ชิลีมีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าเตาอบไมโครเวฟสูงขึ้นมากในช่วง 3 - 4 ปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยแล้วในจำนวนประชากร 100 คน จะมีเตาอบไมโครเวฟไว้ใช้ 1 เครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการมีไว้ในครอบครองที่ค่อนข้างสูงสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ในปีหนึ่ง ๆ ชิลีมีการนำเข้าเตาอบไมโครเวฟทั้งสิ้นกว่า 160,323 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 14,000 พันเหรียญสหรัฐฯ
แหล่งนำเข้าสินค้าเตาอบไมโครเวฟที่สำคัญที่สุดของชิลีได้แก่เกาหลีใต้รองลงมาคือ จีน ไทย ไต้หวัน มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา โดยเกาหลีใต้มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 60 ส่วนจีนและไทยมีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกัน คือ ประมาณร้อยละ 10 เนื่องจากผู้บริโภคในชิลีส่วนใหญ่คำนึงถึงราคาสินค้าเป็นหลักมากกว่าการคำนึงถึงยี่ห้อหรือตราของสินค้า และราคาสินค้าจากจีนมีแนวโน้มถูกลงเนื่องจากการได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 สินค้าจากจีนมีราคา CIF เฉลี่ยต่อหน่วยเพียง 54.7 เหรียญสหรัฐฯ เทียบกับสินค้าจากไทยมีราคาเฉลี่ยต่อหน่วย 82.9 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ราคาเฉลี่ยของสินค้านำเข้าโดยรวมอยู่ที่ 76.7 เหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 9.2 โดยมูลค่าจากร้อยละ 10.1 ในระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าจีนจะสามารถยึดครองส่วนแบ่งการตลาดจากไทยและประเทศผู้ส่งออกอื่น ๆ ได้มากขึ้น ไม่นับสินค้าจากเกาหลีใต้ที่ยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาดได้อย่างเหนียวแน่น
ราคาสินค้าเตาอบไมโครเวฟที่วางจำหน่ายในชิลีจะมีราคาอยู่ระหว่าง 47,000 และ 169,900 เปโซ หรือประมาณ 84-303 เหรียญสหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ แหล่งผลิต และประสิทธิภาพความหลากหลายในการใช้งาน โดยมีรูปแบบการจำหน่ายสินค้าทั้งระบบเงินสดและเงินผ่อน ซึ่งทำให้อำนาจซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
ชิลีไม่มีการจำกัดการนำเข้าสินค้าเตาอบไมโครเวฟ เพียงแต่กำหนดให้แสดงใบแสดงแหล่งกำเนิดของสินค้า และใบกำกับสินค้า (Invoice) ด้วย เตาอบไมโครเวฟถูกเรียกเก็บอัตราภาษีขาเข้าเท่ากับสินค้าอื่น ๆ โดยทั่วไป ซึ่งในปี 2543 จะอยู่ที่ร้อยละ 9 และจะลดลงร้อยละ 1 ทุกปี จนกระทั่งถึงปี 2546 ซึ่งภาษีนำเข้าจะลดเหลือเพียงร้อยละ 6 ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกเรียกเก็บที่อัตราร้อยละ 18ข้อเสนอแนะ
สำหรับผู้ส่งออกไทยในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ คือ ผู้ส่งออกต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในด้านราคา หรือปรับรูปแบบดีไซน์ให้เป็นที่สะดุดตาผู้ซื้อ เสนอบริการหลังการขายที่ดีกว่า พร้อมทั้งขยายเวลาการรับประกันคุณภาพให้นานกว่าปกติทั่วไป เช่น ขยายจาก 1 ปี เป็น 2 ปี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาสนใจสินค้าของตน
(ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 8/2544 วันที่ 30 เมษายน 2544--
-อน-
ในปีหนึ่ง ๆ ชิลีมีการนำเข้าเตาอบไมโครเวฟทั้งสิ้นกว่า 160,323 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 14,000 พันเหรียญสหรัฐฯ
แหล่งนำเข้าสินค้าเตาอบไมโครเวฟที่สำคัญที่สุดของชิลีได้แก่เกาหลีใต้รองลงมาคือ จีน ไทย ไต้หวัน มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา โดยเกาหลีใต้มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 60 ส่วนจีนและไทยมีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกัน คือ ประมาณร้อยละ 10 เนื่องจากผู้บริโภคในชิลีส่วนใหญ่คำนึงถึงราคาสินค้าเป็นหลักมากกว่าการคำนึงถึงยี่ห้อหรือตราของสินค้า และราคาสินค้าจากจีนมีแนวโน้มถูกลงเนื่องจากการได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 สินค้าจากจีนมีราคา CIF เฉลี่ยต่อหน่วยเพียง 54.7 เหรียญสหรัฐฯ เทียบกับสินค้าจากไทยมีราคาเฉลี่ยต่อหน่วย 82.9 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ราคาเฉลี่ยของสินค้านำเข้าโดยรวมอยู่ที่ 76.7 เหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 9.2 โดยมูลค่าจากร้อยละ 10.1 ในระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีแนวโน้มว่าจีนจะสามารถยึดครองส่วนแบ่งการตลาดจากไทยและประเทศผู้ส่งออกอื่น ๆ ได้มากขึ้น ไม่นับสินค้าจากเกาหลีใต้ที่ยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาดได้อย่างเหนียวแน่น
ราคาสินค้าเตาอบไมโครเวฟที่วางจำหน่ายในชิลีจะมีราคาอยู่ระหว่าง 47,000 และ 169,900 เปโซ หรือประมาณ 84-303 เหรียญสหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ แหล่งผลิต และประสิทธิภาพความหลากหลายในการใช้งาน โดยมีรูปแบบการจำหน่ายสินค้าทั้งระบบเงินสดและเงินผ่อน ซึ่งทำให้อำนาจซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
ชิลีไม่มีการจำกัดการนำเข้าสินค้าเตาอบไมโครเวฟ เพียงแต่กำหนดให้แสดงใบแสดงแหล่งกำเนิดของสินค้า และใบกำกับสินค้า (Invoice) ด้วย เตาอบไมโครเวฟถูกเรียกเก็บอัตราภาษีขาเข้าเท่ากับสินค้าอื่น ๆ โดยทั่วไป ซึ่งในปี 2543 จะอยู่ที่ร้อยละ 9 และจะลดลงร้อยละ 1 ทุกปี จนกระทั่งถึงปี 2546 ซึ่งภาษีนำเข้าจะลดเหลือเพียงร้อยละ 6 ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกเรียกเก็บที่อัตราร้อยละ 18ข้อเสนอแนะ
สำหรับผู้ส่งออกไทยในการแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ คือ ผู้ส่งออกต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในด้านราคา หรือปรับรูปแบบดีไซน์ให้เป็นที่สะดุดตาผู้ซื้อ เสนอบริการหลังการขายที่ดีกว่า พร้อมทั้งขยายเวลาการรับประกันคุณภาพให้นานกว่าปกติทั่วไป เช่น ขยายจาก 1 ปี เป็น 2 ปี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาสนใจสินค้าของตน
(ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 8/2544 วันที่ 30 เมษายน 2544--
-อน-