สภาวะเศรษฐกิจ
ในภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543 มิได้เติบโตอย่างเต็มที่เท่าที่ควร ถึงแม้ตัวเลขผลผลิตมวลรวมประชาชาติจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขเดียวกันของปี 2542 มาก (ร้อยละ 1.2) นอกจากนี้ ตัวเลขมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติในปี 2543 ก็ได้ชะลอตัวลงจากปี 2542 อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจมหภาพของแอฟริกาใต้ได้รับผลกระทบไม่รุนแรงมากจากการเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันครั้งใหม่ลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543
การที่ผู้บริโภคขาดความมั่นใจต่อระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศซึ่งนำไปสู่การชะลอการใช้จ่ายและแทนที่ด้วยการเพิ่มระดับเงินออมภายในครอบครัว ดังเห็นได้จากการที่อัตราค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือนของประชาชนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 ได้ลดลงจากตัวเลขเดียวกันของไตรมาสที่ 1 ในปีเดียวกัน ซึ่งอยู่ ณ ระดับร้อยละ 3.4 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 โดยที่ประเด็นดังกล่าวมีผลจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2543 ได้แก่ การตกต่ำของผลิตผลทางการเกษตรที่สืบเนื่องจากการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 การขาดความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและผู้บริโภคซึ่งทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่สูงเท่าที่ควรในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 การที่ค่าเงินแรนด์อ่อนตัวลงมากโดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2543 (อัตราการอ่อนตัวของค่าเงินแรนด์ต่อเงินเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 9.9 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ในขณะที่อัตราการอ่อนตัวของค่าเงินแรนด์ต่อเงินเหรียญสหรัฐฯ ตลอดปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 19.3) และผลจากสถานการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่องในสาธารณรัฐซิมบับเวตั้งแต่ช่วงต้นปี 2543 ซึ่งเป็นผลในทางลบต่อความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ทั้งระบบตั้งแต่ผู้บริโภค กลุ่มธุรกิจภายในประเทศ และพ่อค้านักลงทุนจากต่างประเทศ (ผู้ประกอบการแอฟริกาใต้จำนวนมากมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในสาธารณรัฐซิบบับเว อีกทั้งเหตุการณ์ในสาธารณรัฐซิมบับเวยังมีผลเชิงจิตวิทยาต่อคนผิวขาวซึ่งควบคุมเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันกับประชาคมคนผิวขาวในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้) นอกจากนี้ การเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันครั้งใหม่ก็ยังมีส่วนชะลอการใช้จ่ายภายในประเทศของประชาชนภายในประเทศซึ่งต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหาร การขนส่ง และการเดินทางที่เพิ่มขึ้นด้วย
การที่ตัวเลขผลผลิตมวลรวมประชาชาติไม่ตกต่ำมากถึงแม้อัตราการบริโภคจะลดต่ำลง ซึ่งเป็นผลจากการที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศทั้งในส่วนของสินค้าปฐมภูมิและทุติยภูมิโดยที่ปี 2543 นับเป็นปีแรกที่มูลค่าการส่งออกสินแร่แพลตตินัมของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้อยู่ในระดับเดียวกับทองคำซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลัก ยิ่งกว่านั้น สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก็ยังสามารถส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกประเภทรถยนต์และสิ่งทอได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย กอรปกับผู้ส่งออกแอฟริกาใต้ยังมีข้อได้เปรียบจากค่าเงินแรนด์ที่อ่อนตัวลง ในขณะเดียวกัน ตัวเลขการนำเข้าสินค้าของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก็กลับชะลอตัวลงโดยเฉพาะสินค้าในหมวดอาหาร ไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ กระดาษและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องประดับและเครื่องจักรกลต่าง ๆ
