แท็ก
ภาวะเศรษฐกิจไทย
ส่วนที่ 1 : สรุปภาวะเศรษฐกิจ
บทสรุปผู้บริหาร
ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2543 และแนวโน้มปี 2544
เศรษฐกิจไทยปี 2543 ยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัว คาดว่าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 4.0-4.5 ซึ่งไม่แตกต่างจากปี 2542 มากนัก โดยการขยายตัวชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี ตามการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนรวม ขณะที่ภาครัฐระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เพราะต้องการควบคุมการก่อหนี้ภาครัฐไม่ให้สูงเกินไป อุปสงค์ภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จึงขยายตัวไม่สูง สำหรับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีต่อๆ ไปคาดว่าจะยังคงใกล้เคียงกับ ปี 2543
การผลิตขยายตัวในอัตราคงที่ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างมาก ในช่วงต้นปีเริ่มชะลอลง เนื่องจากมูลค่าสินค้าออก เริ่มทรงตัว โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 19.6 คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 67.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเฉลี่ยเดือนละ 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในจำนวนนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 85 ของมูลค่าการส่งออกรวม ดังนั้น การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในระยะต่อไปจึงอาจถูกจำกัดบทบาทลง หมวดสินค้าที่การผลิตขยายตัวดียังคงเป็นสินค้าในกลุ่มเดียวกับปีก่อน ได้แก่ หมวดยานยนต์ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า และหมวดเครื่องประดับ เป็นต้น
ความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้นค่อนข้างช้า คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0-5.0 โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0-4.5 โดยมีแนวโน้มทรงตัวในช่วงครึ่งหลังของปี สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ทรงตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.0-15.0 โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีมีแนวโน้มชะลอลง ตามการชะลอตัวของการนำเข้าสินค้าทุน
รัฐบาลลดบทบาทอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ การขาดดุลงบประมาณลดลง โดยในปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลขาดดุล เงินสด 115.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และในปีงบประมาณ 2544 ได้กำหนดให้งบประมาณขาดดุล 105 พันล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 748.1 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากปีงบประมาณก่อน รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ รายได้จากอากรนำเข้า ด้านรายจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 850.6 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 สาเหตุส่วนหนึ่งที่รัฐบาลต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมาจากหนี้ภาครัฐบาลที่เพิ่มขึ้นมาก ณ สิ้นเดือนกันยายน หนี้ภาครัฐ (รวมรัฐวิสาหกิจ) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดุลการค้าเกินดุลลดลง เมื่อเทียบกับปีก่อน การส่งออกขยายตัวในอัตราร้อยละ 19.6 ขณะที่ การนำเข้าขยายตัวในอัตราร้อยละ 31.3 หมวดสินค้าที่ส่งออกได้ดียังคงเป็นสินค้าหมวดคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ วงจรรวม และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการส่งออกสินค้าดังกล่าว มีทิศทางชะลอลงตามความต้องการในตลาดโลกที่ลดลง ส่วนการนำเข้าเร่งตัวขึ้นมาก แม้ว่าจะมีการชะลอลงบ้างในช่วงสิ้นปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
ดุลการชำระเงินเปลี่ยนเป็นขาดดุลจากที่เคยเกินดุล โดยขาดดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าการชำระคืนเงินกู้ของภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยกว่าปีก่อน ทำให้รายรับในรูปเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าความต้องการชำระหนี้ต่างประเทศ ส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 2543 มีจำนวน 32.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 6.3 เดือนของมูลค่าสินค้าเข้า
หนี้ต่างประเทศลดลงต่อเนื่องและปรับเป็นหนี้ระยะยาวมากขึ้น ภาคเอกชนมีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายนลดลงเหลือ 47.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 58 ของหนี้ต่างประเทศรวม ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระเงินกู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวน 193 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีนี้ ส่งผลให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศรวมลดลงเหลือ 81.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สภาพคล่องตลาดการเงินยังอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดสินเชื่อยังคงตัวในระดับต่ำ ณ สิ้นปี 2543 อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4แห่ง เท่ากับร้อยละ 7.75 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเท่ากับร้อยละ 3.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไม่มีผลต่อความต้องการสินเชื่อโดยรวมมากนัก เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัว ทางเศรษฐกิจยังไม่สูงทำให้ความต้องการสินเชื่อ ไม่มาก ประกอบกับธุรกิจบางแห่ง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่สามารถระดมทุนโดยตรงในประเทศ ณ สิ้นปี 2543 ยอดสินเชื่อคงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมการตัดหนี้สูญและการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ขยายตัวร้อยละ 0.6 และภาคเอกชนที่มิใช่สถาบันการเงินมีการออกตราสารหนี้ทั้งสิ้น 97.9 พันล้านบาท ขณะที่ยอดเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 5.3
