โคเนื้อ : การพบวัวเป็นโรควัวบ้าในประเทศญี่ปุ่น
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรควัวบ้าในหลายประเทศในสหภาพยุโรป โดยมีการระบาดในอังกฤษเป็นประเทศแรก สหภาพยุโรปได้ประกาศห้ามอังกฤษและบางประเทศในสหภาพยุโรปส่งออกเนื้อโค ขณะเดียวกันมีหลายประเทศได้ประกาศห้ามนำเข้าเนื้อโคจากประเทศในสหภาพยุโรปที่เกิดการระบาดของโรค ประเทศไทยก็มีการห้ามนำเข้าเนื้อโคจากประเทศเหล่านั้น ตั้งแต่ปี 2541 และประกาศห้ามนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ทำจากเนื้อป่น เนื้อป่นสกัดน้ำมัน เนื้อและกระดูกป่น จากสหภาพยุโรปมาเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องทุกชนิด
จากการพบเชื้อโรควัวบ้าในวัวของญี่ปุ่นและมีบางประเทศเช่นสิงคโปร์ประกาศยกเลิกการนำเข้าเนื้อวัวจากญี่ปุ่นนั้น สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศห้ามนำเข้าเนื้อโคจากญี่ปุ่นและอีก 2 ประเทศ คือ กรีซและสาธารณรัฐเช็ค เมื่อวันที่ 14 กันยายนนี้ สำหรับการนำเข้าเนื้อโคจากญี่ปุ่นนั้น จากข้อมูลของกรมศุลกากรมีการนำเข้าหลายชนิด เช่น เนื้อโคมีกระดูกติดและไม่มีกระดูกติด ลิ้น ตับ และส่วนอื่น ๆ ทุกชนิดนำเข้าในสภาพแช่แข็ง ชนิดเนื้อโคมีกระดูกและไม่มีกระดูกติดนำเข้าปีสุดท้ายในปี 2542 และในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับยอดนำเข้ารวมคือ นำเข้าจากญี่ปุ่น 1,985 กก. ยอดนำเข้ารวม 1,403,244 กก. หรือเพียงร้อยละ 0.14 ของการนำเข้าทั้งหมด ส่วนประเภท ลิ้น ตับ และส่วนอื่น ๆ นำเข้าจนถึงปี 2543 โดยมีการนำเข้าลิ้นแช่แข็ง 298 กก. หรือร้อยละ 30 ของจำนวนนำเข้าทั้งหมด ตับ นำเข้า 209 กก. หรือร้อยละ 0.8 ของการนำเข้าทั้งหมด และส่วนอื่น ๆ ของโค 604 กก. หรือร้อยละ 1.4 ของการนำเข้าทั้งหมด
ข้อคิดเห็นของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
1. การนำเข้าเนื้อโคทุกประเภทส่วนมากนำเข้าจาก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา โดยปี 2542 มียอดนำเข้าทุกประเภทประมาณ 1,393 ตัน มูลค่าประมาณ 110 ล้านบาท ปี 2543 นำเข้ารวมทุกประเภท 2,019 ตัน มูลค่าประมาณ 129 ล้านบาท และปี 2544( มค.-กค.) รวมประมาณ 400 ตัน มูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท จากการพบว่าโคในญี่ปุ่นติดเชื้อโรควัวบ้า คาดว่าไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในไทย เพราะในปีที่ผ่านๆ มามีการนำเข้าจากญี่ปุ่นน้อยมากและในปี 2544 ยังไม่มีการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น
2.การประกาศห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สามารถทำได้โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุข แต่การนำเข้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกประเภทต้องผ่านการตรวจสอบและอนุมัติจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะกรมปศุสัตว์ต้องตรวจสอบว่า เนื้อสัตว์ที่ขออนุญาตนำเข้านั้น ปลอดจากเชื้อโรคต้องห้ามหรือไม่และต้องเสียค่าธรรมเนียมการตรวจสอบกิโลกรัมละ 5-10 บาท ตามแต่ละชนิดของเนื้อสัตว์
3. จากการที่มีการห้ามนำเข้าเนื้อโคจากหลายประเทศ ทำให้เนื้อโคคุณภาพดีที่ผลิตในประเทศ เช่น เนื้อโคขุนจากสหกรณ์กำแพงแสนและสหกรณ์ปศุสัตว์โพนยางคำ จำหน่ายได้ดีขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 10-16 ก.ย. 2544--