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้รับผลกระทบในระดับที่ไม่รุนแรงมากจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันครั้งใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นตลาดใหม่อื่น ๆ (Emerging Market Economies) ซึ่งเหตุผลประการสำคัญ คือ การที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีหน่วยงาน SASOL ที่สามารถผลิตน้ำมันจากถ่านหินได้ (Oil From Coal Processes) โดยที่ขีดความสามารถในการผลิตดังกล่าวเป็นผลพวงจากการป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากความเสียหายทางเศรษฐกิจอันสืบเนื่องจากวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งแรกซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลแอฟริกาใต้ถูกคว่ำบาตรจากประเทศส่วนใหญ่เพราะดำเนินนโยบายแบ่งแยกสีผิว อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการผลิตน้ำมันจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งผลิตภัณฑ์น้ำมันจากทั้งสองแหล่งนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของการบริโภคน้ำมันภายในประเทศ ยิ่งกว่านั้น ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ตัวเลขการนำเข้าสินค้าของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543 สูงขึ้นตามไปด้วย แต่ผลพวงจากตัวเลขการส่งออกของปี 2543 ก็สูงขึ้นเช่นกันและการที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีการส่งออกน้ำมันจากโรงกลั่นน้ำมันไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วยจำนวนหนึ่งก็สามารถชดเชยตัวเลขนำเข้าที่สูงขึ้นดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าถึงแม้เศรษฐกิจมหภาคของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จะมิได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่จากวิกฤตการณ์น้ำมัน แต่ในระดับจุลภาค ผลพวงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นก็กระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและไม่มีรายได้ประจำซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารและการเดินทางเพิ่มขึ้นข้อสังเกตทางเศรษฐกิจที่สำคัญบางประการในปี 2543
ตัวเลขดุลการชำระเงิน (Balance of Payments) ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543 อยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก อีกทั้งมีระดับเงินทุนสำรองต่างประเทศอยู่ในระดับที่สูง โดยตัวเลข ณ เดือนตุลาคม 2543 ระบุว่าสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีทองคำและเงินคงคลังอยู่ที่ระดับมูลค่า 56.8 พันล้านแรนด์0 หรือประมาณ 360 พันล้านบาท ซึ่งสามารถเป็นเงินสำรองสำหรับการนำเข้าสินค้าได้ในระยะ 3 เดือน 15 วัน
รัฐบาลแอฟริกาใต้ได้ให้ความสำคัญมากขึ้นกับการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่นและต่างชาติในการเสริมสร้างเสถียรภาพของตลาดแรงงานซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ใช้แรงงานได้อาศัยสหภาพแรงงานในการประท้วงหยุดทำงานทำให้ผู้ประกอบการเสียประโยชน์ทางธุรกิจรัฐบาลแอฟริกาใต้ได้เสนอปรับปรุงกฎหมายแรงงานหลายฉบับโดยให้ความสำคัญลำดับแรกกับการทำให้ตลาดแรงงานมีสภาพที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในเชิงธุรกิจยิ่งขึ้น จากสถิติเมื่อเดือน ก.ค. 2543 ปรากฎว่าภาคธุรกิจสูญเสียแรงงานเนื่องจากการประท้วงหยุดงานลดลงไปอยู่ที่ 320,000 ราย
จากตัวเลขในเดือนเดียวกันของปี 2542 ซึ่งอยู่ที่ 2.5 ล้านราย โดยสัดส่วนการหยุดงานเกิดขึ้นในภาครัฐมากกว่าภาคเอกชนโดยคิดเป็นร้อยละ 70 ต่อ 30
เป็นที่น่าสังเกตว่านักลงทุนยังคงมีความรู้สึกในทางลบต่อสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งส่งผลให้การไหลออกของทุนเพิ่มขึ้นในปี 2543 นอกจากนี้ ตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศก็ยังคงชะลอตัวอยู่ที่ระดับ 0.3 พันล้านแรนด์ หรือประมาณ 1.8 พันล้านบาท ความรู้สึกในทางลบที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากส่วนหนึ่งจะเป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันดังกล่าวข้างต้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งก็ยังเป็นผลในเชิงจิตวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีอัตราการเกิดอาชญากรรมค่อนข้างสูง