การค้าระหว่างประเทศของจีน
การค้าระหว่างประเทศของจีนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2542 มีมูลค่าการค้ารวม 254,884 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแยกเป็นการส่งออก 137,229 ล้านเหรียญฯ และการนำเข้า 117,655 ล้านเหรียญฯ ซึ่งทำให้เกินดุลการค้าเป็นมูลค่า 19,574 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 โดยส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.19 สำหรับดุลการค้าเกินดุลลดลงร้อยละ 44.36
การส่งออก
สินค้าออกสำคัญ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รองเท้าหนัง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หม้อแปลงไฟฟ้า และแผงวงจรไฟฟ้า
สำหรับสินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ ของเล่นประเภทหุ่นจำลอง รองเท้ายางและพลาสติก ของใช้ในสำนักงานทำด้วยพลาสติก และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
ตลาดส่งออกสำคัญ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และลาว
ส่วนตลาดส่งออกสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า และกัมพูชา
สำหรับไทยเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 19 ของจีน มูลค่าการส่งออกของจีนมาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.61 และมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 0.73
การนำเข้า
สินค้านำเข้า ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันดิบ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก
แหล่งนำเข้าสำคัญ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน เกาหลีใต้ เยอรมนี มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว
แหล่งนำเข้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ สิงคโปร์
สำหรับไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 16 ของจีน มูลค่าการนำเข้าของจีนจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.07 และมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.65
ดุลการค้า
ประเทศคู่ค้าที่จีนเกินดุลการค้ามากที่สุด คือ ฮ่องกง เกินดุลการค้าเป็นมูลค่าถึง 21,021 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 107.39 ของการเกินดุลการค้ารวม และประเทศคู่ค้าที่จีนขาดดุลการค้ามากที่สุด คือ ไต้หวัน ขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 11,098 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับไทยนั้น จีนขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 937 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การค้าระหว่างประเทศจีนกับไทย
การค้าระหว่างประเทศจีนกับไทยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2542 มีมูลค่าการค้ารวม 2,945 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแยกเป็นจีนส่งออกมาไทย 1,004 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากไทย 1,941 ล้านเหรียญฯ ซึ่งทำให้จีนขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 937 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่การค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.92 โดยจีนส่งออกมาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.61 และนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.07 ทำให้จีนขาดดุลการค้ากับไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.46
การส่งออก
สินค้าออกสำคัญของจีนที่ส่งออกมายังไทยที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.47) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ 222.22) ผ้าทอทำด้วยเส้นใยสั้นเทียม (ร้อยละ 18.52) ยากำจัดศัตรูพืช (ร้อยละ 127.27) ผ้าทอทำด้วยเส้นใยสั้นโพลิเอสเทอร์ (ร้อยละ 36.36) ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแม่เหล็กไฟฟ้า (ร้อยละ 27.27) และวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์ (ร้อยละ 44.44)
สำหรับสินค้าที่จีนส่งออกมาไทยมีมูลค่าการลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ (ลดลงร้อยละ 22.22) และหม้อแปลงไฟฟ้า (ร้อยละ 7.14)
การนำเข้า
สินค้าเข้าสำคัญที่จีนนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติก สไตรีน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.69) ก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 203.85) เม็ดพลาสติกชนิดโพรพีลีน (ร้อยละ 30.00) หลอดเทอร์มิโอนิก (ร้อยละ 271.43) เม็ดพลาสติกชนิดเอทิลีน (ร้อยละ 4.00) และแผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ 88.89)
สำหรับสินค้าสำคัญที่จีนนำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 24.83) ยางธรรมชาติ (ร้อยละ 31.72) ข้าว (ร้อยละ 32.94) และเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ร้อยละ 8.00)
ดุลการค้า
ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของจีนขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 937 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นมูลค่า 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.46
ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าส่งออกสำคัญของไทย สรุปได้ดังนี้
1. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดอยละ 12.05 ลดลงจากร้อยละ 17.02 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ส่วนสิงคโปร์มีส่วนแบ่งตลาดลดลง
2. เม็ดพลาสติกชนิดสไตรีน จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 4 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.48 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.69 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ เกาหลีใต้ และฮ่องกง ส่วนญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
3. ยางธรรมชาติ จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 1 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 52.66 ลดลงจากร้อยละ 63.30 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และกัมพูชา ส่วนเวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
4. ก๊าซธรรมชาติ จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 4 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.22 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.89 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญ คือ เกาหลีใต้, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
5. เม็ดพลาสติกชนิดโพรพิลีน จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 4 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.95 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.63 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ส่วนเกาหลีใต้และสิงคโปร์มีส่วนแบ่งตลาดลดลง
คู่แข่งที่สำคัญของไทยในจีน
1. ญี่ปุ่น เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก หลอดเทอร์มิโอนิก แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องสูบลม กรดโพลิคาร์บอกซิลิก และกระดาษที่ไม่เคลือบ
2. สหรัฐอเมริกา เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ข้าว เม็ดพลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องสูบลม และกระดาษที่ไม่เคลือบ
3. ไต้หวัน เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก หลอดเทอร์มิโอนิก แผงวงจรไฟฟ้า กรดโพลิคาร์บอกซิลิก และกระดาษที่ไม่เคลือบ
4. เกาหลีใต้ เป็นคู่แข่งในสินค้าเม็ดพลาสติก ก๊าซธรรมชาติ หลอดเทอร์โมนิก เครื่องสูบลม กรดโพลิคาร์บอกซิลิก และกระดาษที่ไม่เคลือบ
5. สิงคโปร์ เป็นคู่แข่งขันในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติกชนิดโพรพีลิน
6. มาเลเซีย เป็นคู่แข่งขันในสินค้ายางธรรมชาติ และหลอดเทอร์มิโอนิก
7. อินโดนีเซีย เป็นคู่แข่งขันในสินค้ายางธรรมชาติ กรดโพลิคาร์บอซิลิก และกระดาษที่ไม่เคลือบ
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 24/31 ธันวาคม 2542--
การค้าระหว่างประเทศของจีนในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2542 มีมูลค่าการค้ารวม 254,884 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแยกเป็นการส่งออก 137,229 ล้านเหรียญฯ และการนำเข้า 117,655 ล้านเหรียญฯ ซึ่งทำให้เกินดุลการค้าเป็นมูลค่า 19,574 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 โดยส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.19 สำหรับดุลการค้าเกินดุลลดลงร้อยละ 44.36
การส่งออก
สินค้าออกสำคัญ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รองเท้าหนัง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หม้อแปลงไฟฟ้า และแผงวงจรไฟฟ้า
สำหรับสินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ ของเล่นประเภทหุ่นจำลอง รองเท้ายางและพลาสติก ของใช้ในสำนักงานทำด้วยพลาสติก และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
ตลาดส่งออกสำคัญ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และลาว
ส่วนตลาดส่งออกสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า และกัมพูชา
สำหรับไทยเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 19 ของจีน มูลค่าการส่งออกของจีนมาไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.61 และมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 0.73
การนำเข้า
สินค้านำเข้า ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันดิบ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก
แหล่งนำเข้าสำคัญ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน เกาหลีใต้ เยอรมนี มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว
แหล่งนำเข้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ สิงคโปร์
สำหรับไทยเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 16 ของจีน มูลค่าการนำเข้าของจีนจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.07 และมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.65
ดุลการค้า
ประเทศคู่ค้าที่จีนเกินดุลการค้ามากที่สุด คือ ฮ่องกง เกินดุลการค้าเป็นมูลค่าถึง 21,021 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 107.39 ของการเกินดุลการค้ารวม และประเทศคู่ค้าที่จีนขาดดุลการค้ามากที่สุด คือ ไต้หวัน ขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 11,098 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับไทยนั้น จีนขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 937 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การค้าระหว่างประเทศจีนกับไทย
การค้าระหว่างประเทศจีนกับไทยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2542 มีมูลค่าการค้ารวม 2,945 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแยกเป็นจีนส่งออกมาไทย 1,004 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากไทย 1,941 ล้านเหรียญฯ ซึ่งทำให้จีนขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 937 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่การค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.92 โดยจีนส่งออกมาไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.61 และนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.07 ทำให้จีนขาดดุลการค้ากับไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.46
การส่งออก
สินค้าออกสำคัญของจีนที่ส่งออกมายังไทยที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.47) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ 222.22) ผ้าทอทำด้วยเส้นใยสั้นเทียม (ร้อยละ 18.52) ยากำจัดศัตรูพืช (ร้อยละ 127.27) ผ้าทอทำด้วยเส้นใยสั้นโพลิเอสเทอร์ (ร้อยละ 36.36) ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแม่เหล็กไฟฟ้า (ร้อยละ 27.27) และวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์ (ร้อยละ 44.44)
สำหรับสินค้าที่จีนส่งออกมาไทยมีมูลค่าการลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ (ลดลงร้อยละ 22.22) และหม้อแปลงไฟฟ้า (ร้อยละ 7.14)
การนำเข้า
สินค้าเข้าสำคัญที่จีนนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติก สไตรีน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.69) ก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 203.85) เม็ดพลาสติกชนิดโพรพีลีน (ร้อยละ 30.00) หลอดเทอร์มิโอนิก (ร้อยละ 271.43) เม็ดพลาสติกชนิดเอทิลีน (ร้อยละ 4.00) และแผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ 88.89)
สำหรับสินค้าสำคัญที่จีนนำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 24.83) ยางธรรมชาติ (ร้อยละ 31.72) ข้าว (ร้อยละ 32.94) และเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ร้อยละ 8.00)
ดุลการค้า
ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของจีนขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 937 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นมูลค่า 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.46
ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าส่งออกสำคัญของไทย สรุปได้ดังนี้
1. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดอยละ 12.05 ลดลงจากร้อยละ 17.02 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน ส่วนสิงคโปร์มีส่วนแบ่งตลาดลดลง
2. เม็ดพลาสติกชนิดสไตรีน จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 4 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.48 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.69 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ เกาหลีใต้ และฮ่องกง ส่วนญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
3. ยางธรรมชาติ จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 1 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 52.66 ลดลงจากร้อยละ 63.30 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และกัมพูชา ส่วนเวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
4. ก๊าซธรรมชาติ จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 4 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.22 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.89 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญ คือ เกาหลีใต้, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
5. เม็ดพลาสติกชนิดโพรพิลีน จีนนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 4 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.95 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.63 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ส่วนเกาหลีใต้และสิงคโปร์มีส่วนแบ่งตลาดลดลง
คู่แข่งที่สำคัญของไทยในจีน
1. ญี่ปุ่น เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก หลอดเทอร์มิโอนิก แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องสูบลม กรดโพลิคาร์บอกซิลิก และกระดาษที่ไม่เคลือบ
2. สหรัฐอเมริกา เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ข้าว เม็ดพลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องสูบลม และกระดาษที่ไม่เคลือบ
3. ไต้หวัน เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก หลอดเทอร์มิโอนิก แผงวงจรไฟฟ้า กรดโพลิคาร์บอกซิลิก และกระดาษที่ไม่เคลือบ
4. เกาหลีใต้ เป็นคู่แข่งในสินค้าเม็ดพลาสติก ก๊าซธรรมชาติ หลอดเทอร์โมนิก เครื่องสูบลม กรดโพลิคาร์บอกซิลิก และกระดาษที่ไม่เคลือบ
5. สิงคโปร์ เป็นคู่แข่งขันในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติกชนิดโพรพีลิน
6. มาเลเซีย เป็นคู่แข่งขันในสินค้ายางธรรมชาติ และหลอดเทอร์มิโอนิก
7. อินโดนีเซีย เป็นคู่แข่งขันในสินค้ายางธรรมชาติ กรดโพลิคาร์บอซิลิก และกระดาษที่ไม่เคลือบ
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 24/31 ธันวาคม 2542--