4.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
การผลิตและการใช้พลังงานมักก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะคุณภาพอากาศ ซึ่งหากจำแนกการใช้พลังงานเป็นรายสาขาแล้ว สาขาคมนาคมขนส่งมีการใช้พลังงานมากกว่าสาขาอื่น คือ ประมาณร้อยละ 40 ของการใช้พลังงานโดยรวม ภาคอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 30 ภาคธุรกิจและที่อยู่อาศัยประมาณร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือใช้ในภาคเกษตรกรรมและเหมืองแร่ ดังนั้น เพื่อช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการใช้พลังงานในภาคการผลิตต่างๆ โดยเฉพาะในการผลิตไฟฟ้าและภาคคมนาคมขนส่ง จึงได้มีการดำเนินการที่สำคัญดังนี้
(1) กฟผ. ได้นำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อทดแทนน้ำมันเตามากขึ้น โดยในปี 2542 กฟผ. ใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าเพียง 3,762 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 12 จากปี 2541 ในส่วนของโรงไฟฟ้าแม่เมาะซึ่งใช้ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า กฟผ. ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์กำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulphurization : FGD) ในเครื่องที่ 4 - 7 แล้วเสร็จ นอกจากนั้น กฟผ. ได้ซื้อลิกไนต์ที่มีกำมะถันต่ำ จากเหมืองเอกชน มาผสมกับลิกไนต์ที่เหมืองแม่เมาะ เพื่อลดปัญหาผลกระทบ จากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(2) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้สนับสนุนค่าใช้จ่าย เพื่อนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งมีหลายโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ โครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ไม่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง และฐานปฏิบัติการกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 336 และ 337 โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารศาลากลางจังหวัด ที่ชนะการประกวดตามโครงการประกวดการประหยัดพลังงาน ในปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ให้แก่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ การติดตั้งระบบประจุแบตเตอรี่ ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในโครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เกาะต่างๆ ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้จำนวน 20 เกาะ โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานลม เป็นต้น
(3) ปตท. ได้ดำเนินโครงการก่อนการขยายตลาดการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์ โดยดำเนินการดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซลเป็นระบบเชื้อเพลิงร่วม (Dual Fuel System) ซึ่งใช้ได้ทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดีเซล ประกอบด้วย รถโดยสารประจำทางของ ขสมก. รถโดยสารสนามบิน รถเก็บขยะของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 16 คัน และการดัดแปลงเครื่องยนต์เบนซินเป็นระบบเชื้อเพลิงสองชนิด (Bi-fuel System) ซึ่งใช้ได้ทั้งน้ำมันเบนซินและก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของ ปตท. และของเอกชน รวมทั้งหมด 12 คัน โดยจะประเมินผลการทดสอบแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2543 นอกจากนั้น มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย) ได้ดำเนินการปรับแต่งเครื่องยนต์ (Tune-up) ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และทำการตรวจวัดมลภาวะที่เกิดจากเครื่องยนต์ ที่มีการปรับแต่ง ว่าสามารถลดมลภาวะได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้ง จัดให้มีการฝึกอบรมแก่สถาบันการศึกษาต่างๆ และส่วนราชการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ให้ถูกต้อง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง และลดมลภาวะ
(4) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 เห็นชอบให้มีการผ่อนผัน การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมไอระเหย ของน้ำมันเบนซินในคลังน้ำมัน รถบรรทุกน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมัน ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากเดิมกำหนดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2543 เลื่อนออกไปอีก 18 เดือน เป็นภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำมันลดลง ส่งผลให้มลพิษทางอากาศไม่รุนแรงอย่างที่คาดการณ์ไว้ และเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ค้าน้ำมันในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศถดถอย ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ
4.5 ความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ
ในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศด้านพลังงาน สพช. ในฐานะที่เป็น ผู้ประสานงานด้านพลังงานในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิค (APEC) และกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้ดำเนินการพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับกลุ่มองค์กรดังกล่าว รวมทั้ง มีบทบาทในการกำหนดท่าทีฝ่ายไทยในการเจรจา และพัฒนาแนวทางความร่วมมือด้านพลังงาน โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้
