แท็ก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ดัชนีความเชื่อมั่น
อัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินดอลลาร์
เศรษฐกิจสหรัฐ
ภาวะเศรษฐกิจ
ดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวอ่อนลงเมื่อเทียบกับเยนญี่ปุ่น ยูโรและปอนด์สเตอร์ลิง
ดอลลาร์ สรอ.
เดือนสิงหาคม ค่าเงินดอลลาร์สรอ.อ่อนค่าลงมากปัจจัยที่กดดันค่าเงินดอลลาร์ สรอ. คือ รายงานภาวะเศรษฐกิจใน Beige Book ซึ่งแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว ประกอบกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังอยู่ในช่วงผันผวนและมีความไม่แน่นอน โดยพิจารณาจากดัชนีความเชื่อมั่น ในเดือนสิงหาคม ลดลงเป็น 114.3 จาก 116.3 ในเดือน ก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงจากร้อยละ 3.75 เหลือร้อยละ 3.5 และอัตรา ดอกเบี้ย Discount จากร้อยละ 3.25 เหลือร้อยละ 3.0 ในวันที่ 23 กรกฎาคม ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 7 ในรอบปี
ยูโร
ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยบวกจากการที่ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของกลุ่มยุโรปสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาทิ ตัวเลข IFO business survey เดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 89.8 สูงกว่าระดับ 89.5 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี และเป็นการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย refinancing ลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4.5 เป็นร้อยละ 4.25 ในวันที่ 30 สิงหาคม มีส่วนสนับสนุนให้ค่าเงินยูโรปรับตัวแข็งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยลบจากตัวเลขจำนวนผู้ว่างงานของเยอรมนีที่เพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม และตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด ในรอบ 4 ปี
เยน
ค่าเงินเยนเฉลี่ยปรับตัวแข็งขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม โดย พื้นฐานเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอ การลงทุนในภาคธุรกิจมีแนวโน้มชะลอลง โดยตัวเลข Core Machinery Orders ลดลงถึงร้อยละ 6.6 ในเดือนมิถุนายน ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นการปรับลดลงอย่าง ต่อเนื่องมา 5 เดือนติดต่อกัน ดังนั้น ตลาดจึงมีความกังวลว่า ทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนเพื่อมิให้ค่าเงินเยนแข็งเกินไปสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว
ค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ เปโซฟิลิปปินส์ ดอลลาร์สิงคโปร์ เงินวอนเกาหลีใต้ และรูเปียอินโดนีเซียปรับตัวแข็งขึ้น
อินโดนีเซีย
ค่าเงินรูเปียปรับตัวแข็งขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยบวกหลังจากการประกาศรายชื่อ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายใต้ประธานาธิบดี Megawati ออกมาเป็นที่น่าพอใจ ประกอบกับข่าวการให้ความ ช่วยเหลือทางการเงินของ IMF แก่รัฐบาลอินโดนีเซียเป็นจำนวน 5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. มีความเป็นรูปธรรมมาก ยิ่งขึ้น และคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบจาก IMF Board ในไม่ช้า อย่างไรก็ตาม เงินรูเปียมิได้แข็งค่าขึ้นอย่างเต็มที่เนื่องจากความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. ของภาคธุรกิจ น้ำมันเพื่อชำระหนี้
ฟิลิปปินส์
เงินเปโซแข็งค่าขึ้นในเดือนสิงหาคม จากการที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศเพิ่ม Liquidity Reserve ร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 11 เพื่อเป็นการดูดซับสภาพคล่องและป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินเปโซ ส่งผลให้ Total Reserve Requirement อยู่ที่ร้อยละ 20 ในปัจจุบัน นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการลงโทษนักเก็งกำไร ส่งผลให้มีแรงเทขายดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกัน ยังคงอัตรา ดอกเบี้ย Overnight borrowing และ Lending ไว้ที่ระดับเดิมคือ ร้อยละ 9.0 และ 11.25 ตามลำดับ
เกาหลี
