ข่าวในประเทศ
1. ธปท.คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 45 จะขยายตัวร้อยละ 1-3 รายงานข่าวจากธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลจากเหตุการณ์วินาศกรรมใน สรอ.ต่อเศรษฐกิจไทยว่า ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าลดลงร้อยละ 1 ทำให้การส่งออกของไทยลดลงร้อยละ 1.3 และส่งผลต่อเนื่องถึงการบริโภคและการลงทุนให้ปรับตัวลดลงตาม รวมทั้งส่งผลกระทบให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยลดลงร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ ภายหลังสถานการณ์ดังกล่าว ธปท.ได้ดูแลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ คือมีการเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 44.70-44.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับ ธปท.ยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) ประเภท 14 วัน ไว้ที่ระดับร้อยละ 2.5 ต่อปี เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนและการบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศคือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายหักด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับประเทศกลุ่มอาเซียนด้วยกัน นอกจากนี้ ธปท.ได้เร่งรัดการให้ สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านสถาบันการเงินพิเศษในการกำกับของรัฐในวงเงินเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ที่ 50.5 พัน ล.บาท ในช่วงเดือน ต.ค.44-ม.ค.45 ซึ่งจากการดำเนินมาตรการต่างๆ ของ ธปท.เชื่อว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจในปี 45 สามารถขยายตัวร้อยละ 1-3 (โลกวันนี้ 5)
2. ก.คลังพิจารณาปรับโครงสร้างการกู้เงินจากต่างประเทศของรัฐบาลเพื่อลดภาระหนี้สาธารณะ รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับโครงสร้างการกู้เงินหรือรีไฟแนนซ์เงินกู้ ต่างประเทศของรัฐบาลที่มีอายุ 5 ปีลง เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะของภาครัฐ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 4-5 หากสัญญาเงินกู้ใดมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่านี้ ก.คลังจะนำมารีไฟแนนซ์ แต่จะพิจารณาถึงเงื่อนไขในแต่ละสัญญาเงินกู้ด้วย เพราะมีบางสัญญาที่กำหนดให้ไม่สามารถทำรีไฟแนนซ์ได้ ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก.คลังได้รีไฟแนนซ์เงินกู้ต่าง ๆ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของดอกเบี้ยที่ต้องใช้คืนต่างประเทศได้จำนวนประมาณ 8,700 ล.บาท (เดลินิวส์ 5)
3. ผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผย ผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “การกำหนดส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก” ที่สำรวจจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นสมาชิกหอการค้าไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 508 ราย ในประเด็นว่าการกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่ ซึ่งผู้ตอบร้อยละ 65.24 เห็นว่ามีผลกระทบ ร้อยละ 23.93 เห็นว่าไม่มีผลกระทบ ผู้ตอบร้อยละ 24.71 เห็นว่ามีผลกระทบด้านบวก และร้อยละ 28.57 เห็นว่ามีผลกระทบด้านลบ โดยผลกระทบด้านบวกตามลำดับ ได้แก่ 1) ทำให้อัตราเงินกู้ต่ำลง 2) เพิ่มวินัยของ ธพ. 3) ช่วยลดความฟุ่มเฟือยในการดำเนินงานของ ธพ. ส่วนผลกระทบด้านลบตามลำดับได้แก่ 1) ทำให้ ธพ.ปล่อยสินเชื่อเฉพาะลูกค้าที่เครดิตดี 2) ทำลายกลไกตลาด 3) ทำให้ ธพ.ต้องปิดสาขาในต่างจังหวัด (ไทยรัฐ 3)
