ฉบับที่ 107/2543
ตามที่ธปท. ได้แถลงข่าวว่าเหตุผลในการเคลื่อนย้ายทุนออกส่วนใหญ่เกิดจากการชำระหนี้ของภาคเอกชน ซึ่งนโยบายดอกเบี้ยต่ำมิได้เป็นตัวเร่งให้มีการชำระหนี้ ดังเห็นได้ว่ายอดชำระหนี้เฉลี่ยต่อเดือนค่อนข้างคงที่ตลอด 4 ปีนับแต่มีการลอยค่าเงินบาท แต่มีข้อวิจารณ์ว่าการที่มีเงินทุนไหลออก และจะเป็นอุปสรรคต่อการปล่อยสินเชื่อภายในประเทศหรือไม่นั้น ธปท. ขอชี้แจงดังนี้
1. ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัวเดิมนั้น ธปท. จำเป็นต้องรับซื้อเงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้ามาทั้งหมดเมื่อธนาคารพาณิชย์นำมาขาย ซึ่งก็คือการปล่อยเงินบาทให้ธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น กรณีมีเงินทุนไหลเข้า จะทำให้ปริมาณเงินบาทในประเทศเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ ทำนองเดียวกัน การไหลออกจะลดปริมาณเงินบาท
2. แต่ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั้น ธปท. จะเข้าไปซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศเฉพาะเท่าที่ต้องการ ที่เหลือภาคเอกชนจะเป็นผู้ซื้อขายกันเอง กรณีมีเงินทุนไหลเข้าหรือออก จึงไม่กระทบปริมาณเงินบาทโดยอัตโนมัติแบบเดิม และธปท. สามารถเพิ่มปริมาณเงินภายในประเทศตามที่เหมาะสมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนไหลเข้า ดังนั้น การชำระคืนหนี้ต่างประเทศจึงมิได้ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องภายในประเทศและมิได้ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการปล่อยสินเชื่อแต่ประการใด และขณะนี้ก็ยังมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบตลาดเงินอยู่เป็นจำนวนมาก
3. สำหรับข้อคิดว่าธปท. ควรจะเปลี่ยนไปใช้นโยบายดอกเบี้ยสูง เพื่อทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดพันธบัตรสูง ซึ่งจะทำให้เอกชนชะลอการชำระคืนหนี้ต่างประเทศนั้น ขอเรียนว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านเงินเฟ้อและปริมาณพันธบัตรที่รัฐบาลออกขายเป็นสำคัญ ซึ่งถึงแม้ธปท. ปรับดอกเบี้ยระยะสั้น 14 วันในตลาดซื้อคืนเพิ่มสูงขึ้น ก็จะไม่มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาวโดยตรง
4. นอกจากนี้ สำหรับเอกชนรายที่ลักษณะของธุรกิจไม่เอื้ออำนวยต่อการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เช่นรายที่ไม่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ หรือรายที่อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนไม่สูงพอที่จะรองรับความผันผวน เป็นต้น การแปลงหนี้จากสกุลต่างประเทศเป็นเงินบาทจะช่วยทำให้ฐานะแข็งแกร่งขึ้น ลดโอกาสที่จะกลายเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพ และที่ผ่านมาได้ช่วยให้ภาระหนี้ระยะสั้นของประเทศดีขึ้น คือลดลงจากสูงสุดร้อยละ 35 เมื่อปลายปี 2540 เหลือร้อยละ 19 ในเดือนกรกฎาคม 2543 ส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP นั้น ขณะนี้ยังอยู่ในระดับร้อยละ 69 เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล สำหรับประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศต่ำ สัดส่วนนี้จะต้องไม่เกินร้อยละ 48
5. กรณีที่หากธปท. เปลี่ยนไปใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงก่อนเวลาอันควรนั้น จะมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจ และต่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนของเอกชน ซึ่งเมื่อนักวิเคราะห์ต่างชาติตระหนักถึงปัญหานี้ จะยิ่งขาดความมั่นใจในค่าเงินบาท และสร้างความเสี่ยงให้แก่กิจการที่มีหนี้ต่างประเทศซ้ำซ้อนขึ้นอีก
ธปท. จึงขอย้ำว่าการที่ภาคเอกชนชำระคืนหนี้ต่างประเทศนั้น ไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องเงินบาทภายในประเทศ และไม่กระทบต่อโอกาสการปล่อยสินเชื่อภายในประเทศแต่อย่างใด และข้อเสนอให้เปลี่ยนไปดำเนินนโยบายดอกเบี้ยสูง เพื่อเหตุผลชะลอการชำระคืนหนี้ดังกล่าวก็ไม่เป็นการสมควร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/27 กันยายน 2543--
