1. ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา อัตราเจริญเติบโตของอุปสงค์ที่มีต่อน้ำหนักของกลุ่มประเทศเอเซียมากกว่าร้อยละ 5 ต่อปี หรือมากกว่า 3 เท่าของสหรัฐฯ และยุโรป และคาดการณ์ได้ว่าความต้องการบริโภคน้ำมันของกลุ่มประเทศเอเชียใน 25 ปีแรกของศตวรรษที่ 21 จะเพิ่มสูงขึ้นและจะมากเท่ากับครึ่งหนึ่งของอุปสงค์ที่มีต่อน้ำมันของประเทศทั่วโลกรวมกัน
ความต้องการบริโภคน้ำมันของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐ-กิจ จากตัวเลข GNP ของกลุ่มประเทศเหล่านี้รวมกัน ในปี 1960 มีเพียงร้อยละ 4 ของ GNP ของโลก แต่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ในปี 1992 ปัจจุบันจำนวนประชากรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกรวมกัน ก่อให้เกิดการบริโภคน้ำมันในอัตราส่วนที่สูงกว่าประเทศในทวีปยุโรป และแม้แต่งบประมาณด้านการทหารและเงินสำรองต่างประเทศก็สูงกว่า หรือมีเงินสำรองถึงหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2. ข้อเท็จจริงดังกล่าวมีส่วนให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นำไปใช้สนับสนุนความเชื่อ (myth) ที่ว่า "พลังงาน" จะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลลบต่อสถานการณ์และความมั่นคงในภูมิภาค
- วิกฤตการณ์น้ำมันรอบใหม่ ความวิตกว่าน้ำมันเป็นทรัพยากรที่ขาดแคลนและจะหมดสิ้นไปในที่สุดจะส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงจนก่อให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
- ความหวังที่นานาชาติมีต่อ Caspian Basin ว่าจะเป็นแหล่งพลังงานน้ำมันในศตวรรษที่ 21 แทนที่อ่าวเปอร์เซีย ซึ่งมีผลต่อนโยบายต่างประเทศของประเทศทั้งหลายรวมกัน รวมทั้งสหรัฐฯ
- หรือแม้กระทั่งนำไปอธิบายว่าเป็นสาเหตุของความขัดแย้งหรือข้อพิพาททางเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชีย อาทิ หมู่เกาะ Spratly, Senkakyu/ Diaoyutai เพราะเนื่องจากความเชื่อที่ว่าพื้นที่เหล่านั้นอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำมัน
นาย Robert Manning ผู้อำนวยการเอเชียศึกษา มีความเห็นซึ่งแตกต่างออกไป โดยสิ้นเชิงและชี้ให้เห็นผลการศึกษาค้นคว้าว่าการคาดการณ์ของกลุ่ม Club of Rome ซึ่งสะท้อนในรายงาน "Limits of Growth" ที่ว่าภายในทศวรรษ 1990 ปริมาณน้ำมันสะสมในโลกจะหมดสิ้นไปนั้น ไม่เป็นความจริง ปัจจุบันยังมีการค้นพบบ่อน้ำมันเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ราคาน้ำมันในช่วงปี 1998 ก็มิได้เป็นไปตามคาดการณ์ กลับอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า $10 ต่อบาร์เรล การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่ไม่มีใครคาดการณ์ไว้ มีส่วนช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบแหล่งน้ำมันในที่ต่าง ๆ มากขึ้น เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอำนวยให้มนุษย์มีทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซ ในปริมาณสะสมที่มากขึ้น และสามารถใช้พลังงานในทางที่ประหยัดทรัพยากรมากขึ้น นอกจากนั้น เทคโนโลยียังสามารถทำให้มนุษย์มีพลังงานทดแทนในรูปอื่น ซึ่งเป็นการลดการพึ่งพาน้ำมันไปในตัว (อาทิ Fuel Cell Autos, Gas-to Lequids, Shale Extraction เป็นต้น) ปัจจัยเหล่านี้ช่วยขยายปริมาณพลังงาน เพิ่มความหลากหลายของรูปแบบพลังงานและเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บรรยายย้ำว่าในที่สุดต้นทุนของพลังงานในอนาคตจะลดลง