ข่าวต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของ สรอ.ในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 2 พ.ย. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.4 จากร้อยละ 4.9 ในเดือน ก.ย. 44 นับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 39 ที่มีอัตราร้อยละ 5.4 เช่นกัน ขณะเดียวกัน การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมในเดือน ต.ค.44 ลดลงจำนวน 415,000 คน เทียบกับตัวเลขหลังปรับฤดูกาล ที่ลดลงจำนวน 213,000 คนในเดือน ก.ย. 44 นับเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบมากกว่า 20 ปีตั้งแต่ที่เคยลดลงจำนวน 464,000 คนในเดือน พ.ค. 23 รายงานครั้งนี้ แย่กว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะลดลงจำนวน 289,000 คน ขณะที่ อัตราการว่างงานจะอยู่ที่ร้อยละ 5.2 และชี้ให้เห็นว่าการจ้างงานที่ลดลงในเดือนดังกล่าว ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่จากเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 44 และส่งผลให้เศรษฐกิจ สรอ.ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยในขั้นเริ่มต้นแล้ว ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า รายงานในเดือนดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวอย่างรุนแรงและเกื้อหนุนแนวคิดว่า ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.5ในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พ.ย. นี้ (รอยเตอร์2)
2. คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานของ สรอ.ติดลบร้อยละ 5.8 ในเดือน ก.ย.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 2 พ.ย.44 ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า เดือน ก.ย.44 คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน (หลังปรับฤดูกาล) มีมูลค่า 313.15 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ติดลบร้อยละ 5.8 หลังจากติดลบร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค.44 เทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะติดลบโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.7 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ที่ลดลงมากในเดือน ก.ย.ได้แก่ อุปกรณ์การขนส่งติดลบร้อยละ 15.8 หลังจากติดลบร้อยละ 2.1 ในเดือน ส.ค. รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คำสั่งซื้อฯ ติดลบร้อยละ 8.4 เทียบกับที่เป็นบวกร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค. การส่งมอบสินค้าติดลบร้อยละ 4.2 ในเดือน ก.ย.หลังจากติดลบร้อยละ 0.3 ในเดือนก่อน สินค้าคงเหลือติดลบร้อยละ 0.9 เทียบกับที่ติดลบร้อยละ 0.7 ส่งผลให้สัดส่วนสินค้าคงเหลือต่อการส่งมอบสินค้าในเดือน ก.ย.เท่ากับ 1.43 เพิ่มขึ้นจาก 1.38 ในเดือน ส.ค. จากตัวเลขดังกล่าว นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า เศรษฐกิจ สรอ.ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยมาแล้วเป็นเวลามากกว่า 1 ปี (รอยเตอร์ 2)
3. ดัชนีแนวโน้มเงินเฟ้อของ สรอ. ในเดือน ต.ค. 44 ลดลงต่ำสุดในรอบ 26 ปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 2 พ.ย. 44 Economic Cycle Research Institute (ECRI) เปิดเผยว่า ดัชนีแนวโน้มเงินเฟ้อของ สรอ. (U.S. future inflation index = USFIG) ลดลงที่ระดับ 96ในเดือน ต.ค. 44 จากตัวเลขหลังปรับที่ระดับ 99.2 ในเดือน ก.ย. 44 นับเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 26 ปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าอุตสาหกรรมและอัตราการว่างงานที่โน้มต่ำลง ในวันเดียวกัน International Business and Economic Research (FIBER) เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเงินเฟ้อของ สรอ. ในเดือน ต.ค.44 อยู่ที่ระดับ 88.9 ลดลงจากระดับ 91.7 ในเดือน ก.ย.44 (หลังปรับตัวเลข) ซึ่งคิดเป็นการเปลี่ยนแปลงลดลงเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนถึงร้อยละ 16.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 12.9 ในเดือนก่อน (รอยเตอร์ 2)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 พ.ย.44 44.723 (44.743)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 2 พ.ย. 44ซื้อ 44.5373 (44.5451) ขาย 44.8322 (44.8405)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,850) ขาย 5,950 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 18.09 (17.97)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.59 (13.59) ดีเซลหมุนเร็ว 12.59 (12.