นายอดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เปิดเผยว่า สิ้นสุด ณ เดือนกันยายน ที่ผ่านมา ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 15,538 แห่ง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4 โดยแบ่งเป็นปั๊มน้ำมันที่มีเครื่องหมายการค้า ที่ผู้ค้าน้ำมันรายงานข้อมูลให้กรมฯ ทราบ จำนวน 5,985 แห่ง และเป็นปั๊มน้ำมันอิสระ ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมฯ จำนวน 9,553 แห่ง จำนวนปั๊มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มขึ้นของปั๊มน้ำมันอิสระที่มีผู้มาขอใบอนุญาตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 853 แห่ง ในขณะที่ปั๊มน้ำมันที่มีเครื่องหมายการค้า กลับมีจำนวนลดลง 228 แห่ง เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก ในขณะที่อัตราผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ปั๊มน้ำมันบางแห่งต้องปิดกิจการไป
สถานที่ตั้งปั๊มน้ำมันกระจายอยู่ตามเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศ ดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5,509 แห่ง
ภาคเหนือ 2,941 แห่ง
ภาคกลาง 1,679 แห่ง
ภาคใต้ 1,556 แห่ง
กรุงเทพฯและปริมณฑล 1,374 แห่ง
ภาคตะวันออก 1,279 แห่ง
ภาคตะวันตก 1,200 แห่ง
กรมทะเบียนการค้าตระหนักดีว่า จากจำนวนปั๊มน้ำมันที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน การออกตรวจสอบปราบปรามผู้ค้าน้ำมันคุณภาพต่ำของทางราชการอาจไม่สามารถกระทำได้ทั่วถึง กรมฯ จึงเน้นการกำกับดูแล โดยขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ให้ช่วยตรวจสอบดูแลสถานีบริการภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนไม่ให้จำหน่ายน้ำมันคุณภาพต่ำ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและเป็นการรักษาชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของตนเองด้วย จากนโยบายดังกล่าว จะทำให้ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ได้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการกำกับดูแลคุณภาพน้ำมันที่จำหน่ายให้ประชาชนอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการตรวจสอบดูแลของทางราชการเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งจะเป็นผลดีต่อราชการและทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น--จบ--
--กรมทะเบียนการค้า ธันวาคม 2543--
-อน-
สถานที่ตั้งปั๊มน้ำมันกระจายอยู่ตามเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศ ดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5,509 แห่ง
ภาคเหนือ 2,941 แห่ง
ภาคกลาง 1,679 แห่ง
ภาคใต้ 1,556 แห่ง
กรุงเทพฯและปริมณฑล 1,374 แห่ง
ภาคตะวันออก 1,279 แห่ง
ภาคตะวันตก 1,200 แห่ง
กรมทะเบียนการค้าตระหนักดีว่า จากจำนวนปั๊มน้ำมันที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน การออกตรวจสอบปราบปรามผู้ค้าน้ำมันคุณภาพต่ำของทางราชการอาจไม่สามารถกระทำได้ทั่วถึง กรมฯ จึงเน้นการกำกับดูแล โดยขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ให้ช่วยตรวจสอบดูแลสถานีบริการภายใต้เครื่องหมายการค้าของตนไม่ให้จำหน่ายน้ำมันคุณภาพต่ำ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและเป็นการรักษาชื่อเสียงในเครื่องหมายการค้าของตนเองด้วย จากนโยบายดังกล่าว จะทำให้ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ได้เข้ามามีส่วนช่วยเหลือในการกำกับดูแลคุณภาพน้ำมันที่จำหน่ายให้ประชาชนอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการตรวจสอบดูแลของทางราชการเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งจะเป็นผลดีต่อราชการและทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น--จบ--
--กรมทะเบียนการค้า ธันวาคม 2543--
-อน-