- สำหรับนโยบายต่อ Caspian Basin หรือที่เรียกกันว่า อ่าวเปอร์เซียแห่งต่อไปนั้น จากผลการศึกษา นาย Robert เชื่อว่าอาจจะมีทรัพยากรน้ำมันหรือก๊าซเพียงประมาณ 3-4% ของปริมาณทั้งหมดของโลก การลงทุนในขณะที่ราคาน้ำมันและก๊าซมีแนวโน้มจะต่ำลง จะเป็นไปได้ยากเพราะไม่คุ้มทุน และได้เสนอแนะให้สหรัฐฯ ปรับเปลี่ยนนโยบายต่อ Caspian Basin โดยให้พิจารณาข้อคิดเห็นของภาคเอกชนและความเป็นจริงให้มากขึ้น
- นาย Robert ได้ให้ข้อคิดเห็นค้านกับความคิดเห็นที่ว่า ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างสูง ประกอบกับความขาดแคลนจะนำไปสู่ความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชีย โดยให้ความเห็นตรงกันข้ามว่า พลังงานที่จำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชียจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น (Market-Driven Interactive Role) ในรูปของการลงทุนข้ามชาติ ความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาค การลงทุนร่วมในท่อก๊าซ ความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยยกตัวอย่างความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่เป็นรูปธรรม สำหรับข้อพิพาททางเขตแดนที่มีอยู่นั้น นาย Robert ชี้ให้เห็นผลการศึกษาว่าทั้งหมู่เกาะ Spratly และ Senkakyu/Diaoyutai มีทรัพยากรน้ำมัน/ก๊าซน้อยมาก สาเหตุของข้อพิพาทน่าจะมาจากความรู้สึกชาตินิยม (Waxing Nationalism) มากกว่า
4. ในโอกาสเดียวกัน นาย Robert ได้กล่าวถึงสถานการณ์ด้านน้ำมันของกลุ่มประเทศเอเชีย ดังนี้.-
จีน ประเทศที่ผลิตน้ำมันอันดับ 6 ของโลก ซึ่งกลายมาเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันในปี 1993 ปริมาณบริโภคน้ำมันรวมสูงเป็นอันดับสองของโลก แม้ว่าเมื่อเทียบตัวเลขปริมาณการบริโภคน้ำมันต่อหัวกับของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้จะเท่ากับ 1 ต่อ 10 และ 1 ต่อ 3 ตามลำดับก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในขั้น Take-off อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาพลังงาน อาทิ อุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี เหล็ก และการก่อสร้าง ล้วนอาศัยน้ำมันและก๊าซเป็นปัจจัยสำคัญ แม้ว่าปัจจุบันจีนจะพึ่งพาน้ำมันและก๊าซร้อยละ 22 ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ แนวโน้มภายในปี 2020 เมื่อคำนึงถึงการพัฒนา การขยายตัวทางเศรษฐกิจ คาดว่าจีนคงมีความต้องการบริโภคน้ำมันเพิ่มสูงถึงครึ่งหนึ่งของอุปสงค์รวมของเอเชียทั้งหมด ความสามารถในการแก้ปัญหาด้านพลังงานที่ท้าทายจีนอยู่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งแยกไม่ออกจากการพัฒนาปฏิรูปทางเศรษฐกิจของจีน บทบาทของ CNPC (China National Petroleum Company) ซึ่งออกไปประมูลแข่งกับบริษัทยักษ์ใหญ่ทางตะวันตก (รวมทั้ง Exxon, Texaco, Amoco) เพื่อให้ได้มาซึ่งบ่อน้ำมัน เพื่อลงทุนในการสร้างท่อขนส่งน้ำมันใน Kazakhstan และเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำมันในอิรัก อิหร่าน เวเนซูเอลา หรือในซูดาน โดยทุ่มงบประมาณถึง 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของนโยบายพลังงานของจีนต่อเศรษฐกิจและความมั่นคง ในขณะเดียวกัน ก็ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่จีนต้องการจะปรับเปลี่ยนโฉมของรัฐวิสาหกิจเป็นบรรษัทข้ามชาติ ปัญหาด้านพลังงานของจีนซึ่งค่อนข้างซับซ้อน เป็นเพราะจีนมีทรัพยา กรพลังงานที่ผู้บรรยายให้คำว่า Wrong Resources (อาทิเช่น ถ่านหิน) อย่างเหลือเฟือ ในขณะที่ทรัพยากรพลังงานที่ควรมี (Right Recources) คือ น้ำมัน ก๊าซ ไปอยู่ในที่ที่ไม่น่าจะมี (Wrong Place) คือ ไกลจากแหล่งอาศัยของชุมชน