(1) สพช. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิค (APEC) ด้านพลังงาน ซึ่งมีการประชุมต่างๆ ดังนี้
การประชุม APEC Natural Gas Reform Workshop ระหว่างวันที่ 8 - 10 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยที่ประชุมได้มีการนำเสนอถึงสถานภาพการดำเนินการ ปฏิรูปอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย บทเรียน การท้าทาย และความสำเร็จในการดำเนินการปฏิรูปอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ ของประเทศสมาชิก ซึ่งต่อมาคณะผู้แทนไทยได้รายงานผลการประชุมดังกล่าว ต่อที่ประชุม APEC Energy Working Group (EWG) ครั้งที่ 18 ณ กรุงเวลลิงตั้น ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งที่ประชุม EWG เห็นว่าการประชุมที่จัดในประเทศไทย นับเป็นกรณีทดสอบที่ประสบความสำเร็จ และเห็นควรให้มีการจัดประชุมเช่นนี้ในประเทศอื่นๆ ต่อไป
การประชุมเตรียมการเพื่อจัดการประชุมรัฐมนตรีพลังงาน APEC และการประชุมคณะทำงานด้านพลังงานของ APEC (Energy Working Group : EWG) ครั้งที่ 19 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2543 โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย 2 ประเด็น คือ ที่ประชุม EWG เห็นชอบให้ประเทศไทยจัดโครงการสัมมนาเรื่อง “Clean Fossil Energy Technical Seminar ” ซึ่งเป็นโครงการที่ประเทศไทยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง โดยกำหนดการสัมมนาจะมีขึ้นประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2543 ที่กรุงเทพฯ นอกจากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม EWG ครั้งที่ 23 ประมาณเดือนพฤษภาคม 2545
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานและเจ้าหน้าที่อาวุโสของกลุ่ม APEC ครั้งที่ 4 ณ เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 10 - 12 พฤษภาคม 2543 โดยที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันที่จะผลักดันให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านพลังงาน การพัฒนาและการใช้พลังงานอย่างสะอาด ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้คณะทำงานด้านพลังงาน ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแนวคิดริเริ่มด้านต่างๆ และรายงานประสิทธิผลของการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการแนวใหม่ ซึ่งเน้นความร่วมมือในการพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดน้ำมัน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงาน ตลอดจนการประหยัดให้รัฐมนตรีพลังงานทราบในการประชุมครั้งต่อไป
(2) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) และคณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 18 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกัน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านพลังงาน การกระจายแหล่งพลังงาน การใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน การเร่งดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบสายส่งไฟฟ้า และท่อส่งก๊าซธรรมชาติ การเร่งระดมทุนทั้งจากภายในและภายนอก เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของโครงการด้านพลังงาน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งได้มีการรายงานถึงความสำเร็จ และความก้าวหน้าในการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการอาเซียนสำหรับความร่วมมือด้านพลังงาน (พ.ศ. 2542 - 2547) ในรอบระยะเวลา 1 ปี นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบต่อกิจกรรมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น โดยครอบคลุมด้านความมั่นคงทางด้านพลังงาน ด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนด้านพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน
(3) สพช. ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานโครงการ Energy Conservation and Renewable Energy Utilization for Rural Development ขึ้น ในระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2543 โดยเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมวิเทศสหการในนามของรัฐบาลไทย และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งแคนาดาในนามของรัฐบาลแคนาดา (Canadian International Development Agency - CIDA) โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงา นและพลังงานทดแทน จากประเทศไทยให้กับผู้แทนจาก สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา
(4) สพช. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส สาขาพลังงานในการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ บังกลาเทศ - อินเดีย - พม่า - ศรีลังกา - ไทย (Bangladesh - India - Myanmar - Sri Lanka - Thailand Economic Cooperation : BIMST - EC) ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า ระหว่างวันที่ 5 - 6 มิถุนายน 2543 โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้จัดทำฐานข้อมูลด้านพลังงานขึ้นที่พม่า และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือด้านการพัฒนาก๊าซธรรมชาติ และการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ และแหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ โดยความร่วมมือในชั้นต้นจะเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และความรู้ด้านเทคโนโลยี และการหาแหล่งสนับสนุนเงินทุน สำหรับกิจกรรมความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานในภูมิภาค
5. บทสรุป
โดยภาพรวมการผลิต และการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในปี 2543 หลังจากที่ได้ชะลอตัวลงมาตั้งแต่ปลายปี 2540 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีการพึ่งพาพลังงาน จากต่างประเทศในอัตราที่สูงโดยเฉพาะน้ำมัน ดังนั้น ในปี 2542 ประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของกลุ่มโอเปคและนอกโอเปค ในขณะที่ความต้องการน้ำมันของโลกเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท จึงทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงปี 2543 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาดังกล่าว และได้พยายามผลักดันให้มีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งประกอบด้วย มาตรการอนุรักษ์พลังงาน การส่งเสริมการใช้น้ำมันให้เหมาะสม กับความต้องการของเครื่องยนต์ การตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยชดเชยราคาน้ำมันให้เป็นรายสาขา ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการเลือกใช้พลังงานทดแทนอื่นเป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ได้มีการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน รวมทั้ง วิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านพลังงาน ของประเทศในช่วงที่เหลือ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ก็ได้มีการดำเนินการต่อเนื่องจากปีก่อน และได้มีการปรับเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาพลังงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสถานการณ์ทางด้านพลังงาน ที่เปลี่ยนแปลงไป มาตรการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัด ในภาวะที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ กลายเป็นมาตรการที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ในขณะเดียวกันการส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการพลังงาน โดยเร่งรัดการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ให้เป็นไปตามกรอบของแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ก็เป็นมาตรการที่ควรเร่งดำเนินการ เพื่อช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งในที่สุดแล้วจะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและในราคาที่เป็นธรรม
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ/2 ตุลาคม 2543--
การผลิตและการใช้พลังงานมักก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะคุณภาพอากาศ ซึ่งหากจำแนกการใช้พลังงานเป็นรายสาขาแล้ว สาขาคมนาคมขนส่งมีการใช้พลังงานมากกว่าสาขาอื่น คือ ประมาณร้อยละ 40 ของการใช้พลังงานโดยรวม ภาคอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 30 ภาคธุรกิจและที่อยู่อาศัยประมาณร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือใช้ในภาคเกษตรกรรมและเหมืองแร่ ดังนั้น เพื่อช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการใช้พลังงานในภาคการผลิตต่างๆ โดยเฉพาะในการผลิตไฟฟ้าและภาคคมนาคมขนส่ง จึงได้มีการดำเนินการที่สำคัญดังนี้
(1) กฟผ. ได้นำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อทดแทนน้ำมันเตามากขึ้น โดยในปี 2542 กฟผ. ใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าเพียง 3,762 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 12 จากปี 2541 ในส่วนของโรงไฟฟ้าแม่เมาะซึ่งใช้ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า กฟผ. ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์กำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulphurization : FGD) ในเครื่องที่ 4 - 7 แล้วเสร็จ นอกจากนั้น กฟผ. ได้ซื้อลิกไนต์ที่มีกำมะถันต่ำ จากเหมืองเอกชน มาผสมกับลิกไนต์ที่เหมืองแม่เมาะ เพื่อลดปัญหาผลกระทบ จากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(2) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้สนับสนุนค่าใช้จ่าย เพื่อนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งมีหลายโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ โครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ไม่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง และฐานปฏิบัติการกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 336 และ 337 โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารศาลากลางจังหวัด ที่ชนะการประกวดตามโครงการประกวดการประหยัดพลังงาน ในปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ให้แก่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ การติดตั้งระบบประจุแบตเตอรี่ ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในโครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เกาะต่างๆ ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้จำนวน 20 เกาะ โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานลม เป็นต้น
