บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)

ข่าวการเมือง Monday October 29, 2001 13:33 —รัฐสภา

                                บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา
นายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภา
คนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
แห่งประเทศไทย พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….
จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว และในคราวประชุม
เดียวกัน ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง
การดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติม และกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกัน
เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวนสภาละ ๑๒ คน ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๕ (๓)
๒. ด้วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งว่า ตามที่ได้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. …. ไปเพื่อดำเนินการ
นั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบข้อสังเกตและมอบให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาดำเนินการ
แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
๓. ด้วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งว่า ตามที่ได้ส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ไปเพื่อดำเนินการนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบข้อสังเกตและมอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
รับไปพิจารณาดำเนินการ แล้วแจ้งให้สำนักงบประมาณทราบโดยตรงเพื่อจัดทำความเห็นรวมแล้ว
นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงาน
ขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. …. ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา
จำนวน ๑๒ คน ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ประกอบด้วย
๑. พลอากาศเอก กานต์ สุระกุล ๒. นายชิต เจริญประเสริฐ
๓. พลตำรวจโท ชูชาติ ทัศนเสถียร ๔. นายถาวร เกียรติไชยากร
๕. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ ๖. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา
๗. นายปรีดี หิรัญพฤกษ์ ๘. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา
๙. พลเอก วัฒนา สรรพานิช ๑๐. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
๑๑. นายสันติภาพ อินทรพัฒน์ ๑๒. นายจำนงค์ ทองประเสริฐ
๒. ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภา จำนวน ๑๒ คน ประกอบเป็น
คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายการุณ ใสงาม ๒. นายจอน อึ๊งภากรณ์
๓. นางเตือนใจ ดีเทศน์ ๔. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๕. นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ๖. นายประยุทธ ศรีมีชัย
๗. นายแก้วสรร อติโพธิ ๘. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า
๙. นายศิลป์ชัย เชษฐศิลป์ ๑๐. พันเอก สมคิด ศรีสังคม
๑๑. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๑๒. นายผ่อง เล่งอี้
๓. ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว เมื่อสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายปราโมทย์ ไพชนม์ ๒. นายวีระพล วัชรประทีป
๓. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ ๔. นางพัฒนา ศิริวันสาณฑ์
๕. นายเกษม มาลัยศรี ๖. นางเพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา
๗. นายสหัส พินทุเสนีย์ ๘. คุณหญิงจินตนา สุขมาก
๙. นายประยุทธ ศรีมีชัย ๑๐. พลตำรวจโท ณรงค์ อมาตยกุล
๑๑. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๑๒. นายถวิล จันทร์ประสงค์
๑๓. นายเกษม ชัยสิทธิ์ ๑๔. นายอุบล เอื้อศรี
๑๕. นายชงค์ วงษ์ขันธ์ ๑๖. นางพรหมจารี รัตนเศรษฐ์
๑๗. นายชิต เจริญประเสริฐ ๑๘. นายสงวน นันทชาติ
๑๙. นายพร เพ็ญพาส ๒๐. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง
๒๑. นายไสว พราหมณี ๒๒. นายณรงค์ นุ่นทอง
๒๓. นายสกล บุญคำ ๒๔. นายชาญยุทธ โฆศิรินนท์
๒๕. นางสาวสิริพันธ์ พลรบ
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
อนึ่ง เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. …. จะครบกำหนด
เวลาการพิจารณาในวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๔ รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธาน
ของที่ประชุมจึงได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวออกไป
อีก ๓๐ วัน ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๔ นับตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๔ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ
จากนั้น รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง
ได้ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
ข้าราชการอัยการ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดยประธานวุฒิสภา
ได้อนุญาตให้ นายนภสินธุ์ มรกต อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานคณะกรรมการอัยการ
สำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๖๐ ที่ประชุมได้พิจารณา
ในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และลงมติ
ในวาระที่ ๓ ให้แก้ไขเพิ่มเติม
อนึ่ง คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอข้อสังเกตในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
ดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรี
ดำเนินการต่อไป
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่อง คณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนแและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ขอขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกไปเป็นกรณีพิเศษ อีก ๓๐ วัน
ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๗๔ นับตั้งแต่วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๔ ให้ที่ประชุมพิจารณา
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และมีมติให้ขยายเวลาได้ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ร้องขอ
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๑๐ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายจำนงค์ สวมประคำ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ. ….
ให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ….
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๘
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