-สส-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ติดตามสถานการณ์การระบาดของโรควัวบ้าในหลายประเทศในสหภาพยุโรป โดยมีการระบาดในอังกฤษเป็นประเทศแรก สหภาพยุโรปได้ประกาศห้ามอังกฤษและบางประเทศในสหภาพยุโรปส่งออกเนื้อโค ขณะเดียวกันมีหลายประเทศได้ประกาศห้ามนำเข้าเนื้อโคจากประเทศในสหภาพยุโรปที่เกิดการระบาดของโรค ประเทศไทยก็มีการห้ามนำเข้าเนื้อโคจากประเทศเหล่านั้น ตั้งแต่ปี 2541 และประกาศห้ามนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ทำจากเนื้อป่น เนื้อป่นสกัดน้ำมัน เนื้อและกระดูกป่น จากสหภาพยุโรปมาเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องทุกชนิด
จากการพบเชื้อโรควัวบ้าในวัวของญี่ปุ่นและมีบางประเทศเช่นสิงคโปร์ประกาศยกเลิกการนำเข้าเนื้อวัวจากญี่ปุ่นนั้น สำหรับประเทศไทยกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศห้ามนำเข้าเนื้อโคจากญี่ปุ่นและอีก 2 ประเทศ คือ กรีซและสาธารณรัฐเช็ค เมื่อวันที่ 14 กันยายนนี้ สำหรับการนำเข้าเนื้อโคจากญี่ปุ่นนั้น จากข้อมูลของกรมศุลกากรมีการนำเข้าหลายชนิด เช่น เนื้อโคมีกระดูกติดและไม่มีกระดูกติด ลิ้น ตับ และส่วนอื่น ๆ ทุกชนิดนำเข้าในสภาพแช่แข็ง ชนิดเนื้อโคมีกระดูกและไม่มีกระดูกติดนำเข้าปีสุดท้ายในปี 2542 และในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับยอดนำเข้ารวมคือ นำเข้าจากญี่ปุ่น 1,985 กก. ยอดนำเข้ารวม 1,403,244 กก. หรือเพียงร้อยละ 0.14 ของการนำเข้าทั้งหมด ส่วนประเภท ลิ้น ตับ และส่วนอื่น ๆ นำเข้าจนถึงปี 2543 โดยมีการนำเข้าลิ้นแช่แข็ง 298 กก. หรือร้อยละ 30 ของจำนวนนำเข้าทั้งหมด ตับ นำเข้า 209 กก. หรือร้อยละ 0.8 ของการนำเข้าทั้งหมด และส่วนอื่น ๆ ของโค 604 กก. หรือร้อยละ 1.4 ของการนำเข้าทั้งหมด
ข้อคิดเห็นของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
1. การนำเข้าเนื้อโคทุกประเภทส่วนมากนำเข้าจาก ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา โดยปี 2542 มียอดนำเข้าทุกประเภทประมาณ 1,393 ตัน มูลค่าประมาณ 110 ล้านบาท ปี 2543 นำเข้ารวมทุกประเภท 2,019 ตัน มูลค่าประมาณ 129 ล้านบาท และปี 2544( มค.-กค.) รวมประมาณ 400 ตัน มูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท จากการพบว่าโคในญี่ปุ่นติดเชื้อโรควัวบ้า คาดว่าไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในไทย เพราะในปีที่ผ่านๆ มามีการนำเข้าจากญี่ปุ่นน้อยมากและในปี 2544 ยังไม่มีการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น
2.การประกาศห้ามนำเข้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สามารถทำได้โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงสาธารณสุข แต่การนำเข้าเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ทุกประเภทต้องผ่านการตรวจสอบและอนุมัติจากกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพราะกรมปศุสัตว์ต้องตรวจสอบว่า เนื้อสัตว์ที่ขออนุญาตนำเข้านั้น ปลอดจากเชื้อโรคต้องห้ามหรือไม่และต้องเสียค่าธรรมเนียมการตรวจสอบกิโลกรัมละ 5-10 บาท ตามแต่ละชนิดของเนื้อสัตว์
3. จากการที่มีการห้ามนำเข้าเนื้อโคจากหลายประเทศ ทำให้เนื้อโคคุณภาพดีที่ผลิตในประเทศ เช่น เนื้อโคขุนจากสหกรณ์กำแพงแสนและสหกรณ์ปศุสัตว์โพนยางคำ จำหน่ายได้ดีขึ้น
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 10-16 ก.ย. 2544--
-สส-