(3) ปตท. ได้ดำเนินโครงการก่อนการขยายตลาดการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์ โดยดำเนินการดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซลเป็นระบบเชื้อเพลิงร่วม (Dual Fuel System) ซึ่งใช้ได้ทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดีเซล ประกอบด้วย รถโดยสารประจำทางของ ขสมก. รถโดยสารสนามบิน รถเก็บขยะของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 16 คัน และการดัดแปลงเครื่องยนต์เบนซินเป็นระบบเชื้อเพลิงสองชนิด (Bi-fuel System) ซึ่งใช้ได้ทั้งน้ำมันเบนซินและก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของ ปตท. และของเอกชน รวมทั้งหมด 12 คัน โดยจะประเมินผลการทดสอบแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2543 นอกจากนั้น มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย) ได้ดำเนินการปรับแต่งเครื่องยนต์ (Tune-up) ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และทำการตรวจวัดมลภาวะที่เกิดจากเครื่องยนต์ ที่มีการปรับแต่ง ว่าสามารถลดมลภาวะได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้ง จัดให้มีการฝึกอบรมแก่สถาบันการศึกษาต่างๆ และส่วนราชการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ให้ถูกต้อง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง และลดมลภาวะ
(4) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 เห็นชอบให้มีการผ่อนผัน การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมไอระเหย ของน้ำมันเบนซินในคลังน้ำมัน รถบรรทุกน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมัน ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากเดิมกำหนดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2543 เลื่อนออกไปอีก 18 เดือน เป็นภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำมันลดลง ส่งผลให้มลพิษทางอากาศไม่รุนแรงอย่างที่คาดการณ์ไว้ และเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ค้าน้ำมันในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศถดถอย ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ
4.5 ความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ
ในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศด้านพลังงาน สพช. ในฐานะที่เป็น ผู้ประสานงานด้านพลังงานในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิค (APEC) และกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้ดำเนินการพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับกลุ่มองค์กรดังกล่าว รวมทั้ง มีบทบาทในการกำหนดท่าทีฝ่ายไทยในการเจรจา และพัฒนาแนวทางความร่วมมือด้านพลังงาน โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้
(1) สพช. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิค (APEC) ด้านพลังงาน ซึ่งมีการประชุมต่างๆ ดังนี้
การประชุม APEC Natural Gas Reform Workshop ระหว่างวันที่ 8 - 10 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยที่ประชุมได้มีการนำเสนอถึงสถานภาพการดำเนินการ ปฏิรูปอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย บทเรียน การท้าทาย และความสำเร็จในการดำเนินการปฏิรูปอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ ของประเทศสมาชิก ซึ่งต่อมาคณะผู้แทนไทยได้รายงานผลการประชุมดังกล่าว ต่อที่ประชุม APEC Energy Working Group (EWG) ครั้งที่ 18 ณ กรุงเวลลิงตั้น ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งที่ประชุม EWG เห็นว่าการประชุมที่จัดในประเทศไทย นับเป็นกรณีทดสอบที่ประสบความสำเร็จ และเห็นควรให้มีการจัดประชุมเช่นนี้ในประเทศอื่นๆ ต่อไป
การประชุมเตรียมการเพื่อจัดการประชุมรัฐมนตรีพลังงาน APEC และการประชุมคณะทำงานด้านพลังงานของ APEC (Energy Working Group : EWG) ครั้งที่ 19 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2543 โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย 2 ประเด็น คือ ที่ประชุม EWG เห็นชอบให้ประเทศไทยจัดโครงการสัมมนาเรื่อง “Clean Fossil Energy Technical Seminar ” ซึ่งเป็นโครงการที่ประเทศไทยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง โดยกำหนดการสัมมนาจะมีขึ้นประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2543 ที่กรุงเทพฯ นอกจากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม EWG ครั้งที่ 23 ประมาณเดือนพฤษภาคม 2545
การประชุมรัฐมนตรีพลังงานและเจ้าหน้าที่อาวุโสของกลุ่ม APEC ครั้งที่ 4 ณ เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 10 - 12 พฤษภาคม 2543 โดยที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันที่จะผลักดันให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านพลังงาน การพัฒนาและการใช้พลังงานอย่างสะอาด ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้คณะทำงานด้านพลังงาน ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแนวคิดริเริ่มด้านต่างๆ และรายงานประสิทธิผลของการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการแนวใหม่ ซึ่งเน้นความร่วมมือในการพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดน้ำมัน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงาน ตลอดจนการประหยัดให้รัฐมนตรีพลังงานทราบในการประชุมครั้งต่อไป