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 45 จะขยายตัวร้อยละ 1-3 รายงานข่าวจากธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลจากเหตุการณ์วินาศกรรมใน สรอ.ต่อเศรษฐกิจไทยว่า ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าลดลงร้อยละ 1 ทำให้การส่งออกของไทยลดลงร้อยละ 1.3 และส่งผลต่อเนื่องถึงการบริโภคและการลงทุนให้ปรับตัวลดลงตาม รวมทั้งส่งผลกระทบให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยลดลงร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ ภายหลังสถานการณ์ดังกล่าว ธปท.ได้ดูแลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ คือมีการเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 44.70-44.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ประกอบกับ ธปท.ยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) ประเภท 14 วัน ไว้ที่ระดับร้อยละ 2.5 ต่อปี เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนและการบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศคือ อัตราดอกเบี้ยนโยบายหักด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้วอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ซึ่งถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับประเทศกลุ่มอาเซียนด้วยกัน นอกจากนี้ ธปท.ได้เร่งรัดการให้ สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผ่านสถาบันการเงินพิเศษในการกำกับของรัฐในวงเงินเป้าหมายซึ่งกำหนดไว้ที่ 50.5 พัน ล.บาท ในช่วงเดือน ต.ค.44-ม.ค.45 ซึ่งจากการดำเนินมาตรการต่างๆ ของ ธปท.เชื่อว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจในปี 45 สามารถขยายตัวร้อยละ 1-3 (โลกวันนี้ 5)
2. ก.คลังพิจารณาปรับโครงสร้างการกู้เงินจากต่างประเทศของรัฐบาลเพื่อลดภาระหนี้สาธารณะ รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับโครงสร้างการกู้เงินหรือรีไฟแนนซ์เงินกู้ ต่างประเทศของรัฐบาลที่มีอายุ 5 ปีลง เพื่อลดภาระหนี้สาธารณะของภาครัฐ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 4-5 หากสัญญาเงินกู้ใดมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่านี้ ก.คลังจะนำมารีไฟแนนซ์ แต่จะพิจารณาถึงเงื่อนไขในแต่ละสัญญาเงินกู้ด้วย เพราะมีบางสัญญาที่กำหนดให้ไม่สามารถทำรีไฟแนนซ์ได้ ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ก.คลังได้รีไฟแนนซ์เงินกู้ต่าง ๆ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องของดอกเบี้ยที่ต้องใช้คืนต่างประเทศได้จำนวนประมาณ 8,700 ล.บาท (เดลินิวส์ 5)
3. ผลการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผย ผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “การกำหนดส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก” ที่สำรวจจากผู้ประกอบการซึ่งเป็นสมาชิกหอการค้าไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 508 ราย ในประเด็นว่าการกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5 มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมหรือไม่ ซึ่งผู้ตอบร้อยละ 65.24 เห็นว่ามีผลกระทบ ร้อยละ 23.93 เห็นว่าไม่มีผลกระทบ ผู้ตอบร้อยละ 24.71 เห็นว่ามีผลกระทบด้านบวก และร้อยละ 28.57 เห็นว่ามีผลกระทบด้านลบ โดยผลกระทบด้านบวกตามลำดับ ได้แก่ 1) ทำให้อัตราเงินกู้ต่ำลง 2) เพิ่มวินัยของ ธพ. 3) ช่วยลดความฟุ่มเฟือยในการดำเนินงานของ ธพ. ส่วนผลกระทบด้านลบตามลำดับได้แก่ 1) ทำให้ ธพ.ปล่อยสินเชื่อเฉพาะลูกค้าที่เครดิตดี 2) ทำลายกลไกตลาด 3) ทำให้ ธพ.ต้องปิดสาขาในต่างจังหวัด (ไทยรัฐ 3)
