กรุงเทพฯ--29 มิ.ย.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ในการประชุมรัฐมนตรีเอเปคครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2542 ณ นคร โอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคดำเนินการจัดทำแผนสนับสนุนการใช้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการนี้บรูไน (ในฐานะ เจ้าภาพการประชุมเอเปคประจำปี 2000)ได้ร่วมกับเลขาธิการเอเปคจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ APEC SME E-Commerce Workshop เมื่อวันที่ 20-22 มิถุนายน 2543 ณ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน
การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนที่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจากประเทศสมาชิกเอเปคได้หารือและ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการสนับสนุนการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในบริษัทขนาดกลาง และขนาดเล็ก และร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานสนับสนุนการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในบริษัทดังกล่าว ที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นสำคัญ 4 เรื่องด้วยกัน ประกอบด้วย การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเสริมสร้างความมั่นใจและสภาพแวดล้อม ด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เอื้ออำนวย และความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และได้นำเสนอ แผนการดำเนินงานฯต่อที่ประชุม APEC SMEs Ministers Meeting เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2543 พิจารณา สาระสำคัญของข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้ บริษัทขนาดกลางและ ขนาดเล็กจะมีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหากมี การสนับสนุนให้บริษัทเหล่านี้เข้าสู่ระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้กว่าร้อยละ 90 ของบริษัททั้งหมด ในเอเปคเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก และบริษัทเหล่านี้มีการจ้างงานร้อยละ 80 ของแรงงานใน ภูมิภาค นอกจากนั้นยังมีสัดส่วนคิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของจีดีพีรวมของประเทศสมาชิกเอเปค และร้อยละ 35 ของการส่งออกทั้งหมด สำหรับปัจจัยสนับสนุนให้บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กนำระบบ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้นั้น ที่ประชุมเห็นว่า การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ทั้งโดยภาครัฐบาลและภาคเอกชน รวมทั้งการลดต้นทุนในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และการให้ข้อมูล เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
นอกจากนั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ให้สามารถใช้เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เอเปคจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อการจัดทำ แผนแม่บทการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยระบุแผนการดำเนินงานในรายละเอียดและกรอบเวลาที่ชัดเจน และปัจจัยสำคัญอันดับที่สาม คือ การสนับสนุนให้ภาคเอกชนกำหนดกฎเกณฑ์ด้วยตนเอง (self regulation) อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีบทบาท ในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และควรมี การปรับปรุงนโยบายและกฎหมายที่มีอยู่ให้สามารถรองรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และมีความสอดคล้อง กันระหว่างประเทศ และปัจจัยสุดท้าย คือ รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ภาคเอกชนเกิดความ ตื่นตัว โดยรัฐจะต้องเป็นผู้ริเริ่มนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการให้บริการของรัฐ รวมทั้งการจัดซื้อ จัดจ้างโดยรัฐ และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะ one stop E-Commerce Information Centres เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลครบวงจรสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก และมีการ ประเมินความพร้อมต่อการพาณิช์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสม่ำเสมอตาม APEC E-Commerce Readiness Assessment Guide
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-
ในการประชุมรัฐมนตรีเอเปคครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2542 ณ นคร โอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคดำเนินการจัดทำแผนสนับสนุนการใช้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการนี้บรูไน (ในฐานะ เจ้าภาพการประชุมเอเปคประจำปี 2000)ได้ร่วมกับเลขาธิการเอเปคจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ APEC SME E-Commerce Workshop เมื่อวันที่ 20-22 มิถุนายน 2543 ณ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน
การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนที่เป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจากประเทศสมาชิกเอเปคได้หารือและ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการสนับสนุนการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในบริษัทขนาดกลาง และขนาดเล็ก และร่วมกันจัดทำแผนการดำเนินงานสนับสนุนการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในบริษัทดังกล่าว ที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นสำคัญ 4 เรื่องด้วยกัน ประกอบด้วย การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเสริมสร้างความมั่นใจและสภาพแวดล้อม ด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เอื้ออำนวย และความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และได้นำเสนอ แผนการดำเนินงานฯต่อที่ประชุม APEC SMEs Ministers Meeting เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2543 พิจารณา สาระสำคัญของข้อเสนอแนะในประเด็นต่างๆดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้ บริษัทขนาดกลางและ ขนาดเล็กจะมีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหากมี การสนับสนุนให้บริษัทเหล่านี้เข้าสู่ระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้กว่าร้อยละ 90 ของบริษัททั้งหมด ในเอเปคเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก และบริษัทเหล่านี้มีการจ้างงานร้อยละ 80 ของแรงงานใน ภูมิภาค นอกจากนั้นยังมีสัดส่วนคิดเป็นเกือบร้อยละ 50 ของจีดีพีรวมของประเทศสมาชิกเอเปค และร้อยละ 35 ของการส่งออกทั้งหมด สำหรับปัจจัยสนับสนุนให้บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กนำระบบ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้นั้น ที่ประชุมเห็นว่า การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ทั้งโดยภาครัฐบาลและภาคเอกชน รวมทั้งการลดต้นทุนในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และการให้ข้อมูล เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
นอกจากนั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ให้สามารถใช้เทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เอเปคจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อการจัดทำ แผนแม่บทการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยระบุแผนการดำเนินงานในรายละเอียดและกรอบเวลาที่ชัดเจน และปัจจัยสำคัญอันดับที่สาม คือ การสนับสนุนให้ภาคเอกชนกำหนดกฎเกณฑ์ด้วยตนเอง (self regulation) อย่างไรก็ตามรัฐบาลมีบทบาท ในการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และควรมี การปรับปรุงนโยบายและกฎหมายที่มีอยู่ให้สามารถรองรับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และมีความสอดคล้อง กันระหว่างประเทศ และปัจจัยสุดท้าย คือ รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้ภาคเอกชนเกิดความ ตื่นตัว โดยรัฐจะต้องเป็นผู้ริเริ่มนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการให้บริการของรัฐ รวมทั้งการจัดซื้อ จัดจ้างโดยรัฐ และจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะ one stop E-Commerce Information Centres เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลครบวงจรสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก และมีการ ประเมินความพร้อมต่อการพาณิช์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสม่ำเสมอตาม APEC E-Commerce Readiness Assessment Guide
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-อน-