(2) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) และคณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 18 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกัน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านพลังงาน การกระจายแหล่งพลังงาน การใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน การเร่งดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบสายส่งไฟฟ้า และท่อส่งก๊าซธรรมชาติ การเร่งระดมทุนทั้งจากภายในและภายนอก เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของโครงการด้านพลังงาน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งได้มีการรายงานถึงความสำเร็จ และความก้าวหน้าในการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการอาเซียนสำหรับความร่วมมือด้านพลังงาน (พ.ศ. 2542 - 2547) ในรอบระยะเวลา 1 ปี นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบต่อกิจกรรมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น โดยครอบคลุมด้านความมั่นคงทางด้านพลังงาน ด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนด้านพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน
(3) สพช. ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานโครงการ Energy Conservation and Renewable Energy Utilization for Rural Development ขึ้น ในระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2543 โดยเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมวิเทศสหการในนามของรัฐบาลไทย และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งแคนาดาในนามของรัฐบาลแคนาดา (Canadian International Development Agency - CIDA) โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงา นและพลังงานทดแทน จากประเทศไทยให้กับผู้แทนจาก สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา
(4) สพช. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส สาขาพลังงานในการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ บังกลาเทศ - อินเดีย - พม่า - ศรีลังกา - ไทย (Bangladesh - India - Myanmar - Sri Lanka - Thailand Economic Cooperation : BIMST - EC) ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า ระหว่างวันที่ 5 - 6 มิถุนายน 2543 โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้จัดทำฐานข้อมูลด้านพลังงานขึ้นที่พม่า และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือด้านการพัฒนาก๊าซธรรมชาติ และการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ และแหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ โดยความร่วมมือในชั้นต้นจะเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และความรู้ด้านเทคโนโลยี และการหาแหล่งสนับสนุนเงินทุน สำหรับกิจกรรมความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานในภูมิภาค
5. บทสรุป
โดยภาพรวมการผลิต และการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในปี 2543 หลังจากที่ได้ชะลอตัวลงมาตั้งแต่ปลายปี 2540 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีการพึ่งพาพลังงาน จากต่างประเทศในอัตราที่สูงโดยเฉพาะน้ำมัน ดังนั้น ในปี 2542 ประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของกลุ่มโอเปคและนอกโอเปค ในขณะที่ความต้องการน้ำมันของโลกเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท จึงทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงปี 2543 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาดังกล่าว และได้พยายามผลักดันให้มีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งประกอบด้วย มาตรการอนุรักษ์พลังงาน การส่งเสริมการใช้น้ำมันให้เหมาะสม กับความต้องการของเครื่องยนต์ การตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยชดเชยราคาน้ำมันให้เป็นรายสาขา ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการเลือกใช้พลังงานทดแทนอื่นเป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ได้มีการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน รวมทั้ง วิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านพลังงาน ของประเทศในช่วงที่เหลือ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ก็ได้มีการดำเนินการต่อเนื่องจากปีก่อน และได้มีการปรับเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาพลังงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสถานการณ์ทางด้านพลังงาน ที่เปลี่ยนแปลงไป มาตรการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัด ในภาวะที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ กลายเป็นมาตรการที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ในขณะเดียวกันการส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการพลังงาน โดยเร่งรัดการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ให้เป็นไปตามกรอบของแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ก็เป็นมาตรการที่ควรเร่งดำเนินการ เพื่อช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งในที่สุดแล้วจะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและในราคาที่เป็นธรรม
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ/2 ตุลาคม 2543--