อินเดีย ประเทศที่พึ่งถ่านหินสูง มีกำลังผลิตน้ำมันน้อยมากเป็นตัวอย่างของประเทศที่ Geopolitics มีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน อุปสรรคด้านการขนส่งก๊าซ จากบังกลาเทศ หรือเอเชียกลาง ผ่านอาฟกานิสถาน หรือปากีสถาน เป็นกรณีที่เห็นได้ชัด
ญี่ปุ่น, เกาหลี ทั้งสองประเทศนี้พัฒนาเศรษฐกิจโดยพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ปัจจุบันมีการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์สูง นโยบายพลังงานของรัฐจึงถูกกำหนดจากแนวคิดด้านความมั่นคงเป็นหลัก
อาเซียน ประกอบด้วยประเทศที่หลากหลายทั้งที่ผลิตน้ำมัน ก๊าซเองได้ และประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้า
- ไทย, ฟิลิปปินส์ ประชากร รวม 140 ล้านคน มีปริมาณการบริโภคน้ำมันรวมกันเท่ากับ 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับ 5% ของปริมาณบริโภคของกลุ่มประเทศเอเชียรวมกัน (สถิติปี 1999) สำหรับประเทศไทยมีน้ำมันสำรองจากแหล่งน้ำมันที่มีอยู่ประมาณ 300 ล้านบาร์เรล มีกำลังผลิตประมาณ 110,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำมันที่อยู่ในระดับประมาณ 800,000 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ฟิลิปปินส์นำเข้าน้ำมันเป็นอัตราร้อยละ 98 ของปริมาณน้ำมันที่จำเป็นในการบริโภค ซึ่งเท่ากับ 350,000 บาร์เรลต่อวัน และมีกำลังผลิตเพียง 4,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ ร้อยละ 75 ของปริมาณการนำเข้าน้ำมันของทั้งสองประเทศรวมกันมาจากอ่าวเปอร์เซีย
- อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเวียดนาม แหล่งผลิตและส่งออกน้ำมันของภูมิภาค สำหรับก๊าซธรรมชาติ มีอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน เป็นแหล่งผลิตป้อนตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ในส่วนของอินโดนีเซียหลังจากวิกฤตทางการเงินในปี 1997 อินโดนีเซียจะยังคงต้องแก้ปัญหาเรื้อรังซึ่งเกิดจากการฉ้อราษฎร์ลังหลวง
การปฏิรูปเศรษฐกิจที่ต้องการความจริงจังและต่อเนื่องซึ่งต้องอาศัยเวลา ตลอดจนปัญหาเรื่องเชื้อชาติจะยังมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองและความคลอนแคลนทางเศรษฐกิจ ทิศทางของนโยบายด้านพลังงานของอินโดนีเซียไม่แน่นอนและยากที่จะคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมปิโตรเลียมคงจะหมุนปรับไปในทางที่ตลาดเป็นปัจจัยชี้นำ (Market-oriented) มากขึ้น
- สิงคโปร์ ศูนย์กลางการค้า การเงินของภูมิภาคและของโลก ด้วยประชากรเพียง 3 ล้านคน สิงคโปร์ถูกรวมเป็นหนึ่งใน Four Tigers ด้วย GDP ถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยอาศัยความได้เปรียบของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และการเป็นท่าเรือน้ำลึก การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่รอบคอบ นโยบายด้านอุตสาหกรรมที่ฉลาด การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งของอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และการเน้นการส่งออกให้เป็น Engine of Growth เหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญของความสำเร็จ ปัจจุบันสิงคโปร์เป็นแหล่งกลั่นน้ำมันใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ในขณะที่อินโดนีเซียเป็นแหล่งผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดในภูมิภาค แต่สิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง
5. นาย Rober ได้ข้อสรุปจากผลการศึกษาค้นคว้าว่า เพราะความสำคัญทั้งทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและด้านความมั่นคง "พลังงาน" จะไม่เป็นชนวนของความขัดแย้ง ตรงกันข้ามจะเป็นพลังผลักดัน (Integrative Force) ให้นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียเชื่อมโยงอนาคตที่ต้องพึ่งพาพลังงาน หันหน้าเข้าหากันโดยสมัครใจบนพื้นฐานของผลประโยชน์และความร่วมมือกัน
