กรุงเทพฯ--19 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2544) U Hla Maung เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศได้ เข้าพบ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่ออำลาในโอกาสที่พ้นจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยในเดือนภุมภาพันธ์ ศกนี้
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายประดาบ พิบูลสงคราม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนภายหลังการพบปะดังกล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวขอบคุณเอกอัคร - ราชทูตฯ ที่ได้ให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทยด้วยดีตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และได้ย้ำว่า ความสัมพันธ์ไทย-พม่าในภาพรวมนั้น มีหลายมิติ และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้นจึงควรป้องกันมิให้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบานปลายออกไป และขอความร่วมมือจากเอกอัครราชทูตฯ ในการผลักดันให้ รัฐบาลพม่าเปิดการเจรจาในกรอบของคณะกรรมการชายแดนในส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee) รวมทั้งการปักปันชายแดนโดยเร็ว ทั้งนี้ ทั้งสองต่างเห็นพ้องกันว่า ในความเป็นจริงแล้วความสัมพันธ์ไทย-พม่า ราบรื่นมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงช่วงที่มีการยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าในประเทศไทย
U Hla Maung ได้แสดงความเห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าวข้างต้น พร้อมกับแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์บริเวณชายแดนไทย-พม่าที่เกิดขึ้น เนื่องจากฝ่ายพม่ามิได้ตั้งใจที่จะให้เกิดการสู้รบระหว่างทหารไทยและพม่า โดยในขณะนี้ฝ่ายพม่ากำลังพยายามแก้ไขปัญหาภายในอยู่ อนึ่ง ในโอกาสเดียวกันนี้ U Hla Maung ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนผ่านล่ามว่า "ในขณะนี้พม่ากำลังปรามปรามกบฎกลุ่มต่างๆ อยู่ ซึ่งการปรามปรามในครั้งนี้ไม่ต้องการให้กระทบเพื่อนบ้าน แต่บางครั้งกระสุนอาจไปตกในฝั่งไทย ซึ่งพม่าเองมิได้ตั้งใจรุกล้ำอธิปไตยของไทยแต่ อย่างใด…"
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (16 กุมภาพันธ์ 2544) U Hla Maung เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศได้ เข้าพบ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่ออำลาในโอกาสที่พ้นจากตำแหน่งเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยในเดือนภุมภาพันธ์ ศกนี้
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายประดาบ พิบูลสงคราม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนภายหลังการพบปะดังกล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการฯ ได้กล่าวขอบคุณเอกอัคร - ราชทูตฯ ที่ได้ให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทยด้วยดีตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และได้ย้ำว่า ความสัมพันธ์ไทย-พม่าในภาพรวมนั้น มีหลายมิติ และมีผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้นจึงควรป้องกันมิให้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบานปลายออกไป และขอความร่วมมือจากเอกอัครราชทูตฯ ในการผลักดันให้ รัฐบาลพม่าเปิดการเจรจาในกรอบของคณะกรรมการชายแดนในส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee) รวมทั้งการปักปันชายแดนโดยเร็ว ทั้งนี้ ทั้งสองต่างเห็นพ้องกันว่า ในความเป็นจริงแล้วความสัมพันธ์ไทย-พม่า ราบรื่นมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงช่วงที่มีการยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าในประเทศไทย
U Hla Maung ได้แสดงความเห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าวข้างต้น พร้อมกับแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์บริเวณชายแดนไทย-พม่าที่เกิดขึ้น เนื่องจากฝ่ายพม่ามิได้ตั้งใจที่จะให้เกิดการสู้รบระหว่างทหารไทยและพม่า โดยในขณะนี้ฝ่ายพม่ากำลังพยายามแก้ไขปัญหาภายในอยู่ อนึ่ง ในโอกาสเดียวกันนี้ U Hla Maung ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนผ่านล่ามว่า "ในขณะนี้พม่ากำลังปรามปรามกบฎกลุ่มต่างๆ อยู่ ซึ่งการปรามปรามในครั้งนี้ไม่ต้องการให้กระทบเพื่อนบ้าน แต่บางครั้งกระสุนอาจไปตกในฝั่งไทย ซึ่งพม่าเองมิได้ตั้งใจรุกล้ำอธิปไตยของไทยแต่ อย่างใด…"
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-