แท็ก
ภาคเหนือ
ลักษณะทั่วไป
ภาคเหนือประกอบด้วย 17 จังหวัด 179 อำเภอและ 15 กิ่งอำเภอ มีพื้นที่ 106 ล้านไร่ (169,600 ตร.กม.) หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นป่าเขามีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 29.4 ล้านไร่ หรือ 1 ใน 5 ของพื้นที่ ทำการเกษตรทั้งประเทศ ณ สิ้นปี 2541 ภาคเหนือมีประชากรจำนวน 12.2 ล้านคน หรือ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ จังหวัดที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน คือ เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ รายได้เฉลี่ยต่อหัว ปี 2539 จำนวน 37,878 บาท ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ย ทั้งประเทศ 76,634 บาท ประมาณเท่าตัวและต่ำกว่าทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โครงสร้างเศรษฐกิจ
อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจภาคเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
เฉลี่ย
2535 2536 2537 2538 2539 (2535-2539)
ภาคเกษตร 0.6 -3.8 0.4 0.7 9.0 1.4
นอกภาคเกษตร 9.6 4.6 9.1 8.3 4.6 7.2
รวม 7.3 2.6 7.2 6.7 5.5 5.9
เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.9 ต่อปี ระหว่างปี 2535-2539 ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของ ประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ต่อปี เศรษฐกิจภาคเหนือขึ้นกับภาคเกษตร เป็นสำคัญ โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20.9ของผลิตภัณฑ์ภาค รองลงมาคือภาคการค้าร้อยละ 16.0 ภาคบริการร้อยละ 14.8 และภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 11.8 พืชหลักของภาคได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพด ใบยาสูบ ถั่วเหลือง พืชผักและผลไม้ ขณะที่อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ น้ำตาล แปรรูปสินค้าเกษตร ปูนซีเมนต์ เซรามิกส์ และหัตถกรรม
ความสำคัญของภาคเหนือต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ
ผลิตภัณฑ์ภาคเหนือ (Gross Regional Product : GRP) ตามราคาตลาดปี 2539 มีมูลค่า 422.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) การผลิตบางสาขามีความสำคัญต่อประเทศ เช่น สาขาเหมืองแร่และเกษตรกรรม ผลผลิตทั้งสองสาขาคิดเป็นร้อยละ 22.7 และร้อยละ 17.4 ของผลผลิต สาขาเหมืองแร่และเกษตรกรรมของประเทศ ตามลำดับ ภาคเหนือเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญของประเทศ เช่น ถ่านหินลิกไนต์ หินปูนและดินขาวที่จังหวัดลำปาง แร่สังกะสีที่จังหวัดตาก น้ำมันดิบที่จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น และเป็นแหล่งผลิตข้าวและพืชไร่ที่สำคัญ พืชผลสำคัญของภาคเหนือ เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวและอ้อยมีปริมาณผลผลิตไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสี่ของผลผลิตทั้งประเทศ ขณะที่พืชสำคัญอื่น เช่น ลำไย ลิ้นจี่ กระเทียม ใบยาสูบเวอร์จิเนียและเบอร์เลย์ หอมแดง และหอมหัวใหญ่ เกือบทั้งหมดผลิตในภาคเหนือ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งต้นน้ำของภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล
ลักษณะและโครงสร้างเศรษฐกิจของภาคเหนือ
จำแนกออกเป็น 2 ส่วนคือภาคเหนือตอนบน และตอนล่าง
สัดส่วนการผลิตในภาคเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
2519 2539
ภาคเกษตร 51.9 20.9
นอกภาคเกษตร 48.1 79.1
เหมืองแร่ 1.3 3.4
อุตสาหกรรม 5.6 11.8
ก่อสร้าง 3.4 10.2
การค้า 17.6 16.0
บริการ 6.2 14.8
อื่นๆ 14.0 22.9
รวม 100.0 100.0
ภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 9 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน พะเยา น่าน แพร่ ลำปางและตาก มีพื้นที่ ประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเป็นป่าเขา มีพื้นที่ เหมาะกับการเพาะปลูกไม่ถึงร้อยละ 15 แต่มีทรัพยากร ทางด้านท่องเที่ยวและลักษณะภูมิอากาศที่สามารถ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาพักผ่อนและพำนักอาศัย เป็นครั้งคราวและถาวร ทำให้ธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจ โรงแรม รีสอร์ท และของที่ระลึก เป็นสาขาเศรษฐกิจ ที่สำคัญของภาคเหนือตอนบน และเป็นแหล่งผลิต กระแสไฟฟ้าที่สำคัญ ทั้งจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และไอน้ำจากเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ตลอดจนมีแร่ธาตุ เช่น แร่สังกะสี ถ่านหิน ลิกไนต์ หินปูน และดินขาวอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมเซรามิก ปูนซีเมนต์ และโรงงานถลุงแร่สังกะสี เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นประตูการค้าชายแดนกับประเทศพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้ )
จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจทุกด้านของภาคและของภาคเหนือตอนบนมีสัดส่วนการผลิต ประมาณ 1 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์ภาค มีจำนวนสาขาธนาคาร พาณิชย์สูงสุดเป็นอันดับสามของประเทศ เงินฝากและเงินให้ สินเชื่อมีสัดส่วนสูงประมาณ 1 ใน 3 ของเงินฝากและสินเชื่อ ทั้งภาค
ภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์และอุทัยธานี มีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูก เป็นแหล่ง ผลิตและค้าข้าวและพืชไร่สำคัญของประเทศ การผลิตขึ้นกับพืชผลไม่กี่ชนิด เช่น ข้าว อ้อยและข้าวโพด และขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในภาคเหนือตอนล่างเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาลในจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์และพิษณุโลก อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร ในจังหวัดพิษณุโลกและนครสวรรค์ โรงสีข้าว ในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยว ประเภทโบราณสถานทางประวัติศาสตร์
สภาพแรงงาน
สิ้นปี 2541 ประชากรภาคเหนือมีกำลังแรงงาน ประมาณ 6.3 ล้านคน ร้อยละ 60 อยู่ในภาคการเกษตร อัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 130 บาท ยกเว้นจังหวัดเชียงใหม่ วันละ 140 บาท แรงงานของภาคเหนือบางส่วนไปทำงาน ที่ส่วนกลางและต่างประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ บรูไน และอิสราเอล เป็นต้น แรงงานจากภาคตะวันออก เฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงาน ทดแทนในการตัดอ้อย และมีเงินโอนจากต่าง ประเทศเข้ามาปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท
ภาคการเงิน
ภาคเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดบริการมากที่สุด รองจากกรุงเทพฯและปริมณฑล ณ สิ้นปี 2541 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ เปิดดำเนินการ 523 สาขา หรือร้อยละ 14 ของ สาขาธนาคารพาณิชย์ของทั้งประเทศ เกือบ ร้อยละ 60 อยู่ในภาคเหนือตอนบน โดยกระจุกตัว ในอำเภอเมือง ขณะที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง จะกระจายตัวในเขตอำเภอรอบนอก เงินฝากและ เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นปี 2541 มีจำนวน 264.0 พันล้านบาท และ 219.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6 และร้อยละ 4 ของเงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งประเทศ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
กระทำใน 2 ลักษณะคือ การค้า ระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยาน เชียงใหม่ และการค้าชายแดนกับประเทศ เพื่อนบ้าน โดยมูลค่ากว่าร้อยละ 85 เป็นการค้า ผ่านด่านท่าอากาศยานฯ ส่วนใหญ่เป็นธุรกรรม การค้าของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือ ส่วนการค้าชายแดน เป็นการค้ากับพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้) โดยร้อยละ 90 เป็นการค้ากับพม่า สินค้าออก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ยางรถยนต์ และวัสดุก่อสร้าง ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ โค กระบือ และไม้แปรรูป เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเหนือประกอบด้วย 17 จังหวัด 179 อำเภอและ 15 กิ่งอำเภอ มีพื้นที่ 106 ล้านไร่ (169,600 ตร.