ข่าวต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของ สรอ.ในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 2 พ.ย. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 44 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.4 จากร้อยละ 4.9 ในเดือน ก.ย. 44 นับเป็นอัตราสูงที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 39 ที่มีอัตราร้อยละ 5.4 เช่นกัน ขณะเดียวกัน การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมในเดือน ต.ค.44 ลดลงจำนวน 415,000 คน เทียบกับตัวเลขหลังปรับฤดูกาล ที่ลดลงจำนวน 213,000 คนในเดือน ก.ย. 44 นับเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบมากกว่า 20 ปีตั้งแต่ที่เคยลดลงจำนวน 464,000 คนในเดือน พ.ค. 23 รายงานครั้งนี้ แย่กว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะลดลงจำนวน 289,000 คน ขณะที่ อัตราการว่างงานจะอยู่ที่ร้อยละ 5.2 และชี้ให้เห็นว่าการจ้างงานที่ลดลงในเดือนดังกล่าว ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่จากเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 44 และส่งผลให้เศรษฐกิจ สรอ.ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยในขั้นเริ่มต้นแล้ว ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า รายงานในเดือนดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวอย่างรุนแรงและเกื้อหนุนแนวคิดว่า ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.5ในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 6 พ.ย. นี้ (รอยเตอร์2)
2. คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงานของ สรอ.ติดลบร้อยละ 5.8 ในเดือน ก.ย.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 2 พ.ย.44 ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า เดือน ก.ย.44 คำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน (หลังปรับฤดูกาล) มีมูลค่า 313.15 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ติดลบร้อยละ 5.8 หลังจากติดลบร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค.44 เทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะติดลบโดยเฉลี่ยร้อยละ 4.7 ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค.44 ทั้งนี้ คำสั่งซื้อฯ ที่ลดลงมากในเดือน ก.ย.ได้แก่ อุปกรณ์การขนส่งติดลบร้อยละ 15.8 หลังจากติดลบร้อยละ 2.1 ในเดือน ส.ค. รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คำสั่งซื้อฯ ติดลบร้อยละ 8.4 เทียบกับที่เป็นบวกร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค. การส่งมอบสินค้าติดลบร้อยละ 4.2 ในเดือน ก.ย.หลังจากติดลบร้อยละ 0.3 ในเดือนก่อน สินค้าคงเหลือติดลบร้อยละ 0.9 เทียบกับที่ติดลบร้อยละ 0.7 ส่งผลให้สัดส่วนสินค้าคงเหลือต่อการส่งมอบสินค้าในเดือน ก.ย.เท่ากับ 1.43 เพิ่มขึ้นจาก 1.38 ในเดือน ส.ค. จากตัวเลขดังกล่าว นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า เศรษฐกิจ สรอ.ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยมาแล้วเป็นเวลามากกว่า 1 ปี (รอยเตอร์ 2)
3. ดัชนีแนวโน้มเงินเฟ้อของ สรอ. ในเดือน ต.ค. 44 ลดลงต่ำสุดในรอบ 26 ปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 2 พ.ย. 44 Economic Cycle Research Institute (ECRI) เปิดเผยว่า ดัชนีแนวโน้มเงินเฟ้อของ สรอ. (U.S. future inflation index = USFIG) ลดลงที่ระดับ 96ในเดือน ต.ค. 44 จากตัวเลขหลังปรับที่ระดับ 99.2 ในเดือน ก.ย. 44 นับเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 26 ปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าอุตสาหกรรมและอัตราการว่างงานที่โน้มต่ำลง ในวันเดียวกัน International Business and Economic Research (FIBER) เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเงินเฟ้อของ สรอ. ในเดือน ต.ค.44 อยู่ที่ระดับ 88.9 ลดลงจากระดับ 91.7 ในเดือน ก.ย.44 (หลังปรับตัวเลข) ซึ่งคิดเป็นการเปลี่ยนแปลงลดลงเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนถึงร้อยละ 16.3 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 12.9 ในเดือนก่อน (รอยเตอร์ 2)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 พ.ย.44 44.723 (44.743)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 2 พ.ย. 44ซื้อ 44.5373 (44.5451) ขาย 44.8322 (44.8405)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,850 (5,850) ขาย 5,950 (5,950)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 18.09 (17.97)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.59 (13.59) ดีเซลหมุนเร็ว 12.59 (12.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-