สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงโตเกียว รายงานว่า ญี่ปุ่นได้ออกกฎหมาย Home Appliances Recycling
Law ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป โดยสินค้าที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายฉบับนี้มี
4 ประเภทคือ ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต (manufacturers) ร้าน
ค้าปลีก (retailers) และผู้บริโภค (consumers) ต่างมีภาระหน้าที่ร่วมกันในการจัดการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทิ้งแล้ว ไป
แยกชิ้นส่วนเพื่อนำอุปกรณ์ที่สามารถจะ recycle ได้ให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก โดยแบ่งหน้าที่กันดังนี้
บริษัทผู้ผลิต มีหน้าที่ทำการแยกองค์ประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากกันและแยกชิ้นส่วน (parts) กับวัสดุ (materials)
ซึ่งสามารถ recycle ได้ออกมาเพื่อนำไปใช้ใหม่
ร้านค้าปลีก มีหน้าที่เป็นผู้รับของคืนจากผู้บริโภคและส่งให้โรงงานผู้ผลิตนำไปแยกชิ้นส่วน
ผู้บริโภค มีหน้าที่แบกภาระค่าใช้จ่ายในการนำของไป recycle ทั้งนี้แม้กฎหมายอนุญาตให้
ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคได้ตามความเหมาะสม แต่ผู้ผลิตรายใหญ่ต่างก็กำหนดราคาไว้ในระดับเดียว
กันคือ 2,700 เยน ในการนำโทรทัศน์ไป recycle และ 3,500 เยน 2,400 เยน 4,600 เยน สำหรับเครื่องปรับอากาศ
เครื่องซักผ้า และตู้เย็นตามลำดับ โดยราคาที่ตั้งไว้นี้ยังไม่รวมค่าขนส่งที่ผู้ผลิตจะคิดเพิ่มจากผู้บริโภคซึ่งคำนวณตามระยะทางจาก
บ้านไปถึงโรงงาน recycle ของผู้ผลิต
การออกกฎหมาย Home Appliances Recycling Law ของญี่ปุ่น เป็นมาตรการชนิดเดียวกันกับมาตรการว่าด้วยเศษเหลือทิ้ง
ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ Waste Electrical and Electronic Equipment(WEEE) ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
ที่จะมีการใช้มาตรการดังกล่าวในปี 2006
มูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่น (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ส่วนแบ่งตลาดของไทย
ประเภทสินค้า 1998 1999 2000 2001 2000
(ม.ค.-มี.ค.)
ตู้เย็น 107.34 134.94 171.16 56.64 36.50%
โทรทัศน์ 197.56 227.86 221.74 60.94 12.30%
เครื่องซักผ้า 26.1 28.16 27.25 9.11 21.75%
เครื่องปรับอากาศ 49.6 73.16 79.11 38.16 24.41%
ญี่ปุ่นเป็นตลาดสำคัญอันดับ 1 ของไทยในการส่งออกสินค้าประเภท ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ โดยในปี
2000 การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวของไทยไปญี่ปุ่นมีมูลค่า 470.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของ
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้ง 4 ชนิดไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่นก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ดังจะเห็นได้จากปริมาณการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 1998 — ปี 2000 โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญของญี่ปุ่นแยกตาม
ประเภทของสินค้า คือ
1. ตู้เย็น ไทย (36.5%) จีน (19.1%) สหรัฐอเมริกา (13.3%)
2. โทรทัศน์ มาเลเซีย (39.7%) จีน (23.9%) ไทย (12.3%)
3. เครื่องซักผ้า จีน (32.7%) เกาหลีใต้ (25.96%) ไทย (21.75%)
4. เครื่องปรับอากาศ จีน (28.94%) ไทย (24.4%) สหรัฐอเมริกา (20.4%)
การออกกฎหมาย Home Appliances Recycling ของญี่ปุ่นนี้ ยังอยู่ในระยะแรกซึ่งยังไม่เห็นผลกระทบได้ชัดเจน
แต่ในระยะต่อไปคาดว่า น่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าของไทย โดยผู้ผลิตของไทยจะต้องรับภาระต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
ผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับแยกชิ้นส่วนสินค้าที่หมดอายุแล้วเศษเหลือ จะผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ผลิต
และส่งออกของไทยด้วย โดยอาจให้ผู้ผลิตไทยลดราคาสินค้าส่งออกลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้
การใช้กฎหมายดังกล่าวน่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของคนญี่ปุ่น (Consumer Behavior) จากเดิมที่ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใน
การทิ้งเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่การใช้กฎหมายฉบับนี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมดังกล่าว โดยการกำหนดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้บริโภคร่วม
รับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้การใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของคนญี่ปุ่นในยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะถดถอยต้องพิจารณาด้วยความประหยัด
และรอบคอบ อันจะมีผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในที่สุด (Product Life Cycle) จึงเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออก
เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไทยต้องติดตามเพื่อเตรียมพร้อมในการปรับตัวต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มิถุนายน 2544--
