Technology) เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการผลิตสินค้า IT เป็นอย่างดีและได้มาตราฐานระดับสากล
วิธีการชำระเงินที่ควรใช้ในการค้าขายและเป็นที่นิยมของผู้ซื้อในอินเดียคือ Letter of Credit (L/C) หรือ Bank Draft ที่มีระยะเวลาการชำระเงิน 60-90 วัน ทั้งนี้ หากมีการค้าขายกับอินเดีย ผู้ส่งออกควรกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินให้ชัดเจนและติดตามให้มีการชำระเงินภายในกำหนดเวลา เพราะหากเกิดปัญหาเรื่องการชำระเงินจะติดตามหนี้ได้ยาก
แม้ว่าเศรษฐกิจโดยทั่วไปของอินเดียดูจะมีความชัดเจนในเรื่องการลงทุนและเป็นตลาดเสรีมากขึ้น หากแต่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นเสมือนตัวบั่นทอนระบบตลาดเสรีของอินเดียคือ กาดประท้วงนัดหยุดงานของพนักงานตามท่าเรือและคลังสินค้า รวมไปถึงระบบการขนส่งของรัฐบาลซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมากส่วนใหญ่มีสาเหตุมากจาการขอค่าแรงเพิ่มขึ้น และเป็นไปได้ว่าการนัดหยุดงานบ่อย ๆ เช่นนี้จะนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจของอินเดียหรือนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงภายในประเทศได้
ประเทศเนปาล
เนปาลเป็นประเทศเล็กๆ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย มีประชากรเพียง 22.7 ล้านคน สิ่งที่น่าสนใจของเนปาลคือเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางการส่งออกต่อ (Re-Export) ไปยังอินเดีย เนื่องจากการส่งสินค้าจากเนปาลไปอินเดียจะไม่เสียภาษีแต่อย่างใด
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา เนปาลได้นำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าหนักที่ส่งออกจากไทยไปเนปาล ได้แก่ ทอง เสื้อผ้า หมาก รองเท้า เครื่องจักร อุปกรณ์โทรคมนาคม เครื่องใช้ ไฟฟ้า อาหาร และยา เป็นต้น สำหรับวิธีการชำระเงินที่นิยมในเนปาลคือ Letter of Credit (L/C) หรือ Bank Draft
อย่างไรก็ดีเนปาลมีความเสี่ยงทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง สำหรับความเสี่ยงทางการการเมืองภายในประเทศนั้น รัฐบาลเนปาลกำลังเผชิญหน้ากับความรุนแรงจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อรัฐบาลได้ปล่อยนาย Dev Gurung ผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่ถูกจำคุกมาเป็นเวลา 3 ปี ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลได้รับความกดดันจากพรรคฝ่ายค้าส CPN-ML (Communist Party of Nepal-Marxist-Leninist) ซึ่งทำให้รัฐบาลเนปาลขาดเสถียรภาพ ส่วนความเสี่ยงทางการเมืองภายนอกประเทศนั้น เนปาลเผชิญกับความไม่พอใจจากประเทศเพื่อนบ้านสามประเทศ คือ อินเดีย จีน และปากีสถาน อินเดีย นั้นมีการกระกระทั่งกับเนปาลอยู่แล้ว และไม่พอใจมากขึ้นเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาเนื่องจากมีการจี้เครื่องบินสายการบินอินเดีย (Air India) ที่ออกจาก Kathmandu เมืองหลวงของเนปาล ซึ่งอินเดียมองว่าเกิดจากความหละหลวมของเจ้าหน้าที่เนปาล ส่วนจีนมีความไม่พอใจเนปาลเนื่องจากผู้นำทางศาสนาของทิเบตองค์หนึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศไปได้โดยใช้เนปาลเป็นทางผ่าน สำหรับปากีสถานนั้นมีปัญหาทางการฑูตกับเนปาลอยู่ ความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้อาจนำไปสู่สงครามการเมืองในเนปาล และ/หรือสงครามระหว่างเนปาลกับประเทศเพื่อนบ้านได้ในอนาคต
การบุกไปตลาดใหม่ๆ นั้นถึงแม้จะมีความเสียง แต่ผู้ส่งออกสามารถลดภาระความเสี่ยงดังกล่าวได้ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 6 ฉบับ 4 ประจำเดือน เมษายน 2543--
-ยก-
ประเทศอินเดีย
อินเดียจัดเป็นประเทศใหญ่อันดับเจ็ดของโลก มีประชากรมากกว่า 960 ล้านคน ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางการเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ปี 1991 รัฐบาลอินเดียได้ออกนโยบายใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการลงทุนและการค้าระหว่างประเทศโดยผ่อนคลายกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งผลให้มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นและเศรษฐกิจมีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเห็นได้จาก GDP ในปี 1998-1999 เท่ากับ 5.8% ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อน ๆ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาอินเดียประกาศลดข้อกีดกันการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 1,400 รายการซึ่งประกอบด้วยสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสินค้าบริโภคต่าง ๆ ผลจากการประกาศลดการกีดกันดังกล่าวทำให้ตลาดอินเดียมีความเป็นตลาดเสรีมากขึ้น เนื่องจากตลาดการค้าในอินเดียมีขนาดและแนวโน้มที่จะเติบโตมากกว่าเดิม จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติมาลงทุนเป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันไทยส่งสินค้าออกไปยังอินเดียหลายประเภท อาทิ เม็ดพลาสติก น้ำตาลทราย สายไฟฟ้าเคเบิ้ล สิ่งทอ และเคมีภัฒฑ์ เป็นต้น สำหรับสินค้าที่ได้รับความสนใจจากชาวอินเย คือ เครื่องใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งผู้ส่งออกไทยสามารถส่งสินค้าหล้านี้เข้าไปเจาะตลาดได้
