ข้อมูลเบื้องต้นเดือนพฤศจิกายน เศรษฐกิจโดยรวมทรงตัวต่อเนื่อง ทั้งภาคการผลิต การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุลเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคต่างประเทศมูลค่าการส่งออกและการนำเข้ายังคงขยายตัว ภาคการเงิน สภาพคล่องระบบการเงินอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและสินเชื่อทรงตัว ค่าเงินบาทอ่อนตัวเล็กน้อย ส่วนอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับเดือนก่อน ทั้งนี้ รายละเอียด มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 2 จากระยะเดียวกันปีก่อน (แต่หากไม่รวมการผลิตสุรา ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8) หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ส่งออกขยายตัวมากขึ้น หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่มซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดยาสูบที่ลดลงตามความต้องการระบายสต็อกของตัวแทนจำหน่าย และหมวดวัสดุก่อสร้างที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตามภาวะการก่อสร้างในประเทศ ประกอบกับการส่งออกปูนซีเมนต์ต้องประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคา สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 11 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน พิจารณาจากเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่สำคัญซึ่งขยายตัว เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและจากระยะเดียวกันปีก่อน อาทิ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4) ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3) และปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1) การลงทุนภาคเอกชน เครื่องชี้ที่สำคัญมีแนวโน้มทรงตัว โดยปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่สินค้าทุนนำเข้า และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน สะท้อนอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมยังคงอยู่ในระดับต่ำ ภาคการก่อสร้างที่ยังคงซบเซา และค่าเงินที่อ่อนลงในช่วงครึ่งหลังของปี
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 24.1 พันล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับการขาดดุล 32.9 ในระยะเดียวกันปีก่อนเป็นการขาดดุลในงบประมาณ 26.0 พันล้านบาท ขณะที่เงินนอกงบประมาณเกินดุล 1.9 พันล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายลดลงร้อยละ 9.9 ส่วนการจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 5.9 โดยเฉพาะรายได้ที่มิใช่ภาษีอากรลดลงร้อยละ 79.8 เนื่องจากมีรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เพียงแห่งเดียว คือสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ขณะที่ปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายโรงงานสุราและที่ดินราชพัสดุ สำหรับรายได้ภาษีจากฐานการบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตเริ่มทรงตัว นอกจากนี้ภาษีการนำเข้าชะลอตัวมากเพราะมีการเร่งนำเข้ามากในช่วงก่อนสิ้นปี 2542 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา Y2K ฐานปีก่อนจึงค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ภาษีที่มีฐานการจัดเก็บจากรายได้ปรับสูงขึ้นมาก คือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปรับสูงขึ้นร้อยละ 42.6 ส่วนหนึ่งเนื่องจากกรมสรรพากรเรียกนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเติม นอกจากนี้ภาษีเงินได้ นิติบุคคลปรับสูงขึ้นถึงร้อยละ 44.6 จากการที่ฐานปีก่อนต่ำ
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 และสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.2 ในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 1.1 เนื่องจากปริมาณผลผลิตผักบางชนิดลดลง อาทิ ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ผักชี และมะนาว รองลงมาได้แก่หมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.1 เนื่องจากผู้ค้าบางรายปรับขึ้นราคาจำหน่ายข้าวสารเจ้าหอมมะลิ และหมวดอาหารที่ซื้อจากตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 0.8 เป็นผลจากการปรับขึ้นค่าตรวจรักษา และค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาล ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) ยังคงมีแนวโน้มทรงตัว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7จากระยะเดียวกันปีก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นผลจากการลดลงของราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 1.1 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและการนำเข้า เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.0 และ 18.8 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุล ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเป็น 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน ขาดดุล 54 ล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เกินดุล 83 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 อยู่ ณ ระดับ 32.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงิน อยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำในช่วงครึ่งแรกของเดือน แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 3 จากการที่สภาพคล่องเงินบาทในตลาดต่างประเทศตึงตัวขึ้น และส่งผลกระทบถึงระบบการชำระเงินภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องเงินบาทในตลาดต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงสิ้นเดือน อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 11.2 ต่อปี สาเหตุสำคัญของการปรับลดลง ได้แก่ การที่ธนาคารพาณิชย์ตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อด้อยคุณภาพไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี
7. อัตราแลกเปลี่ยน เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 43.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามภาวะ ค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับตัวอ่อนลงต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/29 ธันวาคม 2543--
-ยก-
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 2 จากระยะเดียวกันปีก่อน (แต่หากไม่รวมการผลิตสุรา ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8) หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่ส่งออกขยายตัวมากขึ้น หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่มซึ่งลดลงอย่างต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดยาสูบที่ลดลงตามความต้องการระบายสต็อกของตัวแทนจำหน่าย และหมวดวัสดุก่อสร้างที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตามภาวะการก่อสร้างในประเทศ ประกอบกับการส่งออกปูนซีเมนต์ต้องประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคา สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 11 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน พิจารณาจากเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่สำคัญซึ่งขยายตัว เพิ่มขึ้นทั้งจากเดือนก่อนหน้าและจากระยะเดียวกันปีก่อน อาทิ ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4) ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3) และปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1) การลงทุนภาคเอกชน เครื่องชี้ที่สำคัญมีแนวโน้มทรงตัว โดยปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่สินค้าทุนนำเข้า และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน สะท้อนอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมยังคงอยู่ในระดับต่ำ ภาคการก่อสร้างที่ยังคงซบเซา และค่าเงินที่อ่อนลงในช่วงครึ่งหลังของปี
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 24.1 พันล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับการขาดดุล 32.9 ในระยะเดียวกันปีก่อนเป็นการขาดดุลในงบประมาณ 26.0 พันล้านบาท ขณะที่เงินนอกงบประมาณเกินดุล 1.9 พันล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายลดลงร้อยละ 9.9 ส่วนการจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 5.9 โดยเฉพาะรายได้ที่มิใช่ภาษีอากรลดลงร้อยละ 79.8 เนื่องจากมีรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้เพียงแห่งเดียว คือสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ขณะที่ปีก่อนมีรายได้พิเศษจากการขายโรงงานสุราและที่ดินราชพัสดุ สำหรับรายได้ภาษีจากฐานการบริโภค ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีสรรพสามิตเริ่มทรงตัว นอกจากนี้ภาษีการนำเข้าชะลอตัวมากเพราะมีการเร่งนำเข้ามากในช่วงก่อนสิ้นปี 2542 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา Y2K ฐานปีก่อนจึงค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ภาษีที่มีฐานการจัดเก็บจากรายได้ปรับสูงขึ้นมาก คือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปรับสูงขึ้นร้อยละ 42.6 ส่วนหนึ่งเนื่องจากกรมสรรพากรเรียกนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเติม นอกจากนี้ภาษีเงินได้ นิติบุคคลปรับสูงขึ้นถึงร้อยละ 44.6 จากการที่ฐานปีก่อนต่ำ
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 และสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.2 ในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 1.1 เนื่องจากปริมาณผลผลิตผักบางชนิดลดลง อาทิ ผักคะน้า ผักบุ้งจีน ผักชี และมะนาว รองลงมาได้แก่หมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.1 เนื่องจากผู้ค้าบางรายปรับขึ้นราคาจำหน่ายข้าวสารเจ้าหอมมะลิ และหมวดอาหารที่ซื้อจากตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 0.8 เป็นผลจากการปรับขึ้นค่าตรวจรักษา และค่าห้องพักคนไข้โรงพยาบาล ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน) ยังคงมีแนวโน้มทรงตัว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7จากระยะเดียวกันปีก่อน
ดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ เป็นผลจากการลดลงของราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมร้อยละ 1.1 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 0.1 ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและการนำเข้า เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.0 และ 18.8 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 0.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุล ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเป็น 0.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน ขาดดุล 54 ล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เกินดุล 83 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อน และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2543 อยู่ ณ ระดับ 32.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงิน อยู่ในเกณฑ์สูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำในช่วงครึ่งแรกของเดือน แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 3 จากการที่สภาพคล่องเงินบาทในตลาดต่างประเทศตึงตัวขึ้น และส่งผลกระทบถึงระบบการชำระเงินภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องเงินบาทในตลาดต่างประเทศและอัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงสิ้นเดือน อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 11.2 ต่อปี สาเหตุสำคัญของการปรับลดลง ได้แก่ การที่ธนาคารพาณิชย์ตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อด้อยคุณภาพไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี
7. อัตราแลกเปลี่ยน เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 43.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนตามภาวะ ค่าเงินในภูมิภาคที่ปรับตัวอ่อนลงต่อเนื่อง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/29 ธันวาคม 2543--
-ยก-