อีกทั้งจากการที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีประวัติศาสตร์การปิดประเทศมาเป็นเวลานานมาก (เพิ่งเปิดประเทศเพียง 6 ปี) จึงทำให้ประชาชนแอฟริกาใต้บางกลุ่มยังไม่คุ้นเคยกับการปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติ หรือถึงระดับที่รู้สึกเกลียดกลัวคนต่างชาติ ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นจุดด้อยประการหนึ่งในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมเกี่ยวกับความน่าลงทุนของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้นั้น สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้รับการจัดระดับเฉลี่ยในระดับที่น่าพอใจจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่จัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถานะการเงินของประเทศต่าง ๆ โดยการพิจารณา ณ ปี ค.ศ. 2000 ปรากฏว่า
- Moody - Baa3 with a Stable Outlook
- Standard & Poor - BBB-with a Stable Outlook
- Fitch - BBB-with a Stable Outlook
ในรอบปี 2543 สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมที่สำคัญในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีทั้งภายในและระหว่างภูมิภาค ได้แก การบรรลุความตกลงว่าด้วยการค้าเสรีระหว่างสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กับสหภาพยุโรป หรือ EU-SA Free Trade Accord ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 และการบังคับใช้ความตกลงว่าด้วยการค้าในส่วนของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีของประชาคมเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Develop- ment Community - SADC) หรือ SADC Free Trade Area ทั้งนี้ การบรรจุความตกลงทั้งสองฉบับดังกล่าวถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาประกอบการภายในประเทศ โดยในขณะที่สินค้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ร้อยละ 95 ที่นำเข้าไปยังตลาดสหภาพยุโรปจะได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีขาเข้าภายในระยะเวลา 10 ปี จากวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ สินค้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จะมีโอกาสเข้าไปขายในตลาดของกลุ่มประเทศสมาชิก SADC อีก 13 ประเทศ ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 200 ล้านคน ในระดับอัตราภาษีขาเข้าร้อยละ 0 ภายในปี 2555
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543
ปริมาณการค้าโดยรวมของประเทศไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ล่าสุดระหว่างเดือนมกราคม - เดือนตุลาคม 2543 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 567,500,000 เหรียญสหรัฐฯ (567.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเดียวกันของปี 2542 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 361,600,000 เหรียญสหรัฐฯ (361.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยที่ประเทศไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าโดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังสาธารณรัฐแอฟริกาใต้อยู่ที่ระดับ 304,900,000 เหรียญสหรัฐฯ (304.9 ล้านเหรียญฯ) และมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้อยู่ที่ระดับ 262,600,000 เหรียญสหรัฐฯ (262.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สำหรับสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สินค้าหมวดรถยนต์ เครื่องยนต์ อะไรรถยนต์และอุปกรณ์ที่ใช้ในรถยนต์ต่าง ๆ 2) ข้าว 3) สินค้าหมวดยางพารา 4) Automatic Data Processing Machines and Parts 5) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอะไหล่ต่าง ๆ ส่วนสินค้าแอฟริกาใต้ที่นำเข้ามายังประเทศไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) เหล็ก 2) เศษโลหะต่าง ๆ 3) เครื่องประดับรวมทั้งเงินแท่งและทองคำ 4) เยื่อกระดาษและกระดาษที่ใช้แล้ว 5) น้ำมันดิบ ทั้งนี้มีข้อน่าสังเกตคือ ตัวเลขการส่งออกสินค้าหมวดรถยนต์ฯ ได้เลื่อนขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 1 แทนที่ข้าวซึ่งตกลงมาอยู่ในอันดับที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขเดียวกันของปี 2542 นอกจากนี้ ในส่วนของการนำเข้าสินค้าแอฟริกาใต้เข้าสู่ประเทศไทยถึงแม้ในภาพรวมจะยังคงเป็นโครงสร้างการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเช่นเดิม แต่ตัวเลขการนำเข้าสินค้าเครื่องประดับได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ในส่วนของการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ให้แน่นแฟ้นและขยายตัวยิ่งขึ้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปีที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของการนำนักธุรกิจและสื่อมวลชนไทยเดินทางไปสำรวจลู่ทางการค้าและการลงทุน
สำหรับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาหอการค้าฯ (นายวิเชียร เตชะไพบูลย์) ได้นำคณะนักธุรกิจเดินทางไปเยือนประเทศในกลุ่มแอฟริกา คือ สาธารณรัฐมอริเชียส, โมซัมบิก, มาดากัสการ์ และแอฟริกาใต้ ในช่วงระหว่างวันที่ 14-22 มีนาคม 2544 ที่ผ่านมา ซึ่งการเยือนในครั้งนี้ได้มีนักธุรกิจจากหลายสาขาอาชีพ เช่น อัญมณี, อาหาร, สิ่งทอ และก่อสร้าง ร่วมเดินทาง สำหรับวัตถุประสงค์ในการเยือนที่สำคัญ คือ เพื่อกระชับความสัมพันธไมตรีที่ดี รวมทั้งการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกัน นอกจากนี้ เพื่อสำรวจลู่ทางและศักยภาพในการขยายตลาดสินค้าไทย โดยเฉพาะ ข้าว, อาหาร, เสื้อผ้าสำเร็จรูป, สิ่งทอ, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ยานพาหนะ และเพื่อเสริมสร้างการลงทุนร่วมกันในด้านอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง และการท่องเที่ยว เป็นต้น
การเดินทางเยือนของคณะในครั้งนี้ได้พบปะกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งนัดหมายเจรจาธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจของประเทศที่เดินทางไปเยือน ซึ่งทำให้ไทยได้รับทราบกลยุทธ์ทางการค้า การลงทุนของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันมากขึ้นระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศที่ไปเยือน ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อถือในการทำธุรกิจระหว่างกันบนพื้นฐานความเชื่อมั่นในระยะยาวต่อไป
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6/2544 วันที่ 31 มีนาคม 2544--
-อน-
ในภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543 มิได้เติบโตอย่างเต็มที่เท่าที่ควร ถึงแม้ตัวเลขผลผลิตมวลรวมประชาชาติจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขเดียวกันของปี 2542 มาก (ร้อยละ 1.2) นอกจากนี้ ตัวเลขมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติในปี 2543 ก็ได้ชะลอตัวลงจากปี 2542 อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจมหภาพของแอฟริกาใต้ได้รับผลกระทบไม่รุนแรงมากจากการเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันครั้งใหม่ลักษณะเฉพาะของเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543
การที่ผู้บริโภคขาดความมั่นใจต่อระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศซึ่งนำไปสู่การชะลอการใช้จ่ายและแทนที่ด้วยการเพิ่มระดับเงินออมภายในครอบครัว ดังเห็นได้จากการที่อัตราค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือนของประชาชนในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 ได้ลดลงจากตัวเลขเดียวกันของไตรมาสที่ 1 ในปีเดียวกัน ซึ่งอยู่ ณ ระดับร้อยละ 3.4 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.8 โดยที่ประเด็นดังกล่าวมีผลจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2543 ได้แก่ การตกต่ำของผลิตผลทางการเกษตรที่สืบเนื่องจากการเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 การขาดความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและผู้บริโภคซึ่งทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่สูงเท่าที่ควรในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2543 การที่ค่าเงินแรนด์อ่อนตัวลงมากโดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2543 (อัตราการอ่อนตัวของค่าเงินแรนด์ต่อเงินเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 9.9 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ในขณะที่อัตราการอ่อนตัวของค่าเงินแรนด์ต่อเงินเหรียญสหรัฐฯ ตลอดปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 