กรุงเทพ--14 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Dubai International Holy Quran Award ครั้งที่ 9 งานนี้นอกจากจะมีการแข่งขันท่องจำคัมภีร์อัลกุระอ่านแล้ว ยังมีการมอบรางวัล “บุคคลิกภาพอิสลาม” ซึ่งเปรียบเสมือนรางวัลโนเบลของอิสลาม เพื่อมอบให้เป็นเกียรติคุณแก่บุคคลที่โดดเด่นด้านการเผยแพร่ศาสนาอิสลามอีกด้วย
ขอกล่าวถึงในส่วนของการแข่งขันการท่องจำคัมภีร์อัลกุระอ่าน เนื่องจากมีนักศึกษาไทยเข้าร่วมการแข่งขันด้วย และมีการประกาศผลและพิธีมอบรางวัลเมื่อคืนวันที่ 23 ตุลาคม 2548 ปรากฏว่า นายฮูเซน ฟัดล์ อาซีม ผู้เข้าแข่งขันจากซาอุดิอาระเบียได้อันดับที่ 1 นายฮาซัน โมฮัมมัด ฮาซัน จากเยเมนได้อันดับที่ 2 และนายอิสลาม ฟิกรี มูฮัมมัด จากอียิปต์ได้อันดับที่ 3 จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 82 คน สำหรับนายอับดุลฮากิม ดือราสะ ผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทยได้เป็นอันดับที่ 23 ซึ่งถือว่าเป็นลำดับที่ดีมาก เนื่องจากผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทยไม่ได้ใช้ภาษาอาหรับเช่นผู้เข้าแข่งขันจากประเทศอาหรับอื่นๆ ที่ได้คะแนนเป็นลำดับต้นๆ
นายอับดุลฮากิมได้ศึกษาท่องจำคัมภีร์อัลกุระอ่านที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เป็นเวลาประมาณ 4 ปีแล้ว และจะสำเร็จการศึกษาในเร็วๆ นี้ และจะกลับมาเป็นครูสอนศาสนาเช่นเดียวกับบิดาของเขาที่จังหวัดนราธิวาส
ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับนักศึกษาไทยที่คิดจะเข้าร่วมการแข่งขันในปีต่อไปว่า นอกจากการแข่งขันจำคัมภีร์อัลกุระอ่านนานาชาติแล้ว ยังมีรางวัลชนะเลิศเสียงไพเราะด้วย ซึ่งผู้ที่ได้อันดับที่ 1 คือ นายอิสลาม ฟิกรี มูฮัมมัด จากอียิปต์ อันดับที่ 2 คือ นายอัลดุลเลาะห์ คอลิค มูฮัมมัด จากอิรัก และอันดับที่ 3 นายอายาตุลลาห์ จากอินโดนีเซีย ส่วนผู้ที่ได้รางวัลประเภทอายุน้อยที่สุดได้แก่ ดช. รอฟิก มูฮัมมัด จากปากีสถาน อายุ 8 ขวบ
รางวัลสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ติด 10 อันดับแรกมีดังนี้ ผู้ทำคะแนนได้ 80% ขึ้นไปจะได้รับรางวัล 30,000 ดีแรห์ม 70-79% จะได้รับเงินรางวัล 25,000 ดีแรห์ม ต่ำกว่า 70% จะได้รับเงินรางวัล 20,000 ดีแรห์ม ซึ่งนายอับดุลฮากิมได้รับรางวัลเป็นเงินกว่าสองหมื่นดีแรห์มและเดินทางกลับประเทศไทยแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548
งานนี้นายสมศักดิ์ สุริยวงศ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบีได้เดินทางไปให้กำลังใจนายอับดุลฮากิม นักศึกษาไทยถึงเมืองดูไบ และได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมชมการแข่งขันและพบว่ากิจกรรมในงานดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ดีเลิศ มีการเตรียมการอย่างยอดเยี่ยม และเป็นเรื่องที่ดีมากที่มีเยาวชนไทยนั่งอ่านคัมภีร์อัลกุระอ่านต่อสายตาของชาวโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Dubai International Holy Quran Award ครั้งที่ 9 งานนี้นอกจากจะมีการแข่งขันท่องจำคัมภีร์อัลกุระอ่านแล้ว ยังมีการมอบรางวัล “บุคคลิกภาพอิสลาม” ซึ่งเปรียบเสมือนรางวัลโนเบลของอิสลาม เพื่อมอบให้เป็นเกียรติคุณแก่บุคคลที่โดดเด่นด้านการเผยแพร่ศาสนาอิสลามอีกด้วย
