กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 ได้ลงข่าวพาดหัวกรณีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้ลาออกจากราชการไปแล้ว ได้ขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้กับนักธุรกิจเนเธอร์แลนด์ เป็นจำนวนเงินกว่า 100 ล้านบาทโดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ทราบเรื่องนั้น
กระทรวงการต่างประเทศ ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงและการดำเนินการของกระทรวงฯ ดังนี้
- เมื่อเดือนตุลาคม 2542 กระทรวงฯ ได้รับรายงานแจ้งว่า อดีตเอกอัครราชทูต ได้ลงนาม (พฤษภาคม 2542) ในสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก เป็นจำนวนเงิน 3.1 ล้านกิลเดอร์ (ประมาณ 60 ล้านบาท ) โดยมิได้รับคำสั่งหรือการมอบอำนาจจากรัฐบาลไทย อดีตเอกอัครราชทูตชี้แจงว่าถูกกลฉ้อฉลที่ฝ่ายผู้ซื้อหลอกลวงตนว่าเอกสารที่ตนลงนามเป็นภาษาดัทช์ภาษาเดียวนั้นเป็นเพียงหนังสือแสดงเจตนาจะซื้อเท่านั้น ทั้งนี้ กระทรวงฯ ขอเรียนว่า ยังไม่มีการจ่ายเงินแต่อย่างใดตามสัญญาที่อ้างถึงข้างต้นนั้น
- กระทรวงฯ ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง กับเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยแล้ว และยืนยันกับฝ่ายเนเธอร์แลนด์ว่าการดำเนินการของอดีตเอกอัครราชทูตฯ ไม่ผูกพันรัฐบาลไทย เนื่องจากมิได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลไทย หากกระทรวงฯ ประสงค์ที่จะขายที่ดินและอาคารข้างต้นก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้จนกว่าจะผ่านขั้นตอนกระบวนการการพิจารณาของคณะกรรมการจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการคลัง และจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีด้วย นอกจากนี้
หากมีการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารข้างต้นจริงกระทรวงการต่างประเทศก็จะต้องส่งมอบเงินที่ได้รับจากการขายให้กระทรวงการคลังทั้งหมด
- ขณะนี้ผู้ซื้อได้ยื่นฟ้องต่อศาลเนเธอร์แลนด์ ขอให้รัฐบาลไทยให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารทั้งสองแห่งตามนัยสัญญาที่ลงนามโดยไม่ได้รับการมอบอำนาจข้างต้น ซึ่งศาลเนเธอร์แลนด์ได้ประทับรับฟ้องตามคำขอนั้นแล้วเป็นการเบื้องต้น
รัฐบาลไทยได้อ้างความคุ้มกันของรัฐบาลตลอดจนที่ดินและอาคารสถาน เอกอัครราชทูตจากอำนาจศาลเนเธอร์แลนด์เพื่อมิให้ศาลฯ มีอำนาจในการพิจารณา รวมทั้งบังคับคดีกับรัฐบาลไทยได้ พร้อมกับแสวงหาแนวทางการยุติปัญหานี้ในทุกทาง โดยมิให้กระทบผลประโยชน์ของ รัฐบาลไทย ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์เสนอรับที่จะเป็นผู้ประสานด้วยอีกทางหนึ่ง
- ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือกราบเรียนข้อมูลข้อเท็จจริงและแนวทางแก้ไขปัญหาให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทราบไว้ชั้นหนึ่งก่อนแล้ว และได้จัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงในกรณีนี้ขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2542 หลังจากที่ได้ประมวลข้อเท็จจริงและหลักฐานในเบื้องต้นเป็นการเพิ่มเติมจนเพียงพอแล้ว ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2543 ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการสอบสวน โดยมีอธิบดีอัยการ 1 ท่านเป็นกรรมการจากบุคคลภายนอกรวมอยู่ในคณะกรรมการด้วย ทั้งนี้ การดำเนินการของคณะกรรมการฯ จะต้องแล้วเสร็จภายใน 270 วัน เป็นอย่างช้าที่สุด
