ประเทศมาดากัสการ์ (Madagascar) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของทวีปแอฟริกาและประเทศโมซัมบิก มีประชากรประมาณ 15 ล้านคน เมืองหลวงชื่ออันตานานาริโว มาดากัสการ์อยู่ในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก เนื่องจากประชากรกว่า 70% ยังยากจน มีรายได้เฉลี่ยเพียง 260 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อคนต่อปี
อย่างไรก็ตาม มาดากัสการ์ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมต่อการเป็นประตูเชื่อมโยงทวีปแอฟริกากับเอเชีย มีความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติ และมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำมากเพียง 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน รวมทั้งมีความมั่นคงทางการเมืองและมีนโยบายเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจสู่ระบบตลาดเสรีอย่างจริงจัง นักลงทุนต่างชาติจึงสนใจเข้าไปลงทุนในมาดากัสการ์เป็นจำนวนมาก ในปี 2542 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในมาดากัสการ์ราว 57.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export Processing Zone: EPZ) ซึ่งมีนักลงทุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) เข้าไปลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือนักลงทุนจากมอริเชียสและอาเซียนตามลำดับ
นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา รัฐบาลมาดากัสการ์เร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน อาทิ การลดหย่อนภาษีนำเข้า การอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินได้นานถึง 99 ปีและยังสามารถต่ออายุได้ การให้นักลงทุนในเขต EPZ สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ การให้นักลงทุนต่างชาติสามารถส่งผลกำไรกลับประเทศได้อย่างเสรี ฯลฯ สำหรับอุตสาหกรรมที่รัฐบาลมาดากัสการ์ให้การส่งเสริมและนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุน ได้แก่
1. อุตสาหกรรมอัญมณีและเหมืองแร่ มาดากัสการ์อุดมไปด้วยอัญมณีมีค่าหลายชนิด เช่น ไพลิน ทับทิม บุษราคัม ทองคำ เงิน และกราไฟต์ นอกจากนี้ยังมีแซฟไฟร์อยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้นักลงทุนจากสหรัฐอเมริกา ศรีลังกา ไทย อินโดนีเซีย อิสราเอล และยุโรป สนใจเข้าไปซื้อพลอยและทำเหมืองพลอยในมาดากัสการ์เป็นจำนวนมาก ในปี 2542 รัฐบาลมาดากัสการ์ได้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการลงทุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเหมืองแร่เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเตรียมที่จะออกพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเหมืองแร่ โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่มีมูลค่าเงินลงทุนเกินกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2543 นี้อีกด้วย
2. อุตสาหกรรมประมง มาดากัสการ์มีไหล่ทวีปกว้าง ทำให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาดากัสการ์อนุญาตให้นักลงทุนจากต่างชาติจับได้เฉพาะปลาเท่านั้น ส่วนนักลงทุนท้องถิ่นจับได้ทั้งกุ้งและปลา นอกจากนี้ รัฐบาลได้กำหนดขอบเขตพื้นที่การทำประมงไว้ ดังนี้
- การทำประมงบริเวณชายฝั่งสงวนไว้สำหรับคนท้องถิ่นเท่านั้น
- การทำประมงในระยะทาง 2-12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง นักลงทุนต่างชาติสามารถร่วมลงทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นได้ โดยปลาและกุ้งที่จับได้ต้องนำขึ้นฝั่งที่มาดากัสการ์
- การทำประมงในระยะทางไกลกว่า 12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ปัจจุบันใบอนุญาตอยู่ในมือของนักลงทุนท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ นักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้าไปดำเนินการสามารถขอซื้อใบอนุญาตต่อจากนักลงทุนท้องถิ่นได้ ในปัจจุบันมีนักลงทุนจากญี่ปุ่น ยุโรป และไทยเข้าไปลงทุนทำธุรกิจประมงในมาดากัสการ์เป็นจำนวนมาก
3. อุตสาหกรรมสิ่งทอ มาดากัสการ์มีฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ มาดากัสการ์ยังได้สิทธิพิเศษภายใต้ข้อตกลง African Growth and Opportunity Act ในการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาโดยไม่ถูกจำกัดโควตา รวมทั้งยังได้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีในการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังกลุ่ม EU ตามสนธิสัญญาโลเม่ในฐานะที่เป็นเป็นประเทศสมาชิกในกลุ่ม ACP (African Caribbean and Pacific Countries) อีกด้วย ดังนั้น รัฐบาลมาดากัสการ์จึงส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเขต EPZ เป็นพิเศษ และมีนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