ขอกล่าวถึงในส่วนของการแข่งขันการท่องจำคัมภีร์อัลกุระอ่าน เนื่องจากมีนักศึกษาไทยเข้าร่วมการแข่งขันด้วย และมีการประกาศผลและพิธีมอบรางวัลเมื่อคืนวันที่ 23 ตุลาคม 2548 ปรากฏว่า นายฮูเซน ฟัดล์ อาซีม ผู้เข้าแข่งขันจากซาอุดิอาระเบียได้อันดับที่ 1 นายฮาซัน โมฮัมมัด ฮาซัน จากเยเมนได้อันดับที่ 2 และนายอิสลาม ฟิกรี มูฮัมมัด จากอียิปต์ได้อันดับที่ 3 จากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 82 คน สำหรับนายอับดุลฮากิม ดือราสะ ผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทยได้เป็นอันดับที่ 23 ซึ่งถือว่าเป็นลำดับที่ดีมาก เนื่องจากผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทยไม่ได้ใช้ภาษาอาหรับเช่นผู้เข้าแข่งขันจากประเทศอาหรับอื่นๆ ที่ได้คะแนนเป็นลำดับต้นๆ
นายอับดุลฮากิมได้ศึกษาท่องจำคัมภีร์อัลกุระอ่านที่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เป็นเวลาประมาณ 4 ปีแล้ว และจะสำเร็จการศึกษาในเร็วๆ นี้ และจะกลับมาเป็นครูสอนศาสนาเช่นเดียวกับบิดาของเขาที่จังหวัดนราธิวาส
ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับนักศึกษาไทยที่คิดจะเข้าร่วมการแข่งขันในปีต่อไปว่า นอกจากการแข่งขันจำคัมภีร์อัลกุระอ่านนานาชาติแล้ว ยังมีรางวัลชนะเลิศเสียงไพเราะด้วย ซึ่งผู้ที่ได้อันดับที่ 1 คือ นายอิสลาม ฟิกรี มูฮัมมัด จากอียิปต์ อันดับที่ 2 คือ นายอัลดุลเลาะห์ คอลิค มูฮัมมัด จากอิรัก และอันดับที่ 3 นายอายาตุลลาห์ จากอินโดนีเซีย ส่วนผู้ที่ได้รางวัลประเภทอายุน้อยที่สุดได้แก่ ดช. รอฟิก มูฮัมมัด จากปากีสถาน อายุ 8 ขวบ
รางวัลสำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ไม่ติด 10 อันดับแรกมีดังนี้ ผู้ทำคะแนนได้ 80% ขึ้นไปจะได้รับรางวัล 30,000 ดีแรห์ม 70-79% จะได้รับเงินรางวัล 25,000 ดีแรห์ม ต่ำกว่า 70% จะได้รับเงินรางวัล 20,000 ดีแรห์ม ซึ่งนายอับดุลฮากิมได้รับรางวัลเป็นเงินกว่าสองหมื่นดีแรห์มและเดินทางกลับประเทศไทยแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2548
งานนี้นายสมศักดิ์ สุริยวงศ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบีได้เดินทางไปให้กำลังใจนายอับดุลฮากิม นักศึกษาไทยถึงเมืองดูไบ และได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า เป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมชมการแข่งขันและพบว่ากิจกรรมในงานดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ดีเลิศ มีการเตรียมการอย่างยอดเยี่ยม และเป็นเรื่องที่ดีมากที่มีเยาวชนไทยนั่งอ่านคัมภีร์อัลกุระอ่านต่อสายตาของชาวโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-