-ปส-
Law ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป โดยสินค้าที่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายฉบับนี้มี
4 ประเภทคือ ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ โดยกฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต (manufacturers) ร้าน
ค้าปลีก (retailers) และผู้บริโภค (consumers) ต่างมีภาระหน้าที่ร่วมกันในการจัดการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทิ้งแล้ว ไป
แยกชิ้นส่วนเพื่อนำอุปกรณ์ที่สามารถจะ recycle ได้ให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก โดยแบ่งหน้าที่กันดังนี้
บริษัทผู้ผลิต มีหน้าที่ทำการแยกองค์ประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากกันและแยกชิ้นส่วน (parts) กับวัสดุ (materials)
ซึ่งสามารถ recycle ได้ออกมาเพื่อนำไปใช้ใหม่
ร้านค้าปลีก มีหน้าที่เป็นผู้รับของคืนจากผู้บริโภคและส่งให้โรงงานผู้ผลิตนำไปแยกชิ้นส่วน
ผู้บริโภค มีหน้าที่แบกภาระค่าใช้จ่ายในการนำของไป recycle ทั้งนี้แม้กฎหมายอนุญาตให้
ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคได้ตามความเหมาะสม แต่ผู้ผลิตรายใหญ่ต่างก็กำหนดราคาไว้ในระดับเดียว
กันคือ 2,700 เยน ในการนำโทรทัศน์ไป recycle และ 3,500 เยน 2,400 เยน 4,600 เยน สำหรับเครื่องปรับอากาศ
เครื่องซักผ้า และตู้เย็นตามลำดับ โดยราคาที่ตั้งไว้นี้ยังไม่รวมค่าขนส่งที่ผู้ผลิตจะคิดเพิ่มจากผู้บริโภคซึ่งคำนวณตามระยะทางจาก
บ้านไปถึงโรงงาน recycle ของผู้ผลิต
การออกกฎหมาย Home Appliances Recycling Law ของญี่ปุ่น เป็นมาตรการชนิดเดียวกันกับมาตรการว่าด้วยเศษเหลือทิ้ง
ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ Waste Electrical and Electronic Equipment(WEEE) ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป
ที่จะมีการใช้มาตรการดังกล่าวในปี 2006
มูลค่าการนำเข้าของญี่ปุ่น (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ส่วนแบ่งตลาดของไทย
ประเภทสินค้า 1998 1999 2000 2001 2000
(ม.ค.-มี.ค.)
ตู้เย็น 107.34 134.94 171.16 56.64 36.50%
โทรทัศน์ 197.56 227.86 221.74 60.94 12.30%
เครื่องซักผ้า 26.1 28.16 27.25 9.11 21.75%
เครื่องปรับอากาศ 49.6 73.16 79.11 38.16 24.41%
ญี่ปุ่นเป็นตลาดสำคัญอันดับ 1 ของไทยในการส่งออกสินค้าประเภท ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ โดยในปี
2000 การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวของไทยไปญี่ปุ่นมีมูลค่า 470.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของ
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้ง 4 ชนิดไปทั่วโลก ในขณะเดียวกันตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่นก็มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ดังจะเห็นได้จากปริมาณการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 1998 — ปี 2000 โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญของญี่ปุ่นแยกตาม
ประเภทของสินค้า คือ
1. ตู้เย็น ไทย (36.5%) จีน (19.1%) สหรัฐอเมริกา (13.3%)
2. โทรทัศน์ มาเลเซีย (39.7%) จีน (23.9%) ไทย (12.3%)
3. เครื่องซักผ้า จีน (32.7%) เกาหลีใต้ (25.96%) ไทย (21.75%)
4. เครื่องปรับอากาศ จีน (28.94%) ไทย (24.4%) สหรัฐอเมริกา (20.4%)
การออกกฎหมาย Home Appliances Recycling ของญี่ปุ่นนี้ ยังอยู่ในระยะแรกซึ่งยังไม่เห็นผลกระทบได้ชัดเจน
แต่ในระยะต่อไปคาดว่า น่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตสินค้าของไทย โดยผู้ผลิตของไทยจะต้องรับภาระต้นทุนสินค้าเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
ผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับแยกชิ้นส่วนสินค้าที่หมดอายุแล้วเศษเหลือ จะผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ผลิต
และส่งออกของไทยด้วย โดยอาจให้ผู้ผลิตไทยลดราคาสินค้าส่งออกลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้
การใช้กฎหมายดังกล่าวน่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของคนญี่ปุ่น (Consumer Behavior) จากเดิมที่ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใน
การทิ้งเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่การใช้กฎหมายฉบับนี้จะมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมดังกล่าว โดยการกำหนดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้บริโภคร่วม
รับผิดชอบ ซึ่งจะทำให้การใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของคนญี่ปุ่นในยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะถดถอยต้องพิจารณาด้วยความประหยัด
และรอบคอบ อันจะมีผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในที่สุด (Product Life Cycle) จึงเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออก
เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไทยต้องติดตามเพื่อเตรียมพร้อมในการปรับตัวต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มิถุนายน 2544--
-ปส-