4. อุตสาหกรรมไม้แปรรูป มาดากัสการ์มีป่าสนเป็นจำนวนมากถึง 65,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 4.3 แสนไร่) ปัจจุบันรัฐบาลมาดากัสการ์ส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนเพื่อตัดไม้สนส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้เสรี โดยมี Societe Fanalamanga ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงน้ำและป่าไม้ของมาดากัสการ์ รับผิดชอบในการให้สัมปทานตัดไม้
5. อุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรแปรรูป มาดากัสการ์มีแหล่งน้ำค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้ผลดี แต่เทคโนโลยีทางการเกษตรที่ล้าหลังทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างต่ำ รัฐบาลมาดากัสการ์จึงเร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อผลิตและส่งออกไปจำหน่ายในกลุ่มตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for East and Southern Africa: COMESA) ซึ่งมาดากัสการ์เป็นสมาชิกอยู่ และได้รับสิทธิพิเศษทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษีในตลาดนี้ตามข้อตกลงร่วมกันในการลดและยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งทางด้านภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างกันเพื่อบรรลุเขตการค้าเสรีภายในปี 2543 อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรแปรรูปในมาดากัสการ์ควรเข้าไปลงทุนในบริเวณใกล้กับเขตเมืองหลวงและเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญ 2 แห่ง คือ เมือง Antsirabe และเมือง Mahajanga ซึ่งถนนมีสภาพดีและสามารถเชื่อมโยงไปยังเมือง Toamasina ซึ่งเป็นท่าเรือสำคัญของมาดากัสการ์ได้
ปัจจุบันมีนักลงทุนไทยหลายรายเข้าไปลงทุนในมาดากัสการ์แล้ว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอัญมณีและเหมืองแร่ มีนักธุรกิจไทยกว่า 600 รายเข้าไปซื้อพลอยและทำเหมืองพลอยในมาดากัสการ์ โดยประมาณ 90% ของพลอยประเภทต่างๆ ที่นักลงทุนไทยขุดได้ในมาดากัสการ์จะส่งออกมาจำหน่ายยังประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเรือไทย 5 ลำที่ได้เข้าไปทำประมงในมาดากัสการ์แล้ว
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-
อย่างไรก็ตาม มาดากัสการ์ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมต่อการเป็นประตูเชื่อมโยงทวีปแอฟริกากับเอเชีย มีความมั่งคั่งของทรัพยากรธรรมชาติ และมีค่าจ้างแรงงานที่ต่ำมากเพียง 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน รวมทั้งมีความมั่นคงทางการเมืองและมีนโยบายเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจสู่ระบบตลาดเสรีอย่างจริงจัง นักลงทุนต่างชาติจึงสนใจเข้าไปลงทุนในมาดากัสการ์เป็นจำนวนมาก ในปี 2542 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในมาดากัสการ์ราว 57.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export Processing Zone: EPZ) ซึ่งมีนักลงทุนจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) เข้าไปลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือนักลงทุนจากมอริเชียสและอาเซียนตามลำดับ
นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา รัฐบาลมาดากัสการ์เร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน อาทิ การลดหย่อนภาษีนำเข้า การอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินได้นานถึง 99 ปีและยังสามารถต่ออายุได้ การให้นักลงทุนในเขต EPZ สามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ การให้นักลงทุนต่างชาติสามารถส่งผลกำไรกลับประเทศได้อย่างเสรี ฯลฯ สำหรับอุตสาหกรรมที่รัฐบาลมาดากัสการ์ให้การส่งเสริมและนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุน ได้แก่
1. อุตสาหกรรมอัญมณีและเหมืองแร่ มาดากัสการ์อุดมไปด้วยอัญมณีมีค่าหลายชนิด เช่น ไพลิน ทับทิม บุษราคัม ทองคำ เงิน และกราไฟต์ นอกจากนี้ยังมีแซฟไฟร์อยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้นักลงทุนจากสหรัฐอเมริกา ศรีลังกา ไทย อินโดนีเซีย อิสราเอล และยุโรป สนใจเข้าไปซื้อพลอยและทำเหมืองพลอยในมาดากัสการ์เป็นจำนวนมาก ในปี 2542 รัฐบาลมาดากัสการ์ได้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการลงทุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเหมืองแร่เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเตรียมที่จะออกพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเหมืองแร่ โดยเฉพาะโครงการลงทุนที่มีมูลค่าเงินลงทุนเกินกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2543 นี้อีกด้วย