19.3) และผลจากสถานการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่องในสาธารณรัฐซิมบับเวตั้งแต่ช่วงต้นปี 2543 ซึ่งเป็นผลในทางลบต่อความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ทั้งระบบตั้งแต่ผู้บริโภค กลุ่มธุรกิจภายในประเทศ และพ่อค้านักลงทุนจากต่างประเทศ (ผู้ประกอบการแอฟริกาใต้จำนวนมากมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในสาธารณรัฐซิบบับเว อีกทั้งเหตุการณ์ในสาธารณรัฐซิมบับเวยังมีผลเชิงจิตวิทยาต่อคนผิวขาวซึ่งควบคุมเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันกับประชาคมคนผิวขาวในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้) นอกจากนี้ การเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันครั้งใหม่ก็ยังมีส่วนชะลอการใช้จ่ายภายในประเทศของประชาชนภายในประเทศซึ่งต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้านอาหาร การขนส่ง และการเดินทางที่เพิ่มขึ้นด้วย
การที่ตัวเลขผลผลิตมวลรวมประชาชาติไม่ตกต่ำมากถึงแม้อัตราการบริโภคจะลดต่ำลง ซึ่งเป็นผลจากการที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศทั้งในส่วนของสินค้าปฐมภูมิและทุติยภูมิโดยที่ปี 2543 นับเป็นปีแรกที่มูลค่าการส่งออกสินแร่แพลตตินัมของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้อยู่ในระดับเดียวกับทองคำซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลัก ยิ่งกว่านั้น สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก็ยังสามารถส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกประเภทรถยนต์และสิ่งทอได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย กอรปกับผู้ส่งออกแอฟริกาใต้ยังมีข้อได้เปรียบจากค่าเงินแรนด์ที่อ่อนตัวลง ในขณะเดียวกัน ตัวเลขการนำเข้าสินค้าของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก็กลับชะลอตัวลงโดยเฉพาะสินค้าในหมวดอาหาร ไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้ กระดาษและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องประดับและเครื่องจักรกลต่าง ๆ
สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้รับผลกระทบในระดับที่ไม่รุนแรงมากจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันครั้งใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นตลาดใหม่อื่น ๆ (Emerging Market Economies) ซึ่งเหตุผลประการสำคัญ คือ การที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีหน่วยงาน SASOL ที่สามารถผลิตน้ำมันจากถ่านหินได้ (Oil From Coal Processes) โดยที่ขีดความสามารถในการผลิตดังกล่าวเป็นผลพวงจากการป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากความเสียหายทางเศรษฐกิจอันสืบเนื่องจากวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งแรกซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลแอฟริกาใต้ถูกคว่ำบาตรจากประเทศส่วนใหญ่เพราะดำเนินนโยบายแบ่งแยกสีผิว อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการผลิตน้ำมันจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งผลิตภัณฑ์น้ำมันจากทั้งสองแหล่งนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 40 ของการบริโภคน้ำมันภายในประเทศ ยิ่งกว่านั้น ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ตัวเลขการนำเข้าสินค้าของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543 สูงขึ้นตามไปด้วย แต่ผลพวงจากตัวเลขการส่งออกของปี 2543 ก็สูงขึ้นเช่นกันและการที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีการส่งออกน้ำมันจากโรงกลั่นน้ำมันไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วยจำนวนหนึ่งก็สามารถชดเชยตัวเลขนำเข้าที่สูงขึ้นดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าถึงแม้เศรษฐกิจมหภาคของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จะมิได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่จากวิกฤตการณ์น้ำมัน แต่ในระดับจุลภาค ผลพวงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นก็กระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและไม่มีรายได้ประจำซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารและการเดินทางเพิ่มขึ้นข้อสังเกตทางเศรษฐกิจที่สำคัญบางประการในปี 2543