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบสถาบันการเงินลดลงมากจากการโอนสินทรัพย์ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีมูลค่าเท่ากับ 1,113 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22.7 ของยอดสินเชื่อรวมโดยลดลง 981.41 พันล้านบาทจากสิ้นปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด แม้ว่าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีแต่ ไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้ามากนัก เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของดัชนีราคาผู้บริโภคยังลดลง เป็นที่น่าสังเกตว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคมีแนวโน้มชะลอลง ในช่วงไตรมาสที่สี่และตลอดปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้พิจารณาดำเนินนโยบายการเงิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เพราะความต้องการภายในประเทศยังมีไม่มาก
อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนลงช่วงสิ้นปี ในช่วงครึ่งปีแรก อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเท่ากับ 38.16 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ช่วงครึ่งหลังของปีเฉลี่ยเท่ากับ 42.17 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค และความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2544
เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.0-4.5 ปัจจัยสำคัญคือเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง อีกทั้งการดำเนินนโยบายของรัฐบาลยังจะคงไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในช่วงแรกของปี
การส่งออกมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลง การส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0-11.0 สำหรับการนำเข้าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.0-17.0 อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล
งบประมาณคาดว่าจะขาดดุลในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
ดัชนีราคาขั้นพื้นฐานยังคงเพิ่มขึ้นต่ำกว่าเป้าหมาย โดยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5-2.5 และภาวะการเงินยังคงมีสภาพคล่องอยู่
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
บทสรุปผู้บริหาร
ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2543 และแนวโน้มปี 2544
เศรษฐกิจไทยปี 2543 ยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัว คาดว่าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 4.0-4.5 ซึ่งไม่แตกต่างจากปี 2542 มากนัก โดยการขยายตัวชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี ตามการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนรวม ขณะที่ภาครัฐระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เพราะต้องการควบคุมการก่อหนี้ภาครัฐไม่ให้สูงเกินไป อุปสงค์ภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จึงขยายตัวไม่สูง สำหรับอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีต่อๆ ไปคาดว่าจะยังคงใกล้เคียงกับ ปี 2543
การผลิตขยายตัวในอัตราคงที่ ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวอย่างมาก ในช่วงต้นปีเริ่มชะลอลง เนื่องจากมูลค่าสินค้าออก เริ่มทรงตัว โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 19.6 คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 67.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเฉลี่ยเดือนละ 5.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในจำนวนนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 85 ของมูลค่าการส่งออกรวม ดังนั้น การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในระยะต่อไปจึงอาจถูกจำกัดบทบาทลง หมวดสินค้าที่การผลิตขยายตัวดียังคงเป็นสินค้าในกลุ่มเดียวกับปีก่อน ได้แก่ หมวดยานยนต์ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า และหมวดเครื่องประดับ เป็นต้น
ความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้นค่อนข้างช้า คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0-5.0 โดยการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0-4.5 โดยมีแนวโน้มทรงตัวในช่วงครึ่งหลังของปี สอดคล้องกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ทรงตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 12.0-15.0 โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีมีแนวโน้มชะลอลง ตามการชะลอตัวของการนำเข้าสินค้าทุน
รัฐบาลลดบทบาทอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ การขาดดุลงบประมาณลดลง โดยในปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลขาดดุล เงินสด 115.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และในปีงบประมาณ 2544 ได้กำหนดให้งบประมาณขาดดุล 105 พันล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 748.1 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากปีงบประมาณก่อน รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ รายได้จากอากรนำเข้า ด้านรายจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 850.6 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 สาเหตุส่วนหนึ่งที่รัฐบาลต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมาจากหนี้ภาครัฐบาลที่เพิ่มขึ้นมาก ณ สิ้นเดือนกันยายน หนี้ภาครัฐ (รวมรัฐวิสาหกิจ) มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดุลการค้าเกินดุลลดลง เมื่อเทียบกับปีก่อน การส่งออกขยายตัวในอัตราร้อยละ 19.6 ขณะที่ การนำเข้าขยายตัวในอัตราร้อยละ 31.3 หมวดสินค้าที่ส่งออกได้ดียังคงเป็นสินค้าหมวดคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ วงจรรวม และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการส่งออกสินค้าดังกล่าว มีทิศทางชะลอลงตามความต้องการในตลาดโลกที่ลดลง ส่วนการนำเข้าเร่งตัวขึ้นมาก แม้ว่าจะมีการชะลอลงบ้างในช่วงสิ้นปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
ดุลการชำระเงินเปลี่ยนเป็นขาดดุลจากที่เคยเกินดุล โดยขาดดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าการชำระคืนเงินกู้ของภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง แต่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลน้อยกว่าปีก่อน ทำให้รายรับในรูปเงินตราต่างประเทศน้อยกว่าความต้องการชำระหนี้ต่างประเทศ ส่วนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 2543 มีจำนวน 32.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบเท่า 6.3 เดือนของมูลค่าสินค้าเข้า
หนี้ต่างประเทศลดลงต่อเนื่องและปรับเป็นหนี้ระยะยาวมากขึ้น ภาคเอกชนมีการชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายนลดลงเหลือ 47.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 58 ของหนี้ต่างประเทศรวม ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระเงินกู้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวน 193 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีนี้ ส่งผลให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศรวมลดลงเหลือ 81.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สภาพคล่องตลาดการเงินยังอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดสินเชื่อยังคงตัวในระดับต่ำ ณ สิ้นปี 2543 อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4แห่ง เท่ากับร้อยละ 7.75 ต่อปีและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเท่ากับร้อยละ 3.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไม่มีผลต่อความต้องการสินเชื่อโดยรวมมากนัก เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัว ทางเศรษฐกิจยังไม่สูงทำให้ความต้องการสินเชื่อ ไม่มาก ประกอบกับธุรกิจบางแห่ง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่สามารถระดมทุนโดยตรงในประเทศ ณ สิ้นปี 2543 ยอดสินเชื่อคงค้างในระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมการตัดหนี้สูญและการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ขยายตัวร้อยละ 0.6 และภาคเอกชนที่มิใช่สถาบันการเงินมีการออกตราสารหนี้ทั้งสิ้น 97.9 พันล้านบาท ขณะที่ยอดเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 5.3
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบสถาบันการเงินลดลงมากจากการโอนสินทรัพย์ไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีมูลค่าเท่ากับ 1,113 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 22.7 ของยอดสินเชื่อรวมโดยลดลง 981.41 พันล้านบาทจากสิ้นปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด แม้ว่าราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีแต่ ไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้ามากนัก เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของดัชนีราคาผู้บริโภคยังลดลง เป็นที่น่าสังเกตว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคมีแนวโน้มชะลอลง ในช่วงไตรมาสที่สี่และตลอดปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้พิจารณาดำเนินนโยบายการเงิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เพราะความต้องการภายในประเทศยังมีไม่มาก
อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนลงช่วงสิ้นปี ในช่วงครึ่งปีแรก อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเท่ากับ 38.16 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ช่วงครึ่งหลังของปีเฉลี่ยเท่ากับ 42.17 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค และความไม่แน่นอนทางการเมืองภายในประเทศ
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2544
เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.0-4.5 ปัจจัยสำคัญคือเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง อีกทั้งการดำเนินนโยบายของรัฐบาลยังจะคงไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในช่วงแรกของปี
การส่งออกมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลง การส่งออกในรูปดอลลาร์ สรอ. ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0-11.0 สำหรับการนำเข้าจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.0-17.0 อย่างไรก็ตาม ในปี 2544 ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล
งบประมาณคาดว่าจะขาดดุลในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
ดัชนีราคาขั้นพื้นฐานยังคงเพิ่มขึ้นต่ำกว่าเป้าหมาย โดยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5-2.5 และภาวะการเงินยังคงมีสภาพคล่องอยู่
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-