ข่าวในประเทศ
1. ยอดรวมหนี้คงค้างต่างประเทศของไทยลดลงในเดือน ธ.ค. 43 ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ยอดรวมหนี้คงค้างต่างประเทศในเดือน ธ.ค. 43 ลดลง 1.54 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 16 ของยอดหนี้คงค้างในปี 42 โดยยอดหนี้ต่างประเทศในเดือน ธ.ค. 43 มีจำนวน 8.02 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 9.56 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นหนี้ที่ลดลงในภาคเอกชนถึง 1.32 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยแยกเป็นการลดลงของหนี้ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร 7.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้ภาคธนาคารลดลง 5.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่หนี้ภาครัฐบาลลดลง 2.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในปีนี้มีการชำระคืนหนี้สูงกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ ส่วนหนึ่งเป็นการชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนดของรัฐวิสาหกิจ และมีการชำระหนี้ของ ธปท.ประมาณ 200 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ปริมาณหนี้ที่ลดลงมากส่วนใหญ่เกิดจากการชำระคืนหนี้ของภาคเอกชน โดยในปี 43 หนี้ต่างประเทศได้ลดลงมากเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง รวมทั้งแนวโน้มภาระหนี้ต่างประเทศยังคงลดลงต่อเนื่องแม้ว่าจะมีความกังวลด้านดุลการค้าที่ลดลง แต่จากการประเมินของ ธปท. พบว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปี 44 จะยังคงเกินดุลแม้ว่าจะเป็นการเกินดุลในอัตราที่ลดลง แต่อยู่ในระดับที่สามารถชำระหนี้ต่างประเทศให้ลดลงได้ (ผู้จัดการรายวัน 3-4)
2. ผลการประชุมคณะทำงานจัดตั้งซีเอเอ็มซี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง(ซีเอเอ็มซี)ว่า ผลการประชุมคณะทำงานจัดตั้งซีเอเอ็มซีเมื่อวันที่ 1 มี.ค.44 ยังไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องการกำหนดราคารับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ(เอ็นพีแอล)จาก ธพ.ทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งการกำหนดดอกเบี้ยของตราสารที่จะใช้รับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากธนาคารได้ แต่สามารถวางกรอบโครงสร้างการทำงานในเบื้องต้นได้แล้ว โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1)ระดับคณะกรรมการกลาง 2)ฝ่ายจัดการกลาง และ 3)ฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งซีเอเอ็มซีจะอยู่ในขั้นตอนนี้ โดยบรรษัทบริหารสินทรัพย์(บบส.)จะโอนหนี้เข้าไปรวมอยู่ในบัญชีของบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท(แซม) ซึ่งมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 500,000 ล.บาท จากนั้นจึงจะโอนหนี้ทั้งหมดเข้าไปรวมอยู่ในซีเอเอ็มซีในที่สุด โดยจะต้องมีการแยกบัญชีหนี้ของรัฐและเอกชนออกเป็น 2 บัญชี เนื่องจากการกำหนดราคารับซื้อจะแตกต่างกัน (เดลินิวส์ 5)
3. กองทุนฟื้นฟูฯ ส่งผลสรุปแนวทางแก้ไขปัญหา ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยให้ รมว.คลังพิจารณา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ส่งผลสรุปความเห็นของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ เกี่ยวกับการพิจารณาแนวทางแก้ปัญหา ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยให้กับ รมว.คลังเพื่อพิจารณาและตัดสินใจใน 2 แนวทางคือ การควบรวมกิจการกับการแยกดำเนินกิจการ ทั้งนี้ หากมีการควบรวมกิจการจะต้องปรับลดพนักงานจำนวนมากกองทุนฟื้นฟูฯ จึงเสนอให้ทั้งสองธนาคารบริหารสินทรัพย์ที่ดีของแต่ละธนาคารต่อไประยะหนึ่งก่อนหลังจากการโอนหนี้ด้อยคุณภาพ(เอ็นพีแอล)ของทั้งสองธนาคารไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง(ซีเอเอ็มซี) (มติชน 5)
ข่าวต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ในเดือน ก.พ.44 อยู่ที่ระดับ 90.6 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.39 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 2 มี.ค.44 University of Michigan เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ (Consumer sentiment Index) ของผู้บริโภค สรอ. ในเดือน ก.พ.44 อยู่ที่ระดับ 90.6 ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี นับตั้งแต่เดือน พ.ค.39 โดยเดือน ม.ค.39 ความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ระดับ 94.7 สำหรับความเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ลดลงอยู่ที่ระดับ 105.8 จากระดับ 107.7 ในเดือน ม.ค.44 ขณะที่ความคาดหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความรู้สึกของผู้บริโภคอีกประมาณ 12 เดือนข้างหน้า ได้ลดลงอยู่ที่ระดับ 80.8 จาก 86.4 ในดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 77.6 จากตัวเลขดังกล่าวนักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า เศรษฐกิจที่กำลังซบเซาของ สรอ.กำลังเผชิญความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย(รอยเตอร์ 2)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในเขตยูโรในเดือน ก.พ.44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 2 มี.