ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๓
วันอังคารที่ ๒๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงการคลัง ในส่วนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นรายการ
ค้างพิจารณากระทรวงมหาดไทย ในส่วนของงบกลาง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของสำนักงาน
ปลัดกระทรวง ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครอง ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินงาน
ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ว่าซ้ำซ้อนกับงานของกรมการพัฒนาชุมชน จึงเห็นสมควรให้ปรับลด
งบประมาณ ๒๕๐ ล้านบาท โดยให้นำงบประมาณที่เหลือ ๕๐ ล้านบาท ไปใช้ในลักษณะของการตรวจสอบ
ติดตามประเมินผลงาน ซึ่งที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการฯ ร่วมประชุมกับสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณา
หาข้อยุติในเรื่องการปรับลด หลังจากนั้นจะทำการแจ้งให้ทาง พ.อ.ช. รับทราบดำเนินการต่อไป
งบกลาง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๘๓,๘๔๐,๕๒๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริการของรัฐ ๗๙,๘๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานบริหารงานขององค์กรแห่งรัฐ ๙,๔๘๙,๕๗๔,๐๐๐ บาท
ค. แผนงานปรับเปลี่ยนระบบราชการ ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ง. แผนงานบริหารการคลังและงบประมาณ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
จ. แผนงานรักษาความมั่นคงภายใน ๓๐๐,๙๔๖,๐๐๐ บาท
ฉ. แผนงานพัฒนาชนบท ๑๓,๖๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ช. แผนงานบริการสุขภาพ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ซ. แผนงานเร่งรัดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ๕๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในส่วนของแผนงานบริการของรัฐ เรื่อง
การพิจารณาเงินเลื่อนขั้น เลื่อนอันดับเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ และเรื่องการพิจารณาเงินรางวัล
ประจำปี ว่ามีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเป็นไปตามผลสัมฤทธิ์ของงาน
กรมบัญชีกลางได้ชี้แจงว่า การพิจารณาเงินเลื่อนขั้น เลื่อนอันดับเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการนั้น
ได้มีการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติใหม่ โดยเปลี่ยนวงจรการเลื่อนขั้นเงินเดือนจากปีละ ๑ ครั้ง เป็นปีละ ๒ ครั้ง
รอบแรกในวันที่ ๑ เมษายน (เป็นผลงานในเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม) และรอบที่สองในวันที่ ๑ เดือน
ตุลาคม (เป็นผลงานเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน) การเลื่อนขั้นเงินเดือนจะมีการปฏิบัติทันทีเมื่อมีการ
ประเมินผลงานเสร็จสิ้นทุก ๖ เดือน เพื่อเป็นการกระตุ้นการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ปฏิบัติงานอย่างเต็ม
ความสามารถ และการพิจารณาเงินรางวัลประจำปีนั้นสำนักงาน ก.พ. ได้ชี้แจงว่า เป็นการพิจารณาตาม
ผลงานที่เกิดขึ้นจริง เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานของข้าราชการ ที่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนอย่างต่ำ ๑.๕ ขั้น
โดยที่ส่วนราชการจะจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับผลงาน และมีการจัดตั้งคณะกรรมการประเมินประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลงานของราชการในการพิจารณาข้อเสนอแนะจัดกรอบโควตารางวัล และในประเด็น
ดังกล่าวนี้กรรมาธิการได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของความเป็นธรรม เนื่องจากที่ผ่านมานั้นการเลื่อนขั้น
เงินเดือนไม่ค่อยมีความโปร่งใสและเป็นธรรมเท่าที่ควร
๒. แผน ข. แผนงานบริหารงานขององค์กรแห่งรัฐ ในเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จ
พระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่างบประมาณส่วนนี้มีการ
ใช้จ่ายเกินกว่าที่ตั้งไว้ทุกครั้ง จึงเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาเพิ่มเติมตามที่เห็นควร ส่วนเรื่อง
เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น นายสนั่น สุธากุล นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล นายนิพิฏฐ์
อินทรสมบัติ และนายสุวโรช พะลัง ขอสงวนตัดงบประมาณส่วนนี้ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๓. ในแผน ซ. แผนงานเร่งรัดการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ
เป็นภารกิจของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งแต่ละหน่วยงานต้องมีนโยบาย โครงการ แผนงาน
เสนอเพื่อให้เงินงบประมาณจากแผนงานนี้ ดังนี้ คณะกรรมาธิการจึงมีมติให้เลื่อนการพิจารณา
โดยให้พิจารณาแผนดังกล่าวอีกครั้งหลังจากได้พิจารณาหน่วยงานทุกกระทรวง ทบวง กรมแล้ว
๔. รายการค้างพิจารณาในแผน จ. แผนงานรักษาความมั่นคงภายใน และแผน ฉ.
