แท็ก
สหภาพยุโรป
สถานการณ์การระบาดโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย (FMD) ในสหราชอาณาจักรยังคงความวิกฤต โดยที่ปัจจุบันได้ตรวจพบกรณีการระบาดฯมากกว่า 200 ราย และสัตว์มากกว่า 114,082 ตัวได้ถูกทำลายทิ้ง พร้อมกันนี้ สหราชอาณาจักรได้ถูกกล่าวหาว่า มาตรการป้องกันที่นำมาบังคับใช้ยังไม่มีความเข้มงวดพอ ส่งผลให้ประเทศ สมาชิกสหภาพยุโรปอื่นได้รับผลต่อภัยอันตรายจากโรคด้วย
แม้ว่าก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ ที่ 2001/145/EC ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 ว่าด้วยมาตรการป้องกันโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อยในสหราชอาณาจักร โดยมีสาระสำคัญคือ ห้ามการเคลื่อนย้าย วัว สุกร แกะ และแพะ ในประเทศ ยกเว้นในกรณีที่ได้รับอนุญาต และห้ามการส่งออกเนื้อ สินค้าแปรรูป นมสด นมแปรรูป และผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ดังกล่าว ที่มีแหล่งกำเนิดในสหราชอาณาจักร ยกเว้นในกรณีที่ผลิตก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 และมีใบรับรอประกอบการเคลื่อนย้าย ผ่านขั้นตอนการเก็บรักษาสินค้าตามเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544 อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรได้ยอมรับว่าโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย ได้มีแนวโน้มระบาดไปยังประเทศสมาชิกฯอื่นแล้ว จากการส่งออกสัตว์ที่ติดเชื้อก่อนการประกาศห้ามส่งออก ส่งผลให้ประเทศเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และ เบลเยี่ยม ต้องฆ่าสัตว์ดังกล่าวด้วย
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 ประเทศฝรั่งเศสได้ยืนยันการตรวจพบการระบาดของโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย ในพื้นที่ Department of Mayenne ในฟาร์เลี้ยงที่ตั้งอยู่ใกล้ฟาร์มที่ได้นำเข้าแกะจาก สหราชอาณาจักรในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในการนี้ คณะกรรมาธิการยุโรป ได้เห็นควรให้ขยายมาตรการป้องกันฯเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมถึงประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกับที่ได้กำหนดใช้กับสหราชอาณาจักร โดยใช้เฉพาะในพื้นที่ Department of Mayenne และ Orne ของฝรั่งเศส และยกเว้นแต่ในกรณีที่ผลิตก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ทั้งนี้มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2544
จากมาตรการป้องกันโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย ของสหภาพยุโรปดังกล่าวนี้ สหภาพยุโรปได้เห็นพ้องว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะระงับการระบาดของโรคไปยังประเทศที่สาม ดังนั้น จึงได้ร้องขอให้ประเทศที่สามยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสหภาพยุโรป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมษายน 2544--
-ปส-
แม้ว่าก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ ที่ 2001/145/EC ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 ว่าด้วยมาตรการป้องกันโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อยในสหราชอาณาจักร โดยมีสาระสำคัญคือ ห้ามการเคลื่อนย้าย วัว สุกร แกะ และแพะ ในประเทศ ยกเว้นในกรณีที่ได้รับอนุญาต และห้ามการส่งออกเนื้อ สินค้าแปรรูป นมสด นมแปรรูป และผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ดังกล่าว ที่มีแหล่งกำเนิดในสหราชอาณาจักร ยกเว้นในกรณีที่ผลิตก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 และมีใบรับรอประกอบการเคลื่อนย้าย ผ่านขั้นตอนการเก็บรักษาสินค้าตามเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544 อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรได้ยอมรับว่าโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย ได้มีแนวโน้มระบาดไปยังประเทศสมาชิกฯอื่นแล้ว จากการส่งออกสัตว์ที่ติดเชื้อก่อนการประกาศห้ามส่งออก ส่งผลให้ประเทศเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และ เบลเยี่ยม ต้องฆ่าสัตว์ดังกล่าวด้วย
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 ประเทศฝรั่งเศสได้ยืนยันการตรวจพบการระบาดของโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย ในพื้นที่ Department of Mayenne ในฟาร์เลี้ยงที่ตั้งอยู่ใกล้ฟาร์มที่ได้นำเข้าแกะจาก สหราชอาณาจักรในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในการนี้ คณะกรรมาธิการยุโรป ได้เห็นควรให้ขยายมาตรการป้องกันฯเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมถึงประเทศฝรั่งเศส เช่นเดียวกับที่ได้กำหนดใช้กับสหราชอาณาจักร โดยใช้เฉพาะในพื้นที่ Department of Mayenne และ Orne ของฝรั่งเศส และยกเว้นแต่ในกรณีที่ผลิตก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 ทั้งนี้มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 27 มีนาคม 2544
จากมาตรการป้องกันโรคปากเปื่อย เท้าเปื่อย ของสหภาพยุโรปดังกล่าวนี้ สหภาพยุโรปได้เห็นพ้องว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะระงับการระบาดของโรคไปยังประเทศที่สาม ดังนั้น จึงได้ร้องขอให้ประเทศที่สามยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสหภาพยุโรป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมษายน 2544--
-ปส-