เงินวอนเกาหลีใต้ปรับตัวแข็งขึ้นในเดือนสิงหาคม เป็นผลมาจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินเยนและค่าเงิน ในภูมิภาค ประกอบกับข่าวการที่ AIG group เข้าซื้อบริษัททางการเงินของ Hyundai group เป็นปัจจัยสนับสนุนการแข็งตัวของค่าเงินวอน ขณะเดียวกัน ได้มีการปรับลด Overnight call rate ลงร้อยละ 0.25 เป็น ร้อยละ 4.50 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 3 ในรอบปี
สิงคโปร์
เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ได้รับปัจจัยบวกจากการที่กองทุนและธนาคารต่างชาติขายดอลลาร์ สรอ. ออกมา เนื่องจากความกังวลต่อ การอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกัน ยังมีข้อจำกัดต่อการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ สรอ. โดย ตัวเลข Non-oil domestic exports (NDOX) เดือนกรกฎาคม ลดลงร้อยละ 24.2 เทียบกับเดือนมิถุนายน ซึ่งลดลงร้อยละ 17.0 ประกอบกับตลาดมีความกังวลกับการเข้าแทรกแซงค่าเงินของธนาคารกลางสิงคโปร์ เพื่อช่วยชะลอการแข็งค่าของดอลลาร์ สรอ. ที่เร็วเกินไป
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาด onshore และราคาทองคำ
เดือนสิงหาคม อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาดระหว่างธนาคาร (interbank) มีค่าเฉลี่ย 44. 90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และอัตราเฉลี่ยซื้อ-ขายระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า (retail rate) มีค่าเฉลี่ย 44.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.60 และ 1.57 ตามลำดับ
ค่าเงินบาทเทียบเงินสกุลสำคัญมีค่าเฉลี่ยอ่อนลง เมื่อเทียบกับยูโร (ร้อยละ 2.88) เยนญี่ปุ่น (0.80) แต่มีค่าเฉลี่ยแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์ สรอ. (ร้อยละ 1.60) ปอนด์สเตอร์ลิง (0.01)
ค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยอ่อนลงเทียบกับ ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 1.83) เปโซฟิลิปปินส์ (0.98) และรูเปียอินโดนีเซีย (15.40) แต่แข็งขึ้นเทียบกับดอลลาร์ฮ่องกง (1.58) ริงกิตมาเลเซีย (1.59)
ปัจจัยบวกที่มีผลต่อค่าเงินบาท
ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่านายกรัฐมนตรีไม่มีความผิดในกรณีปกปิดการแสดงบัญชี ทรัพย์สิน
การปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ จากมาตรการเกี่ยวกับกองทุน Matching fund ของทางการ ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนกับ นักลงทุนต่างชาติเพื่อเข้าซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์
การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ค่าเงินเยนและค่าเงินในภูมิภาคปรับตัวแข็งขึ้น
การปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed fund rate ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 23 สิงหาคม จากร้อยละ 3.75 เหลือร้อยละ 3.5 ปัจจัยลบที่มีผลต่อค่าเงินบาท
ภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ยังคงชะลอตัว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลด การคาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจาก ร้อยละ 2-3 เป็นร้อยละ 1.5-2.0
ความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนการตัดสินคดีปกปิดการแสดงบัญชีทรัพย์สินของนายก รัฐมนตรี
ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของ ภาคเอกชนเพื่อชำระคืนหนี้ ทำให้ค่าเงินบาท ไม่แข็งตัวขึ้นมาก
ความเคลื่อนไหวในตลาดเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
อัตรา swap premium ระยะ T/N มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.58 โดยเคลื่อนไหวในช่วงระหว่างร้อยละ 2.58-3.73 โดยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม
อัตรา swap premium ระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน ค่อนข้างทรงตัว โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.04 และ ร้อยละ 3.13 ตามลำดับ ส่วนต่างดอกเบี้ยบาท (อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร) และอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์ สรอ. (Fed Funds Rate) ในเดือนสิงหาคม มีค่าเฉลี่ยติดลบร้อยละ 1.50 ต่อปี (ดอกเบี้ย Fed Funds Rate สูงกว่าดอกเบี้ยบาท) ราคาทองคำ
เดือนสิงหาคม 2544 ราคาทองคำในต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 272.73 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ ทรอยเอานซ์ จากค่าเฉลี่ย 267.61 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดอลลาร์ สรอ.