ตัวเลขดุลการชำระเงิน (Balance of Payments) ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543 อยู่ในระดับที่น่าพอใจมาก อีกทั้งมีระดับเงินทุนสำรองต่างประเทศอยู่ในระดับที่สูง โดยตัวเลข ณ เดือนตุลาคม 2543 ระบุว่าสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีทองคำและเงินคงคลังอยู่ที่ระดับมูลค่า 56.8 พันล้านแรนด์0 หรือประมาณ 360 พันล้านบาท ซึ่งสามารถเป็นเงินสำรองสำหรับการนำเข้าสินค้าได้ในระยะ 3 เดือน 15 วัน
รัฐบาลแอฟริกาใต้ได้ให้ความสำคัญมากขึ้นกับการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่นและต่างชาติในการเสริมสร้างเสถียรภาพของตลาดแรงงานซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ใช้แรงงานได้อาศัยสหภาพแรงงานในการประท้วงหยุดทำงานทำให้ผู้ประกอบการเสียประโยชน์ทางธุรกิจรัฐบาลแอฟริกาใต้ได้เสนอปรับปรุงกฎหมายแรงงานหลายฉบับโดยให้ความสำคัญลำดับแรกกับการทำให้ตลาดแรงงานมีสภาพที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในเชิงธุรกิจยิ่งขึ้น จากสถิติเมื่อเดือน ก.ค. 2543 ปรากฎว่าภาคธุรกิจสูญเสียแรงงานเนื่องจากการประท้วงหยุดงานลดลงไปอยู่ที่ 320,000 ราย
จากตัวเลขในเดือนเดียวกันของปี 2542 ซึ่งอยู่ที่ 2.5 ล้านราย โดยสัดส่วนการหยุดงานเกิดขึ้นในภาครัฐมากกว่าภาคเอกชนโดยคิดเป็นร้อยละ 70 ต่อ 30
เป็นที่น่าสังเกตว่านักลงทุนยังคงมีความรู้สึกในทางลบต่อสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ซึ่งส่งผลให้การไหลออกของทุนเพิ่มขึ้นในปี 2543 นอกจากนี้ ตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศก็ยังคงชะลอตัวอยู่ที่ระดับ 0.3 พันล้านแรนด์ หรือประมาณ 1.8 พันล้านบาท ความรู้สึกในทางลบที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากส่วนหนึ่งจะเป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันดังกล่าวข้างต้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งก็ยังเป็นผลในเชิงจิตวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีอัตราการเกิดอาชญากรรมค่อนข้างสูง อีกทั้งจากการที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีประวัติศาสตร์การปิดประเทศมาเป็นเวลานานมาก (เพิ่งเปิดประเทศเพียง 6 ปี) จึงทำให้ประชาชนแอฟริกาใต้บางกลุ่มยังไม่คุ้นเคยกับการปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติ หรือถึงระดับที่รู้สึกเกลียดกลัวคนต่างชาติ ซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นจุดด้อยประการหนึ่งในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมเกี่ยวกับความน่าลงทุนของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้นั้น สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้รับการจัดระดับเฉลี่ยในระดับที่น่าพอใจจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่จัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถานะการเงินของประเทศต่าง ๆ โดยการพิจารณา ณ ปี ค.ศ. 2000 ปรากฏว่า
- Moody - Baa3 with a Stable Outlook
- Standard & Poor - BBB-with a Stable Outlook
- Fitch - BBB-with a Stable Outlook
ในรอบปี 2543 สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมที่สำคัญในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีทั้งภายในและระหว่างภูมิภาค ได้แก การบรรลุความตกลงว่าด้วยการค้าเสรีระหว่างสาธารณรัฐแอฟริกาใต้กับสหภาพยุโรป หรือ EU-SA Free Trade Accord ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2000 และการบังคับใช้ความตกลงว่าด้วยการค้าในส่วนของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีของประชาคมเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Develop- ment Community - SADC) หรือ SADC Free Trade Area ทั้งนี้ การบรรจุความตกลงทั้งสองฉบับดังกล่าวถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาประกอบการภายในประเทศ โดยในขณะที่สินค้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ร้อยละ 95 ที่นำเข้าไปยังตลาดสหภาพยุโรปจะได้รับการยกเว้นการเก็บภาษีขาเข้าภายในระยะเวลา 10 ปี จากวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ สินค้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จะมีโอกาสเข้าไปขายในตลาดของกลุ่มประเทศสมาชิก SADC อีก 13 ประเทศ ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 200 ล้านคน ในระดับอัตราภาษีขาเข้าร้อยละ 0 ภายในปี 2555