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/2543 วันที่ 15 ธันวาคม 2543--
-อน-
ความต้องการบริโภคน้ำมันของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐ-กิจ จากตัวเลข GNP ของกลุ่มประเทศเหล่านี้รวมกัน ในปี 1960 มีเพียงร้อยละ 4 ของ GNP ของโลก แต่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ในปี 1992 ปัจจุบันจำนวนประชากรในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลกรวมกัน ก่อให้เกิดการบริโภคน้ำมันในอัตราส่วนที่สูงกว่าประเทศในทวีปยุโรป และแม้แต่งบประมาณด้านการทหารและเงินสำรองต่างประเทศก็สูงกว่า หรือมีเงินสำรองถึงหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
2. ข้อเท็จจริงดังกล่าวมีส่วนให้ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นำไปใช้สนับสนุนความเชื่อ (myth) ที่ว่า "พลังงาน" จะเป็นปัจจัยที่จะส่งผลลบต่อสถานการณ์และความมั่นคงในภูมิภาค
- วิกฤตการณ์น้ำมันรอบใหม่ ความวิตกว่าน้ำมันเป็นทรัพยากรที่ขาดแคลนและจะหมดสิ้นไปในที่สุดจะส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงจนก่อให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ
- ความหวังที่นานาชาติมีต่อ Caspian Basin ว่าจะเป็นแหล่งพลังงานน้ำมันในศตวรรษที่ 21 แทนที่อ่าวเปอร์เซีย ซึ่งมีผลต่อนโยบายต่างประเทศของประเทศทั้งหลายรวมกัน รวมทั้งสหรัฐฯ
- หรือแม้กระทั่งนำไปอธิบายว่าเป็นสาเหตุของความขัดแย้งหรือข้อพิพาททางเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชีย อาทิ หมู่เกาะ Spratly, Senkakyu/ Diaoyutai เพราะเนื่องจากความเชื่อที่ว่าพื้นที่เหล่านั้นอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำมัน
นาย Robert Manning ผู้อำนวยการเอเชียศึกษา มีความเห็นซึ่งแตกต่างออกไป โดยสิ้นเชิงและชี้ให้เห็นผลการศึกษาค้นคว้าว่าการคาดการณ์ของกลุ่ม Club of Rome ซึ่งสะท้อนในรายงาน "Limits of Growth" ที่ว่าภายในทศวรรษ 1990 ปริมาณน้ำมันสะสมในโลกจะหมดสิ้นไปนั้น ไม่เป็นความจริง ปัจจุบันยังมีการค้นพบบ่อน้ำมันเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ราคาน้ำมันในช่วงปี 1998 ก็มิได้เป็นไปตามคาดการณ์ กลับอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า $10 ต่อบาร์เรล การปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่ไม่มีใครคาดการณ์ไว้ มีส่วนช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบแหล่งน้ำมันในที่ต่าง ๆ มากขึ้น เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอำนวยให้มนุษย์มีทรัพยากรน้ำมัน ก๊าซ ในปริมาณสะสมที่มากขึ้น และสามารถใช้พลังงานในทางที่ประหยัดทรัพยากรมากขึ้น นอกจากนั้น เทคโนโลยียังสามารถทำให้มนุษย์มีพลังงานทดแทนในรูปอื่น ซึ่งเป็นการลดการพึ่งพาน้ำมันไปในตัว (อาทิ Fuel Cell Autos, Gas-to Lequids, Shale Extraction เป็นต้น) ปัจจัยเหล่านี้ช่วยขยายปริมาณพลังงาน เพิ่มความหลากหลายของรูปแบบพลังงานและเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้บรรยายย้ำว่าในที่สุดต้นทุนของพลังงานในอนาคตจะลดลง
- สำหรับนโยบายต่อ Caspian Basin หรือที่เรียกกันว่า อ่าวเปอร์เซียแห่งต่อไปนั้น จากผลการศึกษา นาย Robert เชื่อว่าอาจจะมีทรัพยากรน้ำมันหรือก๊าซเพียงประมาณ 3-4% ของปริมาณทั้งหมดของโลก การลงทุนในขณะที่ราคาน้ำมันและก๊าซมีแนวโน้มจะต่ำลง จะเป็นไปได้ยากเพราะไม่คุ้มทุน และได้เสนอแนะให้สหรัฐฯ ปรับเปลี่ยนนโยบายต่อ Caspian Basin โดยให้พิจารณาข้อคิดเห็นของภาคเอกชนและความเป็นจริงให้มากขึ้น