2. อุตสาหกรรมประมง มาดากัสการ์มีไหล่ทวีปกว้าง ทำให้มีทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาดากัสการ์อนุญาตให้นักลงทุนจากต่างชาติจับได้เฉพาะปลาเท่านั้น ส่วนนักลงทุนท้องถิ่นจับได้ทั้งกุ้งและปลา นอกจากนี้ รัฐบาลได้กำหนดขอบเขตพื้นที่การทำประมงไว้ ดังนี้
- การทำประมงบริเวณชายฝั่งสงวนไว้สำหรับคนท้องถิ่นเท่านั้น
- การทำประมงในระยะทาง 2-12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง นักลงทุนต่างชาติสามารถร่วมลงทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นได้ โดยปลาและกุ้งที่จับได้ต้องนำขึ้นฝั่งที่มาดากัสการ์
- การทำประมงในระยะทางไกลกว่า 12 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ปัจจุบันใบอนุญาตอยู่ในมือของนักลงทุนท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ นักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้าไปดำเนินการสามารถขอซื้อใบอนุญาตต่อจากนักลงทุนท้องถิ่นได้ ในปัจจุบันมีนักลงทุนจากญี่ปุ่น ยุโรป และไทยเข้าไปลงทุนทำธุรกิจประมงในมาดากัสการ์เป็นจำนวนมาก
3. อุตสาหกรรมสิ่งทอ มาดากัสการ์มีฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ มาดากัสการ์ยังได้สิทธิพิเศษภายใต้ข้อตกลง African Growth and Opportunity Act ในการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาโดยไม่ถูกจำกัดโควตา รวมทั้งยังได้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีในการส่งออกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปยังกลุ่ม EU ตามสนธิสัญญาโลเม่ในฐานะที่เป็นเป็นประเทศสมาชิกในกลุ่ม ACP (African Caribbean and Pacific Countries) อีกด้วย ดังนั้น รัฐบาลมาดากัสการ์จึงส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเขต EPZ เป็นพิเศษ และมีนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
4. อุตสาหกรรมไม้แปรรูป มาดากัสการ์มีป่าสนเป็นจำนวนมากถึง 65,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 4.3 แสนไร่) ปัจจุบันรัฐบาลมาดากัสการ์ส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนเพื่อตัดไม้สนส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้เสรี โดยมี Societe Fanalamanga ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงน้ำและป่าไม้ของมาดากัสการ์ รับผิดชอบในการให้สัมปทานตัดไม้
5. อุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรแปรรูป มาดากัสการ์มีแหล่งน้ำค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้ผลดี แต่เทคโนโลยีทางการเกษตรที่ล้าหลังทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตค่อนข้างต่ำ รัฐบาลมาดากัสการ์จึงเร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อผลิตและส่งออกไปจำหน่ายในกลุ่มตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for East and Southern Africa: COMESA) ซึ่งมาดากัสการ์เป็นสมาชิกอยู่ และได้รับสิทธิพิเศษทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษีในตลาดนี้ตามข้อตกลงร่วมกันในการลดและยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งทางด้านภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างกันเพื่อบรรลุเขตการค้าเสรีภายในปี 2543 อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรและเกษตรแปรรูปในมาดากัสการ์ควรเข้าไปลงทุนในบริเวณใกล้กับเขตเมืองหลวงและเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญ 2 แห่ง คือ เมือง Antsirabe และเมือง Mahajanga ซึ่งถนนมีสภาพดีและสามารถเชื่อมโยงไปยังเมือง Toamasina ซึ่งเป็นท่าเรือสำคัญของมาดากัสการ์ได้
ปัจจุบันมีนักลงทุนไทยหลายรายเข้าไปลงทุนในมาดากัสการ์แล้ว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอัญมณีและเหมืองแร่ มีนักธุรกิจไทยกว่า 600 รายเข้าไปซื้อพลอยและทำเหมืองพลอยในมาดากัสการ์ โดยประมาณ 90% ของพลอยประเภทต่างๆ ที่นักลงทุนไทยขุดได้ในมาดากัสการ์จะส่งออกมาจำหน่ายยังประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเรือไทย 5 ลำที่ได้เข้าไปทำประมงในมาดากัสการ์แล้ว
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-