กรุงเทพฯ--13 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (11 กรกฎาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะผู้แทนภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมประมงแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ตลอดจนนักธุรกิจไทย เชื้อสายอินเดียเดินทางไปเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2543 และได้มีการหารือกับประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของอินเดีย และยังได้พบปะกับนักธุรกิจอินเดีย สรุปผลการการเยือน ดังนี้ ด้านทวิภาคี
1. ฝ่ายไทยได้แจ้งความเห็นชอบของรัฐบาลไทยที่จะให้ฝ่ายอินเดียเปิดสถานกงสุลที่ จังหวัดสงขลา
2. หาลู่ทางเพิ่มปริมาณการค้าระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่า การค้ารวมเฉลี่ยประมาณ 846 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี 3. แสวงหาลู่ทางความร่วมมือด้านการประมงระหว่างกัน
4. ส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุนจากทั้งสองฝ่าย โดยไทยสนใจที่จะลงทุนใน ด้านธุรกิจก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคในอินเดีย และชักชวนให้อินเดียลงทุนในไทยในธุรกิจที่อินเดียมีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมอาหาร
5. เห็นพ้องกันที่จะจัดให้มีแผนการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ ในสหัสวรรษใหม่ เช่น ด้านการค้า การลงทุน การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ วัฒนธรรม และจะติดตามผลของความคืบหน้าและทบทวนในทุกๆ 3 ปี ด้านพหุภาคี ไทยประสงค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับอินเดียในองค์การระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาคต่างๆ เช่น องค์การสหประชาชาติ, BIMST-EC, IOR-ARC และอาเซียน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-อินเดีย ในโอกาสที่ไทยเป็นประธานอาเซียน และจะจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของ อาเซียน ในเดือนกรกฎาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ และอินเดียเป็นหนึ่งในประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ไทยได้ใช้โอกาสการเยือนนี้ชักชวนให้อินเดียเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาลุ่มน้ำโขง และโครงการท่องเที่ยว “สิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ”
นอกจากนี้ ดร. สุรินทร์ฯ ได้ลงนามในความตกลง 2 ฉบับ กับฝ่ายอินเดีย ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในด้านการใช้ประโยชน์พลังงานปรมาณูเพื่อวัตถุประสงค์ในทางสันติ นอกจากการพบหารือกับผู้นำระดับสูงของฝ่ายอินเดียแล้ว ภาคเอกชนไทยยังได้พบหารือกับนักธุรกิจอินเดียที่สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย สมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอินเดีย และผู้นำเข้าของอินเดีย เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคย และหาลู่ทางความร่วมมือด้านธุรกิจระหว่างกันในสาขาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ รถบรรทุก และรถแทร็กเตอร์ รวมทั้งสาขาอาหารและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (11 กรกฎาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้นำคณะผู้แทนภาครัฐบาลและภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมประมงแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ตลอดจนนักธุรกิจไทย เชื้อสายอินเดียเดินทางไปเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 8-10 กรกฎาคม 2543 และได้มีการหารือกับประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของอินเดีย และยังได้พบปะกับนักธุรกิจอินเดีย สรุปผลการการเยือน ดังนี้ ด้านทวิภาคี
1. ฝ่ายไทยได้แจ้งความเห็นชอบของรัฐบาลไทยที่จะให้ฝ่ายอินเดียเปิดสถานกงสุลที่ จังหวัดสงขลา
2. หาลู่ทางเพิ่มปริมาณการค้าระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มูลค่า การค้ารวมเฉลี่ยประมาณ 846 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี 3. แสวงหาลู่ทางความร่วมมือด้านการประมงระหว่างกัน
4. ส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุนจากทั้งสองฝ่าย โดยไทยสนใจที่จะลงทุนใน ด้านธุรกิจก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคในอินเดีย และชักชวนให้อินเดียลงทุนในไทยในธุรกิจที่อินเดียมีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมอาหาร
5. เห็นพ้องกันที่จะจัดให้มีแผนการดำเนินการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ ในสหัสวรรษใหม่ เช่น ด้านการค้า การลงทุน การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ วัฒนธรรม และจะติดตามผลของความคืบหน้าและทบทวนในทุกๆ 3 ปี ด้านพหุภาคี ไทยประสงค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือกับอินเดียในองค์การระหว่างประเทศและระหว่างภูมิภาคต่างๆ เช่น องค์การสหประชาชาติ, BIMST-EC, IOR-ARC และอาเซียน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-อินเดีย ในโอกาสที่ไทยเป็นประธานอาเซียน และจะจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน และการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของ อาเซียน ในเดือนกรกฎาคม 2543 ที่กรุงเทพฯ และอินเดียเป็นหนึ่งในประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ไทยได้ใช้โอกาสการเยือนนี้ชักชวนให้อินเดียเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาลุ่มน้ำโขง และโครงการท่องเที่ยว “สิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ”
นอกจากนี้ ดร. สุรินทร์ฯ ได้ลงนามในความตกลง 2 ฉบับ กับฝ่ายอินเดีย ได้แก่ ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในด้านการใช้ประโยชน์พลังงานปรมาณูเพื่อวัตถุประสงค์ในทางสันติ นอกจากการพบหารือกับผู้นำระดับสูงของฝ่ายอินเดียแล้ว ภาคเอกชนไทยยังได้พบหารือกับนักธุรกิจอินเดียที่สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดีย สมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอินเดีย และผู้นำเข้าของอินเดีย เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคย และหาลู่ทางความร่วมมือด้านธุรกิจระหว่างกันในสาขาคอมพิวเตอร์ ธุรกิจการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ รถบรรทุก และรถแทร็กเตอร์ รวมทั้งสาขาอาหารและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอีกด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-