- นาย Robert ได้ให้ข้อคิดเห็นค้านกับความคิดเห็นที่ว่า ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างสูง ประกอบกับความขาดแคลนจะนำไปสู่ความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชีย โดยให้ความเห็นตรงกันข้ามว่า พลังงานที่จำเป็นในการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเอเชียจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น (Market-Driven Interactive Role) ในรูปของการลงทุนข้ามชาติ ความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาค การลงทุนร่วมในท่อก๊าซ ความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยยกตัวอย่างความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่เป็นรูปธรรม สำหรับข้อพิพาททางเขตแดนที่มีอยู่นั้น นาย Robert ชี้ให้เห็นผลการศึกษาว่าทั้งหมู่เกาะ Spratly และ Senkakyu/Diaoyutai มีทรัพยากรน้ำมัน/ก๊าซน้อยมาก สาเหตุของข้อพิพาทน่าจะมาจากความรู้สึกชาตินิยม (Waxing Nationalism) มากกว่า
4. ในโอกาสเดียวกัน นาย Robert ได้กล่าวถึงสถานการณ์ด้านน้ำมันของกลุ่มประเทศเอเชีย ดังนี้.-
จีน ประเทศที่ผลิตน้ำมันอันดับ 6 ของโลก ซึ่งกลายมาเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันในปี 1993 ปริมาณบริโภคน้ำมันรวมสูงเป็นอันดับสองของโลก แม้ว่าเมื่อเทียบตัวเลขปริมาณการบริโภคน้ำมันต่อหัวกับของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้จะเท่ากับ 1 ต่อ 10 และ 1 ต่อ 3 ตามลำดับก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในขั้น Take-off อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาพลังงาน อาทิ อุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี เหล็ก และการก่อสร้าง ล้วนอาศัยน้ำมันและก๊าซเป็นปัจจัยสำคัญ แม้ว่าปัจจุบันจีนจะพึ่งพาน้ำมันและก๊าซร้อยละ 22 ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ แนวโน้มภายในปี 2020 เมื่อคำนึงถึงการพัฒนา การขยายตัวทางเศรษฐกิจ คาดว่าจีนคงมีความต้องการบริโภคน้ำมันเพิ่มสูงถึงครึ่งหนึ่งของอุปสงค์รวมของเอเชียทั้งหมด ความสามารถในการแก้ปัญหาด้านพลังงานที่ท้าทายจีนอยู่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งแยกไม่ออกจากการพัฒนาปฏิรูปทางเศรษฐกิจของจีน บทบาทของ CNPC (China National Petroleum Company) ซึ่งออกไปประมูลแข่งกับบริษัทยักษ์ใหญ่ทางตะวันตก (รวมทั้ง Exxon, Texaco, Amoco) เพื่อให้ได้มาซึ่งบ่อน้ำมัน เพื่อลงทุนในการสร้างท่อขนส่งน้ำมันใน Kazakhstan และเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำมันในอิรัก อิหร่าน เวเนซูเอลา หรือในซูดาน โดยทุ่มงบประมาณถึง 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของนโยบายพลังงานของจีนต่อเศรษฐกิจและความมั่นคง ในขณะเดียวกัน ก็ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่จีนต้องการจะปรับเปลี่ยนโฉมของรัฐวิสาหกิจเป็นบรรษัทข้ามชาติ ปัญหาด้านพลังงานของจีนซึ่งค่อนข้างซับซ้อน เป็นเพราะจีนมีทรัพยา กรพลังงานที่ผู้บรรยายให้คำว่า Wrong Resources (อาทิเช่น ถ่านหิน) อย่างเหลือเฟือ ในขณะที่ทรัพยากรพลังงานที่ควรมี (Right Recources) คือ น้ำมัน ก๊าซ ไปอยู่ในที่ที่ไม่น่าจะมี (Wrong Place) คือ ไกลจากแหล่งอาศัยของชุมชน
อินเดีย ประเทศที่พึ่งถ่านหินสูง มีกำลังผลิตน้ำมันน้อยมากเป็นตัวอย่างของประเทศที่ Geopolitics มีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน อุปสรรคด้านการขนส่งก๊าซ จากบังกลาเทศ หรือเอเชียกลาง ผ่านอาฟกานิสถาน หรือปากีสถาน เป็นกรณีที่เห็นได้ชัด
