ข่าวในประเทศ
1. กองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งคณะทำงานศึกษาสัญญาซื้อขาย ธ.ศรีนครให้ชัดเจนก่อนลงนามซื้อขายอย่างเป็นทางการ รองปลัด ก.คลัง ในฐานะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ว่า ที่ประชุมฯ ได้พิจารณารายละเอียดสัญญาการขาย ธ.ศรีนครให้แก่ ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (เอชเอสบีซี) ซึ่งเป็นรายละเอียดด้านกฎหมายประมาณ 15-16 ข้อ โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของ ธปท. พิจารณาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเอชเอสบีซี ขณะเดียวกัน นายจักรทิพย์ นิติพน ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จะสามารถเจรจาและมีข้อสรุปเพื่อให้มีการซื้อขายอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือน ส.ค.43 ทั้งนี้ ภายหลังที่เอชเอสบีซีเข้าบริหาร ธ.ศรีนคร จะดำเนินการปรับโครงสร้างเงินทุนให้เหมาะสม คาดว่าจะลดทุนจดทะเบียนจาก 39,000 ล.บาท ให้คงเหลือ 10,000 ล.บาท เพื่อให้เหมาะสมกับสินเชื่อที่มีจำนวน 165,000 ล.บาท สำหรับการขาย ธ.นครหลวงไทยนั้น ที่ประชุมกองทุนฟื้นฟูฯ ยังมิได้มีการพิจารณาแต่อย่างใด (กรุงเทพธุรกิจ 4)
2. ก.คลังกำลังปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกตราสารหนี้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก นายชาญชัย มุสิกนิศากร ที่ปรึกษา ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกตราสารหนี้ เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กมีโอกาสได้ประโยชน์จากการระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ เนื่องจากข้อจำกัดของกฎหมายที่มีอยู่ทำให้มีแต่ธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นที่ระดมทุนได้ โดยปัจจุบันภาคเอกชนมีการออกตราสารหนี้แทนการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์มากขึ้นเพราะดอกเบี้ยต่ำและมีเงื่อนไขที่คล่องตัวกว่า ทั้งนี้ การออกตราสารหนี้ระดมทุนของกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มสื่อสารและโทรคมนาคม กลุ่มบันเทิงสันทนาการ และกลุ่มพลังงาน เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจาก 174,129 ล.บาทในปี 41 เป็น 601,090 ล.บาทในปี 42 หรือสูงขึ้น 3.5 เท่า สำหรับช่วง 6 เดือนแรกปี 43 การระดมทุนผ่านตราสารหนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 144,654 ล.บาท และคาดว่าตลอดปี 43 จะมียอดสูงกว่าปี 41 จำนวน 2 เท่า สำหรับการระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ปี 42 มีสัดส่วนร้อยละ 11.20 ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบที่มีวงเงินประมาณ 4.6 ล้านล้านบาท ขณะที่สัดส่วนปี 41 คิดเป็นร้อยละ 3.3 ของสินเชื่อทั้งระบบ และเพิ่มเป็นร้อยละ 11.20 ในปี 42 ส่วนปี 43 อาจต่ำกว่าปีก่อนเล็กน้อย สำหรับรูปแบบการออกตราสารส่วนใหญ่เป็นหุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ โดยแหล่งระดมทุนส่วนใหญ่เป็นบุคคลในวงจำกัดประมาณร้อยละ 89.6 คิดเป็นเงินประมาณ 538,000 ล.บาท ประชาชนทั่วไปร้อยละ 5.3 หรือ 32,000 ล.บาท ขณะที่ผู้ลงทุนต่างประเทศร้อยละ 5.2 หรือ 31,000 ล.บาท (แนวหน้า 4)
3. กระทรวงเศรษฐกิจมีมติเห็นชอบให้ ก.พาณิชย์ดูแลการค้าระหว่างประเทศ รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า กระทรวงเศรษฐกิจ 6 กระทรวงมีมติเห็นชอบให้ปรับโครงสร้างการทำงานโดยให้ ก.พาณิชย์ดูแลงานด้านการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่เจรจาการค้าต่างประเทศทั้งหมด พร้อมทั้งดึงงานเจรจาภายใต้กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค(เอเปก) ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.ต่างประเทศ และงานภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.คลังมาดูแลด้วย (ไทยโพสต์4)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะธุรกิจนอกภาคอุตสหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 43 National Association of Purchasing Management เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ดัชนีภาวะธุรกิจนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต ลดลงอยู่ที่ระดับ 55.5 จากระดับ 64.0 ในเดือน มิ.ย. 43 Ralph Kauffman ประธานคณะกรรมการสำรวจภาวะธุรกิจฯ ของ NAPM กล่าวว่า ดัชนีฯ ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว แต่จะมีอัตราที่ชะลอลงใน 2-3 เดือนนี้ จากผลการสำรวจในครั้งนี้ชี้ว่า ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ คำสั่งเพื่อการส่งออก สินค้าคงคลัง การจ้างงานและดัชนีราคา ล้วนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง แต่ดัชนีนำเข้า เพิ่มในอัตราที่สูงขึ้น ก่อนหน้านี้ NAPM เปิดเผยผลการสำรวจภาคอุตสาหกรรมการผลิตว่า มีภาวะการเติบโตที่ชะลอลงเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้เพิ่มความหวังแก่ตลาดเงินว่า ผลจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ติดต่อกันยาวนานถึง 13 เดือนของ ธ. กลางที่เริ่มตั้งแต่กลางปี 42 กำลังประสบความสำเร็จในการทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น (รอยเตอร์3)
2. การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 3 ส.ค. 43 สำนักบริหารและประสานงานรายงานว่า เดือน มิ.ย. 43 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนโดยทั่วไปของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบต่อปี เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 297,986 เยนต่อครัวเรือน และในช่วงเดือน เม.ย. - มิ.ย. 43 ลดลงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 42 ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักงานฯ รายงานว่า การใช้จ่ายของผู้มีเงินได้ ลดลงร้อยละ 2.6 ตามราคาที่แท้จริง เมื่อเทียบต่อปี หรือเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 316,904 เยน (รอยเตอร์ 3)
3. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 3 ส.ค.43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน มิ.ย.43 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ปรับตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 มาอยู่ที่มูลค่า 409.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ในเดือน พ.ค.43 เพิ่มสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 และเป็นอัตราการเพิ่มที่สูงสุดในรอบเกือบ 9 ปี นับแต่เดือน ก.ค.34 ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เนื่องมาจากในเดือน มิ.ย.นี้ คำสั่งซื้อสินค้าทางด้านการขนส่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42.2 อยู่ที่มูลค่า 68.8 พัน ล.ดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในเดือน พ.ค.43 และถ้าไม่รวมคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่ง คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ในเดือน มิ.ย.43 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ในเดือน พ.ค.43 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน มิ.ย. นี้ ชี้ให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมในช่วงกลางปีนี้ ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งอาจส่งผลให้ธ.กลางมีความกังวลว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตามที่ต้องการหรือไม่ เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในวันที่ 22 ส.ค.43 (รอยเตอร์ 3)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 3ส.ค. 43 40.774 (40.980)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 3 ส.ค.43ซื้อ 40.6314 (40.8150) ขาย 40.9405 (41.1259)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,400) ขาย 5,450 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.43 (25.48)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. กองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งคณะทำงานศึกษาสัญญาซื้อขาย ธ.ศรีนครให้ชัดเจนก่อนลงนามซื้อขายอย่างเป็นทางการ รองปลัด ก.คลัง ในฐานะกรรมการจัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ว่า ที่ประชุมฯ ได้พิจารณารายละเอียดสัญญาการขาย ธ.ศรีนครให้แก่ ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (เอชเอสบีซี) ซึ่งเป็นรายละเอียดด้านกฎหมายประมาณ 15-16 ข้อ โดยได้มอบหมายให้คณะทำงานฝ่ายกฎหมายของ ธปท. พิจารณาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเอชเอสบีซี ขณะเดียวกัน นายจักรทิพย์ นิติพน ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จะสามารถเจรจาและมีข้อสรุปเพื่อให้มีการซื้อขายอย่างเป็นทางการได้ภายในเดือน ส.ค.43 ทั้งนี้ ภายหลังที่เอชเอสบีซีเข้าบริหาร ธ.ศรีนคร จะดำเนินการปรับโครงสร้างเงินทุนให้เหมาะสม คาดว่าจะลดทุนจดทะเบียนจาก 39,000 ล.บาท ให้คงเหลือ 10,000 ล.บาท เพื่อให้เหมาะสมกับสินเชื่อที่มีจำนวน 165,000 ล.บาท สำหรับการขาย ธ.นครหลวงไทยนั้น ที่ประชุมกองทุนฟื้นฟูฯ ยังมิได้มีการพิจารณาแต่อย่างใด (กรุงเทพธุรกิจ 4)
2. ก.คลังกำลังปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการออกตราสารหนี้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก นายชาญชัย มุสิกนิศากร ที่ปรึกษา ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกตราสารหนี้ เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กมีโอกาสได้ประโยชน์จากการระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ เนื่องจากข้อจำกัดของกฎหมายที่มีอยู่ทำให้มีแต่ธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นที่ระดมทุนได้ โดยปัจจุบันภาคเอกชนมีการออกตราสารหนี้แทนการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์มากขึ้นเพราะดอกเบี้ยต่ำและมีเงื่อนไขที่คล่องตัวกว่า ทั้งนี้ การออกตราสารหนี้ระดมทุนของกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มสื่อสารและโทรคมนาคม กลุ่มบันเทิงสันทนาการ และกลุ่มพลังงาน เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจาก 174,129 ล.บาทในปี 41 เป็น 601,090 ล.บาทในปี 42 หรือสูงขึ้น 3.5 เท่า สำหรับช่วง 6 เดือนแรกปี 43 การระดมทุนผ่านตราสารหนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 144,654 ล.บาท และคาดว่าตลอดปี 43 จะมียอดสูงกว่าปี 41 จำนวน 2 เท่า สำหรับการระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ปี 42 มีสัดส่วนร้อยละ 11.20 ของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบที่มีวงเงินประมาณ 4.6 ล้านล้านบาท ขณะที่สัดส่วนปี 41 คิดเป็นร้อยละ 3.3 ของสินเชื่อทั้งระบบ และเพิ่มเป็นร้อยละ 11.20 ในปี 42 ส่วนปี 43 อาจต่ำกว่าปีก่อนเล็กน้อย สำหรับรูปแบบการออกตราสารส่วนใหญ่เป็นหุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ โดยแหล่งระดมทุนส่วนใหญ่เป็นบุคคลในวงจำกัดประมาณร้อยละ 89.6 คิดเป็นเงินประมาณ 538,000 ล.บาท ประชาชนทั่วไปร้อยละ 5.3 หรือ 32,000 ล.บาท ขณะที่ผู้ลงทุนต่างประเทศร้อยละ 5.2 หรือ 31,000 ล.บาท (แนวหน้า 4)
