กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (22 พฤษภาคม 2544) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนภายหลังการเข้าเยี่ยมคารวะของ นาย Joen Kristensen, CEO, Mekong River Commission สรุปได้ดังนี้
1. นาย Krietensen ขอให้ประเทศไทยช่วยสนับสนุนการจัดประชุม เกี่ยวกับเรื่อง Meekong River Commission ในปีนี้ ซึ่งฝ่ายไทยรับที่จะให้การสนับสนุน และเห็นว่าควรมีการประสานงานระหว่างโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง อาทิ โครงการ GMS (Greater Mekong sub-region) โครงการของอาเซียนในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง และ Mekong River Commission (MRC) และเนื่องจากแม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศ ฝ่ายไทยจึงได้เสนอให้เชิญจีนและพม่าเข้าเป็นสมาชิก MRC ด้วย
2. นาย Kristensen ได้แสดงความห่วงใยเรื่องการใช้น้ำในแม่น้ำโขงของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่กับกับแม่น้ำโขง เพราะประเทศที่อยู่ทางตอนบนของแม่นำโขงมิได้คำนึงถึงประเทศที่อยู่ตอนล่าง และต้องการให้ประเทศไทยเป็นตัวกลางประสานความเข้าใจในเรื่องนี้ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นพ้องว่าเรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาที่ควรจะต้องมีการหารือระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (22 พฤษภาคม 2544) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนภายหลังการเข้าเยี่ยมคารวะของ นาย Joen Kristensen, CEO, Mekong River Commission สรุปได้ดังนี้
1. นาย Krietensen ขอให้ประเทศไทยช่วยสนับสนุนการจัดประชุม เกี่ยวกับเรื่อง Meekong River Commission ในปีนี้ ซึ่งฝ่ายไทยรับที่จะให้การสนับสนุน และเห็นว่าควรมีการประสานงานระหว่างโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง อาทิ โครงการ GMS (Greater Mekong sub-region) โครงการของอาเซียนในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง และ Mekong River Commission (MRC) และเนื่องจากแม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศ ฝ่ายไทยจึงได้เสนอให้เชิญจีนและพม่าเข้าเป็นสมาชิก MRC ด้วย
2. นาย Kristensen ได้แสดงความห่วงใยเรื่องการใช้น้ำในแม่น้ำโขงของประเทศต่าง ๆ ที่อยู่กับกับแม่น้ำโขง เพราะประเทศที่อยู่ทางตอนบนของแม่นำโขงมิได้คำนึงถึงประเทศที่อยู่ตอนล่าง และต้องการให้ประเทศไทยเป็นตัวกลางประสานความเข้าใจในเรื่องนี้ ซึ่งฝ่ายไทยเห็นพ้องว่าเรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาที่ควรจะต้องมีการหารือระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-