เดือนสิงหาคม ค่าเงินดอลลาร์สรอ.อ่อนค่าลงมากปัจจัยที่กดดันค่าเงินดอลลาร์ สรอ. คือ รายงานภาวะเศรษฐกิจใน Beige Book ซึ่งแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว ประกอบกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังอยู่ในช่วงผันผวนและมีความไม่แน่นอน โดยพิจารณาจากดัชนีความเชื่อมั่น ในเดือนสิงหาคม ลดลงเป็น 114.3 จาก 116.3 ในเดือน ก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงจากร้อยละ 3.75 เหลือร้อยละ 3.5 และอัตรา ดอกเบี้ย Discount จากร้อยละ 3.25 เหลือร้อยละ 3.0 ในวันที่ 23 กรกฎาคม ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 7 ในรอบปี
ยูโร
ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น โดยมีปัจจัยบวกจากการที่ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของกลุ่มยุโรปสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาทิ ตัวเลข IFO business survey เดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 89.8 สูงกว่าระดับ 89.5 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี และเป็นการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา นอกจากนี้ การที่ธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย refinancing ลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4.5 เป็นร้อยละ 4.25 ในวันที่ 30 สิงหาคม มีส่วนสนับสนุนให้ค่าเงินยูโรปรับตัวแข็งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยลบจากตัวเลขจำนวนผู้ว่างงานของเยอรมนีที่เพิ่มขึ้นกว่า 10,000 ตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม และตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด ในรอบ 4 ปี
เยน
ค่าเงินเยนเฉลี่ยปรับตัวแข็งขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัว ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม โดย พื้นฐานเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอ การลงทุนในภาคธุรกิจมีแนวโน้มชะลอลง โดยตัวเลข Core Machinery Orders ลดลงถึงร้อยละ 6.6 ในเดือนมิถุนายน ตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นการปรับลดลงอย่าง ต่อเนื่องมา 5 เดือนติดต่อกัน ดังนั้น ตลาดจึงมีความกังวลว่า ทางการญี่ปุ่นอาจเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนเพื่อมิให้ค่าเงินเยนแข็งเกินไปสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว
ค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ เปโซฟิลิปปินส์ ดอลลาร์สิงคโปร์ เงินวอนเกาหลีใต้ และรูเปียอินโดนีเซียปรับตัวแข็งขึ้น
อินโดนีเซีย
ค่าเงินรูเปียปรับตัวแข็งขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยบวกหลังจากการประกาศรายชื่อ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายใต้ประธานาธิบดี Megawati ออกมาเป็นที่น่าพอใจ ประกอบกับข่าวการให้ความ ช่วยเหลือทางการเงินของ IMF แก่รัฐบาลอินโดนีเซียเป็นจำนวน 5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. มีความเป็นรูปธรรมมาก ยิ่งขึ้น และคาดว่าจะได้รับความเห็นชอบจาก IMF Board ในไม่ช้า อย่างไรก็ตาม เงินรูเปียมิได้แข็งค่าขึ้นอย่างเต็มที่เนื่องจากความต้องการซื้อดอลลาร์ สรอ. ของภาคธุรกิจ น้ำมันเพื่อชำระหนี้
ฟิลิปปินส์
เงินเปโซแข็งค่าขึ้นในเดือนสิงหาคม จากการที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศเพิ่ม Liquidity Reserve ร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 11 เพื่อเป็นการดูดซับสภาพคล่องและป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินเปโซ ส่งผลให้ Total Reserve Requirement อยู่ที่ร้อยละ 20 ในปัจจุบัน นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการลงโทษนักเก็งกำไร ส่งผลให้มีแรงเทขายดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกัน ยังคงอัตรา ดอกเบี้ย Overnight borrowing และ Lending ไว้ที่ระดับเดิมคือ ร้อยละ 9.0 และ 11.25 ตามลำดับ
เกาหลี
เงินวอนเกาหลีใต้ปรับตัวแข็งขึ้นในเดือนสิงหาคม เป็นผลมาจากการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินเยนและค่าเงิน ในภูมิภาค ประกอบกับข่าวการที่ AIG group เข้าซื้อบริษัททางการเงินของ Hyundai group เป็นปัจจัยสนับสนุนการแข็งตัวของค่าเงินวอน ขณะเดียวกัน ได้มีการปรับลด Overnight call rate ลงร้อยละ 0.25 เป็น ร้อยละ 4.50 ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 3 ในรอบปี