-ยก-
ตามที่ธปท. ได้แถลงข่าวว่าเหตุผลในการเคลื่อนย้ายทุนออกส่วนใหญ่เกิดจากการชำระหนี้ของภาคเอกชน ซึ่งนโยบายดอกเบี้ยต่ำมิได้เป็นตัวเร่งให้มีการชำระหนี้ ดังเห็นได้ว่ายอดชำระหนี้เฉลี่ยต่อเดือนค่อนข้างคงที่ตลอด 4 ปีนับแต่มีการลอยค่าเงินบาท แต่มีข้อวิจารณ์ว่าการที่มีเงินทุนไหลออก และจะเป็นอุปสรรคต่อการปล่อยสินเชื่อภายในประเทศหรือไม่นั้น ธปท. ขอชี้แจงดังนี้
1. ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัวเดิมนั้น ธปท. จำเป็นต้องรับซื้อเงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้ามาทั้งหมดเมื่อธนาคารพาณิชย์นำมาขาย ซึ่งก็คือการปล่อยเงินบาทให้ธนาคารพาณิชย์ ดังนั้น กรณีมีเงินทุนไหลเข้า จะทำให้ปริมาณเงินบาทในประเทศเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ ทำนองเดียวกัน การไหลออกจะลดปริมาณเงินบาท
2. แต่ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั้น ธปท. จะเข้าไปซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศเฉพาะเท่าที่ต้องการ ที่เหลือภาคเอกชนจะเป็นผู้ซื้อขายกันเอง กรณีมีเงินทุนไหลเข้าหรือออก จึงไม่กระทบปริมาณเงินบาทโดยอัตโนมัติแบบเดิม และธปท. สามารถเพิ่มปริมาณเงินภายในประเทศตามที่เหมาะสมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนไหลเข้า ดังนั้น การชำระคืนหนี้ต่างประเทศจึงมิได้ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องภายในประเทศและมิได้ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการปล่อยสินเชื่อแต่ประการใด และขณะนี้ก็ยังมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบตลาดเงินอยู่เป็นจำนวนมาก
3. สำหรับข้อคิดว่าธปท. ควรจะเปลี่ยนไปใช้นโยบายดอกเบี้ยสูง เพื่อทำให้ดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดพันธบัตรสูง ซึ่งจะทำให้เอกชนชะลอการชำระคืนหนี้ต่างประเทศนั้น ขอเรียนว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านเงินเฟ้อและปริมาณพันธบัตรที่รัฐบาลออกขายเป็นสำคัญ ซึ่งถึงแม้ธปท. ปรับดอกเบี้ยระยะสั้น 14 วันในตลาดซื้อคืนเพิ่มสูงขึ้น ก็จะไม่มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาวโดยตรง
4. นอกจากนี้ สำหรับเอกชนรายที่ลักษณะของธุรกิจไม่เอื้ออำนวยต่อการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เช่นรายที่ไม่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ หรือรายที่อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนไม่สูงพอที่จะรองรับความผันผวน เป็นต้น การแปลงหนี้จากสกุลต่างประเทศเป็นเงินบาทจะช่วยทำให้ฐานะแข็งแกร่งขึ้น ลดโอกาสที่จะกลายเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพ และที่ผ่านมาได้ช่วยให้ภาระหนี้ระยะสั้นของประเทศดีขึ้น คือลดลงจากสูงสุดร้อยละ 35 เมื่อปลายปี 2540 เหลือร้อยละ 19 ในเดือนกรกฎาคม 2543 ส่วนหนี้ต่างประเทศต่อ GDP นั้น ขณะนี้ยังอยู่ในระดับร้อยละ 69 เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล สำหรับประเทศที่มีหนี้ต่างประเทศต่ำ สัดส่วนนี้จะต้องไม่เกินร้อยละ 48
5. กรณีที่หากธปท. เปลี่ยนไปใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงก่อนเวลาอันควรนั้น จะมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของภาคธุรกิจ และต่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุนของเอกชน ซึ่งเมื่อนักวิเคราะห์ต่างชาติตระหนักถึงปัญหานี้ จะยิ่งขาดความมั่นใจในค่าเงินบาท และสร้างความเสี่ยงให้แก่กิจการที่มีหนี้ต่างประเทศซ้ำซ้อนขึ้นอีก
ธปท. จึงขอย้ำว่าการที่ภาคเอกชนชำระคืนหนี้ต่างประเทศนั้น ไม่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องเงินบาทภายในประเทศ และไม่กระทบต่อโอกาสการปล่อยสินเชื่อภายในประเทศแต่อย่างใด และข้อเสนอให้เปลี่ยนไปดำเนินนโยบายดอกเบี้ยสูง เพื่อเหตุผลชะลอการชำระคืนหนี้ดังกล่าวก็ไม่เป็นการสมควร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/27 กันยายน 2543--
-ยก-