อินเดียไม่ใช่แหล่งตลาดสำหรับสินค้าเกษตร เนื่องจากอินเดีย สามารถผลิตสินค้าเกษตรได้เพียงพอหรืออาจกล่าวได้ว่าเกินพอต่อการบริโภคภายในประเทศ ถึงแม้จะประสบปัญหาขาดแคลนสินค้าเกษตรเนื่องจากประสบภัยธรรมชาติในบางครั้ง แต่ก็เป็นเพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น สำหรับสินค้าอีกประเภทที่ไม่เหมาะจะนำเข้าไปแข่งขันในอินเดีย คือ สินค้า อุตสาหกรรมด้าน IT (Information Technology) เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการผลิตสินค้า IT เป็นอย่างดีและได้มาตราฐานระดับสากล
วิธีการชำระเงินที่ควรใช้ในการค้าขายและเป็นที่นิยมของผู้ซื้อในอินเดียคือ Letter of Credit (L/C) หรือ Bank Draft ที่มีระยะเวลาการชำระเงิน 60-90 วัน ทั้งนี้ หากมีการค้าขายกับอินเดีย ผู้ส่งออกควรกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินให้ชัดเจนและติดตามให้มีการชำระเงินภายในกำหนดเวลา เพราะหากเกิดปัญหาเรื่องการชำระเงินจะติดตามหนี้ได้ยาก
แม้ว่าเศรษฐกิจโดยทั่วไปของอินเดียดูจะมีความชัดเจนในเรื่องการลงทุนและเป็นตลาดเสรีมากขึ้น หากแต่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นเสมือนตัวบั่นทอนระบบตลาดเสรีของอินเดียคือ กาดประท้วงนัดหยุดงานของพนักงานตามท่าเรือและคลังสินค้า รวมไปถึงระบบการขนส่งของรัฐบาลซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมากส่วนใหญ่มีสาเหตุมากจาการขอค่าแรงเพิ่มขึ้น และเป็นไปได้ว่าการนัดหยุดงานบ่อย ๆ เช่นนี้จะนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจของอินเดียหรือนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรงภายในประเทศได้
ประเทศเนปาล
เนปาลเป็นประเทศเล็กๆ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย มีประชากรเพียง 22.7 ล้านคน สิ่งที่น่าสนใจของเนปาลคือเป็นประเทศที่เป็นศูนย์กลางการส่งออกต่อ (Re-Export) ไปยังอินเดีย เนื่องจากการส่งสินค้าจากเนปาลไปอินเดียจะไม่เสียภาษีแต่อย่างใด
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา เนปาลได้นำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าหนักที่ส่งออกจากไทยไปเนปาล ได้แก่ ทอง เสื้อผ้า หมาก รองเท้า เครื่องจักร อุปกรณ์โทรคมนาคม เครื่องใช้ ไฟฟ้า อาหาร และยา เป็นต้น สำหรับวิธีการชำระเงินที่นิยมในเนปาลคือ Letter of Credit (L/C) หรือ Bank Draft
อย่างไรก็ดีเนปาลมีความเสี่ยงทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง สำหรับความเสี่ยงทางการการเมืองภายในประเทศนั้น รัฐบาลเนปาลกำลังเผชิญหน้ากับความรุนแรงจากกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อรัฐบาลได้ปล่อยนาย Dev Gurung ผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่ถูกจำคุกมาเป็นเวลา 3 ปี ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลได้รับความกดดันจากพรรคฝ่ายค้าส CPN-ML (Communist Party of Nepal-Marxist-Leninist) ซึ่งทำให้รัฐบาลเนปาลขาดเสถียรภาพ ส่วนความเสี่ยงทางการเมืองภายนอกประเทศนั้น เนปาลเผชิญกับความไม่พอใจจากประเทศเพื่อนบ้านสามประเทศ คือ อินเดีย จีน และปากีสถาน อินเดีย นั้นมีการกระกระทั่งกับเนปาลอยู่แล้ว และไม่พอใจมากขึ้นเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาเนื่องจากมีการจี้เครื่องบินสายการบินอินเดีย (Air India) ที่ออกจาก Kathmandu เมืองหลวงของเนปาล ซึ่งอินเดียมองว่าเกิดจากความหละหลวมของเจ้าหน้าที่เนปาล ส่วนจีนมีความไม่พอใจเนปาลเนื่องจากผู้นำทางศาสนาของทิเบตองค์หนึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศไปได้โดยใช้เนปาลเป็นทางผ่าน สำหรับปากีสถานนั้นมีปัญหาทางการฑูตกับเนปาลอยู่ ความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้อาจนำไปสู่สงครามการเมืองในเนปาล และ/หรือสงครามระหว่างเนปาลกับประเทศเพื่อนบ้านได้ในอนาคต
การบุกไปตลาดใหม่ๆ นั้นถึงแม้จะมีความเสียง แต่ผู้ส่งออกสามารถลดภาระความเสี่ยงดังกล่าวได้ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายรับประกันการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 6 ฉบับ 4 ประจำเดือน เมษายน 2543--
-ยก-