ค.44 คณะกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า เดือน ก.พ.44 ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ (Economic Sentiment Index) ของกลุ่มประเทศในเขตยูโร 12 ประเทศ ลดลงอยู่ที่ระดับ 102.7 จากระดับ 103.1 ในเดือน ม.ค.44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และเป็นการลดลงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 103.0 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ว่า การลดลงของดัชนีฯ แสดงให้เห็นว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจสำคัญอื่น เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรป แม้ว่าเศรษฐกิจในเขตยูโรจะยังมีสถานการณ์ดีอยู่ก็ตาม โดยในเดือน ก.พ.นี้ ความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรมลดลงอยู่ที่ระดับ +1 จากระดับ + 3 ในเดือน ม.ค.44 ความเชื่อมั่นต่อภาคการก่อสร้างลดลงอยู่ที่ระดับ -2 จากระดับ +1 ในเดือน ม.ค.44 และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงอยู่ที่ระดับ -2 จากระดับ -1 ในเดือน ม.ค.44 (รอยเตอร์ 2)
3. เงินค่าล่วงเวลาผู้มีรายได้เป็นค่าจ้างของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในเดือน ม.ค.44 Ministry of Health, Labour and Welfare เปิดเผยว่า เงินค่าล่วงเวลารายเดือน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาวะรายได้ที่สำคัญของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้างของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.4 ในเดือน ม.ค.44 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 21 และมีจำนวน 18,340 เยน (154 ดอลลาร์ สรอ.) ส่งผลให้มีรายได้รวมต่อเดือนเฉลี่ยเท่ากับ 308,907 เยน (2,592 ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ1.2 เมื่อเทียบปีต่อปี ในส่วนของชั่วโมงการทำงานและจำนวนคนงานทำงานล่วงเวลา (Part time) ก็เพิ่มขึ้นป็น 9.4 ชั่วโมง และ 8.988 ล.คน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และ 4.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบปีต่อปี ผู้ที่ทำงานเต็มเวลามีจำนวน 43.262 ล.คน ลดลงร้อยละ 0.1 (รอยเตอร 5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 มี.ค.44 43.337(42.998)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 2 มี.ค.44ซื้อ 43.0943(42.7984) ขาย 43.4099(43.1010)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.25(23.67)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29(15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94(13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ยอดรวมหนี้คงค้างต่างประเทศของไทยลดลงในเดือน ธ.ค. 43 ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า ยอดรวมหนี้คงค้างต่างประเทศในเดือน ธ.ค. 43 ลดลง 1.54 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นร้อยละ 16 ของยอดหนี้คงค้างในปี 42 โดยยอดหนี้ต่างประเทศในเดือน ธ.ค. 43 มีจำนวน 8.02 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 9.56 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นหนี้ที่ลดลงในภาคเอกชนถึง 1.32 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยแยกเป็นการลดลงของหนี้ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร 7.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้ภาคธนาคารลดลง 5.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่หนี้ภาครัฐบาลลดลง 2.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งในปีนี้มีการชำระคืนหนี้สูงกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ ส่วนหนึ่งเป็นการชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนดของรัฐวิสาหกิจ และมีการชำระหนี้ของ ธปท.ประมาณ 200 ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ปริมาณหนี้ที่ลดลงมากส่วนใหญ่เกิดจากการชำระคืนหนี้ของภาคเอกชน โดยในปี 43 หนี้ต่างประเทศได้ลดลงมากเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง รวมทั้งแนวโน้มภาระหนี้ต่างประเทศยังคงลดลงต่อเนื่องแม้ว่าจะมีความกังวลด้านดุลการค้าที่ลดลง แต่จากการประเมินของ ธปท. พบว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปี 44 จะยังคงเกินดุลแม้ว่าจะเป็นการเกินดุลในอัตราที่ลดลง แต่อยู่ในระดับที่สามารถชำระหนี้ต่างประเทศให้ลดลงได้ (ผู้จัดการรายวัน 3-4)
2. ผลการประชุมคณะทำงานจัดตั้งซีเอเอ็มซี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง(ซีเอเอ็มซี)ว่า ผลการประชุมคณะทำงานจัดตั้งซีเอเอ็มซีเมื่อวันที่ 1 มี.ค.44 ยังไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องการกำหนดราคารับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ(เอ็นพีแอล)จาก ธพ.ทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งการกำหนดดอกเบี้ยของตราสารที่จะใช้รับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากธนาคารได้ แต่สามารถวางกรอบโครงสร้างการทำงานในเบื้องต้นได้แล้ว โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ 1)ระดับคณะกรรมการกลาง 2)ฝ่ายจัดการกลาง และ 3)ฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งซีเอเอ็มซีจะอยู่ในขั้นตอนนี้ โดยบรรษัทบริหารสินทรัพย์(บบส.)จะโอนหนี้เข้าไปรวมอยู่ในบัญชีของบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท(แซม) ซึ่งมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 500,000 ล.บาท จากนั้นจึงจะโอนหนี้ทั้งหมดเข้าไปรวมอยู่ในซีเอเอ็มซีในที่สุด โดยจะต้องมีการแยกบัญชีหนี้ของรัฐและเอกชนออกเป็น 2 บัญชี เนื่องจากการกำหนดราคารับซื้อจะแตกต่างกัน (เดลินิวส์ 5)