แผนงานพัฒนาชนบท ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เนื่องจากอยู่
ภายใต้การดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี และ แผน ช. แผนงานบริการสุขภาพ เนื่องจากอยู่ภายใต้
การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมาธิการมีมติให้รอการพิจารณา และให้นำไปพิจารณา
เมื่อหน่วยงานดังกล่าวเข้ามาชี้แจง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๖๓,๙๔๔,๒๗๓,๑๐๐ บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๙๖๙,๔๑๕,๕๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๖๕,๒๔๖,๑๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๙๐๔,๑๖๙,๔๐๐ บาท
การปรับลดเนื่องจากผลการดำเนินงานล่าช้าใน แผน ก. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพ
การผลิตด้านการเกษตร ในส่วนของงานบริหารทั่วไป และงานฝนหลวงและการบินเกษตร
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๓๘๓,๐๕๔,๖๐๐ บาท
ก. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการ ๑,๙๑๑,๐๒๑,๗๐๐ บาท
ผลิตด้านการเกษตร
ข. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๕๓,๘๐๙,๐๐๐ บาท
ค. แผนงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ๔,๕๘๔,๘๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้แสดงความสนใจในบทบาทหน้าที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
โดยบทบาทหน้าที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการเกษตรกรรมของ
ประเทศเป็นอย่างมาก คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อสังเกตว่าควรกำหนดแผนและประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่
ของสำนักงานในทุก ๆ ด้านเพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งติดตามความก้าวหน้า ปัญหา
อุปสรรคและประเมินผลตามแผนงานโครงการด้วย
๒. คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและ
การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในต่างจังหวัดแต่ละหน่วยงานควรจะมีการประสานงาน และดูแลเกษตรกร
อย่างใกล้ชิด เพราะเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่จะนำมาวิเคราะห์แก้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับ
ข้อเท็จจริง รวมทั้งเพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด
๓. คณะกรรมาธิการได้แสดงความคิดเห็นว่า การจัดทำเกษตรครบวงจรโดยให้กระทรวง
เกษตรฯ ทำการผลิตและขายเองมิใช่ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ขายให้และสินค้าที่ผลิตออกมาเป็นสินค้า
ที่มีมาตรฐานสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ รวมทั้งนำระบบการแปรรูปผลผลิตมาใช้และปรับปรุง
โครงสร้างการผลิตเพื่อแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ควรที่จะเร่งหามาตรการ
และยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมต่อไป
๔. คณะกรรมาธิการได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง
ซึ่งประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีการใช้อย่างปลอดภัย ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
ของประชาชน และยังทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การนำสารเคมีมาใช้เป็นภาคการเกษตร จะทำให้
ต้นทุนการผลิตสูง ฉะนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ควรให้การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยธรรมชาติ เช่น
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เป็นต้น มากยิ่งขึ้น
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๑,๖๒๔,๗๔๔,๓๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๒๑,๓๗๓,๒๕๕,๗๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันอังคารที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๔
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๓
วันอังคารที่ ๒๔ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงการคลัง ในส่วนของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นรายการ
ค้างพิจารณากระทรวงมหาดไทย ในส่วนของงบกลาง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของสำนักงาน
ปลัดกระทรวง ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานพัฒนาศักยภาพองค์กรปกครอง ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับบทบาทอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินงาน
ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ว่าซ้ำซ้อนกับงานของกรมการพัฒนาชุมชน จึงเห็นสมควรให้ปรับลด
งบประมาณ ๒๕๐ ล้านบาท โดยให้นำงบประมาณที่เหลือ ๕๐ ล้านบาท ไปใช้ในลักษณะของการตรวจสอบ
ติดตามประเมินผลงาน ซึ่งที่ประชุมมีมติให้คณะกรรมาธิการฯ ร่วมประชุมกับสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณา
หาข้อยุติในเรื่องการปรับลด หลังจากนั้นจะทำการแจ้งให้ทาง พ.อ.ช. รับทราบดำเนินการต่อไป
งบกลาง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๘๓,๘๔๐,๕๒๐,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริการของรัฐ ๗๙,๘๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานบริหารงานขององค์กรแห่งรัฐ ๙,๔๘๙,๕๗๔,๐๐๐ บาท
ค. แผนงานปรับเปลี่ยนระบบราชการ ๒,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ง. แผนงานบริหารการคลังและงบประมาณ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
จ. แผนงานรักษาความมั่นคงภายใน ๓๐๐,๙๔๖,๐๐๐ บาท
ฉ. แผนงานพัฒนาชนบท ๑๓,๖๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ช. แผนงานบริการสุขภาพ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ซ. แผนงานเร่งรัดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ๕๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในส่วนของแผนงานบริการของรัฐ เรื่อง
การพิจารณาเงินเลื่อนขั้น เลื่อนอันดับเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ และเรื่องการพิจารณาเงินรางวัล
ประจำปี ว่ามีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเป็นไปตามผลสัมฤทธิ์ของงาน
กรมบัญชีกลางได้ชี้แจงว่า การพิจารณาเงินเลื่อนขั้น เลื่อนอันดับเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการนั้น
ได้มีการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติใหม่ โดยเปลี่ยนวงจรการเลื่อนขั้นเงินเดือนจากปีละ ๑ ครั้ง เป็นปีละ ๒ ครั้ง
รอบแรกในวันที่ ๑ เมษายน (เป็นผลงานในเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม) และรอบที่สองในวันที่ ๑ เดือน
ตุลาคม (เป็นผลงานเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน) การเลื่อนขั้นเงินเดือนจะมีการปฏิบัติทันทีเมื่อมีการ
ประเมินผลงานเสร็จสิ้นทุก ๖ เดือน เพื่อเป็นการกระตุ้นการปฏิบัติงานของข้าราชการที่ปฏิบัติงานอย่างเต็ม
ความสามารถ และการพิจารณาเงินรางวัลประจำปีนั้นสำนักงาน ก.พ. ได้ชี้แจงว่า เป็นการพิจารณาตาม
ผลงานที่เกิดขึ้นจริง เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานของข้าราชการ ที่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนอย่างต่ำ ๑.๕ ขั้น
โดยที่ส่วนราชการจะจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับผลงาน และมีการจัดตั้งคณะกรรมการประเมินประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลงานของราชการในการพิจารณาข้อเสนอแนะจัดกรอบโควตารางวัล และในประเด็น
ดังกล่าวนี้กรรมาธิการได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของความเป็นธรรม เนื่องจากที่ผ่านมานั้นการเลื่อนขั้น
เงินเดือนไม่ค่อยมีความโปร่งใสและเป็นธรรมเท่าที่ควร
๒. แผน ข. แผนงานบริหารงานขององค์กรแห่งรัฐ ในเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จ
พระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ คณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่างบประมาณส่วนนี้มีการ
ใช้จ่ายเกินกว่าที่ตั้งไว้ทุกครั้ง จึงเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาเพิ่มเติมตามที่เห็นควร ส่วนเรื่อง
เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น นายสนั่น สุธากุล นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล นายนิพิฏฐ์
อินทรสมบัติ และนายสุวโรช พะลัง ขอสงวนตัดงบประมาณส่วนนี้ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๓. ในแผน ซ. แผนงานเร่งรัดการกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ
เป็นภารกิจของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งแต่ละหน่วยงานต้องมีนโยบาย โครงการ แผนงาน
เสนอเพื่อให้เงินงบประมาณจากแผนงานนี้ ดังนี้ คณะกรรมาธิการจึงมีมติให้เลื่อนการพิจารณา
โดยให้พิจารณาแผนดังกล่าวอีกครั้งหลังจากได้พิจารณาหน่วยงานทุกกระทรวง ทบวง กรมแล้ว
๔. รายการค้างพิจารณาในแผน จ. แผนงานรักษาความมั่นคงภายใน และแผน ฉ.