กม.) หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ส่วนใหญ่เป็นป่าเขามีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 29.4 ล้านไร่ หรือ 1 ใน 5 ของพื้นที่ ทำการเกษตรทั้งประเทศ ณ สิ้นปี 2541 ภาคเหนือมีประชากรจำนวน 12.2 ล้านคน หรือ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ จังหวัดที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน คือ เชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ รายได้เฉลี่ยต่อหัว ปี 2539 จำนวน 37,878 บาท ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ย ทั้งประเทศ 76,634 บาท ประมาณเท่าตัวและต่ำกว่าทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โครงสร้างเศรษฐกิจ
อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจภาคเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
เฉลี่ย
2535 2536 2537 2538 2539 (2535-2539)
ภาคเกษตร 0.6 -3.8 0.4 0.7 9.0 1.4
นอกภาคเกษตร 9.6 4.6 9.1 8.3 4.6 7.2
รวม 7.3 2.6 7.2 6.7 5.5 5.9
เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.9 ต่อปี ระหว่างปี 2535-2539 ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของ ประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ต่อปี เศรษฐกิจภาคเหนือขึ้นกับภาคเกษตร เป็นสำคัญ โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20.9ของผลิตภัณฑ์ภาค รองลงมาคือภาคการค้าร้อยละ 16.0 ภาคบริการร้อยละ 14.8 และภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 11.8 พืชหลักของภาคได้แก่ ข้าว อ้อย ข้าวโพด ใบยาสูบ ถั่วเหลือง พืชผักและผลไม้ ขณะที่อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ น้ำตาล แปรรูปสินค้าเกษตร ปูนซีเมนต์ เซรามิกส์ และหัตถกรรม
ความสำคัญของภาคเหนือต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ
ผลิตภัณฑ์ภาคเหนือ (Gross Regional Product : GRP) ตามราคาตลาดปี 2539 มีมูลค่า 422.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) การผลิตบางสาขามีความสำคัญต่อประเทศ เช่น สาขาเหมืองแร่และเกษตรกรรม ผลผลิตทั้งสองสาขาคิดเป็นร้อยละ 22.7 และร้อยละ 17.4 ของผลผลิต สาขาเหมืองแร่และเกษตรกรรมของประเทศ ตามลำดับ ภาคเหนือเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุสำคัญของประเทศ เช่น ถ่านหินลิกไนต์ หินปูนและดินขาวที่จังหวัดลำปาง แร่สังกะสีที่จังหวัดตาก น้ำมันดิบที่จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น และเป็นแหล่งผลิตข้าวและพืชไร่ที่สำคัญ พืชผลสำคัญของภาคเหนือ เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวและอ้อยมีปริมาณผลผลิตไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสี่ของผลผลิตทั้งประเทศ ขณะที่พืชสำคัญอื่น เช่น ลำไย ลิ้นจี่ กระเทียม ใบยาสูบเวอร์จิเนียและเบอร์เลย์ หอมแดง และหอมหัวใหญ่ เกือบทั้งหมดผลิตในภาคเหนือ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งต้นน้ำของภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล
ลักษณะและโครงสร้างเศรษฐกิจของภาคเหนือ
จำแนกออกเป็น 2 ส่วนคือภาคเหนือตอนบน และตอนล่าง
สัดส่วนการผลิตในภาคเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
2519 2539
ภาคเกษตร 51.9 20.9
นอกภาคเกษตร 48.1 79.1
เหมืองแร่ 1.3 3.4
อุตสาหกรรม 5.6 11.8
ก่อสร้าง 3.4 10.2
การค้า 17.6 16.0
บริการ 6.2 14.8
อื่นๆ 14.0 22.9
รวม 100.0 100.0
ภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 9 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน พะเยา น่าน แพร่ ลำปางและตาก มีพื้นที่ ประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเป็นป่าเขา มีพื้นที่ เหมาะกับการเพาะปลูกไม่ถึงร้อยละ 15 แต่มีทรัพยากร ทางด้านท่องเที่ยวและลักษณะภูมิอากาศที่สามารถ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาพักผ่อนและพำนักอาศัย เป็นครั้งคราวและถาวร ทำให้ธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจ โรงแรม รีสอร์ท และของที่ระลึก เป็นสาขาเศรษฐกิจ ที่สำคัญของภาคเหนือตอนบน และเป็นแหล่งผลิต กระแสไฟฟ้าที่สำคัญ ทั้งจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และไอน้ำจากเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ตลอดจนมีแร่ธาตุ เช่น แร่สังกะสี ถ่านหิน ลิกไนต์ หินปูน และดินขาวอุดมสมบูรณ์ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมเซรามิก ปูนซีเมนต์ และโรงงานถลุงแร่สังกะสี เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นประตูการค้าชายแดนกับประเทศพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้ )
จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจทุกด้านของภาคและของภาคเหนือตอนบนมีสัดส่วนการผลิต ประมาณ 1 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์ภาค มีจำนวนสาขาธนาคาร พาณิชย์สูงสุดเป็นอันดับสามของประเทศ เงินฝากและเงินให้ สินเชื่อมีสัดส่วนสูงประมาณ 1 ใน 3 ของเงินฝากและสินเชื่อ ทั้งภาค
ภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์และอุทัยธานี มีพื้นที่ติดต่อกับภาคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูก เป็นแหล่ง ผลิตและค้าข้าวและพืชไร่สำคัญของประเทศ การผลิตขึ้นกับพืชผลไม่กี่ชนิด เช่น ข้าว อ้อยและข้าวโพด และขึ้นกับสภาพดินฟ้าอากาศ อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในภาคเหนือตอนล่างเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร เช่น อุตสาหกรรมน้ำตาลในจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์และพิษณุโลก อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร ในจังหวัดพิษณุโลกและนครสวรรค์ โรงสีข้าว ในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก และนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยว ประเภทโบราณสถานทางประวัติศาสตร์
สภาพแรงงาน
สิ้นปี 2541 ประชากรภาคเหนือมีกำลังแรงงาน ประมาณ 6.3 ล้านคน ร้อยละ 60 อยู่ในภาคการเกษตร อัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 130 บาท ยกเว้นจังหวัดเชียงใหม่ วันละ 140 บาท แรงงานของภาคเหนือบางส่วนไปทำงาน ที่ส่วนกลางและต่างประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน สิงคโปร์ บรูไน และอิสราเอล เป็นต้น แรงงานจากภาคตะวันออก เฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงาน ทดแทนในการตัดอ้อย และมีเงินโอนจากต่าง ประเทศเข้ามาปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท
ภาคการเงิน
ภาคเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์เปิดบริการมากที่สุด รองจากกรุงเทพฯและปริมณฑล ณ สิ้นปี 2541 มีสาขาธนาคารพาณิชย์ เปิดดำเนินการ 523 สาขา หรือร้อยละ 14 ของ สาขาธนาคารพาณิชย์ของทั้งประเทศ เกือบ ร้อยละ 60 อยู่ในภาคเหนือตอนบน โดยกระจุกตัว ในอำเภอเมือง ขณะที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง จะกระจายตัวในเขตอำเภอรอบนอก เงินฝากและ เงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นปี 2541 มีจำนวน 264.0 พันล้านบาท และ 219.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6 และร้อยละ 4 ของเงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งประเทศ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
กระทำใน 2 ลักษณะคือ การค้า ระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยาน เชียงใหม่ และการค้าชายแดนกับประเทศ เพื่อนบ้าน โดยมูลค่ากว่าร้อยละ 85 เป็นการค้า ผ่านด่านท่าอากาศยานฯ ส่วนใหญ่เป็นธุรกรรม การค้าของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในนิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือ ส่วนการค้าชายแดน เป็นการค้ากับพม่า ลาว และจีน (ตอนใต้) โดยร้อยละ 90 เป็นการค้ากับพม่า สินค้าออก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ยางรถยนต์ และวัสดุก่อสร้าง ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ โค กระบือ และไม้แปรรูป เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-