3. กระทรวงเศรษฐกิจมีมติเห็นชอบให้ ก.พาณิชย์ดูแลการค้าระหว่างประเทศ รมว.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า กระทรวงเศรษฐกิจ 6 กระทรวงมีมติเห็นชอบให้ปรับโครงสร้างการทำงานโดยให้ ก.พาณิชย์ดูแลงานด้านการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่เจรจาการค้าต่างประเทศทั้งหมด พร้อมทั้งดึงงานเจรจาภายใต้กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค(เอเปก) ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.ต่างประเทศ และงานภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ก.คลังมาดูแลด้วย (ไทยโพสต์4)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะธุรกิจนอกภาคอุตสหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 43 National Association of Purchasing Management เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ดัชนีภาวะธุรกิจนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต ลดลงอยู่ที่ระดับ 55.5 จากระดับ 64.0 ในเดือน มิ.ย. 43 Ralph Kauffman ประธานคณะกรรมการสำรวจภาวะธุรกิจฯ ของ NAPM กล่าวว่า ดัชนีฯ ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว แต่จะมีอัตราที่ชะลอลงใน 2-3 เดือนนี้ จากผลการสำรวจในครั้งนี้ชี้ว่า ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ คำสั่งเพื่อการส่งออก สินค้าคงคลัง การจ้างงานและดัชนีราคา ล้วนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง แต่ดัชนีนำเข้า เพิ่มในอัตราที่สูงขึ้น ก่อนหน้านี้ NAPM เปิดเผยผลการสำรวจภาคอุตสาหกรรมการผลิตว่า มีภาวะการเติบโตที่ชะลอลงเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้เพิ่มความหวังแก่ตลาดเงินว่า ผลจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ติดต่อกันยาวนานถึง 13 เดือนของ ธ. กลางที่เริ่มตั้งแต่กลางปี 42 กำลังประสบความสำเร็จในการทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น (รอยเตอร์3)
2. การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.8 เทียบต่อปี ในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 3 ส.ค. 43 สำนักบริหารและประสานงานรายงานว่า เดือน มิ.ย. 43 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนโดยทั่วไปของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบต่อปี เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 297,986 เยนต่อครัวเรือน และในช่วงเดือน เม.ย. - มิ.ย. 43 ลดลงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 42 ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักงานฯ รายงานว่า การใช้จ่ายของผู้มีเงินได้ ลดลงร้อยละ 2.6 ตามราคาที่แท้จริง เมื่อเทียบต่อปี หรือเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 316,904 เยน (รอยเตอร์ 3)
3. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ในเดือน มิ.ย.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 3 ส.ค.43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน มิ.ย.43 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ปรับตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 มาอยู่ที่มูลค่า 409.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ในเดือน พ.ค.43 เพิ่มสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 และเป็นอัตราการเพิ่มที่สูงสุดในรอบเกือบ 9 ปี นับแต่เดือน ก.ค.34 ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เนื่องมาจากในเดือน มิ.ย.นี้ คำสั่งซื้อสินค้าทางด้านการขนส่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42.2 อยู่ที่มูลค่า 68.8 พัน ล.ดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 ในเดือน พ.ค.43 และถ้าไม่รวมคำสั่งซื้อสินค้าด้านการขนส่ง คำสั่งซื้อสินค้าโรงงาน ในเดือน มิ.ย.43 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ในเดือน พ.ค.43 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน มิ.ย. นี้ ชี้ให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมในช่วงกลางปีนี้ ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งอาจส่งผลให้ธ.กลางมีความกังวลว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตามที่ต้องการหรือไม่ เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในวันที่ 22 ส.ค.43 (รอยเตอร์ 3)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 3ส.ค. 43 40.774 (40.980)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 3 ส.ค.43ซื้อ 40.6314 (40.8150) ขาย 40.9405 (41.1259)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,400) ขาย 5,450 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.43 (25.48)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 13.29 (13.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-