- ตามระเบียบราชการ หน่วยราชการทุกแห่งไม่สามารถที่จะแถลงหรือเผยแพร่การดำเนินการทางวินัยในระหว่างที่มีการสอบสวนได้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 ได้ลงข่าวพาดหัวกรณีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้ลาออกจากราชการไปแล้ว ได้ขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้กับนักธุรกิจเนเธอร์แลนด์ เป็นจำนวนเงินกว่า 100 ล้านบาทโดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ทราบเรื่องนั้น
กระทรวงการต่างประเทศ ขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงและการดำเนินการของกระทรวงฯ ดังนี้
- เมื่อเดือนตุลาคม 2542 กระทรวงฯ ได้รับรายงานแจ้งว่า อดีตเอกอัครราชทูต ได้ลงนาม (พฤษภาคม 2542) ในสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก เป็นจำนวนเงิน 3.1 ล้านกิลเดอร์ (ประมาณ 60 ล้านบาท ) โดยมิได้รับคำสั่งหรือการมอบอำนาจจากรัฐบาลไทย อดีตเอกอัครราชทูตชี้แจงว่าถูกกลฉ้อฉลที่ฝ่ายผู้ซื้อหลอกลวงตนว่าเอกสารที่ตนลงนามเป็นภาษาดัทช์ภาษาเดียวนั้นเป็นเพียงหนังสือแสดงเจตนาจะซื้อเท่านั้น ทั้งนี้ กระทรวงฯ ขอเรียนว่า ยังไม่มีการจ่ายเงินแต่อย่างใดตามสัญญาที่อ้างถึงข้างต้นนั้น
- กระทรวงฯ ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง กับเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยแล้ว และยืนยันกับฝ่ายเนเธอร์แลนด์ว่าการดำเนินการของอดีตเอกอัครราชทูตฯ ไม่ผูกพันรัฐบาลไทย เนื่องจากมิได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลไทย หากกระทรวงฯ ประสงค์ที่จะขายที่ดินและอาคารข้างต้นก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้จนกว่าจะผ่านขั้นตอนกระบวนการการพิจารณาของคณะกรรมการจากกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการคลัง และจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีด้วย นอกจากนี้
หากมีการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารข้างต้นจริงกระทรวงการต่างประเทศก็จะต้องส่งมอบเงินที่ได้รับจากการขายให้กระทรวงการคลังทั้งหมด
- ขณะนี้ผู้ซื้อได้ยื่นฟ้องต่อศาลเนเธอร์แลนด์ ขอให้รัฐบาลไทยให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารทั้งสองแห่งตามนัยสัญญาที่ลงนามโดยไม่ได้รับการมอบอำนาจข้างต้น ซึ่งศาลเนเธอร์แลนด์ได้ประทับรับฟ้องตามคำขอนั้นแล้วเป็นการเบื้องต้น
รัฐบาลไทยได้อ้างความคุ้มกันของรัฐบาลตลอดจนที่ดินและอาคารสถาน เอกอัครราชทูตจากอำนาจศาลเนเธอร์แลนด์เพื่อมิให้ศาลฯ มีอำนาจในการพิจารณา รวมทั้งบังคับคดีกับรัฐบาลไทยได้ พร้อมกับแสวงหาแนวทางการยุติปัญหานี้ในทุกทาง โดยมิให้กระทบผลประโยชน์ของ รัฐบาลไทย ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์เสนอรับที่จะเป็นผู้ประสานด้วยอีกทางหนึ่ง
- ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือกราบเรียนข้อมูลข้อเท็จจริงและแนวทางแก้ไขปัญหาให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทราบไว้ชั้นหนึ่งก่อนแล้ว และได้จัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงในกรณีนี้ขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2542 หลังจากที่ได้ประมวลข้อเท็จจริงและหลักฐานในเบื้องต้นเป็นการเพิ่มเติมจนเพียงพอแล้ว ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2543 ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการสอบสวน โดยมีอธิบดีอัยการ 1 ท่านเป็นกรรมการจากบุคคลภายนอกรวมอยู่ในคณะกรรมการด้วย ทั้งนี้ การดำเนินการของคณะกรรมการฯ จะต้องแล้วเสร็จภายใน 270 วัน เป็นอย่างช้าที่สุด
- ตามระเบียบราชการ หน่วยราชการทุกแห่งไม่สามารถที่จะแถลงหรือเผยแพร่การดำเนินการทางวินัยในระหว่างที่มีการสอบสวนได้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-