ญี่ปุ่น, เกาหลี ทั้งสองประเทศนี้พัฒนาเศรษฐกิจโดยพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ปัจจุบันมีการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์สูง นโยบายพลังงานของรัฐจึงถูกกำหนดจากแนวคิดด้านความมั่นคงเป็นหลัก
อาเซียน ประกอบด้วยประเทศที่หลากหลายทั้งที่ผลิตน้ำมัน ก๊าซเองได้ และประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้า
- ไทย, ฟิลิปปินส์ ประชากร รวม 140 ล้านคน มีปริมาณการบริโภคน้ำมันรวมกันเท่ากับ 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเท่ากับ 5% ของปริมาณบริโภคของกลุ่มประเทศเอเชียรวมกัน (สถิติปี 1999) สำหรับประเทศไทยมีน้ำมันสำรองจากแหล่งน้ำมันที่มีอยู่ประมาณ 300 ล้านบาร์เรล มีกำลังผลิตประมาณ 110,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำมันที่อยู่ในระดับประมาณ 800,000 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ฟิลิปปินส์นำเข้าน้ำมันเป็นอัตราร้อยละ 98 ของปริมาณน้ำมันที่จำเป็นในการบริโภค ซึ่งเท่ากับ 350,000 บาร์เรลต่อวัน และมีกำลังผลิตเพียง 4,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ ร้อยละ 75 ของปริมาณการนำเข้าน้ำมันของทั้งสองประเทศรวมกันมาจากอ่าวเปอร์เซีย
- อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และเวียดนาม แหล่งผลิตและส่งออกน้ำมันของภูมิภาค สำหรับก๊าซธรรมชาติ มีอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน เป็นแหล่งผลิตป้อนตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ในส่วนของอินโดนีเซียหลังจากวิกฤตทางการเงินในปี 1997 อินโดนีเซียจะยังคงต้องแก้ปัญหาเรื้อรังซึ่งเกิดจากการฉ้อราษฎร์ลังหลวง
การปฏิรูปเศรษฐกิจที่ต้องการความจริงจังและต่อเนื่องซึ่งต้องอาศัยเวลา ตลอดจนปัญหาเรื่องเชื้อชาติจะยังมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองและความคลอนแคลนทางเศรษฐกิจ ทิศทางของนโยบายด้านพลังงานของอินโดนีเซียไม่แน่นอนและยากที่จะคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมปิโตรเลียมคงจะหมุนปรับไปในทางที่ตลาดเป็นปัจจัยชี้นำ (Market-oriented) มากขึ้น
- สิงคโปร์ ศูนย์กลางการค้า การเงินของภูมิภาคและของโลก ด้วยประชากรเพียง 3 ล้านคน สิงคโปร์ถูกรวมเป็นหนึ่งใน Four Tigers ด้วย GDP ถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี โดยอาศัยความได้เปรียบของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และการเป็นท่าเรือน้ำลึก การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่รอบคอบ นโยบายด้านอุตสาหกรรมที่ฉลาด การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งของอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และการเน้นการส่งออกให้เป็น Engine of Growth เหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญของความสำเร็จ ปัจจุบันสิงคโปร์เป็นแหล่งกลั่นน้ำมันใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ในขณะที่อินโดนีเซียเป็นแหล่งผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดในภูมิภาค แต่สิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง
5. นาย Rober ได้ข้อสรุปจากผลการศึกษาค้นคว้าว่า เพราะความสำคัญทั้งทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและด้านความมั่นคง "พลังงาน" จะไม่เป็นชนวนของความขัดแย้ง ตรงกันข้ามจะเป็นพลังผลักดัน (Integrative Force) ให้นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียเชื่อมโยงอนาคตที่ต้องพึ่งพาพลังงาน หันหน้าเข้าหากันโดยสมัครใจบนพื้นฐานของผลประโยชน์และความร่วมมือกัน
ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/2543 วันที่ 15 ธันวาคม 2543--
-อน-