แผนงานพัฒนาชนบท ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เนื่องจากอยู่
ภายใต้การดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี และ แผน ช. แผนงานบริการสุขภาพ เนื่องจากอยู่ภายใต้
การดูแลของกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมาธิการมีมติให้รอการพิจารณา และให้นำไปพิจารณา
เมื่อหน่วยงานดังกล่าวเข้ามาชี้แจง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๖๓,๙๔๔,๒๗๓,๑๐๐ บาท
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๙๖๙,๔๑๕,๕๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๖๕,๒๔๖,๑๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๙๐๔,๑๖๙,๔๐๐ บาท
การปรับลดเนื่องจากผลการดำเนินงานล่าช้าใน แผน ก. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพ
การผลิตด้านการเกษตร ในส่วนของงานบริหารทั่วไป และงานฝนหลวงและการบินเกษตร
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๓๘๓,๐๕๔,๖๐๐ บาท
ก. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการ ๑,๙๑๑,๐๒๑,๗๐๐ บาท
ผลิตด้านการเกษตร
ข. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๕๓,๘๐๙,๐๐๐ บาท
ค. แผนงานอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ๔,๕๘๔,๘๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้แสดงความสนใจในบทบาทหน้าที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
โดยบทบาทหน้าที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการเกษตรกรรมของ
ประเทศเป็นอย่างมาก คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อสังเกตว่าควรกำหนดแผนและประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่
ของสำนักงานในทุก ๆ ด้านเพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งติดตามความก้าวหน้า ปัญหา
อุปสรรคและประเมินผลตามแผนงานโครงการด้วย
๒. คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและ
การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในต่างจังหวัดแต่ละหน่วยงานควรจะมีการประสานงาน และดูแลเกษตรกร
อย่างใกล้ชิด เพราะเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่จะนำมาวิเคราะห์แก้ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับ
ข้อเท็จจริง รวมทั้งเพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด
๓. คณะกรรมาธิการได้แสดงความคิดเห็นว่า การจัดทำเกษตรครบวงจรโดยให้กระทรวง
เกษตรฯ ทำการผลิตและขายเองมิใช่ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ขายให้และสินค้าที่ผลิตออกมาเป็นสินค้า
ที่มีมาตรฐานสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ รวมทั้งนำระบบการแปรรูปผลผลิตมาใช้และปรับปรุง
โครงสร้างการผลิตเพื่อแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ควรที่จะเร่งหามาตรการ
และยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรมต่อไป
๔. คณะกรรมาธิการได้แสดงความห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง
ซึ่งประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีการใช้อย่างปลอดภัย ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
ของประชาชน และยังทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การนำสารเคมีมาใช้เป็นภาคการเกษตร จะทำให้
ต้นทุนการผลิตสูง ฉะนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ควรให้การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยธรรมชาติ เช่น
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เป็นต้น มากยิ่งขึ้น
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๑,๖๒๔,๗๔๔,๓๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๒๑,๓๗๓,๒๕๕,๗๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันอังคารที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๔