สิงคโปร์
เงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ได้รับปัจจัยบวกจากการที่กองทุนและธนาคารต่างชาติขายดอลลาร์ สรอ. ออกมา เนื่องจากความกังวลต่อ การอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ขณะเดียวกัน ยังมีข้อจำกัดต่อการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ สรอ. โดย ตัวเลข Non-oil domestic exports (NDOX) เดือนกรกฎาคม ลดลงร้อยละ 24.2 เทียบกับเดือนมิถุนายน ซึ่งลดลงร้อยละ 17.0 ประกอบกับตลาดมีความกังวลกับการเข้าแทรกแซงค่าเงินของธนาคารกลางสิงคโปร์ เพื่อช่วยชะลอการแข็งค่าของดอลลาร์ สรอ. ที่เร็วเกินไป
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาด onshore และราคาทองคำ
เดือนสิงหาคม อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาดระหว่างธนาคาร (interbank) มีค่าเฉลี่ย 44. 90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และอัตราเฉลี่ยซื้อ-ขายระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า (retail rate) มีค่าเฉลี่ย 44.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.60 และ 1.57 ตามลำดับ
ค่าเงินบาทเทียบเงินสกุลสำคัญมีค่าเฉลี่ยอ่อนลง เมื่อเทียบกับยูโร (ร้อยละ 2.88) เยนญี่ปุ่น (0.80) แต่มีค่าเฉลี่ยแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์ สรอ. (ร้อยละ 1.60) ปอนด์สเตอร์ลิง (0.01)
ค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคมีค่าเฉลี่ยอ่อนลงเทียบกับ ดอลลาร์สิงคโปร์ (ร้อยละ 1.83) เปโซฟิลิปปินส์ (0.98) และรูเปียอินโดนีเซีย (15.40) แต่แข็งขึ้นเทียบกับดอลลาร์ฮ่องกง (1.58) ริงกิตมาเลเซีย (1.59)
ปัจจัยบวกที่มีผลต่อค่าเงินบาท
ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่านายกรัฐมนตรีไม่มีความผิดในกรณีปกปิดการแสดงบัญชี ทรัพย์สิน
การปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ จากมาตรการเกี่ยวกับกองทุน Matching fund ของทางการ ซึ่งเป็นการร่วมลงทุนกับ นักลงทุนต่างชาติเพื่อเข้าซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์
การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ สรอ. จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ค่าเงินเยนและค่าเงินในภูมิภาคปรับตัวแข็งขึ้น
การปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed fund rate ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันที่ 23 สิงหาคม จากร้อยละ 3.75 เหลือร้อยละ 3.5 ปัจจัยลบที่มีผลต่อค่าเงินบาท
ภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ยังคงชะลอตัว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับลด การคาดการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจาก ร้อยละ 2-3 เป็นร้อยละ 1.5-2.0
ความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนการตัดสินคดีปกปิดการแสดงบัญชีทรัพย์สินของนายก รัฐมนตรี
ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของ ภาคเอกชนเพื่อชำระคืนหนี้ ทำให้ค่าเงินบาท ไม่แข็งตัวขึ้นมาก
ความเคลื่อนไหวในตลาดเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
อัตรา swap premium ระยะ T/N มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 2.58 โดยเคลื่อนไหวในช่วงระหว่างร้อยละ 2.58-3.73 โดยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายเดือนสิงหาคม
อัตรา swap premium ระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน ค่อนข้างทรงตัว โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.04 และ ร้อยละ 3.13 ตามลำดับ ส่วนต่างดอกเบี้ยบาท (อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร) และอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์ สรอ. (Fed Funds Rate) ในเดือนสิงหาคม มีค่าเฉลี่ยติดลบร้อยละ 1.50 ต่อปี (ดอกเบี้ย Fed Funds Rate สูงกว่าดอกเบี้ยบาท) ราคาทองคำ
เดือนสิงหาคม 2544 ราคาทองคำในต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 272.73 ดอลลาร์ สรอ. ต่อ ทรอยเอานซ์ จากค่าเฉลี่ย 267.61 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-