3. กองทุนฟื้นฟูฯ ส่งผลสรุปแนวทางแก้ไขปัญหา ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยให้ รมว.คลังพิจารณา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ส่งผลสรุปความเห็นของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ เกี่ยวกับการพิจารณาแนวทางแก้ปัญหา ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยให้กับ รมว.คลังเพื่อพิจารณาและตัดสินใจใน 2 แนวทางคือ การควบรวมกิจการกับการแยกดำเนินกิจการ ทั้งนี้ หากมีการควบรวมกิจการจะต้องปรับลดพนักงานจำนวนมากกองทุนฟื้นฟูฯ จึงเสนอให้ทั้งสองธนาคารบริหารสินทรัพย์ที่ดีของแต่ละธนาคารต่อไประยะหนึ่งก่อนหลังจากการโอนหนี้ด้อยคุณภาพ(เอ็นพีแอล)ของทั้งสองธนาคารไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง(ซีเอเอ็มซี) (มติชน 5)
ข่าวต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. ในเดือน ก.พ.44 อยู่ที่ระดับ 90.6 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.39 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 2 มี.ค.44 University of Michigan เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ (Consumer sentiment Index) ของผู้บริโภค สรอ. ในเดือน ก.พ.44 อยู่ที่ระดับ 90.6 ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี นับตั้งแต่เดือน พ.ค.39 โดยเดือน ม.ค.39 ความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ระดับ 94.7 สำหรับความเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ลดลงอยู่ที่ระดับ 105.8 จากระดับ 107.7 ในเดือน ม.ค.44 ขณะที่ความคาดหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความรู้สึกของผู้บริโภคอีกประมาณ 12 เดือนข้างหน้า ได้ลดลงอยู่ที่ระดับ 80.8 จาก 86.4 ในดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 77.6 จากตัวเลขดังกล่าวนักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า เศรษฐกิจที่กำลังซบเซาของ สรอ.กำลังเผชิญความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย(รอยเตอร์ 2)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในเขตยูโรในเดือน ก.พ.44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 2 มี.ค.44 คณะกรรมาธิการยุโรปรายงานว่า เดือน ก.พ.44 ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ (Economic Sentiment Index) ของกลุ่มประเทศในเขตยูโร 12 ประเทศ ลดลงอยู่ที่ระดับ 102.7 จากระดับ 103.1 ในเดือน ม.ค.44 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และเป็นการลดลงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 103.0 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ว่า การลดลงของดัชนีฯ แสดงให้เห็นว่าการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจสำคัญอื่น เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรป แม้ว่าเศรษฐกิจในเขตยูโรจะยังมีสถานการณ์ดีอยู่ก็ตาม โดยในเดือน ก.พ.นี้ ความเชื่อมั่นต่อภาคอุตสาหกรรมลดลงอยู่ที่ระดับ +1 จากระดับ + 3 ในเดือน ม.ค.44 ความเชื่อมั่นต่อภาคการก่อสร้างลดลงอยู่ที่ระดับ -2 จากระดับ +1 ในเดือน ม.ค.44 และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงอยู่ที่ระดับ -2 จากระดับ -1 ในเดือน ม.ค.44 (รอยเตอร์ 2)
3. เงินค่าล่วงเวลาผู้มีรายได้เป็นค่าจ้างของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในเดือน ม.ค.44 Ministry of Health, Labour and Welfare เปิดเผยว่า เงินค่าล่วงเวลารายเดือน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาวะรายได้ที่สำคัญของผู้มีรายได้เป็นค่าจ้างของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.4 ในเดือน ม.ค.44 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 21 และมีจำนวน 18,340 เยน (154 ดอลลาร์ สรอ.) ส่งผลให้มีรายได้รวมต่อเดือนเฉลี่ยเท่ากับ 308,907 เยน (2,592 ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ1.2 เมื่อเทียบปีต่อปี ในส่วนของชั่วโมงการทำงานและจำนวนคนงานทำงานล่วงเวลา (Part time) ก็เพิ่มขึ้นป็น 9.4 ชั่วโมง และ 8.988 ล.คน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 และ 4.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบปีต่อปี ผู้ที่ทำงานเต็มเวลามีจำนวน 43.262 ล.คน ลดลงร้อยละ 0.1 (รอยเตอร 5)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 มี.ค.44 43.337(42.998)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 2 มี.ค.44ซื้อ 43.0943(42.7984) ขาย 43.4099(43.1010)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.25(23.67)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29(15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94(13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-