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในปี 2543
ปริมาณการค้าโดยรวมของประเทศไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ล่าสุดระหว่างเดือนมกราคม - เดือนตุลาคม 2543 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 567,500,000 เหรียญสหรัฐฯ (567.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเดียวกันของปี 2542 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 361,600,000 เหรียญสหรัฐฯ (361.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยที่ประเทศไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าโดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังสาธารณรัฐแอฟริกาใต้อยู่ที่ระดับ 304,900,000 เหรียญสหรัฐฯ (304.9 ล้านเหรียญฯ) และมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้อยู่ที่ระดับ 262,600,000 เหรียญสหรัฐฯ (262.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
สำหรับสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) สินค้าหมวดรถยนต์ เครื่องยนต์ อะไรรถยนต์และอุปกรณ์ที่ใช้ในรถยนต์ต่าง ๆ 2) ข้าว 3) สินค้าหมวดยางพารา 4) Automatic Data Processing Machines and Parts 5) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอะไหล่ต่าง ๆ ส่วนสินค้าแอฟริกาใต้ที่นำเข้ามายังประเทศไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) เหล็ก 2) เศษโลหะต่าง ๆ 3) เครื่องประดับรวมทั้งเงินแท่งและทองคำ 4) เยื่อกระดาษและกระดาษที่ใช้แล้ว 5) น้ำมันดิบ ทั้งนี้มีข้อน่าสังเกตคือ ตัวเลขการส่งออกสินค้าหมวดรถยนต์ฯ ได้เลื่อนขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 1 แทนที่ข้าวซึ่งตกลงมาอยู่ในอันดับที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขเดียวกันของปี 2542 นอกจากนี้ ในส่วนของการนำเข้าสินค้าแอฟริกาใต้เข้าสู่ประเทศไทยถึงแม้ในภาพรวมจะยังคงเป็นโครงสร้างการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเช่นเดิม แต่ตัวเลขการนำเข้าสินค้าเครื่องประดับได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ในส่วนของการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ให้แน่นแฟ้นและขยายตัวยิ่งขึ้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปีที่ผ่านมา ทั้งในส่วนของการนำนักธุรกิจและสื่อมวลชนไทยเดินทางไปสำรวจลู่ทางการค้าและการลงทุน
สำหรับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประธานสภาหอการค้าฯ (นายวิเชียร เตชะไพบูลย์) ได้นำคณะนักธุรกิจเดินทางไปเยือนประเทศในกลุ่มแอฟริกา คือ สาธารณรัฐมอริเชียส, โมซัมบิก, มาดากัสการ์ และแอฟริกาใต้ ในช่วงระหว่างวันที่ 14-22 มีนาคม 2544 ที่ผ่านมา ซึ่งการเยือนในครั้งนี้ได้มีนักธุรกิจจากหลายสาขาอาชีพ เช่น อัญมณี, อาหาร, สิ่งทอ และก่อสร้าง ร่วมเดินทาง สำหรับวัตถุประสงค์ในการเยือนที่สำคัญ คือ เพื่อกระชับความสัมพันธไมตรีที่ดี รวมทั้งการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกัน นอกจากนี้ เพื่อสำรวจลู่ทางและศักยภาพในการขยายตลาดสินค้าไทย โดยเฉพาะ ข้าว, อาหาร, เสื้อผ้าสำเร็จรูป, สิ่งทอ, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ยานพาหนะ และเพื่อเสริมสร้างการลงทุนร่วมกันในด้านอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง และการท่องเที่ยว เป็นต้น
การเดินทางเยือนของคณะในครั้งนี้ได้พบปะกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งนัดหมายเจรจาธุรกิจระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจของประเทศที่เดินทางไปเยือน ซึ่งทำให้ไทยได้รับทราบกลยุทธ์ทางการค้า การลงทุนของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันมากขึ้นระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศที่ไปเยือน ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อถือในการทำธุรกิจระหว่างกันบนพื้นฐานความเชื่อมั่นในระยะยาวต่อไป
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6/2544 วันที่ 31 มีนาคม 2544--
-อน-