สรุปข่าวในประเทศ
1. ธปท.ปรับเปลี่ยนหน้าต่างการให้กู้ยืมสภาพคล่องแบบมีหลักประกัน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติอนุมัติให้มีการปรับเปลี่ยนหน้าต่างการให้กู้ยืมสภาพคล่องแบบมีหลักประกัน (Standing Facility) โดยยกเลิกหน้าต่าง 3 ช่องทางในปัจจุบัน คือ 1) การซื้อขาย พธบ.กับสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน (Loan Window) 2)ตลาดซื้อคืนนอกเวลา (RP late hour) และ 3)การรับซื้อตั๋วเงินจากสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พร้อมทั้งยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน และกำหนดให้ใช้หน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน (End-of-day-liquidity window) เพียงหน้าต่างเดียว โดยกำหนดดอกเบี้ยเท่ากับดอกเบี้ยนโยบายหรือดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พธบ.ประเภท 14 วัน บวกด้วยส่วนต่าง ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.5 บวกด้วยส่วนต่างซึ่งกำหนดให้เท่ากับร้อยละ 1.5 ทำให้ดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี นอกจากนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ไอแอลเอฟ) ประเภทข้ามคืน ให้อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยนโยบายบวกด้วยส่วนต่างเช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเก็งกำไรระหว่างสองตลาด ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.44 เป็นต้นไป (เดลินิวส์, มติชน 21)
2. ก.คลังยืนยันไม่ยกเลิกหรือชะลอการจัดตั้งแมชชิ่งฟันด์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังยืนยันจะไม่ยกเลิกหรือชะลอการจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุน (แมชชิ่งฟันด์) อย่างแน่นอน และคณะทำงานยังคงหารือกับกองทุนต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวคงอยู่ที่จังหวะ เวลา และความเหมาะสม โดยสถานการณ์เช่นนี้ไทยต้องปรับตัวในหลายด้านเพื่อให้นักลงทุนเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุนด้วย (ข่าวสด 21)
3. ธปท. สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคเดือน ส.ค. 44 ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือรายงานผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาค ประจำเดือน ส.ค. 44 จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการจำนวน 63 ตัวอย่าง ผลปรากฎว่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 46.3 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค. 44 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.7 โดยในระยะ 4 เดือนที่เหลือของปี 44 ดัชนีฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น และในไตรมาสสุดท้ายของปีเศรษฐกิจมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ (ผู้จัดการรายวัน 21)
4. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เตรียมออกพันธบัตร 1 แสน ล.บาทในเดือน ต.ค. 44 รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค. 44 ก.คลังจะค้ำประกันการออกพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในวงเงิน 1 แสน ล.บาท จากเป้าหมายที่จะออกพันธบัตรจำนวน 3.2 แสน ล.บาท ซึ่งคาดว่าตลาดจะสามารถรองรับพันธบัตรจำนวนดังกล่าวได้ โดยส่วนหนึ่งเป็นการเสนอขายให้แก่ประชาชนด้วย เพราะเห็นว่าความต้องการลงทุนของประชาชนยังมีอยู่มาก และพันธบัตรเงินออมของรัฐบาลที่ออกก่อนหน้านี้ไม่เพียงพอรองรับความต้องการ (ผู้จัดการรายวัน 21)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. การสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.ลดลงร้อยละ 6.9 ในเดือน ส.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 ก.ย.44 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน ส.ค.44 การสร้างบ้านใหม่โดยรวมหลังปรับฤดูกาลของ สรอ.มีจำนวน 1.527 ล.หลังต่อปี ลดลงร้อยละ 6.9 จากเดือน ก.ค.44 ที่มีจำนวน 1.641 ล.หลังต่อปี และลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือน ส.ค.43 โดยการสร้างบ้านใหม่ในเดือน ส.ค.44 มีจำนวนต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 1.628 ล.หลังต่อปี เป็นการลดลงในอัตราต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.43 ที่ลดลงร้อยละ 9.3 ทั้งนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ.กำลังเข้าสู่ช่วงการปรับตัวหลังเกิดวินาศกรรม สำหรับการสร้างบ้านใหม่นั้น เป็นส่วนที่แจ่มใสท่ามกลางภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจของ สรอ. เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีการซื้อบ้านมากขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยฯ คงที่ระยะ 30 ปี ลดลงเหลือร้อยละ 6.86 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 และต่ำกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับร้อยละ 7.88 (รอยเตอร์ 20)
2. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 ก.ย. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ลดลงจำนวน 49,000 คน เหลือจำนวน 387,000 คน จากตัวเลขที่ปรับแล้วมีจำนวน 436,000 คน ในสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการฯ ที่ลดลงส่วนใหญ่ เนื่องจากมีการปรับตัวเลขตามฤดูกาล ซึ่งได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีผู้ขอรับสวัสดิการฯ เพิ่มขึ้นหลังจากที่มีวันหยุดแรงงานในช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นรายงานที่ใช้วัดภาวะการจ้างงานได้น่าเชื่อถือมากกว่า เนื่องจากไม่รวมตัวเลขผันผวนรายสัปดาห์ ก็ลดลงเหลือจำนวน 409,000คน ในสัปดาห์สิ้นสุด 15 ก.ย. จากตัวเลขที่ปรับแล้ว จำนวน 412,250 คน ในสัปดาห์ก่อน รัฐบาล สรอ. กล่าวว่า จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจของ สรอ. ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมใน สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม คาดว่า ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการฯ จะเพิ่มขึ้นอีก หลังจากที่บริษัทสายการบินของ สรอ. ประกาศลดการจ้างงานเกือบ 70,000 คน ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว (รอยเตอร์20)
3. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 21 ก.ย.44 ก.เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44 ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมลดลงร้อยละ 1.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน มิ.ย.44 โดย Teriary sector index ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมลดลงร้อยละ 0.9 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน มิ.ย.44 ทั้งนี้สืบเนื่องจากการก่อวินาศกรรมใน สรอ. ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจทั่วโลก (รอยเตอร์ 21)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 ก.ย.44 44.281 (44.205)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 ก.ย. 44ซื้อ 44.0933 (43.9862) ขาย 44.3795 (44.2864)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,000 (6,000) 6,100 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.05 (23.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.89) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ปรับเปลี่ยนหน้าต่างการให้กู้ยืมสภาพคล่องแบบมีหลักประกัน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติอนุมัติให้มีการปรับเปลี่ยนหน้าต่างการให้กู้ยืมสภาพคล่องแบบมีหลักประกัน (Standing Facility) โดยยกเลิกหน้าต่าง 3 ช่องทางในปัจจุบัน คือ 1) การซื้อขาย พธบ.กับสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน (Loan Window) 2)ตลาดซื้อคืนนอกเวลา (RP late hour) และ 3)การรับซื้อตั๋วเงินจากสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พร้อมทั้งยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน และกำหนดให้ใช้หน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน (End-of-day-liquidity window) เพียงหน้าต่างเดียว โดยกำหนดดอกเบี้ยเท่ากับดอกเบี้ยนโยบายหรือดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พธบ.ประเภท 14 วัน บวกด้วยส่วนต่าง ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.5 บวกด้วยส่วนต่างซึ่งกำหนดให้เท่ากับร้อยละ 1.5 ทำให้ดอกเบี้ยหน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวันอยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี นอกจากนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินสภาพคล่องระหว่างวัน (ไอแอลเอฟ) ประเภทข้ามคืน ให้อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยนโยบายบวกด้วยส่วนต่างเช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเก็งกำไรระหว่างสองตลาด ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.44 เป็นต้นไป (เดลินิวส์, มติชน 21)
2. ก.คลังยืนยันไม่ยกเลิกหรือชะลอการจัดตั้งแมชชิ่งฟันด์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังยืนยันจะไม่ยกเลิกหรือชะลอการจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุน (แมชชิ่งฟันด์) อย่างแน่นอน และคณะทำงานยังคงหารือกับกองทุนต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวคงอยู่ที่จังหวะ เวลา และความเหมาะสม โดยสถานการณ์เช่นนี้ไทยต้องปรับตัวในหลายด้านเพื่อให้นักลงทุนเชื่อมั่นที่จะเข้ามาลงทุนด้วย (ข่าวสด 21)
3. ธปท. สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคเดือน ส.ค. 44 ธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือรายงานผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาค ประจำเดือน ส.ค. 44 จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการจำนวน 63 ตัวอย่าง ผลปรากฎว่าดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ระดับ 46.3 เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค. 44 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.7 โดยในระยะ 4 เดือนที่เหลือของปี 44 ดัชนีฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น และในไตรมาสสุดท้ายของปีเศรษฐกิจมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ (ผู้จัดการรายวัน 21)
4. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เตรียมออกพันธบัตร 1 แสน ล.บาทในเดือน ต.ค. 44 รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค. 44 ก.คลังจะค้ำประกันการออกพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในวงเงิน 1 แสน ล.บาท จากเป้าหมายที่จะออกพันธบัตรจำนวน 3.2 แสน ล.บาท ซึ่งคาดว่าตลาดจะสามารถรองรับพันธบัตรจำนวนดังกล่าวได้ โดยส่วนหนึ่งเป็นการเสนอขายให้แก่ประชาชนด้วย เพราะเห็นว่าความต้องการลงทุนของประชาชนยังมีอยู่มาก และพันธบัตรเงินออมของรัฐบาลที่ออกก่อนหน้านี้ไม่เพียงพอรองรับความต้องการ (ผู้จัดการรายวัน 21)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. การสร้างบ้านใหม่ของ สรอ.ลดลงร้อยละ 6.9 ในเดือน ส.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 ก.ย.44 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน ส.ค.44 การสร้างบ้านใหม่โดยรวมหลังปรับฤดูกาลของ สรอ.มีจำนวน 1.527 ล.หลังต่อปี ลดลงร้อยละ 6.9 จากเดือน ก.ค.44 ที่มีจำนวน 1.641 ล.หลังต่อปี และลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือน ส.ค.43 โดยการสร้างบ้านใหม่ในเดือน ส.ค.44 มีจำนวนต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 1.628 ล.หลังต่อปี เป็นการลดลงในอัตราต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.43 ที่ลดลงร้อยละ 9.3 ทั้งนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ.กำลังเข้าสู่ช่วงการปรับตัวหลังเกิดวินาศกรรม สำหรับการสร้างบ้านใหม่นั้น เป็นส่วนที่แจ่มใสท่ามกลางภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจของ สรอ. เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีการซื้อบ้านมากขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ยฯ คงที่ระยะ 30 ปี ลดลงเหลือร้อยละ 6.86 ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 และต่ำกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับร้อยละ 7.88 (รอยเตอร์ 20)
2. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 20 ก.ย. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ลดลงจำนวน 49,000 คน เหลือจำนวน 387,000 คน จากตัวเลขที่ปรับแล้วมีจำนวน 436,000 คน ในสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการฯ ที่ลดลงส่วนใหญ่ เนื่องจากมีการปรับตัวเลขตามฤดูกาล ซึ่งได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีผู้ขอรับสวัสดิการฯ เพิ่มขึ้นหลังจากที่มีวันหยุดแรงงานในช่วงปลายสัปดาห์ สำหรับผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นรายงานที่ใช้วัดภาวะการจ้างงานได้น่าเชื่อถือมากกว่า เนื่องจากไม่รวมตัวเลขผันผวนรายสัปดาห์ ก็ลดลงเหลือจำนวน 409,000คน ในสัปดาห์สิ้นสุด 15 ก.ย. จากตัวเลขที่ปรับแล้ว จำนวน 412,250 คน ในสัปดาห์ก่อน รัฐบาล สรอ. กล่าวว่า จากรายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจของ สรอ. ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมใน สรอ. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม คาดว่า ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการฯ จะเพิ่มขึ้นอีก หลังจากที่บริษัทสายการบินของ สรอ. ประกาศลดการจ้างงานเกือบ 70,000 คน ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว (รอยเตอร์20)
3. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 1.2 ในเดือน ก.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 21 ก.ย.44 ก.เศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค.44 ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมลดลงร้อยละ 1.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน มิ.ย.44 โดย Teriary sector index ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมลดลงร้อยละ 0.9 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน มิ.ย.44 ทั้งนี้สืบเนื่องจากการก่อวินาศกรรมใน สรอ. ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจทั่วโลก (รอยเตอร์ 21)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 ก.ย.44 44.281 (44.205)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 ก.ย. 44ซื้อ 44.0933 (43.9862) ขาย 44.3795 (44.2864)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,000 (6,000) 6,100 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.05 (23.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.89) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-